• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

พช.ปลื้ม กว่า 6 แสนคนแห่ชมงาน “100ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

Started by Jenny937, October 24, 2021, 12:33:04 PM

Previous topic - Next topic

Jenny937


กรมการพัฒนาชุมชนมีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง  โดยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาอาชีพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีความสามารถในการแข่งขัน ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศได้ โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว และชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมายังประสบปัญหาในการประชาสัมพันธ์หมู่บ้านให้เป็นที่รู้จัก รวมถึงความพร้อมที่จะรองรับการให้บริการนักท่องเที่ยวได้อย่างครบวงจร ทั้งในเรื่องทักษะการบริหารจัดการของหมู่บ้าน ในด้านต่าง ๆ การจัดทำกิจกรรมที่ให้บริการนักท่องเที่ยว และการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชุมชน มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางสื่อต่าง ๆ รวมทั้งการส่งเสริม   การสื่อสารเรื่องราวอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคและจังหวัดผ่าน ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ที่เป็นที่นิยมในกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย

– กอปรกับนโยบายรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม การสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ มุ่งเน้นการสร้างอาชีพและการมีรายได้ที่มั่นคง โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local- Economy) ให้เกิดความเข้มแข็งโดยการใช้ อัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าและความคุ้มค่า  ผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีเป้าหมายในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกระแสหลักที่เป็นแอ่งใหญ่ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสเสน่ห์ของหมู่บ้านที่เป็นแอ่งเล็ก การสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อขยายเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

– ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ในเวลานี้ ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วน ซึ่งก็รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่เกิดการชะลอตัวไปทั้งระบบ จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และชาวต่างประเทศ ลดลงไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงพฤติกรรม ของนักท่องเที่ยว

ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ตลอดระยะเวลา ปีครึ่งที่ผ่านมาชุมชน และกลุ่มผู้ผลิต ตลอดจนผู้ประกอบการ OTOP ได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่มีช่องทางการตลาดให้จัดจำหน่ายสินค้าเหมือนแต่ก่อน ซึ่งก็ทำให้ชุมชน ผู้ผลิต และ ผู้ประกอบการ OTOP ขาดช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การจัดโครงการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนท่องเที่ยว 100 ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จึงเป็นทางออกสำคัญ ที่จะทำให้เกิดช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP  ของชุมชนและจะทำให้เกิดการต่อยอดที่นำไปสู่การจ้างงานการกระจายรายได้ รวมถึงฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนในภาพรวมให้มีความมั่นคงมากขึ้นหลังจากนี้

ผลการดำเนินงาน

– ตั้งแต่ปี 2561 กรมการพัฒนาชุมชนได้รับการจัดสรรงบประมาณ 8,344,258,200 บาท ดำเนินการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ครอบคลุม 76 จังหวัด 3,273 หมู่บ้าน/ชุมชน (ปัจจุบันมี 3,680 หมู่บ้าน/ชุมชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนด้วยการพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้า ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีมาตรฐาน รวมถึงสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากร ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว (เมืองหลัก เมืองรอง ชุมชน) ให้มีความโดดเด่น และมีความพร้อมบนอัตลักษณ์ของชุมชนท่องเที่ยว


– ปี 2562 กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดแนวทางในการจัดประเภทชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่ดำเนินการในพื้นที่ 76 จังหวัด จำนวน 3,680 หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อแบ่งประเภทตามลักษณะของการเป็นชุมชนท่องเที่ยว ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานชุมชนท่องเที่ยวอย่างมีทิศทาง กำหนดแนวทางและวิธีการดำเนินงานที่มีความชัดเจนในการพัฒนา ให้เกิดหมู่บ้านหรือชุมชนท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

ชุมชนท่องเที่ยวดาวเด่น (Attractive) จำนวน 214 หมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 5.82)
ชุมชนท่องเที่ยวดาวรุ่ง (Brighten Star) จำนวน 718 หมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 19.51)
ชุมชนโดดเด่นเฉพาะด้าน (Case Study) จำนวน 1,456 หมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 39.57)
ชุมชนสินค้า OTOP (Delivery Product)จำนวน 1,240 หมู่บ้าน/ชุมชน (ร้อยละ 33.70)                      รวม 3,626 (ยังไม่ได้ประเมิน 52 หมู่บ้าน/ชุมชน)
– ปี 2563 กรมการพัฒนาชุมชนได้ยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นสินค้าของชุมชนที่สามารถจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว เพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน โดยพัฒนาแยกเป็นรายคลัสเตอร์ 4 คลัสเตอร์ 1,500 ผลิตภัณฑ์ แยกเป็น 1) อาหาร 780 ผลิตภัณฑ์  2) ผ้าและเครื่องแต่งกาย 272 ผลิตภัณฑ์ 3) ของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก 317 ผลิตภัณฑ์ และ 4) สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 131 ผลิตภัณฑ์

โดยผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564) รายได้ (สะสม) จำนวน  6,519.75 ล้านบาท นักท่องเที่ยว (สะสม) จำนวน  12,100,85 คน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีรายได้ 506.27 ล้านบาท นักท่องเที่ยวในประเทศ จำนวน 1,498,394 คน นักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 22,942 คน รวมทั้งสิ้น 1,521,336 คน

ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดงานท่องเที่ยวแบบเสมือนจริง Virtual Tour เพื่อให้เกิดช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าให้กับชุมชน และผู้ผลิตสินค้า รวมถึงผู้ประกอบการด้าน OTOP โดยการท่องเที่ยวแบบเสมือนจริง Virtual Tour เป็นอีกการท่องเที่ยวในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกสะดวกสบายกับการท่องเที่ยวรูปแบบ New Normal เพียงคลิกแค่ปลายนิ้วที่ www.100otopvillage.com ก็สามารถท่องเที่ยวได้ทั่วประเทศ ตาม Concept ที่ว่าอยู่ที่บ้าน อยู่ที่ไหน ใกล้ไกลเที่ยวได้ทุกที่ ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้

นักท่องเที่ยวก็ยังจะได้พบกับชุมชนท่องเที่ยว 100 หมู่บ้าน และมีผลิตภัณฑ์ และสินค้า OTOP จากชุมชนท่องเที่ยวมากกว่า 1,000 ผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกัน การจัดการท่องเที่ยวนี้ ยังมีการนำเสนอแพ็คเกจท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมายให้ได้เลือกจองสำหรับท่องเที่ยว หลังโควิด กันด้วย นอกจากนี้ การท่องเที่ยวในรูปแบบนี้ ยังเป็นอีกหนึ่งแนวคิด ที่ช่วยต่อยอดให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ได้เข้าถึงการท่องเที่ยวในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ให้กับชาวต่างชาติได้อีกช่องทางหนึ่ง แม้ว่าจะยังไม่สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ในช่วงนี้ และที่สำคัญ เราจัดให้มีการทำ business matching ให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยว กับบริษัทต่าง ๆ ที่สนใจท่องเที่ยวชุมชนไว้ในงานอีกด้วย



โดยกำหนดจัดงานขึ้นเมื่อ วันที่ 30 กันยายน – 8 ตุลาคม 2564 กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีการจัดงานในรูปแบบเสมือนจริง  (Virtual Event)  โดยมี CONCEPT  การจัดงาน " อยู่ที่นี่ อยู่ที่ไหน ใกล้ไกล เที่ยวได้ทุกที่ " เพื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี รูปแบบออนไลน์ จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOPและบริการด้านการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวออนไลน์  และส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในรูปแบบเสมือนจริง ผ่านเว็ปไซต์เว็ปไซต์ www.100otopvillage.com   โดยประกอบไปด้วยการส่งเสริมองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ

ส่งเสริมและสนับสนุนแพตเกจด้านการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยว
ส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างรายได้
กิจกรรมการเจรจาธุรกิจ ในรูปแบบเสมือนจริง  (Virtual Event)
จากการดำเนินงานดังกล่าว ได้ผลตอบรับระดับดีเยี่ยม โดยมีผู้เข้าชมงาน ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Event) ผ่านเว็ปไซต์ www.100otopvillage.com   จำนวน 619,136 คน ภายในงานประกอบด้วย ส่วนข้อมูลชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 4 โซน  จำนวน 100 ชุมชน ได้แก่

โซนภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน   36 ชุมชน ได้แก่    1) ชุมชนพองกะ กาญจนบุรี 2) ชุมชนนครชุม กำแพงเพชร 3) ชุมชนแปลงสี่ กำแพงเพชร 4) ชุมชนบ่อโบกปูน จันทบุรี 5) ชุมชนท่าอิฐ ฉะเชิงเทรา 6) ชุมชนเขาใหญ่ ชลบุรี 7) ชุมชนหนองแค ชัยนาท 8) ชุมชนสามสวนกลาง ชัยภูมิ 9) ชุมชนหนองเชียงรอดเหนือ ชัยภูมิ 10) ชุมชนตรอกตะแคง ตราด 11) ชุมชนคีรีวัน นครนายก 12) ชุมชนท่านา นครปฐม 13) ชุมชนหัวถนนกลาง นครสวรรค์ 14) ชุมชนศาลากุล นนทบุรี 15) ชุมชนคลองสาม ปทุมธานี 16) ชุมชนตาลเจ็ดยอด  ประจวบคีรีขันธ์ 17) ชุมชนทางสาย ประจวบคีรีขันธ์ 18) ชุมชนเขาไม้แก้ว ปราจีนบุรี 19) ชุมชนสกัดน้ำมันใต้ พระนครศรีอยุธยา 20) ชุมชนป่าแดงเหนือ พิจิตร 21) ชุมชนร่องกล้า พิษณุโลก 22) ชุมชนถ้ำเสือ เพชรบุรี 23) ชุมชนเข็กน้อย เพชรบูรณ์ 24) ชุมชนหนองมะปริง ระยอง   25) ชุมชนพุน้ำร้อน ราชบุรี 26) ชุมชนซับจำปา ลพบุรี 27) ชุมชนบางกะอี่ สมุทรปราการ 28) ชุมชนคลองบางแค สมุทรสงคราม 29) ชุมชนวังนกไข่ สมุทรสาคร 30) ชุมชนคลองไก่เถื่อน สระแก้ว   31) ชุมชนศรีปทุม สระบุรี 32) ชุมชนพิกุลทองสามัคคี สิงห์บุรี 33) ชุมชนบ้านคุกพัฒนา สุโขทัย  34) ชุมชนจรเข้สามพัน สุพรรณบุรี 35) ชุมชนไชโย อ่างทอง 36) ชุมชนเขาเขียว อุทัยธานี มีผู้สนใจการเข้าชมแพคเกจท่องเที่ยว 40,365 การเข้าชม และมีผู้สนใจผลิตภัณฑ์ชุมชน 174,593การเข้าชม มียอดการเข้าชมรวม 214,958 การเข้าชม
โซนภาคเหนือ จำนวน  11 ชุมชน ได้แก่    1) ชุมชนเมืองรวง เชียงราย 2) ชุมชนโป่งเทวี เชียงราย3) ชุมชนยาง เชียงใหม่ 4) ชุมชนท่ากาน เชียงใหม่ 5) ชุมชนท่าพระธาตุ ตาก 6) ชุมชนเก็ต น่าน7) ชุมชนทุ่งมอก พะเยา 8) ชุมชนทุ่งศรี แพร่ 9) ชุมชนละอูบ แม่ฮ่องสอน 10) ชุมชนหลุกใต้ ลำปาง11) ชุมชนบ้านธิ ลำพูน มีผู้สนใจการเข้าชมแพคเกจท่องเที่ยว 17,507 การเข้าชม และมีผู้สนใจผลิตภัณฑ์ชุมชน 49,411 การเข้าชม  มียอดการเข้าชมรวม 66,918 การเข้าชม
   –  โซนภาคใต้  จำนวน 17 ชุมชน ได้แก่   1) ชุมชนบ้านอ่าวลึกน้อย กระบี่ 2) ชุมชนบกไฟ ชุมพร3) ชุมชนหลังควน ตรัง 4) ชุมชนบ้านตรอกแค นครศรีธรรมราช 5) ชุมชนบ้านสะพาน นครศรีธรรมราช 6) ชุมชนบ้านทอน นราธิวาส 7) ชุมชนเกาะวิหาร ปัตตานี 8) ชุมชนคลองบ่อแสน พังงา 9) ชุมชนโหล๊ะหาร พัทลุง 10) ชุมชนบ่อแร่ ภูเก็ต 11) ชุมชนพรุ ยะลา     12) ชุมชนแหลมนาว ระนอง 13) ชุมชนไร่-นา สงขลา14) ชุมชนบางหยี สงขลา 15) ชุมชนโตนปาหนัน สตูล 16) ชุมชนเกาะแรต สุราษฎร์ธานี 17) ชุมชนเลม็ด สุราษฎร์ธานี มีผู้สนใจการเข้าชมแพคเกจท่องเที่ยว 25,908 การเข้าชม และมีผู้สนใจผลิตภัณฑ์ชุมชน 83,235 การเข้าชม  มียอดการเข้าชมรวม 109,143 การเข้าชม

โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 36 ชุมชน ได้แก่   1) ชุมชนบ้านหนองช้าง กาฬสินธุ์2) ชุมชนบ้านโพนวิมาน กาฬสินธุ์ 3) ชุมชนหนองบัว ขอนแก่น 4) ชุมชนหนองหญ้าปล้อง ขอนแก่น 5) ชุมชนท่าค้อ นครพนม 6) ชุมชนสามผง นครพนม 7) ชุมชนปรางค์นคร นครราชสีมา 8) ชุมชนโคกกลาง นครราชสีมา 9) ชุมชนสุขสาคร บึงกาฬ 10) ชุมชนหนองหิ้ง บึงกาฬ 11) ชุมชนสวายสอ บุรีรัมย์ 12) ชุมชนบุ บุรีรัมย์ 13) ชุมชนเหล่าน้อย มหาสารคาม 14) ชุมชนโนนสว่าง มุกดาหาร 15) ชุมชนด่านมน มุกดาหาร 16) ชุมชนฟ้าห่วน ยโสธร 17) ชุมชนลาดเก่า ยโสธร 18) ชุมชนสวนปอ ร้อยเอ็ด 19) ชุมชนไฮตาก เลย 20) ชุมชนหนองบัว เลย 21) ชุมชนสิม ศรีสะเกษ 22) ชุมชนบกใต้ ศรีสะเกษ 23) ชุมชนท่าวัดเหนือ สกลนคร 24) ชุมชนห้วย.บเหนือ สกลนคร 25) ชุมชนม่วงสวรรค์ สุรินทร์ 26) ชุมชนโชค สุรินทร์ 27) ชุมชนจอมแจ้ง หนองคาย 28) ชุมชนสีกายเหนือ หนองคาย 29) ชุมชนห้วยเดื่อ หนองบัวลำภู 30) ชุมชนท่าศิลา หนองบัวลำภู 31) ชุมชนปลาค้าว อำนาจเจริญ 32) ชุมชนหนองบัวเงิน อุดรธานี 33) ชุมชนไทยสวรรค์ อุดรธานี 34) ชุมชนบ้านนอกด่าน อุตรดิตถ์ 35) ชุมชนชีทวน อุบลราชธานี 36) ชุมชนหนองเอาะ อุบลราชธานี มีผู้สนใจการเข้าชมแพคเกจท่องเที่ยว 59,541 การเข้าชมและมีผู้สนใจผลิตภัณฑ์ชุมชน 168,576 การเข้าชม  มียอดการเข้าชมรวม 228,117 การเข้าชม
และยังประกอบไปด้วย โซนซุ้มทางเข้า โซนจุดถ่ายรูปAR โซนเจรจาธุรกิจเวทีกลาง   ที่มีกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมมินิคอนเสิร์ตในรูปแบบออนไลน์ และยังมีกิจกรรม LIVE สด  จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน จากดาราศิลปิน อาทิ หนูเล็ก กาก้า ชมพู่ ก่อนบ่าย ดีเจนุ้ย ดีเจบุ๊คโก๊ะ  และตุ๊กกี้ สามช่า เป็นต้น และ ไฮไล ของงานคือการจำลองบูทของชุมชนท่องเที่ยว 100 ชุมชนซึ่งภายในประกอบด้วย ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน จัดแสดงและจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์  มีการนำเสนอแพคเกจ ท่องเที่ยวชุมชนที่น่าสนใจกว่า 100 ชุมชน อีกทั้งมีการจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ จำนวน 317 คู่  โดยเป็นบริษัทด้านการท่องเที่ยวเจรจาร่วมมือกับชุมชนในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการประชาสัมพันธ์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

นับได้ว่าเป็นการจัดงานที่ประสบความสำเร็จและตรงตามเป้าหมายของโครงการและได้รับกระแสตอบรับจากกลุ่มนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เป็นการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้าให้กับชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี ในรูปแบบ new normal และเป็นการวางรากฐานรูปแบบการจัดจำหน่ายสินค้า บริการ และแพคเกจของชุมชนท่องเที่ยวแบบยังยืนต่อไป