• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

UBE ปั้นธุรกิจมาร์จินสูง ขึ้นแท่น “สตาร์”

Started by deam205, September 26, 2021, 06:48:43 PM

Previous topic - Next topic

deam205



ติดปีกธุรกิจ ! "แป้งมันสำปะหลัง-เกษตรอินทรีย์" ขึ้นแท่น "ดาวรุ่ง" หลังมาร์จินสูง "จุดขาย" น้องใหม่ไอพีโอ "อุบล ไบโอ เอทานอล" จ่อเข้าระดมทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 30 ก.ย. นี้ "เดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์" นายใหญ่ โชว์พันธกิจ 5 ปี สัดส่วนกำไรแตะ 70% เอทานอลลดลงเหลือ 30%

เมื่อ "ธุรกิจเอทานอล" มีทิศทางเติบโตมั่งคงต่อเนื่อง... แต่ไม่สามารถผลักดันฐานะทางการเงินให้เติบโตอย่าง "ก้าวกระโดด" ได้ ของ บมจ. อุบล ไบโอ เอทานอล หรือ UBE ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลังรายใหญ่ของประเทศไทย โดยมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในธุรกิจมากว่า 16 ปี เตรียมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 1,370 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท ราคาหุ้นละ 2.40 บาท เข้าซื้อขายวันแรก (เทรด) 30 ก.ย. นี้ คาดได้เงินระดมทุนราว 3,288 ล้านบาท

โดยปัจจุบันบริษัทมุ่งสู่แผนการขยายการผลิตและจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรที่มี "มูลค่าสูง" (High Value Product) และอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรประเภทอื่นๆ โดยมีความมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีมูลค่าสูงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สะท้อนผ่านเป็นผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายในโลกที่สามารถผลิตแป้งมันสำปะหลัง "ออร์แกนิค" ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าออร์แกนิคสากล

"อุบล ไบโอ เอทานอล" มี 3 กลุ่มผู้ถือหุ้นร่วมกัน "กลุ่มครอบครัวโควสุรัตน์" ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 25.77% บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) (BBGI) ถือหุ้น 12.36% ซึ่งมี บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น หรือ BCP และ บมจ. น้ำตาลขอนแก่น หรือ KS ถือหุ้น 60 : 40 ใน BBGI และ บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด (TET) ถือหุ้น 12.36% ซึ่งมี บมจ. ไทยออยล์ หรือ TOP เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TET 


จาก "จุดเริ่มต้น" ของกลุ่มนักธุรกิจในจังหวัดอุบลราชธานี ที่ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังแบบจริงจังเดิมพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีจะเพาะปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเมื่อ 10 ปีก่อน จึงเกิดโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังโรงแรก ก่อนจะมีนโยบายรัฐในเรื่อง "เชื้อเพลิงชีวภาพ" ที่มีการส่งเสริมให้ใช้เอทานอลมาทำเป็น "แก๊สโซฮอล์" และตอนนั้น จึงมีกลุ่มของ บมจ. ไทยออยล์ (TOP) และ กลุ่มของ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) ติดต่อมาร่วมลงทุนในธุรกิจด้วย ซึ่งเป็นที่มีตั้งแต่วันนั้นที่บริษัทมี 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง และ ธุรกิจเอทานอล 

ปัจจุบัน UBE ประกอบธุรกิจหลัก 3 ประเภท ได้แก่ 1.ธุรกิจเอทานอล บริษัทถือเป็นผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ของประเทศ และเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง ด้วยกำลังการผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน หรือ 146 ล้านลิตรต่อปี สามารถผลิตเอทานอลได้ทั้งเกรดเชื้อเพลิง (Fuel Grade Alcohol) 99.8% ที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตที่หลากหลาย ทั้งมันสด มันเส้น น้ำตาลทรายดิบและกากน้ำตาล 

UBE ปั้นธุรกิจมาร์จินสูง ขึ้นแท่น "สตาร์" รวมทั้งเอทานอลเกรดอุตสาหกรรม (Industrial Grade Alcohol) 95% ซึ่งบริษัทได้รับอนุญาตชั่วคราวจากกรมสรรพสามิต ให้สามารถจำหน่ายเอทานอลเกรดอุตสาหกรรม เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทำความสะอาดมือ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ภายใต้แบรนด์ "UBON BIO" และ "KLAR" ซึ่งมียอดขายสูงสุดบนแพลตฟอร์มออนไลน์


2.ธุรกิจผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง เกรดอาหารและเกรดอุตสาหกรรม ภายใต้แบรนด์ "อุบลซันฟลาวเวอร์" มีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค ซึ่งบริษัทถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก มีปริมาณการส่งออกมากกว่า 20,000 ตันต่อปีและเป็นผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายในโลกที่สามารถผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าออร์แกนิคสากล ที่ปลอดสารเคมีตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงกระบวนการแปรรูป 

โดยปัจจุบันมีการวิจัย และพัฒนาสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ "แป้งฟลาวมันสำปะหลัง" ภายใต้แบรนด์ "Tasuko" และ "Savvy" ที่สามารถใช้ทดแทนแป้งสาลีในอุตสาหกรรมขนม และเบเกอรี่ ได้ในทุกมิติ เช่น ขนมปัง เบเกอรี่ เส้นพาสต้า เส้นราเมน ขนมขบเคี้ยว พิซซ่า แป้งชุบทอด เป็นต้น มีคุณสมบัติเด่น คือ Organic Gluten-Free Non GMO High Fiber Low GI โดยได้ร่วมมือกับสถาบันสวทช. ผลิตผลิตภัณฑ์นำร่องเป็นแป้งฟลาวผสมเสร็จ (Premix Flour) 3 สูตรได้แก่ แพนเค้ก คุกกี้ และ บราวนี่ จำหน่ายในในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ และร้านขายส่วนผสมวัตถุดิบสำหรับทำเบเกอรี่ทั่วประเทศ

UBE ปั้นธุรกิจมาร์จินสูง ขึ้นแท่น "สตาร์" และ 3.ธุรกิจเกษตรอินทรีย์ UBE ถือเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบทางการเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ การผลิตกาแฟออร์แกนิค (Organic Coffee) และข้าวออร์แกนิค (Organic Rice) ที่ได้รับมาตรฐานออร์แกนิคสากล มีการบริหารจัดการครบวงจรตั้งแต่แปลงปลูกจนถึงมือลูกค้า โดยใช้เทคโนโลยีในการตรวจรับรอง และผลิตปัจจัยการเกษตรครบวงจร เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ และสารชีวภัณฑ์ และคาดว่าจะมี R&D เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์มูลค่าสูงอื่นๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต

ปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศราว 7,000 ไร่ และมีเครือข่ายเกษตรกรที่เป็น Contract Farming 100% ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร ภาคประชาสังคม ในกระบวนการที่เรียกว่า "อุบลโมเดล" เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืน

"เดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. อุบล ไบโอ เอทานอล หรือ UBE เล่าให้ "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ฟังว่า หลังบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น โดยจะนำเงินขายไอพีโอเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เพื่อรองรับ "โอกาสทางธุรกิจ" สะท้อนผ่านเงินระดมทุนนำมาขยายการเติบโตใน 2 ธุรกิจหลัก นั่นคือ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง และ ธุรกิจเกษตรอินทรีย์ โดยวางแผนธุรกิจตั้งเป้าหมายการเติบโตระยะสั้น-ยาว 

สำหรับ แผนการเติบโต "ระยะสั้น" บริษัทเน้นเติบโตผ่านขยายการลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง โดยเฉพาะ "แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค" ซึ่งปัจจุบันมีการผลิต 40,000 ตันต่อปี จะเพิ่มเป็น 1 แสนตันต่อปี ภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) จะลดการผลิตแป้งมันสำปะหลังแบบทั่วไป (Cassava Starch) ลงจากปัจจุบันอยู่ 1.1 แสนตันต่อปี เหลือเพียง 40,000-50,000 ตันต่อปี เนื่องจากอัตรากำไรต่อหน่วยการขายจากธุรกิจผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคสูงกว่า 3 เท่า

และในปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนาสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ "แป้งฟลาว" ภายใต้แบรนด์ "Tasuko" และ "Savvy" โดยบริษัทขยายกำลังผลิตแป้งฟลาว 200 ตัน/วัน (เป็น 300 ตัน/วัน) เดิม 100 ตัน/วัน โดยแป้งฟลาวสามารถใช้ทดแทนแป้งสาลีในอุตสาหกรรมขนม และเบเกอรี่ ซึ่งจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายส่วนผสมวัตถุดิบสำหรับทำเบเกอรี่เปิดตัวสินค้ากลุ่มดังกล่าวไปเมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ การลงทุนสร้างสายการผลิตสารให้ความหวานออร์แกนิค (Organic Sweetener) เช่น "ไซรัป" (Syrup) และ "มอลโทเดกซ์ทริน" (Maltodextrin) กำลังการผลิต 300 ตัน/วัน โดยเน้นขายไปในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากมีความต้องการสูงมาก 

ขณะที่แผนการลงทุนระยะยาวภายใน 5 ปี (2565-2569) มุ่งเน้นการเติบโตจาก "ธุรกิจเกษตรอินทรีย์" โดยตั้งเป้าสัดส่วนรายได้ 5% จากปัจจุบัน 1% ซึ่งบริษัทมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบทางการเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ การผลิตกาแฟออร์แกนิค (Organic Coffee) และข้าวออร์แกนิค (Organic Rice) ที่ได้รับมาตรฐานออร์แกนิคสากล 

โดยบริษัทมีการบริหารจัดการครบวงจรตั้งแต่แปลงปลูกจนถึงมือลูกค้า โดยใช้เทคโนโลยีในการตรวจรับรอง และผลิตปัจจัยการเกษตรครบวงจร เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ และสารชีวภัณฑ์ และคาดว่าจะมี R&D เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์มูลค่าสูงอื่นๆ เพิ่มขึ้นในอนาคต ปัจจุบันมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศราว 7,000 ไร่ และมีเครือข่ายเกษตรกรที่เป็น Contract Farming 100% 

UBE ปั้นธุรกิจมาร์จินสูง ขึ้นแท่น "สตาร์"

ส่วน "ธุรกิจเอทานอล" บริษัทมีการลงทุนขยายกำลังการผลิตเอทานอลเกรดเชื้อเพลิง 40,000 ลิตรต่อวัน ผ่านการทำ De-bottlenecking Capacity โดยมีการกระจายฐานผู้ค้าน้ำมันให้หลากหลายมากขึ้นในการจำหน่ายเอทานอลเกรดเชื้อเพลิง และมีรายได้จากการจำหน่ายเอทานอลเกรดอุตสาหกรรมจากการได้รับอนุญาตเป็นการชั่วคราว จากภาครัฐให้สามารถจำหน่ายเอทานอลเกรดอุตสาหกรรม เพื่อนำไปใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

โดยในแผนธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า บริษัทมีเป้าหมายผลักดัน "สัดส่วนกำไร" ในธุรกิจผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลังและธุรกิจเกษตรอินทรีย์แตะ 70% ยิ่งเฉพาะในผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังที่มีมาร์จินระดับสูง และธุรกิจเอทานอล 30% 

ท้ายสุด "เดชพนต์" ทิ้งท้ายไว้ว่า เรามุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบทางการเกษตรประเภทต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรที่เข้มแข็ง ทำให้ UBE มีจุดเด่นที่แตกต่างจากบริษัทอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกัน