• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

สุดเศร้า! สาธารณสุขเมืองกรุงล้มเหลว ล็อกดาวน์ไร้ผล ยอด 'ผู้ติดเชื้อ' พุ่งคนตายเพียบ

Started by Fern751, August 11, 2021, 02:39:16 PM

Previous topic - Next topic

Fern751



7 วัน ตั้งแต่วันที่ 4-10 ส.ค. 2564 เป็นรอบ 3 ที่ทาง 'ทีมแพทย์ชนบท' ได้บุกกรุง ลงพื้นที่ชุมชนแออัดกทม. และปริมณฑล เพื่อทำการตรวจค้นหาเชิงรุก 'ผู้ติดเชื้อ'โควิด-19

โดยครั้งนี้มีทีมแพทย์ชนบทกว่า 400 คน แบ่งเป็น 40 ทีม กระจายทุกพื้นที่ชุมชนแออัด ซึ่งแต่ละวันจะลงตรวจประมาณ 25-30 จุดในพื้นที่กทม.และปริมณฑล เฉลี่ยจุดละ  1,000 กว่าคน  ต่อวัน จะเท่ากับวันละ25,000-30,000 ราย

พบ 'ผู้ติดเชื้อโควิด-19' ในทุกพื้นที่ชุมชนกทม.และปริมณฑล
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เล่าว่าการลงพื้นที่ของทีมแพทย์ชนบทรอบที่ 3 นี้  ไม่ได้จำกัดเฉพาะในพื้นที่ชุมชนแออัดกทม.เหมือนที่ผ่านมา แต่ออกปฎิบัติไปยังอำเภอต่างๆ ในปริมณฑลด้วย  ทำให้เห็นสภาพปัญหาที่ประชาชนได้พบเจอ


อย่าง วันพฤหัสบดีที่ 5 ส.ค.2564 ทีมตนและทีมจะนะ ได้ออกไปในอำเภอสามพราน จ.นครปฐม พบว่า มีผู้สูงอายุหลายท่านที่ดูแข็งแรงพอสมควร แต่เมื่อตรวจผล Rapid test กลับเป็นผลบวก และเมื่อตรวจซ้ำด้วย RT-PCT ผลเป็นบวกเช่นกัน  จึงได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ และพูดคุยกับญาติ ซึ่งสภาพบ้านผู้สูงอายุ เป็นห้องหลังเล็กๆที่อยู่ร่วมกัน 5-6 คน มีทั้งเด็กและเด็กน้อยที่ติดโควิด-19 ส่วนกลุ่มหนุ่มสาววัยทำงานยังผลเป็นลบและคนเหล่านี้ ยังคงออกไปทำงานข้างนอกทุกวัน

"ปัจจุบันสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นต้องบอกว่าหนักกว่าทุกครั้งที่ลงพื้นที่ตรวจค้นหาเชิงรุก เพราะการลงพื้นที่ชุมชนแออัด โดยเฉพาะในกทม. ลงไปที่ไหนก็พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก จนบางชุมชนกลายเป็นเกิดภูมิคุ้มหมู่จากการติดโควิด-19 ไม่ใช่จากการฉีดวัคซีน" นพ.สุภัทร กล่าว


อีกทั้ง ในชุมชนประมาณ 25-30% จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ยิ่งไปเห็นสภาพครอบครัว ที่ห้องหนึ่งอยู่กันหลายคน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าทำไมมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ความหวังที่ยอดผู้ป่วยลดลงคงไม่เกิดขึ้น


สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย


เมืองกรุงบริหารจัดการขั้นล้มเหลว นายกฯก็ไม่สามารถแก้ได้ 
นพ.สุภัทร เล่าต่อว่า เมื่อก่อนเวลาตรวจพบ ผู้ป่วยโควิด-19 จะให้ ยาฟาวิพาราเวียร์ และต้องตอบคำถามผู้ป่วยว่าพวกเขาจะต้องทำยังไงต่อ  จะดูแลตัวเองอย่างไร ถ้าเข้า Home Isolation ใครจะดูแลเขา สภาพบ้านครอบครัวก็ไม่เหมาะสมไม่รู้จะไปรักษาที่ไหน

ทว่า ตอนนี้คำถามเหล่านั้นไม่ค่อยมี หลายคนรู้สภาพปัญหาของประเทศ ว่าไม่มีเตียงรองรับ ไม่มีรพ.ให้เข้า รู้ว่าต้องปฎิบัติตัวอย่างไร จะกักตัวเองอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ คือ การเข้าถึงยา เข้าถึงการรักษาอย่างทันถ่วงที เพราะต่อให้โทรไปหาหน่วยงานรัฐ ก็ต้องรอระบบอยู่ดี


"ภาพรวมโควิด-19 รอบนี้ จะหนักในพื้นที่กทม.และปริมณฑล ซึ่งในต่างจังหวัด หลายจังหวัด ได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ได้ดี ผิดกับในกทม.และปริมณฑล โดยเฉพาะกทม. การบริหารจัดการเข้าขั้นล้มเหลว ต่อให้ตอนนี้นายกรัฐมนตรี มานั่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์แก้โควิด-19 เฉพาะกิจในกทม.และปริมณฑล ก็ยังไม่สามารถแก้ได้" นพ.สุภัทร กล่าว

กทม.เป็นเอกเทศ ติดขั้นตอนติดระบบ กว่าจะช่วยผู้ป่วยตายก่อน
กทม.เป็นเอกเทศ ทุกคนติดขั้นตอน ติดระบบไปหมด ต่างคนต่างทำงาน ไม่มีการทำงานร่วมกัน ทำให้มีช่องว่างในการทำงานระหว่างกทม.กับหน่วยงานอื่นๆ กว่าจะตรวจคัดกรองเชิงรุก กว่าจะลงพื้นที่จ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย กว่าผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาก็ไม่ทันการกลายเป็นทั้งชุมชนแออัดเต็มไปด้วยผู้ป่วยโควิด-19


หลายชุมชนมีคนนอนตายนอกบ้าน เพราะไม่อยากทำให้คนในครอบครัวติดเชื้อ และบางชุมชนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แบบที่รัฐบาลอยากให้เป็นแต่ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีน เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเราไม่อยากให้เป็นแบบนั้น

ปัญหาของหลายชุมชนที่พบเจอตอนนี้ ไม่ใช่เป็นปัญหาของประชาชนที่ไม่รู้ว่าจะดูแลตัวเองอย่างไร แต่สิ่งที่พวกเขาประสบพบเจอ คือ สภาพครอบครัว สภาพบ้านที่ไม่เอื้ออำนวยให้ทำตามมาตรการรัฐ  Home Isolation จึง ไม่สามารถเกิดขึ้นได้   หรือเป็นทางเลือกที่ประชาชนไม่ได้เลือก

แนะจัดหาวัคซีน 15ล้านโดสต่อเดือนโควิดรอบนี้ ไทยถึงจะรอด
นพ.สุภัทร กล่าวต่อไปว่าอยากแนะนำให้ทางกทม.เพิ่มรพ.สนาม เพิ่ม Community Isolation เพราะถ้าทุกคนทำ Home Isolation  กักตัวที่บ้านก็จะติดเชื้อกันหมด และควรมีการเพิ่มจุดตรวจคัดกรองให้ทุกจุด ทุกเขต เมื่อพบผู้ติดเชื้อ ทุกคนต้องได้รับยาทันที

โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตรวจพบว่าติดโควิด-19 หรือมีการสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ควรให้ยาฟาวิพิราเวียร์ทันที ไม่ใช่รอให้ติดเชื้อก่อนแล้วมาให้ เวลานั้นอาจไม่ทันการแล้วพอเจอก็กลายเป็นเสียชีวิตไปแล้ว

 

"ตอนนี้วิธีเดียวที่จะทำให้คนไทย โดยเฉพาะคนกรุงรอด รัฐบาลควรจะจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้ได้เดือนละ 15 ล้านโดส ไม่ใช่ขณะนี้ที่ไม่รู้ว่าวัคซีนมีเท่าใด วัคซีนไปอยู่ที่ไหนหมด เดือนหนึ่งวัคซีนเข้าไม่ถึง 5 ล้านโดส ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่เกิน 2 เดือน จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 อีกมาก อาจมีคนตายนับหมื่นราย ดังนั้น ควรมีแผนการจัดหา จัดสรรวัคซีนที่ชัดเจนให้ประชาชนได้รับรู้  เพราะหน้าที่ของรัฐบาลในขณะนี้ คือการจัดหาวัคซีนให้ประชาชนและควรจะหาให้ได้" นพ.สุภัทร กล่าว

'ล็อกดาวน์' ไม่ได้ผล เกิดภูมิคุ้มกันหมู่จากการติดเชื้อไม่ใช่วัคซีน
ล็อกดาวน์ ห้ามทุกคนออกนอกบ้าน ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านอาหาร ให้ work from home 100% ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด และขอความร่วมมือจากประชาชนอย่างเต็มที่ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวอีกว่ามาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมานั่น


ไม่ว่าจะ ล็อกดาวน์ มาตรการ Home Isolation Community Isolation ตรวจคัดกรอง หรือออกพ.ร.ก.อะไรมาก็ตาม  อาจจะช่วยได้แต่เป็นเสมือนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่า เพราะโควิด-19 เป็นโรคระบาดการหยุดโรคระบาดต้องสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ นั่นคือ ทุกคนต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 การล็อกดาวน์ในวงกว้างตอนนี้เหมือนขี้ช้างจับตั๊กแตก ยอดผู้ป่วยไม่ลด แต่ความเสียหายกระจายเป็นกว้างมาก

"การล็อกดาวน์ ทำได้แต่ควรเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุกชุมชนลาดพร้าว พบผู้ติดเชื้อ 15-20% ก็ล็อกดาวน์เฉพาะในชุมชนนั้น แต่การล็อกดาวน์ไม่ใช่การจำกัดการเข้าออก แต่ขอให้ทุกคนตรวจโควิด-19 คนไหนที่ไม่ติดเชื้อให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ได้รับการดูแล และต้องมีการเยียวยา ชดเชย รายได้ให้แก่พวกเขา  ขณะเดียวกันเมื่อมีการเข้าออกชุมชนต้องมีสแกนชุมชน และจัดตั้งแยกกันตัวในชุมชน" นพ.สุภัทร กล่าว


แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ของไทยมีศักยภาพในการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนวันละ 5 แสนคน แต่ตอนนี้ไม่มีวัคซีนให้ฉีด อีก 2 เดือนหากคนไทย คนกรุงเทพฯ ไม่ได้ฉีดวัคซีนคาดว่าจะเกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ ในชุมชนแออัดจากกทม. แต่เป็นภูมิคุ้มกันหมู่ที่มาจากการติดเชื้อจำนวนมากๆ