• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

สศค. คงคาดการณ์ GDP ปี 65 โต 4.0%

Started by Ailie662, January 31, 2022, 03:51:22 PM

Previous topic - Next topic

Ailie662

สศค. คงคาดการณ์ GDP ปี 65 โต 4.0% จากการใช้จ่ายในปท.-ท่องเที่ยวฟื้น
 
กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 4.0% จากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศ และภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการ สศค. ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในปี 2565 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ 4.0% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 3.5 - 4.5%) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายในประเทศที่ขยายตัว หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย เริ่มมีผลกระทบในวงจำกัด โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวที่ 4.5% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 4.0 - 5.0%)

ภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัว หลังจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศผ่านระบบ Test & Go อีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป โดยคาดว่านักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 1,536% สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 1,217% ในขณะที่การส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวที่ 3.6% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 3.1 - 4.1%) ตามอุปสงค์โลกที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายของภาครัฐ จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 ภาครัฐจะมีการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท และงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565 วงเงิน 3.07 แสนล้านบาท รวมทั้งเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท ในส่วนที่เหลือที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในทุกกลุ่มอย่างตรงจุด รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจต่าง ๆ

โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวที่ 1.2% ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 0.7 - 1.7%) และการลงทุนภาครัฐ ขยายตัวที่ 3.7% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 3.2 - 4.2%) ทั้งนี้ แรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ จะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจ รวมทั้งการลงทุนในประเทศปรับตัวสูงขึ้น โดยการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 5.0% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 4.5 - 5.5%) ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 1.9% (ช่วงคาดการณ์ที่ 1.4 - 2.4%) และยังอยู่ภายในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกันกำหนดที่ระดับ 1.0 - 3.0% ต่อปี

โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ 1) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต 2) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก อาทิ การส่งสัญญาณปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในหลายประเทศ จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการไหลออกของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ

3) ตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่ จึงเป็นข้อจำกัดสำหรับการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน และความสามารถในการชำระหนี้สินของภาคครัวเรือนที่ยังคงมีความเปราะบาง 4) ปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานการผลิต (Supply Disruption) เช่น การขาดแคลนอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ที่อาจยืดเยื้อ และ 5) ราคาพลังงานและน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง

ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง จะได้มีการติดตามและประเมินผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะดำเนินมาตรการทางการคลังและการเงินที่เหมาะสม เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ

ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวที่ 1.2% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 0.9 - 1.4%) ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อน ณ เดือนตุลาคม 2564 ที่ 1.0% ต่อปี โดยเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ฟื้นตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการประคับประคองเศรษฐกิจไทย และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่ปรับดีขึ้น และการเร่งกระจายวัคซีนที่มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวที่ 0.2% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ -0.1 ถึง 0.4%) และการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวที่ 3.7% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 3.4 - 3.9%) ในขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทย คาดว่าจะขยายตัวได้ถึง 19.0% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 18.7 - 19.2%) ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปัญหาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Disruption) ที่ทยอยคลี่คลายลง

ด้านนายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สศค. กล่าวว่า สมมติฐานสำคัญ 5 ด้าน ที่กระทรวงการคลังใช้ในการประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2565 มีดังนี้

1. อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ 15 ประเทศคู่ค้าหลัก ในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.4% เป็นการเติบโตต่อเนื่องจากปี 2564 แต่ในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากปัจจัยความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิดทั่วโลก ที่แม้จะไม่รุนแรงเท่าปีก่อน แต่ประเทศต่างๆ ยังไม่สามารถเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เต็มที่ ประกอบกับหลายประเทศอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งต้องตามมาตรการควบคุมการระบาดของโควิดในประเทศที่สำคัญ เช่น จีน และสหภาพยุโรป ที่อาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลกได้

2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท คาดว่าในปี 2565 เงินบาทจะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 33.10 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลง 3.4% จากในปีก่อน ที่ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 32.00 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทในปีนี้ ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลังสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิดเริ่มคลี่คลาย และประชาชนในประเทศได้รับวัคซีนป้องกันโควิดกันมากขึ้น ขณะเดียวกันเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า ยังมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มากขึ้นจากแนวโน้มรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมากขึ้น หลังการเปิดประเทศ ขณะเดียวกัน เงินบาทยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ สถานการณ์ความขัดแย้งในต่างประเทศ

3. ราคาน้ำมันดิบดูไบ คาดว่าในปี 2565 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 72.50 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.8% พร้อมคาดการณ์ว่าการผลิตน้ำมันจะเพิ่มสูงกว่าความต้องการบริโภคตั้งแต่ไตรมาส 2/65 เป็นต้นไป ซึ่งจะมีผลให้ราคาน้ำมันดิบเริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2565

4. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คาดว่าในปี 2565 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 1,536% สร้างรายได้การท่องเที่ยวให้ประเทศราว 4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,217% เป็นผลจากการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์เดลตา ทำให้ประเทศไทยมีแนวโน้มผ่อนคลายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น ประกอบกับในประเทศมีการบริหารจัดการวัคซีนได้ดี ทำให้คนไทยได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงกว่าในปีก่อน

5. รายจ่ายภาคสาธารณะ คาดว่าในปีงบประมาณ 2565 จะมีการเบิกจ่ายได้ 93.2% ที่วงเงิน 2.89 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบรายจ่ายประจำ 2.40 ล้านล้านบาท และงบรายจ่ายลงทุน 4 แสนล้านบาท รวมทั้งเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท ในส่วนที่เหลือที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง

ตารางประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 ณ เดือน ม.ค. 65 ของ สศค.

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 ณ เดือน ม.ค.65

                                     2564f                    2565f
                                ต.ค.64     ม.ค.65        ต.ค.64   ม.ค.65
อัตราการขยายตัวของ GDP               1.0        1.2           4.0      4.0
การบริโภคเอกชน                      0.8        0.2           4.2      4.5
การบริโภคภาครัฐ                      3.8        2.6           1.1      1.2
การลงทุนเอกชน                       4.0        3.7           5.0      5.0
การลงทุนภาครัฐ                       8.1        5.9           5.0      3.7
ปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ             8.4       10.6           7.3      6.9
ปริมาณนำเข้าสินค้าและบริการ            17.8       19.3           6.1      6.7
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)         23.6       38.7          20.6     36.0
มูลค่าสินค้าส่งออกในรูป USD             16.3       19.0           3.8      3.6
มูลค่าสินค้านำเข้าในรูป USD             29.2       24.3           5.4      5.4
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)   -18.3      -10.6           0.3      0.5
ดุลบัญชีเดินสะพัด (%GDP)               -3.7       -2.1           0.1      0.1
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป                     1.0        1.2           1.4      1.9
อัตราเงินพื้นฐาน                       0.3        0.2           0.4      0.4