• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ธปท.ชี้แพลตฟอร์มข้ามชาติโจทย์ท้าทายธนาคารกลาง

Started by Prichas, November 28, 2021, 08:54:00 AM

Previous topic - Next topic

Prichas

ธปท.เผยนโยบายการเงินปลดล็อคเศรษฐกิจหนุนระบบการเงินเดินหน้า ขณะที่มาตรการการคลังดันจีดีพี 3ปีบวกกว่า 10.8% แนะปรับตัวและใช้ประโยชน์ 2กระแส " ดิจิทัล-เศรษฐกิจสีเขียวและ โลกร้อน"

ธปท.ชี้แพลตฟอร์มข้ามชาติโจทย์ท้าทายธนาคารกลาง
ธปท.ชี้แพลตฟอร์มข้ามชาติโจทย์ท้าทายธนาคารกลาง

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธินาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เสวนาพิเศษ หัวข้อ "การเงิน-การคลัง" กู้วิกฤตเศรษฐกิจไทยในงานสัมมนาประชาชาติธุรกิจ Thailand2022 : Unlock Value สู่เส้นทางใหม่ ไร้ขีดจำกัด โดยระบุว่า   การจะปลดล็อคนโยบายการเงินนั้นจะมีขีดจำกัด  จึงต้องประสาน 2นโยบายโดยใช้จุดแข็งทั้งนโยบายการเงินและนโยบายทางการคลังให้ถูกต้อง  โดยเฉพาะนโยบายการเงินเน้นการใช้นโยบายเต็มที่  เช่น มีการตั้งเป้าสินเชื่อและติดตามผลกับธนาคารพาณิชย์อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้ได้ผลโดยคำนึงถึงขีดจำกัด

ที่สำคัญ ถ้าต้องการจะปลดล็อค ต้องทำนโยบายไม่สุดโต่ง    เพราะเห็นได้จากกลุ่มประเทศ3จี  อัตราดอกเบี้ยต่ำใกล้ศูนย์  ปัญหาหนี้สาธารณะ  ขณะที่ต้นทุนในการกู้ยืมต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นผลพวงจากการดำเนินนโยบายสุดโต่ง สะท้อนว่าการทำนโยบายสุดโต่งเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพ

 

 



ต่อข้อถามถึงสัญญาณอันตรายในระยะข้างหน้า ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า   ปัจจุบันปัจจัยภายนอก มีการพูดถึงประเด็นเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยโลก  โดยมีความกังวลธนาคารกลางกลุ่มประเทศหลักจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอาจจะส่งผลตลาดเงินตลาดทุนโลกคล้าย " Taper tantrum" แต่ทั้งในแง่เงินเฟ้อและดอกเบี้ยโลผลที่จะส่งผ่านต่อไทยคงไม่มาก แต่ไม่ควรชะล่าใจ

          กลับมามองสัญญาณเตือนภัยในประเทศ  หากดูจากการเร่งฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชาชนจำนวนมากขึ้น และมีจำนวนคนได้รับวัคซีนมากกว่าคาด  ถ้าเกิดการระบาดอีกระลอก แต่ความรุนแรงน่าจะควบคุมได้หากประเมินจากประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนมากขึ้น ซึ่งโอกาสจะเกิด Hard Lockdown ถ้าการ์ดตก

          นอกจากนี้การที่เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและไม่เท่าเทียมกัน จึงต้องดำเนินนโยบายตรงจุดเทขาล่าง  โดยแนวโน้มจีดีพีไทยที่มองว่าจะกลับมาไตรมาส 1ปี2566 เป็นการฟื้นตัวเชิงตัวเลข แต่ถ้าความรู้สึกของคนทั่วไปยังฟื้นช้า ส่วนหนึ่งเพราะตลาดแรงงานไทยพึ่งภาคท่องเที่ยว ขณะที่ธปท.มองจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมา 6ล้านคนในปี2565แต่ยังห่างไกลจำนวนเดิม 40ล้านคน อีกทั้งยังมีปัญหาหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงทำให้สายป่านสั้น เหล่านนี้ยังเป็นความเสี่ยง ซึ่งต้องดูแลไม่ได้การฟื้นตัวสะดุดรวมถึงควบคุมหนี้เอ็นพีแอลไม่ให้ตกชั้น


ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวถึงการดำเนินนโยบายการเงินของไทยว่า  การส่งผ่านนโยบายการเงินอันดับแรก ธปท.ต้องทำให้ระบบการเงินทำงานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด   ซึ่งที่ผ่านมาปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยติดลบ 6% แต่ภาพรวมของสินเชื่อไม่หดตัวตามเศรษฐกิจ  เมื่อเทียบประเทศอื่นที่จีดีพีขยายตัวติดลบน้อยกว่าไทย แต่การขยายตัวสินเชื่อของไทยขยายตัว 4-5% แต่อินโดนีเชียโตกว่า 1% มาเลเซีย 3% สิงคโปร์ 2%

อย่างไรก็ตาม แม้สินเชื่อโดยรวมเติบโตขึ้น แต่บางจุดที่ระบบการเงินยังไม่ทำงาน เช่น สินเชื่อเอสเอ็มอี  ธปท.จึงออกมาตรการเสริมทั้งซอฟท์โลนและสินเชื่อฟื้นฟูทำให้สินเชื่อเอสเอ็มอีกลับมาเป็นบวก  อีกอันที่สำคัญ คือ ลดภาระหนี้เดิมโดยทำในลักษณะตรงจุดทั้งมาตรการดูแลปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนและเอสเอ็มอี โดยเน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่สอดคล้องกับความสามารถของลูกหนี้

" ยอมรับว่าการกู้วิกฤตเศรษฐกิจขาล่างนั้น พระเอกยังเป็นมาตรการทางการคลัง  โดยเฉพาะขาล่าง  ถ้าไม่มีมาตรการทางการคลังภาพจะหนักกว่านี้ จึงจำเป็นต้องออกพ.ร.บ.กู้เงิน  ปีที่แล้วถ้าไม่มีเงินจากมาตรการคลังจะเห็นจีดีพีติดลบ 9%ไม่ใช่-6% ปีนี้ธปท.มองจีดีพีคาดไว้ 0.7% ถ้าไม่ได้มาตรการคลังจะติดลบกว่า 4% และปีหน้าก็เช่นเดียวกัน  โดยรวมเบ็ดเสร็จ จากมาตรการการคลังที่ออกมา 3ปีคือ ปีที่แล้ว  ปีนี้และปีหน้า เบ็ดเสร็จช่วยจีดีพีบวกประมาณ 10.8%สะท้อนมาตรการคลังเป็นพระเอกและช่วงขาล่าง"

ในแง่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนั้น  ดร.เศรษฐพุฒิระบุว่า โจทย์ท้ทายในการปรับตัวใน 2กระแสคือ ดิจิทัลในแง่ของการปรับตัวและใช้ประโยชน์  และกระแสกรีน และ โลกร้อน ซึ่งความจำเป็นระยะสั้นต่อไทยซึ่งมีความเปราะบางอยู่อันดับ9ของโลก เพราะไทยอยู่ในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเล ขณะแรงงาน 1 ใน 3อยู่ในภาคเกษตรเพราะเศรษฐกิจไทยอิงกับภาคท่องเที่ยวด้วย  โดยเฉพาะผลกระทบจากนโยบายกลุ่มประเทศยุโรป จัดเก็บภาษีปล่อยคาร์บอน ซึ่งสินค้าส่งออกของไทยต้องปรับตัวให้กรีนสอดคล้องกระแสโลกร้อน

 

สำหรับบทบาทธปท.ในการกำกับภายใต้การปรับตัวของภาคเอกชนนั้น ธนาคารกลางทั่วโลกปวดหัวกับการบาลานระหว่างนวัตกรรมกับเสถียรภาพในการบริหารความเสี่ยง โดยต้องปรับตำรา เพราะบางอย่างเหมือนเดิมแต่บางอย่างเปลี่ยนแต่ต้องบาลาน เช่น ผู้เล่นใหม่ในระบบการเงินนั้น  สำหรับภาคการเงินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะนอนแบงก์เข้ามามีบทบาทในตลาด Consumer  และ Shadow Banking

แต่รอบนี้เป็นผู้เล่นใหม่ต่างไปจากเดิม   NON  Financial Player เป็น Tech Platform  และเป็นแพลตฟอร์มข้ามประเทศ(Cross Border) และที่หนักกว่านั้นคือ DeFi  รูปแบบผู้เล่นหน้าใหม่รอบนี้แตกต่างเดิม จึงเป็นโจทย์หน่วยงานกำกับทั่วโลก

ทั้งนี้ ธนาคารกลางในฐานะผู้กำกับยังคงภาระกิจดูแลเสถียรภาพการเงิน  เสถียรภาพระบบการชำระเงินและเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ถูกเปลี่ยนจากดิจิทัลที่เข้ามา แต่ต้องปรับไส้ที่กระทบมากคือ เทคโนโลยีใหม่จะกระทบการชำระเงิน ดังนั้นการดูแลยังคงเดิมแต่โจทย์มีความเสี่ยงสูงต้องดูแลความเสี่ยงผู้บริโภคและภัยไซเบอร์  นอกจากนี้ธนาคารกลางต้องการเห็นสิ่งใหม่ที่เข้ามาไม่ก่อปัญหา ซึ่งแนวการปรับตัวธนาคารกลางต้องปรับเรื่อง Stabilityให้ยืดหยุ่นได้ดีและResilience 

 

อย่างไรก็ตาม         โอกาสของประเทศไทยในการช่วยปลดล็อคเศรษฐกิจนั้น  ดร.เศรษฐพุฒิบอกว่า ควรต่อยอดจากในสิ่งที่เหมาะสม เช่น เรื่องการปรับภาคท่องเที่ยวเป็นเชิงคุณภาพ  ส่วนวิธีปลดล็อคของภาครัฐคือ ภาครัฐต้องสร้างระบบนิเวศน์ให้กลไกตลาดเกิดขึ้นและเติบโตได้  ยิ่งโลกเปลี่ยนเร็วภาครัฐยิ่งต้องรักษากฎหมายไม่เป็นอุปสรรค