• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

WHAมั่นใจปีนี้โต 30 % เร่งทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล

Started by Naprapats, September 15, 2021, 09:02:17 PM

Previous topic - Next topic

Naprapats



นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA คาดการณ์รายได้รวมและส่วนแบ่งกำไรปกติปี 2564 จะสูงเป็นประวัติการณ์ ด้วยอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 30 จากปีก่อน โดยที่ยังคงระดับความสามารถในการทำกำไรสูงด้วยกำไรจากการดำเนินการก่อนหักค่าใช้จ่าย (EBITDA) กว่าร้อยละ 40 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตั้งเป้าขายสินทรัพย์เข้ากองทรัสต์เพื่อการซื้อหวยออนไลน์ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท (WHART) มูลค่ากว่า 5,500 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ด้วย

ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (IBD) ยังอยู่ที่ 1.3 เท่า WHA จะยังคงงบดุลของเราให้แข็งแกร่ง ลงทุนให้ธุรกิจเติบโต รองรับทุกความต้องการของลูกค้า และสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจให้แก่ผู้ถือหุ้น

สำหรับกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2564 และมีแนวโน้มสดใสด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รวมถึงความร่วมมือระยะยาวกับพันธมิตรสำคัญระดับโลก ตลอดจนการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้
ทั้งนี้ ในครึ่งแรกของปี 2564 มีการเซ็นสัญญาโครงการใหม่ ๆ รวมพื้นที่ 35,000 ตารางเมตร และสัญญาระยะสั้นอีก 100,000 ตารางเมตร และภายในสิ้นปี จะมีการส่งมอบโครงการโลจิสติกส์แห่งใหม่ 5 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่รวมมากกว่า 110,000 ตารางเมตร พร้อมเปิดตัวโครงการเมกกะ โลจิสติกส์ แห่งใหม่ และขยายพื้นที่ในโครงการเดิม ขนาดกว่า 400,000 ตารางเมตร
นอกจากนี้ สถานการณ์โควิด-19 ช่วยเร่งให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตเร็วขึ้น และเป็นการเพิ่มความต้องการศูนย์กระจายสินค้าสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ ธุรกิจโลจิสติกส์ของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ปยังได้รับผลตอบรับที่ดีจากความต้องการโรงงานสำเร็จรูป (Ready-Built Factories - RBF) และคลังสินค้าสำเร็จรูป (Ready-Built Warehouse – RBW) ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้น คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีพื้นที่คลังสินค้าภายใต้การถือครองและบริหารจัดการรวม 2,560,000 ตารางเมตร

ธุรกิจโลจิสติกส์ของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ยังได้เดินหน้าในการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาปรับใช้เพื่อสร้างโซลูชันบริการที่เปี่ยมนวัตกรรมแบบครบวงจรที่สร้างมูลค่าใหม่ ๆ มุ่งตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นร้อยละ 29.40 ในบริษัท สตอเรจ เอเชีย จำกัด ผู้ให้บริการให้เช่าพื้นที่จัดเก็บทรัพย์สินส่วนบุคคลระดับพรีเมียม ภายใต้แบรนด์ "i-Store Self Storage" โดยดับบลิวเอชเอจะใช้ความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ในธุรกิจโลจิสติกส์มาสนับสนุนสตอเรจ เอเชีย ในการสร้างสรรค์การให้บริการพื้นที่จัดเก็บทรัพย์สินส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ซึ่งในปีนี้ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป มีแผนที่จะขายทรัพย์สิน ได้แก่โครงการ Built-to-Suit Warehouse และ General Warehouses ขนาด 180,000 ตารางเมตร เข้ากองทรัสต์ WHART ด้วยมูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 5,500 ล้านบาท

กลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ (WHAID) ตอกย้ำการเป็นผู้นำตลาดทั้งในประเทศไทยและขยายธุรกิจสู่เวียดนาม ปัจจุบัน มีนิคมอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 12 แห่ง โดยตั้งอยู่ในประเทศไทย 11 แห่ง และเวียดนามอีก 1 แห่ง นอกจากนี้ ยังกำลังพัฒนานิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่เพิ่มอีก 3 โครงการในประเทศไทย และอีก 2 โครงการในเวียดนาม คิดเป็นพื้นที่รวม 68,000 ไร่ ซึ่งรวมพื้นที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่จำนวน 49,900 ไร่ ในประเทศไทย คาดว่านิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3 (WHA ESIE 3) และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 (WHA RY36) จะดำเนินการสร้างเสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายปี 2564 และภายหลังจากผ่านการอนุมัติการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว การก่อสร้างส่วนต่อขยายของนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 (WHA ESIE 4) ก็จะเริ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ส่วนนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง (WHA IER) ซึ่งได้รับการอนุมัติให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษจากอีอีซี จะเริ่มการก่อสร้างในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2565

โดยจะเป็นผลให้ WHAID มีที่ดินอุตสาหกรรมพร้อมซื้อขายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บนทำเลยุทธศาสตร์เพื่อรับการลงทุนในอนาคตในประเทศเวียดนาม เขตอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล โซน 1 – เหงะอาน ได้เสร็จสิ้นการก่อสร้างเฟส 1 ขนาดพื้นที่ 1,000 ไร่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้เช่าร้อยละ 54 ของพื้นที่ ประกอบด้วยลูกค้าจากจีน ญี่ปุ่น และไทย ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ และวัสดุก่อสร้าง ขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างเฟส 2 ขนาด 2,100 ไร่ คาดว่าการก่อสร้างจะเริ่มในไตรมาส 1 ปี 2565 นอกจากนี้ WHAID ยังกำลังพัฒนาเขตอุตสาหกรรมเพิ่มอีกสองแห่ง ได้แก่ WHA Smart Technology Industrial Zone - Thanh Hoa และโครงการ WHA Northern Industrial Zone ในจังหวัดถั่งหัว ครอบคลุมพื้นที่กว่า 7,500 ไร่ โดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 และ 2567

สำหรับ ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ ยังคงเดินหน้าดำเนินธุรกิจตามแนวคิด "Smart Eco Industrial Estates" ด้วยการเปิดรับนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเริ่มดำเนินการ "ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติงานแบบรวมศูนย์" ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์ เพื่อตรวจสอบตัวบ่งชี้หลักด้านการทำงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงข้อมูลการจราจร ความปลอดภัย การปล่อยก๊าซทางอากาศ ระดับน้ำ ตลอดจนคุณภาพน้ำเสีย ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากระบบจัดการจราจรอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด และระบบ SCADA1 ซึ่งติดตั้งไว้ที่นิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ ในประเทศไทย

นอกเหนือจากการขยายธุรกิจเชิงภูมิศาสตร์แล้ว WHAID ยังนำเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นให้แก่ลูกค้า ด้วยความร่วมมือกับทัส โฮลดิ้งส์ จากประเทศจีน บริษัทดำเนินการศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรม "ทัสพาร์ค ดับบลิวเอชเอ" ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่บริหารจัดการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ทัสพาร์ค ดับบลิวเอชเอ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพและส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศจีนกับไทย นอกจากนี้ บีไอจี ดับบลิวเอชเอ อินดัสเทรียลแก๊ส ยังได้ร่วมมือกับ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จํากัด เพื่อสร้างโรงงานแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซ โดยจะจัดจำหน่ายก๊าซไนโตรเจนให้แก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) และนิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 ที่อยู่ติดกัน โดย บีไอจี ดับบลิวเอชเอ อินดัสเทรียลแก๊ส จะเริ่มจัดจำหน่ายไนโตรเจนให้แก่ลูกค้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2564

ส่วนดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) เดินหน้าขยายธุรกิจสาธารณูปโภคภายในและภายนอกนิคมอุตสาหกรรมของกลุ่มบริษัท ทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม และพัฒนาโซลูชันพลังงานหมุนเวียนที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดยเฉพาะธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์

ด้านสาธารณูปโภค ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ ยังคงเดินหน้าขยายผลิตภัณฑ์และโซลูชันอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์น้ำมูลค่าเพิ่ม เช่น โครงการ Wastewater Reclamation และการผลิตน้ำที่ปราศจากแร่ธาตุ (Demineralized Water) โดยใช้เทคโนโลยีเมมเบรนรีเวิร์สออสโมซิส ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 WHAUP ได้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำประปาและการบำบัดน้ำเสีย รวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16 และ 170 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยหลายโครงการอยู่ระหว่างการพัฒนาและดำเนินการก่อสร้าง เช่น โรงบำบัดน้ำแห่งใหม่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 ซึ่งมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 2.74 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โรง reclamation และโรงผลิตน้ำปราศจากแร่ธาตุ ยังให้บริการน้ำปราศจากแร่ธาตุแก่ลูกค้านอกนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ และโครงการน้ำดิบทางเลือก ด้วยกำลังการผลิต 6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีที่เวียดนาม WHAUP อยู่ระหว่างการดำเนินการ 3 โครงการ

 ส่งผลให้ปริมาณน้ำประปาและน้ำเสียมีขนาดรวมถึง 10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โรงบำบัดน้ำ Duong River Surface (WHAUP ถือหุ้นร้อยละ 34) มีอัตราการใช้น้ำที่สูงขึ้นและมีปริมาณการขายน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในครึ่งแรกของปี 2564 โรงบำบัดน้ำ Cua Lo (WHAUP ถือหุ้นร้อยละ 47) ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกรกฎาคม 2564 และขยายกำลังการผลิตของโรงงานเป็น 7.3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

ด้านพลังงาน ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ ยังคงขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยการพัฒนาโซลูชันพลังงานหมุนเวียน นอกเหนือจากพลังงานแบบดั้งเดิม โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 มีโครงการโซลาร์ที่ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ หลายโครงการ อาทิ คอนติเนนทอล ไทร์ส ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 และ ฮอนด้า ในจังหวัดปราจีนบุรี นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังได้ลงนามในสัญญาอีกหลายฉบับ โดยมีโครงการ Solar ที่เปิดดำเนินการแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 46 เมกะวัตต์ และบริษัทฯ มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการ Solar Rooftop รวมทั้งสิ้น 63 เมกะวัตต์ คาดว่าธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ของ WHAUP จะมีกำลังการผลิตรวม 90 เมกะวัตต์ ภายในสิ้นปี 2564 ทั้งนี้ ภายใต้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นโซลูชันนวัตกรรม WHAUP ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับพันธมิตรด้านพลังงานชั้นนำ อย่าง ปตท. และเซอร์ทิส เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มพลังงานอัจฉริยะเพื่อซื้อขายพลังงานแสงอาทิตย์ในกลุ่มลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ทั้งนี้ในปี 2564 บริษัทฯ จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นทั้งสิ้น 670 เมกะวัตต์

ธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มของดับบลิวเอชเอ ยังคงดำเนินแผนการให้บริการไฟเบอร์ออปติก (FTTx) ในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 10 แห่งของดับบลิวเอชเอในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน FTTx ได้ให้บริการแก่ลูกค้าทั้งหมดในนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่ง ในขณะที่กำลังดำเนินการติดตั้งให้ครอบคลุมพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมที่เหลืออยู่อีก 4 แห่ง

อย่างไรก็ดี การมีส่วนร่วมในการพัฒนา 5G เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของกลยุทธ์ดิจิทัลแพลตฟอร์มของดับบลิวเอชเอ บริษัทฯ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ทั้งหมด รวมถึง แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (AWN) ทรู และดีแทค เพื่อร่วมวางแผนการวางเครือข่าย 5G และโซลูชัน 5G และเร่งการสร้างสรรค์โซฃูชันอัจฉริยะสำหรับลูกค้าของดับบลิวเอชเอ

ธุรกิจดิจิทัล แพลตฟอร์ม ยังขยายความร่วมมือกับสตาร์ทอัพในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการที่มอบให้แก่ลูกค้าของดับบลิวเอชเอ

นอกจากนี้ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ยังได้สนับสนุนระบบสาธารณสุขในประเทศ โดยการนำคลังสินค้าในโครงการดับบลิวเอชเอ เมกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ ชลหารพิจิตร กม. 4 จังหวัดสมุทรปราการ บนพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร เป็นโรงพยาบาลสนาม "สมุทรปราการรวมใจ 5 (WHA)" ขนาด 1,300 เตียง สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ

นอกจากนี้ เพื่อขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป บริษัทได้เปิดตัว "WHA Office Solutions" นำเสนอพื้นที่สำนักงานชั้นนำระดับเวิลด์คลาสบนพื้นที่รวม 100,000 ตารางเมตร บน 6 ทำเลทองในกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ รวมถึงสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ "ดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์", โครงการ SJ Infinite I, ตึกสำนักงาน @Premium, โครงการ WHA Bangna Business Complex, ศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรมทัสพาร์ค ดับบลิวเอชเอ ตลอดจนโครงการ WHA KW S25 ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

"การดำเนินธุรกิจในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ถือเป็นเส้นทางที่มีความท้าทายแต่ก็เต็มไปด้วยโอกาสใหม่ ๆ เรามองเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และหวังว่าในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย จะสามารถเร่งให้บริการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนให้ครอบคลุม เราจะได้ผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน วิกฤตการณ์ครั้งนี้นับเป็นตัวเร่งให้เกิดการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ และสิ่งเหล่านี้เองช่วยให้เรามองไปข้างหน้าได้อย่างมีความหวัง"นางสาวจรีพรกล่าว