• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

บางจากลั่นปีนี้โกยรายได้ทำนิวไฮ เหตุราคาน้ำมันขึ้น-ธุรกิจเทรดดิ้งดี

Started by Ailie662, September 13, 2021, 08:18:06 PM

Previous topic - Next topic

Ailie662



นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP เปิดเผยว่า ในปี2564 บริษัทมั่นใจมีรายได้ทำสถิติสูงสุด(นิวไฮ)อีกครั้งจากปี 2561 ที่มีรายได้รวม 1.93 แสนล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันในปีนี้ทรงตัวอยู่ระดับ 65-75เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลเป็นราคาใกล้เคียงปี2561 บริษัทยังรับรู้รายได้จากธุรกิจเทรดดิ้ง และบริษัทOKEA ซึ่งดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม(E&P)ในนอร์เวย์ ที่มีผลประกอบการดีขึ้นจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นหลังรัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ทำให้การขายน้ำมันผ่านสถานีบริการน้ำมันดีขึ้น

รวมทั้งบางจากก็ยอดขายน้ำมันที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยทุกธุรกิจของบริษัทในปีนี้ปรับตัวดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่นบางจากกลั่นน้ำมันได้เต็มอัตรา 1.2 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยไม่มีการกลั่นน้ำมันอากาศยาน(เจท) แต่หันมาผลิตน้ำมัน UCO (Unconverted Oil) แทน ทำให้มีมาร์จิ้นเพิ่มขึ้น ขณะที่ธุรกิจเทรดดิ้ง ของบริษัท BCP Trading Pte. Ltd. (BCPT) ก็มียอดขายเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ส่วนธุรกิจไฟฟ้าของบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG มีการผลิตไฟฟ้าในสปป.ลาวเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่อยู่ในระดับสูงในช่วงครึ่งหลังปี2564 และในช่วงปลายปีนี้โครงการโซลาร์ฟาร์มที่ญี่ปุ่นจำนวน 2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 40 เมกะวัตต์ ก็จะแล้วเสร็จ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บีซีพีจียังขยายการลงทุนไปยังธุรกิจผลิตและจำหน่ายระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Utility-Scale Energy Storage System)หรือ แบตเตอรี่ประเภทวานาเดียมรีดอกซ์โฟลว์ (Vanadium Redox Flow)ด้วย

ส่วนกลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ พบว่าผลประกอบการของบริษัท OKEA เพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันดิบและราคาก๊าซธรรมชาติปรับเพิ่มขึ้น โดยในไตรมาส4นี้แหล่ง Yme จะเริ่มผลิตน้ำมันดิบเป็นครั้งแรก ทำให้กำลังการผลิตของ OKEA จากเดิม 10,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มเป็น 15,500-16,500 บาร์เรลต่อวัน

สำหรับกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ของบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ BBGI มีแผนขยายธุรกิจที่นอกเหนือจากการผลิตและจำหน่ายเอทานอล โดยล่าสุด บีบีจีไอได้นำเข้า Astaxanthin Ingredients ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูงและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงในการต่อต้านริ้วรอย บำรุงผิว โดยได้จัดจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ B Nature Plus และบริษัท วิน อินกรีเดียนส์ จำกัด (WIN) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บีบีจีไอและ Manus Bio Inc. ได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำหรับอาหาร (แบบ อ.18) สำหรับสารให้ความหวาน Neotame เพื่อการจำหน่ายในประเทศไทยและอาเซียน

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า บริษัทได้ทำแผนยุทธศาสตร์ในการก้าวสู่การเป็นองค์กร100ปี (บางจาก100X) โดยวางเป้าหมายในระยะกลางและระยะยาวว่าจะเน้นการลงทุนในธุรกิจสีเขียวมากขึ้น โดยมีบีซีพีจีและบีบีจีไอเป็นหัวหอกในการลงทุน รวมทั้งแสวงหาโอกาสในการลงทุนธุรกิจใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยวางเป้าหมายในปี2568 มีสัดส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย(EBITDA)มาจากธุรกิจสีเขียวมากกว่า 50%

พร้อมตั้งงบลงทุน 5ปีข้างหน้า(2565-2569)อยู่ที่ 88,000ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในธุรกิจพลังงานโรงไฟฟ้าสีเขียวของบมจ.บีซีพีจี คิดเป็นสัดส่วน73% ของเงินลงทุนทั้งหมด ที่เหลือจะเป็นการลงทุนในธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพของบมจ.บีบีจีไอ 6% ธุรกิจใหม่(New S-Curve) 6%และธุรกิจโรงกลั่น-การค้าน้ำมันและธุรกิจการตลาด

นอกจากนี้บริษัทวางกลยุทธ์เหนือวิกฤต โดยใช้กลยุทธ์ M-A-H-Di ในช่วง2-3ปีนี้ โดยให้ความสำคัญ 4 เรื่องหลักคือ คือ การควบรวมกับการร่วมเป็นพันธมิตร (Merger&Partnership)เพื่อต่อยอดธุรกิจ ,เร่งขยายลงทุนสู่ธุรกิจพลังงานที่ไม่ใช่ปิโตรเลียม อาทิ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีวี ,เน้นลงทุนในธุรกิจที่มีมูลค่าและมาร์จินสูง และพัฒนาองค์กรเป็นDigitization

ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาพันธมิตรต่างชาติ 3-4รายเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงาน(Energy Storage System :ESS) โดยจะไม่ทุ่มกับเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งบริษัทได้สิทธิการซื้อลิเทียมจำนวน 6พันตัน/ปีจาก Lithium Americas Corp. (LAC) คาดว่าเหมืองลิเทียมจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในกลางปี2565 หลังดีเลย์มา6เดือนจากผลกระทบโควิด-19 บริษัทมองโอกาสที่จะผลิตแบตเตอรี่ลิเทียม ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในยานยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกันทางบีซีพีจีก็ได้ร่วมลงทุนแบตเตอรี่ประเภทวานาเดียมรีดอกซ์โฟลว์มีการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าวขนาดกำลังผลิต 100-200เมกะวัตต์ชั่วโมง(MWh)ในจีน ซึ่งแบตเตอรี่ชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ส่วนการตัดสินใจลงทุนตั้งโรงแบตเตอรี่ดังกล่าวในไทยนั้นคงต้องรอดูนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐด้วย ขณะเดียวกันบริษัทไม่สนใจผลิตรถอีวี