• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

“ชิตณรงค์ วิเศษสมภาคย์” เปลี่ยนแนว ช่วงโควิด พักงานวิศวกร สู่พ่อค้าผลไม้

Started by Panitsupa, September 07, 2021, 07:38:23 AM

Previous topic - Next topic

Panitsupa



ทำเอาหลายคนนึกถึงวลีที่ว่า พ่อค้าหล่อบอกต่อด้วย ขึ้นมาทันใดเลยทีเดียว เมื่อสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้ "ปั้น–ชิตณรงค์ วิเศษสมภาคย์" วิศวกรหนุ่มหล่อทายาทธุรกิจ บริษัท สหพีร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ให้บริการด้านระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ ที่หลายคนรู้จักในฐานะหนุ่มหล่อเจ้าเสน่ห์ จากรายการเรียลลิตี The Bachelor Thailand ศึกรักสละโสด ซีซันส์ 1 แถมยังควบตำแหน่งหนุ่มหล่อที่มีผลงานในวงการบันเทิงให้แฟนๆ ได้หายคิดถึงอยู่เรื่อยๆ ต้องจับพลัดจับผลูมาเป็น "พ่อค้าขายผลไม้" แบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งนอกจากเจ้าตัวจะออกปากว่าไม่คาดคิด แต่ที่เซอร์ไพรส์กว่า คือ พอได้มาทำแล้วกลับติดอกติดใจจนถอนตัวไม่ขึ้น และคิดว่าจะขอเอาดีทางนี้ต่อไปเรื่อยๆ



ที่สำคัญ งานนี้นอกจากหนุ่มปั้นจะขนราชาและราชินีแห่งผลไม้ อย่าง ทุเรียนและมังคุด ส่งตรงจากสวนของคุณยายที่จันทบุรี มาให้ได้ฟินกันถึงกรุงเทพฯ แล้ว พอรู้ว่าหนุ่มปั้นรับหน้าที่เป็นสารถีขับรถส่งผลไม้ด้วยตัวเอง ก็ทำเอาสาวน้อยสาวใหญ่อยากจะกดสั่งรัวๆ

"อย่างที่ทุกคนทราบครับ โควิด-19 ส่งผลกระทบไปทุกวงการ ผมเองตอนโควิดระลอกแรก ก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน แต่พอระลอกล่าสุด ที่รัฐบาลมีคำสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง นี่หนักเลยครับ โปรเจกต์ที่บริษัทรับไว้ ต้องพักไปเยอะเลยครับ จากที่งานยุ่งก็กลายเป็นว่างงาน ผมเลยถือโอกาสช่วงที่ว่าง ขับรถไปเยี่ยมญาติที่จันทบุรี ซึ่งคุณยายมีสวนผลไม้อยู่ที่นั่น แต่ที่ผ่านมา ผมไม่ค่อยมีโอกาสได้ไป นับรวมน่าจะ 20 ปีได้แล้วมั้งครับ พอกลับไปเจอคุณลุงก็เลยจัดหนัก ให้ผมขนผลไม้กลับมาไว้กินเต็มรถเลยครับ (หัวเราะ) มีทั้งทุเรียน มังคุด ลองกอง ให้มาเยอะจนผมกินไม่หมด อย่าง ทุเรียน ผมไม่ใช่สายนี้เลย คือกินได้นะครับแต่ไม่ค่อยอิน พอเป็นแบบนี้ ผมเลยต้องแบ่งบางส่วนไปแจกจ่ายให้เพื่อนๆ และคนรู้จัก



ปรากฏว่า พอทุกคนได้ชิมก็ชมเป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อยมาก ถามว่าไปเอามาจากไหน บางคนถึงกับออกปากว่า เป็นทุเรียนที่อร่อยที่สุดที่เขาได้ชิมในปีนี้เลยก็ว่าได้ แรกๆ ผมก็ยังไม่เชื่อ 100% นะครับ (หัวเราะ) คิดว่าเพื่อนๆ ตั้งใจอวยผมเล่นหรือเปล่า แต่พอหลายคนเริ่มพูดตรงกัน ก็เริ่มเชื่อ และคิดว่าในเมื่อเรามีผลไม้ดีแบบนี้ น่าจะไปลองเอามาขาย ซึ่งปกติที่สวนจะมีล้งมารับซื้อถึงที่ แต่พอผมคิดว่าอยากลองขาย คุณลุงก็เลยแบ่งมาให้ แต่ด้วยความที่กว่าผมจะมาเริ่มขายก็ช่วงปลายๆ หน้าทุเรียนแล้ว เลยได้แบ่งมาไม่เยอะ ประมาณ 10% ของผลผลิตทั้งหมด" ปั้นเล่าอย่างออกรสก่อนเสริมว่า

"ปกติที่สวนจะมีทุเรียน 3 พันธุ์คือ พันธุ์จันทบุรี หมอนทอง และที่เด็ดสุดคือ พันธุ์ก้านยาว จุดเด่นของทุเรียนที่สวนคือ เป็นต้นแก่ ปลูกมาตั้งแต่สมัยคุณยายยังสาว จนถึงตอนนี้ปลูกมา 50 ปีแล้ว ส่วนมังคุดก็ปลูกมา 20-30 ปีแล้วเหมือนกัน เลยทำให้รสชาติดี พิสูจน์ได้จากกระแสตอบรับที่ดี อย่าง ทุเรียน ผมเพิ่งเริ่มขายเมื่อเดือน ก.ค. ถึงตอนนี้ ขายไปประมาณ 3,000-4,000 กิโลกรัม ส่วนมังคุดประมาณ 2,000 กิโลกรัม ตอนนี้ไม่มีแล้วครับ ใครที่อยากลอง ต้องอดใจรอปีหน้า ซึ่งไม่ต้องห่วงครับ ผมจองทุเรียนไว้ทั้งสวนแล้วครับ มีเท่าไหร่เหมาหมด (หัวเราะ)"



นอกจากจะมีของดีอยู่ในมือแล้ว ถามว่าอะไรคือหมัดเด็ดที่ทำให้ผลไม้ของปั้น ซึ่งมีชื่อแบรนด์ที่ฟังแล้วสะดุดหู อย่าง "ไร่ลุง" ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

ปั้นหัวเราะก่อนค่อยๆ เฉลยไปทีละข้อ เริ่มจากชื่อแบรนด์ ซึ่งปั้นเป็นคนตั้งเอง "ที่มาเกิดจากการที่ผมทำงานในวงการบันเทิง ด้วยความที่น้องๆ หน้าใหม่ที่เข้ามาจะอายุน้อยๆ กันทั้งนั้น บางคนอายุยังไม่ถึง 20 ปีเลย ขณะที่ ผมตอนนี้ 30 กว่าแล้ว บางทีจะเจอแซว เจอเรียกว่าลุงบ้าง เลยคิดว่าตลกดี น่าจะเอามาตั้งเป็นชื่อแบรนด์"

ส่วนกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ ต้องบอกก่อนว่า "ปกติคนเราเวลาคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรสักอย่าง มักจะคิดเยอะและเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด ก็อาจจะต้องใช้เวลาเตรียมการนาน ซึ่งก่อนหน้านี้ผมก็เป็นครับ แต่ด้วยความที่มาจับธุรกิจขายผลไม้ ที่มีเวลาขายจำกัด ทุกอย่างต้องเร็วมากครับ เพราะถ้ามัวรีรอ ทุเรียนก็อาจจะสุกเกินไป จนขายไม่ได้ เพราะฉะนั้น เชื่อมั้ยครับ ตอนที่ผมสร้างแบรนด์ไร่ลุง ผมใช้โปรแกรม Paint ทำโลโก้ แล้วก็เปิดไอจี เน้นขายออนไลน์เป็นหลัก เพราะเราไม่ได้มีผลผลิตมากพอ จะไปวางขายตามโมเดิร์นเทรด อาศัยการบอกต่อปากต่อปาก โชคดีที่ผมมีเพื่อนๆ อยู่ในวงการ พอชิมแล้วชอบก็ช่วยโปรโมท ทำให้เป็นที่รู้จัก"



ปั้นยังแย้มด้วยว่า นอกจากจะมีเพื่อนพ้องในวงการช่วยเชียร์แล้ว ยังรวมถึงซุปตาร์ตัวแม่ อย่าง อั้ม-พัชราภา ไชยเชื้อ ที่มาช่วยแจ้งเกิดให้แบรนด์ผลไม้ของปั้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ธุรกิจยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ตอนนี้กำลังหลักจึงมีแค่ปั้นและพี่สาว รวมถึงคนงานที่ไร่ของที่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ที่พิษณุโลก เพราะหลังจากหมดหน้าทุเรียนและมังคุดไปแล้ว นอกจากปั้นจะหันมานำเข้าผลไม้จากออสเตรเลียและจีน อย่าง องุ่น กีวี ลูกพีช และอโวคาโด มาขาย ซึ่งปั้นอาศัยว่ามีเพื่อนที่ทำธุรกิจตรงนี้อยู่แล้วช่วยแนะนำ เลยมีช่องทาง ในเร็วๆ นี้ ปั้นยังมีแผนจะนำผลผลิตเกษตรอินทรีย์ อย่าง พวกผักสลัด พืชผักสวนครัว ที่ปลูกด้วยวิธีออร์แกนิคปลอดจากสารเคมีมาขายออนไลน์ด้วย

"เดิมที่ตรงนี้ คุณพ่อจะใช้ทำเป็นพื้นที่ศูนย์อพยพครับ ซึ่งก็มีการแบ่งพื้นที่ทำเกษตรไว้ด้วย แต่ด้วยสถานการณ์บ้านเรา ที่อาจจะไม่ได้จำเป็นต้องมีศูนย์อพยพตรงนี้ ก็เลยเปลี่ยนมาเน้นทำเกษตรมากขึ้น โดยผลผลิตที่ได้ ก็มีทั้งกินเองและแจกจ่าย ดังนั้น พอผมมาทำธุรกิจนี้ เลยคิดว่าน่าจะนำผลผลิตที่มีอยู่แล้วมาต่อยอดได้"



ถามว่า แค่ประคองธุรกิจเดิมให้ไปต่อได้ในสถานการณ์เช่นนี้ก็ยากอยู่แล้ว พอต้องมาเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ในยุคโควิด-19 มีความท้าทายอย่างไร ปั้นตอบชัดว่า ไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าวันหนึ่งจะมาเป็นพ่อค้าขายผลไม้ และคิดว่าถ้าไม่มาเจอโควิด -19 ก็คงไม่มีโอกาสได้ทำ (หัวเราะ)

"ว่าไปแล้วก็น่าคิดนะครับ บางทีชีวิตคนเราก็มีโอกาสอยู่รอบตัวเยอะ แต่เราอาจจะมองข้ามไป หรือไม่ได้สนใจ แต่พอเจอวิกฤต โอกาสที่เคยมองข้ามไป กลับมาช่วยกู้สถานการณ์ในวันที่ธุรกิจหลักเราต้องหยุดชะงัก ผมเองตั้งใจไว้แล้วว่า ต่อให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ ผมก็จะไม่ทิ้งธุรกิจนี้แน่นอน คงทำต่อไปยาวๆ เพราะความสุขของผมจากการทำธุรกิจนี้ไม่ได้วัดจากตัวเงิน หรือผลกำไร เพราะถ้าเทียบกับธุรกิจหลักที่ทำอยู่ ตรงนี้สู้ไม่ได้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือความสุข ที่ได้เห็นคนอื่นได้กินของอร่อย ของที่ดี

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า มาทำตรงนี้แล้วจะทิ้งงานสายวิศวกรนะครับ ตรงนั้นผมก็ไม่ทิ้งแน่นอน ผมว่าเสน่ห์ของสองอาชีพนี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง สำหรับอาชีพวิศวกร ทุกอย่างต้องเป๊ะ แต่พอมาเป็นพ่อค้า มันเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ ซึ่งผมไม่ได้รู้สึกว่าฝืน เพราะถ้าพูดถึงสกิลเรื่องการขายของ ผมถนัดอยู่แล้ว ที่ต้องเพิ่มเติมอาจจะเป็นความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ผลไม้ เพราะแต่ละพันธุ์ก็ไม่เหมือนกัน"



ปิดท้ายด้วยข้อคิด ที่ปั้นอยากฝากเป็นกำลังใจให้คนที่กำลังท้อแท้จากสถานการณ์ที่เจอ "สำหรับการทำธุรกิจผมมองว่าทุกอย่างยากตอนเริ่มต้น ในขณะที่ บางคนอาจจะไม่มีโอกาส บางคนมีโอกาสก็ไม่สนใจ ผลัดวันประกันพรุ่ง ผมเองก็เคยมองข้ามโอกาส ฉะนั้น พอมาเจอวิกฤตนี้เลยทำให้ค้นพบว่า คนเราเวลาอยากทำอะไร ให้ทำเลย อย่ามีคำถามมากไป และอย่าเพิ่งท้อ ยอมรับนะครับว่า ผมเองตอนที่แคมป์คนงานต้องปิด ธุรกิจต้องหยุดเกือบหมด ก็ท้อนะ แต่พอมองไปรอบๆ แล้วเห็นคนที่อาจจะแย่กว่าเรา ก็เป็นพลังที่ทำให้กลับมาบอกตัวเองว่า เราต้องสู้ให้มากกว่านี้ พยายามมองหาโอกาสที่ซ่อนอยู่รอบตัว มีอะไรที่ทำได้ก็ทำ พยายามช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด แทนที่จะหวังรอพึ่งคนอื่น พยายามคิดบวกว่า วิกฤตครั้งนี้เป็นหนึ่งในความท้าทายของชีวิตครับ"