• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ครม.รับทราบ กฟผ.เพิ่มทุนใน RATCH ตามสัดส่วนถือหุ้น เพิ่มสภาพคล่อง-ขยายลงทุน

Started by Naprapats, March 03, 2022, 12:02:54 PM

Previous topic - Next topic

Naprapats

ครม.รับทราบ กฟผ.เพิ่มทุนใน RATCH ตามสัดส่วนถือหุ้น เพิ่มสภาพคล่อง-ขยายลงทุน
 
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบการเพิ่มทุน บมจ. ราช กรุ๊ป (RATCH) จำนวนไม่เกิน 25,000 ล้านบาท และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพิ่มทุนใน บมจ. ราช กรุ๊ป (RATCH) ตามสัดส่วนการถือหุ้น 45% จำนวนไม่เกิน 11,250 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ เพื่อให้บริษัทสามารถปรับโครงสร้างเงินลงทุน เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และรองรับการขยายการลงทุนในอนาคต

ทั้งนี้ บมจ. ราช กรุ๊ป เป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจในลักษณะการถือหุ้นในบริษัทอื่นเพื่อลงทุนในบริษัทย่อย การร่วมค้า และเงินลงทุนอื่นๆ ที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง โดย กฟผ. มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 45%

สำหรับแผนการลงทุนของบริษัทในปี 64 จะดำเนินการในโครงการโรงไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน และธุรกิจเกี่ยวเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ วงเงินทั้งสิ้น 46,430 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาจากการประมาณการเบิกจ่ายเงินลงทุนและการจัดหาแหล่งที่มาของเงินลงทุนโครงการระหว่างปี 64 - 68 แล้ว จะส่งผลให้บริษัทมีหนี้สินสะสมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพคล่องและทำให้อัตราส่วนทางการเงินของบริษัทไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาตามที่ International Credit Rating Agencies กำหนด จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนดังกล่าว

น.ส.รัชดา กล่าวด้วยว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้ จะช่วยให้บมจ. ราช กรุ๊ป สามารถขยายการลงทุนเพิ่มเติม เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและคงอัตราส่วนทางการเงินเป็นไปตามข้อกำหนดได้ ส่วน กฟผ. จะได้รับเงินปันผลในช่วงระยะเวลา 9 ปี เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 29.56%

นายกฯ สั่งหลายกระทรวงร่วมบูรณาการแก้ปัญหาปุ๋ยราคาแพง
 
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ติดตามปัญหาราคาปุ๋ยแพงที่เกิดจากราคาพลังงาน และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบกับต้นทุนการผลิตปุ๋ย และการขนส่งปุ๋ย จึงสั่งการให้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) บูรณาการทั้งระบบ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาด้านราคา ซึ่งจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณให้เริ่มโดยเร็ว