• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 'แข็งค่า' ที่ระดับ  32.85 บาท/ดอลลาร์

Started by Ailie662, November 13, 2021, 10:02:50 AM

Previous topic - Next topic

Ailie662


อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทหากแข็งค่าแตะระดับ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ มองแนวโน้มจะแกว่งตัวมาอยู่ในกรอบ 32.60-33.00 บาทต่อดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  32.85 บาทต่อดอลลาร์ 'แข็งค่า' ขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 32.93 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุนธนาคารกรุงไทยระบุว่า แนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่าเงินบาทยังคงแกว่งตัวในกรอบกว้างต่อ  เพราะแม้เงินบาทอาจมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ แต่ทว่า เงินบาทยังพอได้แรงหนุนจากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ รวมถึง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจเข้ามาเก็งกำไรแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ผ่านการซื้อบอนด์ระยะสั้น

ซึ่งเราประเมินว่า จุดที่อาจจะเริ่มเห็นนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทอีกครั้ง คือช่วงแนวต้านใกล้ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งอาจเห็นสัญญาณดังกล่าวผ่านยอดซื้อสุทธิบอนด์ระยะสั้นที่อาจเพิ่มสูงขึ้นได้

 

อย่างไรก็ดีเราเริ่มเห็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมที่อาจยังคงหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อ หรือ ทรงตัวในระดับ 95 จุดสำหรับ Dollar Index (DXY) ได้ ก็คือ ปัญหาการระบาดหนักของ COVID ในช่วงฤดุหนาว ที่เริ่มเห็นยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นทั้งในยุโรปและจีน  ซึ่งภาพดังกล่าวอาจหนุนให้เงินดอลลาร์โดยรวมแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ



นอกจากนี้ หากเงินบาทอ่อนค่าลง ก็อาจเผชิญแรงขายจากบรรดาผู้ส่งออกที่ขยับออเดอร์มาทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วง 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งอาจเริ่มเห็นนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทแข็งค่าที่ระดับดังกล่าวอีกเช่นกัน ส่วนผู้นำเข้ายังรอทยอยซื้อเงินดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้เรามองว่า เงินบาทจะปรับโซนการแกว่งตัวมาอยู่ในกรอบ 32.60-33.00 บาทต่อดอลลาร์

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.75-32.90 บาท/ดอลลาร์

ตลาดการเงินรีบาวด์กลับขึ้นมา หลังจากที่มีการปรับตัวลงหนักจากความกังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี นักลงทุนอาจจะยังไม่รีบกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากประเด็นเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอาจยังคงสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินได้อยู่ หากรายงานข้อมูลเงินเฟ้อในระยะถัดไปยังออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ 

 

 ในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 รีบาวด์ขึ้นมาเล็กน้อย +0.06% ส่วนดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้นกว่า +0.52% ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ (ADRs) อาทิ Alibaba, JD, Pinduoduo ที่ได้แรงหนุนจากยอดขาย Singles Day 11-11 ซึ่งเราคาดว่าการปรับตัวขึ้นของหุ้นจีน ADRs ดังกล่าวอาจช่วยพยุงบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง รวมถึงตลาดหุ้นจีนได้ 


ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 เดินหน้าปรับตัวขึ้นเล็กน้อย +0.21% หลังเงินยูโร (EUR) ยังคงอ่อนค่าลงต่อเนื่องแตะระดับ 1.144 ดอลลาร์ต่อยูโร ซึ่งจะส่งผลดีต่อหุ้นของบริษัทที่มียอดขายทั่วโลกต่าง ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรป ได้แรงหนุนจากการรีบาวด์ขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคฯ อาทิ  Infineon Tech. +1.8%, ASML +1.5% 

ในฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่าจะเป็นวันหยุดในฝั่งตลาดบอนด์สหรัฐฯ แต่ผู้เล่นในตลาดยังคงมีความกังวลปัญหาเงินเฟ้ออยู่ ดังจะเห็นได้จากการที่สัญญาณฟิวเจอร์ของบอนด์สหรัฐฯ สะท้อนว่า บอนด์ยีลด์ยังสามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อ ซึ่งเราคาดว่า หากตลาดกลับมาซื้อ ขาย ตามปกติ อาจเห็นแรงขายบอนด์สหรัฐฯ เพิ่มเติมกดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ตลาดหุ้นผันผวนตามได้เช่นกัน โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคฯ

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ยังคงเดินหน้าแข็งค่าขึ้นหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 95.17 จุด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2020 โดยเงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อ

รวมถึงแนวโน้มสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในฝั่งยุโรป ที่อาจกดดันให้เศรษฐกิจยุโรปฟื้นตัวในอัตราที่ชะลอและทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไม่สามารถใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็วกว่าเฟด

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากความต้องการหลุมหลบภัย (Safe Haven) ท่ามกลาง บรรยากาศความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ ยุโรป และรัสเซีย บนภูมิภาคยุโรปตะวันออก หลังจากที่สหรัฐฯ ออกมาเตือนยุโรปว่า รัสเซียได้สะสมกำลังทหารและอาจบุกโจมตียูเครน แบบที่รัสเซียเคยยึดคาบสมุทรไครเมียในปี 2014

อนึ่ง แม้ว่า เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง แต่กลับไม่ได้กดดันราคาทองคำมากนัก โดยราคาทองคำยังคงทรงตัวใกล้ระดับ 1,860 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หนุนโดยความกังวลปัญหาเงินเฟ้อเป็นหลัก อย่างไรก็ดี เราคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจทยอยขายทำกำไรราคาทองคำมากขึ้น เนื่องจาก การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อหลังจากนี้อาจมีไม่มากนัก

แต่บอนด์ยีลด์ยังสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวอาจทำให้ Real Yield หรือ Nominal Yield - เงินเฟ้อ ปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อราคาทองคำ 

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอจับตาแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนการบริโภค สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U of Michigan Consumer Sentiment) เดือนพฤศจิกายนที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 72.5 จุด

 

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุ  เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 32.75-32.80  บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 32.92 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทมีปัจจัยบวกเฉพาะ จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งอาจมาจากฝั่งผู้ส่งออก หลังจากราคาทองคำในตลาดโลกยังคงพุ่งสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 เดือน อย่างไรก็ดีเงินดอลลาร์ฯ จะยังคงขยับขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ท่ามกลางแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด หลังสัญญาณเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาด
 
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 32.70-32.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่  ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ  สถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงานเดือนก.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนพ.ย. ของสหรัฐฯ