• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้"แข็งค่า"ที่ระดับ  32.76 บาท/ดอลลาร์

Started by Hanako5, November 12, 2021, 04:24:11 AM

Previous topic - Next topic

Hanako5



อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท"แข็งค่า"วันนี้ อาจได้แรงหนุนจากท่าทีของ กนง. ที่อาจเริ่มมีมุมมองต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้น 

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.76 บาทต่อดอลลาร์ "แข็งค่า" ขึ้นเล็กน้อย
จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  32.78 บาทต่อดอลลาร์
 

นายพูน พานิชพิบูล นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุนธนาคารกรุงไทย ระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น จากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ รวมถึง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจเข้ามาเก็งกำไรแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ผ่านการลงทุนหุ้นกลุ่ม Reopening รวมถึง โฟลว์เก็งกำไรค่าเงินบาท ดังจะเห็นได้จากการที่นักลงทุนต่างชาติได้ทยอยเข้ามาซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นไม่น้อยกว่า 1.1หมื่นล้านบาทในสัปดาห์นี้ 
 

นอกจากนี้ ในวันนี้ เงินบาทอาจได้แรงหนุนจากท่าทีของ กนง. ที่อาจเริ่มมีมุมมองต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้เล่นบางส่วนประเมินว่า กนง. อาจสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ในช่วงปี 2023 หรือ อาจจะเป็นปี 2022 หากธนาคารกลางอื่นๆ เร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด ซึ่งตลาดจะรอติดตามมุมมองของ กนง. ต่อแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางอื่นๆ 
 

อย่างไรก็ดี เงินบาทจะยังไม่รีบแข็งค่าขึ้นไปมาก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดก็จะรอดูแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในคืนนี้ก่อน ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทจนหลุดแนวรับที่ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ ผู้นำเข้ามีการปรับระดับค่าเงินบาทที่จะเข้ามาแลกเงินดอลลาร์ ทำให้ เงินบาทอาจหาแนวรับใหม่ได้ในช่วง 32.60 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวต้านของเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.00 บาทต่อดอลลาร์
 

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.65-32.80 บาท/ดอลลาร์
 


ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น จากความกังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูง ซึ่งล่าสุดจะเห็นได้จากการที่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม ปรับตัวขึ้นกว่า +0.6% จากเดือนก่อนหน้า หรือ คิดเป็นการปรับตัวขึ้นกว่า +8.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเราเชื่อว่า ผู้เล่นในตลาดเลือกที่จะขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงออกมาบ้าง ก่อนที่จะรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ ในวันนี้
 

สำหรับในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.35% จากแรงขายทำกำไร รวมถึงการปรับตัวลดลงของหุ้นในกลุ่มการเงิน (Financials) หลังจากที่บอนด์ยีลด์ระยะยาวต่างปรับตัวลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ดัชนี S&P500 ยังเผชิญแรงกดดันจากการปรับตัวลดลงของหุ้น Tesla -12% ท่ามกลางข่าวในด้านลบ 
 

ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 ย่อตัวลงราว -0.18% จากแรงขายทำกำไรของนักลงทุนบางส่วน นอกจากนี้ ตลาดยังเผชิญแรงกดดันจากการขายหุ้นกลุ่ม Financials เช่นเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ Santander -1.4%, BNP Paribas -0.9%
 

ทั้งนี้ เรามองว่า การย่อตัวลงของตลาดหุ้นยุโรปจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถทยอยเข้าลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปได้ เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment) เดือนพฤศจิกายน ที่ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 31.7 จุด ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก


ในฝั่งตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดเริ่มมีการปิดสถานะ Short หลังจากที่บอนด์ยีลด์โดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เริ่มมองว่า ธนาคารกลางหลักอาจไม่ได้เร่งรีบขึ้นดอกเบี้ยตามที่เคยประเมินไว้ ซึ่งโฟลว์ปิดสถานะ Short ดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้ บอนด์ยีลด์ปรับตัวลดลง โดยล่าสุด บอนด์ยีลด์ระยะยาว อย่าง บอนด์ยีลด์ 30ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลงกว่า 5bps สู่ระดับ 1.83% ส่วนบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ก็ย่อตัวลงเล็กน้อย สู่ระดับ 1.46% อย่างไรก็ดี เราคงมุมมองว่า บอนด์ยีลด์ยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ ตามภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การเปิดรับความเสี่ยงของตลาด รวมถึงการทยอยถอนสภาพคล่องจากตลาดผ่านการลดคิวอีของบรรดาธนาคารกลาง 
 

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ย่อตัวลงใกล้ระดับ 93.96 จุด ตามการปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เรามองว่า เงินดอลลาร์อาจแกว่งตัว sideways จนกว่าตลาดจะรับรู้รายงานเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ในคืนนี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางเงินดอลลาร์ได้ หากเงินเฟ้อพุ่งตัวขึ้นมากกว่าคาดและทำให้ตลาดยิ่งกังวลปัญหาเงินเฟ้อ
 

ซึ่งภาพดังกล่าวอาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเลือกที่จะลดความเสี่ยงลงและอาจหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้บ้าง อนึ่ง การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ และแนวโน้มเงินเฟ้อที่อาจอยู่ในระดับสูง ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นใกล้ระดับ 1,830 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราเชื่อว่าจะเห็นผู้เล่นทยอยขายทำกำไรราคาทองคำมากขึ้นในโซนแนวต้านในกรอบ 1,830-1,840 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นทะลุแนวต้านดังกล่าว จากประเด็นเงินเฟ้อหรือตลาดปิดรับความเสี่ยง ก็มีโอกาสที่ราคาทองคำจะสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้สู่ระดับ 1,870-1,880 ดอลลาร์ต่อออนซ์
 

สำหรับวันนี้ ในด้านข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดจะรอลุ้น รายงานอัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือนตุลาคม ซึ่งตลาดมองว่าเงินเฟ้อ CPI อาจเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 5.9% หนุนโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือนตุลาคม
 

ส่วนในฝั่งไทย เรามองว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะหนุนให้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% แม้ว่าอัตราเงินเฟ้ออาจมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น หลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown จะช่วยให้ กนง. มีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้น และเชื่อว่า กนง. จะเริ่มส่งสัญญาณพร้อมขึ้นดอกเบี้ยได้ หากตลาดแรงงานฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนวิกฤติ COVID โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการบริการ ซึ่งต้องอาศัยการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ซึ่งอาจใช้เวลานานอย่างน้อยกว่า 2 ปี ถึงจะกลับมาสู่ระดับก่อนวิกฤติได้ ทำให้เราคงมองว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยจนถึงปี 2023 หากไม่มีแรงกดดันการขึ้นดอกเบี้ยเร็วของบรรดาธนาคารกลางอื่นๆ อาทิ เฟด
 

ทางด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 32.78-32.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 32.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ 
 

ทั้งนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบที่แคบลงท่ามกลางแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงและสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ตลาดในประเทศรอติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินของไทยในช่วงบ่าย รวมถึงมุมมองของกนง. ต่อทิศทางค่าเงินบาทซึ่งปรับตัวค่อนข้างผันผวนในด้านแข็งค่าในระยะนี้ 
 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 32.70-32.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุม กนง. ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ข้อมูลเงินเฟ้อ (ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต) ของจีน รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ