• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ผู้ประกันตน ม.33 เกษียณแล้วได้รับเงินจากประกันสังคมเท่าไร

Started by Jessicas, November 10, 2021, 01:33:59 PM

Previous topic - Next topic

Jessicas



มนุษย์เงินเดือน ผู้ประกันตนมาตรา 33 หลังเกษียณอายุ จะไดรับเงินบำนาญรายเดือน หรือเงินบำเหน็จจากประกันสังคมเท่าไร และมีวิธิคำนวณอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 (ม.33) ภายใต้ความคุ้มครองจากกองทุนเงินประกันสังคม จะได้รับใน 7 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย , กรณีคลอดบุตร , กรณีทุพพลภาพ , กรณีเสียชีวิต , กรณีสงเคราะห์บุตร , กรณีชราภาพ และ กรณีว่างงาน 

 

สำหรับมนุษย์เงินเดือน พนักงานบริษัท ซึ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ในแต่ละเดือนจะถูกนายจ้างหักเงิน 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท ( 1,650 - 15,000 บาทต่อเดือน ) เพื่อนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน  

 

เงิน 5% นี้ ถูกหักไปใช้ทำอะไรบ้าง                                                 

กรณีการหักเงินส่งสมทบกองทุนประกันสังคมที่ 750 บาท  
 

1.5% = 225 บาท จะใช้ในส่วนประกันเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต
0.5% = 75 บาท จะเก็บใช้ในส่วนประกันการว่างงาน 
3% = 450 บาท จะเก็บไว้ในส่วนประกันชราภาพ 
 

โดยในส่วนของเงินประกันชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้

 

กรณีบำนาญชราภาพ

 

จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
 

กรณีบำเหน็จชราภาพ

   

จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
ผู้ประกันตน ม.33 เกษียณแล้วได้รับเงินจากประกันสังคมเท่าไร
ผู้ประกันตน ม.33 เกษียณแล้วได้รับเงินจากประกันสังคมเท่าไร


สำหรับรูปแบบการรับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคม มี 3 กรณี ดังนี้
 

1.กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน :  มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ) 

 

กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน ( ถ้ามีเศษเกินจะถูกปัดทิ้ง เช่น หากสะสมมา 15 ปี 2 เดือน จะคิดแค่ 15 ปี )
 กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย
 

ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน ตามการคำนวณดังนี้

 

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ               

 

=  15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%               

=  5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 5ปี ) 

= 7.5%               

รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี 

= 20% + 7.5% = 27.5%       ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน 

= 27.5% ของ 15,000 บาท                 

= 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต             

 

ส่วนกรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน               

 

= 4,125 บาท  × 10 เท่า  เท่ากับ 41,250 บาท            
 

หมายเหตุ :  กองทุนชราภาพ ประกันสังคม จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2541  ดังนั้นผู้ที่ทำงานก่อนปี 2542 และได้เข้าระบบประกันสังคม จึงเริ่มส่งเงินสมทบเข้ากองทุนชราภาพ เดือนแรกคือเดือนมกราคม 2542 

 

ผู้ประกันตน ม.33 เกษียณแล้วได้รับเงินจากประกันสังคมเท่าไร
ผู้ประกันตน ม.33 เกษียณแล้วได้รับเงินจากประกันสังคมเท่าไร


2.กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบในส่วนของนายจ้างและรัฐบาล + ผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด 
 

3.กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนท่านหนึ่ง จ่ายเงินสมทบของตนเอง 450 บาท/เดือน เป็นเวลารวม 11 เดือน ดังนั้นผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับ 450*11 หรือ 4,590 บาท

 

หลักฐานที่ใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

 

แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ
กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
          -สำเนามรณะบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย

          -สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ

          -สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันคนและของบริดามารดา (ถ้ามี)

          -สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร

          -หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)

 

ขั้นตอนการขอรับเงินเกษียณ

   

 ผู้ประกันตน/ทายาทผู้มีสิทธิ ต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)  หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน
เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา
สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
พิจารณาสั่งจ่าย เงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
 

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเงินเกษียณกองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม เช่น ข้อมูลการส่งเงินสมทบ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ สามารถตรวจสอบได้ที่

 

www.sso.go.th  โดยผู้ประกันตนต้องสมัครสมาชิกก่อน จึงจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการส่งเงินสมทบ
แอพพลิเคชั่น "SSO Connect mobile"  โดยสามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน Google Play และ App Store
Facebook Messenger
สายด่วน 1506 
 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม