• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

บทเรียนโควิดภาคใต้ วัคซีนช้าไวรัสเร็ว

Started by PostDD, November 05, 2021, 08:44:40 PM

Previous topic - Next topic

PostDD

สมรภูมิการระบาดในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้คงพุ่งเป้าจับตา "โควิดสายพันธุ์เดลตาในพื้นที่ 4 จังหวัด...สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ที่มีการแพร่กระจายรวดเร็ว" ยอดผู้ป่วยพุ่งสูงตลอดเดือน ก.ย.- ต.ค.นี้ โดยเฉพาะตัวเลขผู้เสียชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ มักไม่ได้รับวัคซีนด้วยซ้ำ

ปรากฏการณ์โควิดระบาดหนักตอนนี้ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ จ.สงขลา ในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท สะท้อนข้อมูลให้เห็นว่า ภาพรวมการแพร่กระจายเชื้อโควิดในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ค่อนข้างย่ำแย่ สถานการณ์ใกล้เคียงกับการระบาดหนักตามชุมชนกรุงเทพฯ ในช่วงก่อนนี้


ข่าวแนะนำ
อิทธิชัย-มาลี อุมาพร บริจาคเงิน เพื่อสมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดี ในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์
ขายบริการออนไลน์
พ้นนํ้าท่วม...วิกฤติซํ้า ดินชุ่มแช่นํ้าบ้านทรุด
อันที่จริงแล้ว "ภาคใต้ตอนล่างระบาดนี้ควบคู่มาพร้อมในกรุงเทพฯมาตลอด" ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ส.ค. จนถูกจัดเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม 2 กลุ่มใหญ่นี้ แล้วคราวนั้น 4 จังหวัดภาคใต้เป็นการระบาดสายพันธุ์เบตา ด้วยสภาพชุมชนแน่นหนาอยู่กันอย่างแออัด "บ้านเรือนค่อนข้างขนาดเล็ก" อยู่กันหลายคนในหลายช่วงอายุ

แล้วมักมี "ฐานะยากจนติดอันดับท้ายของประเทศมาตลอด" ส่งผลให้เอื้อต่อการแพร่เชื้อรวดเร็ว มีทั้งติดเชื้อยกบ้านจนถึงยกชุมชน ทำให้ควบคุมโรคระบาดได้ยากไม่อาจใช้มาตรการโฮมไอโซเลชันในพื้นที่นี้ได้จาก "บ้านแต่ละหลังมีขนาดเล็กไม่มีสัดส่วนแยกเป็นห้อง" ต้องเปิด รพ.สนามเข้ามาช่วยแก้ปัญหา

แต่ด้วยเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ "วัคซีนที่มีอยู่ในไทยเกือบทั้งหมด" ถูกเทให้พื้นที่กรุงเทพฯ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ "ภาคใต้ตอนล่าง" ได้รับ จัดสรรวัคซีนในระดับต่ำกว่า 40% ของจำนวนประชากรในพื้นที่ที่ "พอแค่ฉีดแสดงเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ไม่เพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่" ด้วยซ้ำ

เมื่อมีวัคซีนน้อยการระบาดเดลตาก็เข้ามาครองส่วนแบ่งในพื้นที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่เดือน ก.ย.มานี้ "เบตาก็หมดไป" เพราะเติบโตกระจายเชื้อช้ากว่า "เดลตา" ติดเชื้อง่ายระบาดค่อนข้างแรงมี "ผู้ป่วยหนักสูง" ก็ปรากฏคนไข้บางรายสมัครใจขอไม่ใส่เครื่องช่วยหายใจ "อันเป็นวิถีวัฒนธรรมพื้นถิ่น" ยินดีกลับไปอยู่ในอ้อมกอดพระผู้เป็นเจ้า...ปัจจัยหนึ่งเพราะ "คนไข้อายุ 70-80 ปี" หากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลก็ยังมีอัตราการเสียชีวิต 70-80% เช่นเดิม หรือแม้แต่รอดชีวิตหายป่วยโอกาสกลับมาแข็งแรงมีน้อย ทำให้ห้องไอซียูไม่หนาแน่นจนต่อรอคิวอันเป็นความต่างจาก "การระบาดในกรุงเทพฯ" ในช่วงที่ผ่านมาพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมีผู้ป่วยหนักค่อนข้างมาก


ทว่าตอนนี้ก็มี "ผู้ใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุข" ได้จัดการจัดสรรวัคซีนลอตใหญ่มาเพิ่มใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว "แต่ก็ไม่ทันการระบาดที่แพร่กระจายไปเป็นวงกว้างหนักหนามาก" เพราะกว่าจะเร่งฉีดให้ประชาชนครอบคลุมครบ 2 เข็มให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ต้องใช้เวลาอีก 6-8 สัปดาห์ข้างหน้าด้วยซ้ำ

เบื้องต้นภาพรวมการฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้เฉลี่ยวันละ 4-5 หมื่นโดส ใน 4 จังหวัด ครอบคลุมราว 50% แต่คงต้องฉีดกันต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าครบ 1 ล้านโดสที่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งด้วย

ในส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ค่อนข้างเยอะมากนี้ "ทีมบุคลากรทางการแพทย์" ก็ทำงานเชิงรุกระดมตรวจคัดกรองแยกผู้ติดเชื้อเข้าสู่กระบวนการกักตัวรักษาโดยเร็ว ปัญหาว่า "ชุดตรวจ ATK" ที่มีใช้อยู่นี้ตามโรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ "จัดสรรงบซื้อกันเอง" เพราะไม่มั่นใจชุดตรวจของรัฐบาลส่งมานี้

แม้แต่ชาวบ้านก็ไม่ขอใช้ส่วนใหญ่มักให้โรงพยาบาลเป็นผู้ทำการตรวจเราจึงต้องใช้ชุดตรวจที่มีประสิทธิภาพป้องกันผลบวกปลอม ผลลบลวงแล้วเกิดปัญหาตามมาภายหลังนี้

"ภาพรวมการระบาด 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างค่อนข้างหนักใกล้ถึงจุดพีกสุดโดยเฉพาะเดือน พ.ย.นี้ แล้วในเดือน ธ.ค.ก็จะค่อยๆลดระดับลงจนมาถึงเดือน ม.ค.2565 สถานการณ์มีแนวโน้มคลี่คลายดีขึ้น" นพ.สุภัทร ว่า

สิ่งที่ต้องการตอนนี้คือ "เวลาบริหารจัดการ" เหตุเพราะโควิดระบาดหนักอยู่แล้วยังต้องมาถูกปั่นป่วนด้วยแรงกดดันจาก "ผู้ใหญ่" ที่ต้องทำให้โรคระบาดสงบโดยเร็ว ทั้งกดตัวเลขให้ลดลง เร่งฉีดวัคซีนให้เยอะขึ้น "เพื่อการเปิดประเทศ" แต่ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดหนักนี้การทำให้เชื้อโรคสงบทันทีทันใดเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ด้วยเหตุเพราะ "แพทย์ พยาบาล" มี จำกัดต้องทำงานหลายหน้าที่ไม่ได้มีเฉพาะการฉีดวัคซีนเท่านั้น แต่ยังให้บริการงาน ด้านอื่นมากมาย ทำให้ศักยภาพการฉีดวัคซีนในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน ถ้าพูดภาษาชาวบ้านเข้าใจง่ายๆ "คนสั่งมีเยอะแต่คนทำงานเท่าเดิม" กลายเป็นสภาวะตึงเครียดสูงในบุคลากรอยู่ตอนนี้


ตอกย้ำข้อกังวลช่วงนี้ "จังหวัดระบาดใหม่" ที่มีการฉีดวัคซีนต่ำแล้วการจัดสรรวัคซีนก็มีสัดส่วนน้อยด้วย เพราะถูกเทมา 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงนำไปสู่การระบาดใหญ่ในเวลาอันใกล้ก็ได้...และมีคำถามว่าจะปกป้องจังหวัดเริ่มระบาดหนักใหม่นี้ได้อย่างไร เพราะอาจส่งผลกระทบต่อ "การเปิดประเทศไม่มากก็น้อย" ในส่วน "จังหวัดชายแดนภาคใต้" มีการติดเชื้อเยอะแล้วก็คงแก้กันตามสถานการณ์


ดูเหมือนว่า "พื้นที่ภาคใต้ล่างเป็นเสมือนติ่งของประเทศไทย" ถ้ามีโควิดระบาดหนักก็ไม่กระทบกระเทือนต่อ "การเปิดประเทศของภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ" ทั้งระยะทางก็ห่างไกลกันมาก "วิถีชีวิตคนภาคใต้ตอนล่าง" มักไม่เดินทางไปพื้นที่ตอนบน ส่วนด่านพรมแดนทางบกก็ยังไม่อนุญาตให้เปิด

แน่นอนว่าอาจมีผลต่อ "การเปิดโรงเรียน 1 พ.ย." ในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ต้องชะลอออกไป 1-2 เดือน ส่วนภูมิภาคอื่นน่าจะเปิดเรียนได้ในพื้นที่ที่ระบาดน้อยแล้ว "บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมเกือบทุกคน" ถ้าหากไม่เปิดเรียนตอนนี้จะเปิดโรงเรียนในช่วงใด...?


เพราะ "มิติการจัดการโรคระบาดนี้มีมากกว่าการควบคุมโรคที่ต้องอยู่กับโควิดให้ได้" ดังนั้นควรคำนึงถึงความรู้เด็กสูญเสียไปโดยไม่ได้ไปโรงเรียน ด้วยเหตุในการเรียนผ่านออนไลน์ค่อนข้างมีปัญหามากมายโดยเฉพาะ "เด็กตามพื้นที่ชนบท" เป็นกลุ่มน่าสงสารจากปัจจัยขาดแคลนอุปกรณ์จนเรียนไม่ได้ด้วยซ้ำ

ย้อนกลับไปดู "ข้อกังวลหลังเปิดประเทศ" ที่น่าเป็นห่วงอยู่หลายเรื่อง ในหลายพื้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันระดับต่ำเกือบทุกจังหวัด ทำให้สายลมแห่งสายพันธุ์เดลตาสามารถเข้าปกคลุมได้ง่ายๆ


สุดท้ายก็เกิดการระบาดซ้ำรุนแรงอันมาจาก "การกระจายวัคซีนยังไม่พอ" เพราะมีวัคซีนน้อย ทั้งยังถูกแบ่งสัดส่วนเทลงใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้เยอะมากด้วยแล้วทำให้พื้นที่อื่นได้รับจัดสรรน้อยลงตามมา

กลายเป็นเสียงสะท้อนจาก "โรงพยาบาลทั่วประเทศ" ต้องการวัคซีนมากกว่านี้ที่ไม่ใช่เกิดการระบาดหนักแล้วค่อยได้รับกัน เพราะจำเป็นต้องเร่งฉีดสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนมากที่สุดในสิ้นปีนี้ เพื่อป้องกันคนติดเชื้อป่วยหนักนำไปสู่การเสียชีวิตน้อยลง แม้ฉีดแล้วมีโอกาสติดเชื้ออยู่บ้างก็เป็นอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา

ต้องบอกว่า "โควิด" จะอยู่กับเราตลอดไปถ้า "คนไทย" มีภูมิคุ้มกันแล้วติดเชื้ออาการจะเป็นเหมือนไข้หวัด แต่หากไม่มีภูมิคุ้มกันโอกาสป่วยหนักก็มีมาก โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ มักทำให้เสียชีวิตอยู่เสมอ...ตอนนี้ "ต้องเจออุปสรรควัคซีนมีน้อย" สิ้นปีนี้ประชาชนได้วัคซีน 2 เข็ม 70% ส่วน 30% รอฉีดปี 2565 ทั้งที่จริงเราเคยทำสถิติฉีดได้วันละ 1 ล้านโดส ถ้าวัคซีนมีพอใช้เวลา 2 เดือนก็น่าจะฉีดให้คนไทยทั้งหมดได้


อยากให้นำ "ภาคใต้ตอนล่างมาเป็นบทเรียน" กว่าจะได้รับการจัดสรรวัคซีนกระจายฉีดให้ประชาชนเพิ่มขึ้นจากอดีตวันละ 3-4 เท่าได้ก็เกิดระบาดหนักจนผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มสูง ทำให้น่าเป็นห่วงในจังหวัดระบาดน้อย "กระทรวงสาธารณสุขก็ต้องส่งวัคซีนให้น้อยด้วยเช่นกัน" สุดท้ายก็ต้องระบาดหนักตามมา

เวลาอันใกล้นี้จึงต้องจับตา "พื้นที่ระบาดขาขึ้นใหม่อันมีวัคซีนต่ำ" ถ้าไม่อยากให้เป็นอย่างภาคใต้ตอนล่างแล้วก็มีวิธีเดียวคือ "อัดวัคซีนให้จังหวัดนั้นโดยเร็ว" ที่คงเป็นหน้าที่รัฐบาลในการจัดหามานี้...

อย่าปล่อยให้ไฟลามทุ่งแล้วพากันมาดับ ที่มักไม่ทันการณ์อันมีบทเรียนให้เห็นแล้ว.