• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เปิดแผนที่ การลงทุนยั่งยืนทั่วโลก ไทยติดอันดับสองในอาเซียน

Started by Chanapot, October 31, 2021, 12:09:09 PM

Previous topic - Next topic

Chanapot



เปิด 5 อันดับ "กองทุนยั่งยืน" ในไทย ผลตอบแทนสูงสุดรอบ 1 ปี นำโดย TISESG-A  49.9% รองมา KT-ESG-A 36.7% "มอร์นิ่งสตาร์" ชี้ยิลด์สูงกว่าการลงทุนทั่วไป ไตรมาส 3/64 มูลค่าทรัพย์สินทั่วโลกโตเกือบเท่าตัว แนะเช็คแผนที่ความยั่งยืน เผยไทยอยู่ระดับปานกลาง-อันดับสองในอาเซียน

เทรนด์การลงทุนอย่างยั่งยืน หรือ การลงทุน ESG (Environmental, E) สังคม (Social, S) และบรรษัทภิบาล (Governance, G) ในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดโควิดทั่วโลกปี 2563-2564 ทำให้ตลาดการลงทุนทั่วโลกผันผวน  ดังนั้น "นักลงทุนไทย" หันมาสนใจการลงทุนนี้มากขึ้นเรื่อยๆ 

เพราะจากนี้ไป การลงทุนอาจไม่ใช่การสร้างผลตอบแทนที่สูงเพียงอย่างเดียว แต่หากต้องคำนึงปัจจัยด้าน ESG  ช่วยให้มองความเสี่ยงรอบด้าน สร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าหรือใกล้เคียงกับการลงทุนทั่วไปแล้ว 

ข้อมูลจาก "มอร์นิ่งสตาร์ รีเซิร์ส (ประเทศไทย) พบว่า ในช่วงครึ่งปีแรก 2564  "การลงทุนยั่งยืนในสหรัฐฯ"  สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าการลงทุนทั่วไป โดยดัขนี Morningstar U.S. Sustainability Index ให้ผลตอบแทน 8.8% สูงกว่า Morningstar U.S. Large-Mid Cap Index ที่ 8.5% 

ขณะที่ ภาพรวม"กองทุนยั่งยืนทั่วโลก" รอบไตรมาส 3/2564  มีมูลค่า  3.9 ล้านล้านดอลลาร์ เติบโตเกือบเท่าตัวในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา และมีมากกว่า 7,000 กองทุนเติบโตขึ้นถึง 51%  มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้า 1.3 แสนล้านดอลลาร์สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน  สาเหตุหลักมาจาก"เกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลในโซนยุโรป"  และการเพิ่มขึ้นของกองทุนในยุโรป ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดที่ 88%  

หากกลับส่อง กองทุนยั่งยืน ( ESG)  ในไทย  "มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ซ"  พบว่า  "กองทุนยั่งยืน"ที่ทำผลตอบแทนสูงสุด 5 อันดับแรก ในตลาดกองทุนรวมไทย  รอบ  1  ปี ดังนี้

1.กองทุนเปิด ทิสโก้ ESG เพื่อสังคม ชนิดสะสมผลตอบแทน 

: TISESG-A  ผลตอบแทน 49.9%

2.กองทุนเปิดกรุงไทย ก่อการดี ชนิดสะสมมูลค่า

: KT-ESG-A   ผลตอบแทน 36.7%

3.กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า

: K-CHANGE-A(A) ผลตอบแทน 35.6%

4.กองทุนเปิดเคเคพี SET50 ESG  

:  KKP SET50 ESG   ผลตอบแทน 34.9%

5. กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อิควิตี้ ซัสเทนเนเบิล โกล. ฟันด์  

: UESG  ผลตอบแทน  34.0%

เปิดแผนที่ การลงทุนยั่งยืนทั่วโลก ไทยติดอันดับสองในอาเซียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ทั้งนี้ "กองทุนยั่งยืน"ของไทยในไตรมาส 3/2564 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 5.4 หมื่นล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียง 2.6% จากไตรมาสที่ 2/2564 อยู่ที่ 5.6 หมื่นล้านบา   

โดยในไตรมาสดังกล่าว มีจำนวนกองทุนยั่งยืนทั้งสิ้น 56 กองทุน เป็นกองทุนใหม่ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ( บลจ.)  ยังเดินหน้าเปิดขายราว8 กองทุน และทั้งหมดเป็นการลงทุนต่างประเทศ  

ในจำนวนนี้มี 2 กองทุนที่มีมูลค่า IPO ที่ระดับพันล้าน คือ กองทุน BCAP Clean Innovation ที่เป็นการลงทุนแบบกองทุนรวมหน่วยลงทุน และกองทุน Krungsri Equity Sustainable Global Growth เป็นกองทุนฟีดเดอร์ไปลงทุนที่ AB Sustainable Global Thematic Portfolio ซึ่งมีการระบุว่าเป็นกองทุน Article 9 ตามเกณฑ์ SFDR ของทางยุโรป นอกจากนี้กองทุนเปิดใหม่กองอื่นก็มีการลงทุนในกองทุน Article 8 หรือ Article 9 เช่นกัน

(กองทุน Article 9 ตามเกณฑ์ SFDR ของทางยุโรป หมายถึง กองทุนมีเป้าหมายด้านความยั่งยืนเป็นวัตถุประสงค์การลงทุน กองทุนมาสเตอร์ดังกล่าวได้รับการจัด Morningstar Sustainability Rating ระดับ 5 globe /  Article 8 หมายถึงกองทุนที่ "promote" การลงทุนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสังคม  ) 

อีกทั้งปัจจุบันมี "กองทุนฟีดเดอร์ "  จำนวน 35 กอง (นับทุกชนิดหน่วยลงทุน) ที่ลงทุนในกองทุน Article 8 หรือ 9 ตามเกณฑ์ SFDR  โดยกองทุนมาสเตอร์ฟันด์เหล่านี้ส่วนใหญ่ได้ Morningstar Sustainability Rating ระดับ 3 globe ขึ้นไป แสดงถึง "กองทุนมีความเสี่ยง ESG ที่อยู่ในระดับกลางถึงต่ำ" 

 

 

 

 

 

 

 


"ชญานี จึงมานนท์"  นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) กล่าวว่า  แม้การลงทุนในกองทุนยั่งยืนของไทยหรือแถบเอเชีย อาจยังไม่กว้างขวางหรือมีตลาดขนาดใหญ่นักเมื่อเทียบกับทางยุโรปหรืออเมริกา แต่ก็ถือว่าเป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ

แนะว่า "นักลงทุนอาจลองเริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนยั่งยืนได้จากหน้า Sustainable Investing เพื่อทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนพิจารณาลงทุนกองทุนยั่งยืน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเติบโตและมีตัวเลือกให้นักลงทุนมากขึ้นในอนาคต"

แต่ ผู้ลงทุนรู้หรือไม่ว่า? การลงทุนยั่งยืน"ประเทศ/ตลาดไหน มีความยั่งยืนมากน้อยเพียงใด  โดยผู้ลงทุน ลองมาเช็คได้ตาม "แผนที่ความยั่งยืนทั่วโลกฉบับ Morningstar"  ล่าสุดได้ทำการศึกษาข้อมูลความยั่งยืนในตลาดหุ้นจำนวน 48 ตลาดทั่วโลก หรือเทียบเท่า 97% ของ global market cap  โดยใช้ Morningstar Country Index เป็นตัวแทน   สรุปได้ดังนี้ 

ประเทศไทย: ระดับปานกลาง-อันดับสองในอาเซียน

เป็นที่น่าสนใจว่า  "คะแนนความยั่งยืนของประเทศไทย"  จัดอยู่ในกลุ่มสีเหลืองหรือระดับปานกลาง หรืออันดับสองในอาเซียน รองจากสิงคโปร์

หากดูในรายบริษัทจะพบว่า holding อันดับต้นๆ ของ Index นั้นจะประกอบด้วยกลุ่มพลังงาน ค้าปลีก ธนาคาร สื่อสาร เช่น PTT, CPALL, ADVANC, SCB เป็นต้น ซึ่งใน 10 อันดับแรกนั้นมีน้ำหนักเกือบ 40% ของพอร์ต

แต่ส่วนใหญ่จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มบริษัที่มีความเสี่ยง Medium ไปจนถึง Severe และไม่มีหุ้นตัวใดใน Index ได้ระดับ Negligible ซึ่งสะท้อนไปยังคะแนน Country Index ที่อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับตลาดอื่นทั่วโลก

เปิดแผนที่ การลงทุนยั่งยืนทั่วโลก ไทยติดอันดับสองในอาเซียน

ทวีปยุโรป: ผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลก

ทวีปยุโรปถือได้ว่าเป็นผู้นำของความยั่งยืนระดับโลก เห็นได้จากในแผนที่ที่เป็นโซนสีเขียวเข้ม โดยเนเธอร์แลนด์เป็นตลาดที่มีความยั่งยืนสูงสุด จากสัดส่วนของธุรกิจจัดการข้อมูลอย่าง Wolters Kluwer หรือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่าง Unibail-Rodamco-Westfield ที่มีความเสี่ยงอยู่ระดับต่ำสุด (Negligible) รวมทั้ง ASML Holding ที่สัดส่วนใน Index สูงสุดและมี ESG Risk Score ระดับ Low

ฮ่องกง-ไต้หวัน: ผู้นำในเอเชีย

ขณะที่ฮ่องกงเป็นตลาดนอกยุโรปที่มีระดับความยั่งยืนสูงสุด หรือที่อันดับ 4 ซึ่งมี AIA Group เป็นสัดส่วนสูงสุดพร้อมกับมีความเสี่ยงที่ต่ำและจัดการความเสี่ยง ESG ที่มีอยู่ได้อย่างดี มีการพัฒนาบุคลากรที่เข้มแข็ง รวมทั้งแสดงถึงการให้ความสำคัญด้าน ESG โดยมีการตั้งมีคณะกรรมการเป็นการเฉพาะ ไต้หวันเป็นอีกตลาดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มความยั่งยืนระดับดีสุดซึ่งเป็นผลจาก Taiwan Semiconductor ที่มี ESG Risk ระดับ Low ซึ่งมีสัดส่วนใน Index สูงที่สุด

สหรัฐอเมริกา: อันดับ 13 จากบางบริษัทมีความเสี่ยงระดับสูง

สหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับ 13 ซึ่งมีบริษัทยักษ์ใหญ่เช่น Apple, Microsoft, Berkshire Hathaway และ Visa เป็นผู้นำด้านความยั่งยืน แต่ในขณะเดียวกันมี Facebook, Amazon และ Johnson & Johnson ที่มีความเสี่ยง ESG ระดับสูง ซึ่งเกิดจากบางประเด็นเชิงลบของแต่ละบริษัทเช่น ประเด็นข้อมูลหรือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน Facebook หรือแนวปฏิบัติกับแรงงานในห่วงโซ่อุปทานของ Amazon ที่อยู่ในระดับไม่ดีนัก และทาง Johnson & Johnson ยังเกิดการฟ้องร้องหลายกรณีจากมาตรฐานความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์

อย่างไรก็ดี หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการออกกฎเกณฑ์เรื่องการเปิดเผยรายงานของบริษัทจดทะเบียน โดยลดภาระในการส่งรายงานแบบ 56-1 และแบบ 56-2 (Annual report)  และให้บริษัทรายงานข้อมูลในแบบรายงานใหม่ที่เรียกว่า One Report ซึ่งโครงสร้างเนื้อหาในรายงานที่สำคัญ คือ บริษัทจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดการที่เกี่ยวกับ E S และ G ร่วมด้วย รายงานฉบับดังกล่าวจะเริ่มบังคับใช้และมีการเปิดเผยสำหรับผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาสิ้นสุดปี 2564 เป็นต้นไป

นับว่า ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้ผู้ลงทุนไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายย่อยหรือนักลงทุนสถาบันรับทราบแนวทางหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ ESG ได้อย่างชัดเจนและเปรียบเทียบกันได้มากขึ้น และจะช่วยให้การลงทุนอย่างยั่งยืนในประเทศไทยมีข้อมูลประกอบการพิจารณามากขึ้น ทำให้ "กองทุนยั่งยืน" เป็นอีกเทรนด์การลงทุนที่"ห้ามพลาด"ในปีหน้าแน่นอน