• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

วางแผนทุนประกันชีวิตที่เหมาะสมและยั่งยืน

Started by Cindy700, October 28, 2021, 08:25:25 AM

Previous topic - Next topic

Cindy700

โดย : คุณปภาวี คู่ณรงค์นันทกุล นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

"ทุนประกันชีวิต" คือ สินไหมทดแทนที่ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือหากอยู่ครบกำหนดสัญญา ผู้เอาประกันจะได้รับเงินในส่วนนี้ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ ซึ่งการทำประกันชีวิต ถือเป็นวิธีการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญวิธีหนึ่ง

*ผู้รับประโยชน์ คือ บุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ให้เป็นผู้ได้รับค่าสินไหมทดแทน กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต

**ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ถือกรมธรรม์ คือ บุคคลที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันชีวิต โดยอาศัยสาเหตุของการมีชีวิตหรือการเสียชีวิต เป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินประกันชีวิต

หัวใจหลักของการสร้างความคุ้มครองด้วย "ทุนประกันชีวิต" คือ การสร้างความสงบสุขทางใจ หรือ Peace of Mind และเป็นการวางแผนคุ้มครองภาระทางการเงิน เพื่อไม่ให้ครอบครัวหรือคนที่เรารัก ต้องเดือดร้อนมากนัก ในวันที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น แล้วเราต้องจากไปก่อนวัยอันควร การที่ได้เตรียมความพร้อม ด้วยการสร้างทุนประกันไว้ล่วงหน้า อย่างน้อยๆ แล้ว จะสามารถช่วยให้...
 

ครอบครัวมีเงินจำนวนหนึ่ง สำหรับปรับตัวและดำเนินชีวิตต่อไปได้
หนี้สินที่ยังค้างอยู่ จะไม่ตกไปเป็นภาระให้คนอื่น
ลูกยังได้มีเงินสำหรับการศึกษาต่อ
 พ่อแม่หรือบุคคลในครอบครัวที่ต้องดูแล ยังมีเงินก้อนสุดท้ายไว้ใช้จ่ายยามชรา
ครอบครัว สามารถใช้เงินส่วนนี้ สำหรับค่าใช้จ่ายในวาระสุดท้ายหรือการจัดงานฌาปนกิจ

วางแผนทุนประกันชีวิตที่เหมาะสมและยั่งยืน
วางแผนทุนประกันชีวิตที่เหมาะสมและยั่งยืน

โดยมีแนวคิดเบื้องต้น ในการประเมินทุนประกันที่เหมาะสม 2 วิธี ดังนี้

1. การประเมินทุนประกันที่เหมาะสมตามศักยภาพ (Potential Based) โดยคำนวณจากรายได้ทั้งหมดที่คาดว่า บุคคลจะหามาได้ในช่วงชีวิตที่เหลือในการทำงาน หรือจนกว่าจะเกษียณอายุ ซึ่งเป็นการประเมินถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจของบุคคลนั้นๆ นั่นเอง

                  ทุนประกัน = รายได้ต่อปี X จำนวนปีที่ทำงานได้

ตัวอย่างเช่น คุณรักวางแผน หัวหน้าครอบครัว อายุ 40 ปี รายได้เฉลี่ย 800,000 บาทต่อปี ปัจจุบันดูแลภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้านและมีลูกสาว 1คน โดยคาดว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี เมื่อคำนวณทุนประกัน จะเท่ากับ 800,000x20 = 16,000,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง และอาจเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันได้ ในทางปฏิบัติจึงมีการประเมินทุนประกันที่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยแนะนำให้มีทุนประกัน ประมาณ 5 เท่า ของรายได้ต่อปี

ทุนประกัน = รายได้ต่อปี X 5 (จำนวนปีที่คาดว่าครอบครัวสามารถปรับตัวได้)

ดังนั้น ทุนประกันที่เหมาะสมสำหรับคุณรักวางแผน จะเท่ากับ 800,000x5 = 4,000,000 บาท โดยมีสมมติฐานว่า หากหัวหน้าครอบครัวต้องจากไปก่อน ภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้าน หรือบุคคลในครอบครัวคนอื่นๆ จะมีระยะเวลาในการปรับตัว ประมาณ 5 ปี เพื่อเสริมทักษะให้ตนเอง หาช่องทางในการสมัครงานหรือเริ่มธุรกิจใหม่ และสามารถสร้างรายได้มาทดแทนรวมถึงดูแลครอบครัว แทนหัวหน้าครอบครัวที่จากไปได้

2.การประเมินทุนประกันตามภาระทางการเงิน (Need Based) โดยคำนวณค่าใช้จ่ายทางการเงินที่จำเป็นของครอบครัวหรือคนข้างหลัง เพื่อรักษามาตรฐานการใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงเดิม แม้หัวหน้าในครอบครัวจะจากไป

               ทุนประกัน = ภาระทางการเงิน - สินทรัพย์ที่มีอยู่
 

ตัวอย่างเช่น คุณรักวางแผน หัวหน้าครอบครัว อายุ 40 ปี เป็นผู้หารายได้หลัก ดูแลภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้านและมีลูกสาว 1คน โดยมีภาระหนี้สินและค่าใช้จ่าย ดังนี้

 หนี้บ้านคงค้าง 4,000,000บาท
ค่าใช้จ่ายในการดูแลครอบครัว 30,000บาท/เดือน (จำนวนปีที่คาดว่าครอบครัวสามารถปรับตัวได้ คือ 5 ปี)
ประเมินค่าใช้จ่ายในการศึกษาจนลูกเรียนจบปริญญาตรี 2,000,000 บาท
ค่าใช้จ่ายในวาระสุดท้ายหรือการจัดงานฌาปนกิจ 200,000 บาท
รวมภาระทางการเงิน 4,000,000+(30,000*12*5)+2,0000,000+200,000 = 8,000,000 บาท

โดยปัจจุบันมีสินทรัพย์ส่วนตัว คือ เงินฝากธนาคาร กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนเงินทดแทนจากบริษัทกรณีเสียชีวิต รวมประมาณ 2,000,000 บาท

ดังนั้น ทุนประกันที่เหมาะสมสำหรับคุณรักวางแผน จะเท่ากับ 8,000,000 – 2,000,000 = 6,000,000 บาท

นอกจากการประเมินทุนประกันที่เหมาะสมตามตัวอย่างข้างต้นแล้ว เราควรคำนึงถึง ความสามารถในการชำระเบี้ยประกันได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย เพราะวัตถุประสงค์ของการทำประกันชีวิต คือ "ช่วยสร้างความสงบสุขทางใจให้กับตนเองและครอบครัว และไม่ให้เป็นภาระทางการเงินแก่คนข้างหลัง" ดังนั้นแล้ว เบี้ยประกันที่ต้องชำระในแต่ละปี ก็ไม่ควรเป็นการสร้างภาระทางการเงินในปัจจุบันเช่นเดียวกัน

โดยทั่วไปแล้ว เบี้ยประกันชีวิตจะเป็นค่าใช้จ่ายในระยะยาว(ขึ้นอยู่กับแบบประกัน) ซึ่งข้อแนะนำในเบื้องต้นคือ เบี้ยประกันชีวิตไม่ควรเกิน 10-15% ของรายได้ต่อปี เช่น กรณีคุณรักวางแผน มีรายได้ต่อปี คือ 800,000 บาท ดังนั้น เบี้ยประกันที่ต้องชำระ ไม่ควรเกิน 80,000-120,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ ควรพิจารณาร่วมกับภาระหนี้สินที่มี ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ความเสี่ยงของตนเองและบุคคลในความดูแล รวมถึงเป้าหมายการเงินในด้านต่างๆ ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี ประกอบด้วย จึงจะเป็นการวางแผนสร้างทุนประกันชีวิตที่เหมาะสม และสามารถให้ความคุ้มครองกับครอบครัวได้อย่างยั่งยืนได้นั่นเอง

นอกจากการวางแผนทุนประกันให้กับตนเองและครอบครัวในเบื้องต้นแล้ว เราสามารถเลือกปรึกษานักวางแผนการเงินที่สามารถช่วยแนะนำและวางแผนให้กับเราได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้นได้

 

ที่มา : สมาคมนักวางแผนการเงินไทย