• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

กรุงศรี พาเจาะลึก Private Equity กองทุนทางเลือกศักยภาพสูง

Started by luktan1479, November 03, 2022, 11:43:04 PM

Previous topic - Next topic

luktan1479

กรุงศรี พาเจาะลึก Private Equity กองทุนทางเลือกศักยภาพสูง บริหารโดย BlackRock และ Schroders ผู้จัดการกองทุนชั้นนำของโลก

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เปิดมุมมองการลงทุนในกองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ในยามที่เศรษฐกิจโลกและตลาดทุนมีความผันผวน ภายในงานสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟจัดโดย KRUNGSRI Private Banking หัวข้อ Rediscovering Private Equity in Changing Times ที่ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในหุ้นกู้นอกตลาดระดับท็อปของกรุงศรี ร่วมด้วยผู้บริหารกองทุนและสินทรัพย์ระดับโลกอย่าง Schroders และ BlackRock ที่มาร่วมแชร์มุมมองที่น่าสนใจในการรับมือและบริหารพอร์ตการลงทุนในกองหุ้นนอกตลาดอย่างไรให้เหมาะสม รวมถึงแนะนำกองทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษสำหรับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 นี้

นายวิน พรหมแพทย์, CFA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคาร
กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ภาพรวมของตลาดทุนยังคงเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจทั่วโลก กรุงศรี แนะนำการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง Private Equity ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี แม้ว่าจะมีสภาพคล่องต่ำกว่า และระยะเวลาลงทุนมากกว่า แต่มีความผันผวนน้อยกว่าการลงทุนในหุ้น ซึ่ง Private Equity มีค่าความสัมพันธ์ (Correlation) ต่ำเมื่อเทียบกับสินทรัพย์แบบเดิม มีโอกาสเพิ่มผลตอบแทนและลดความเสี่ยงที่ดี โดยจากข้อมูลของกองทุนที่กรุงศรีได้คัดเลือกมานำเสนอสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนประเภทอื่น ๆ เทียบจากดัชนี S&P500 (-24%) ขณะที่กองทุน Krungsri Finnoventure PE Y2033 Fund-Not for Retail Investors (KFFVPE-UI) ให้ผลตอบแทนที่ระดับ -2% กรุงศรีโกล.ไพรเวทอิควิตี้-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFGPE-UI) ที่ระดับ +0.11% และกรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFLTPC-UI) ที่ระดับ +0.18% เป็นต้น จากนี้ กรุงศรี ยังมองหาสินทรัพย์ Private Equity อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น อสังหาริมทรัพย์นอกตลาดเจ้าหนี้อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพาณิชย์ออฟฟิศหรือคนที่ซื้อบ้าน (Private Debt) มาเติมพอร์ตให้มีความหลากหลายและครอบคลุมยิ่งขึ้น"

นายอาทิตย์ ทองเจริญ, Head of Thailand Business จาก Schroder หนึ่งในบริษัทบริหารจัดการกองทุนชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหาร Private Equity มากว่า 30 ปี และเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนที่เสนอขายโดย บลจ. กรุงศรีอย่าง KFGPE-UI กล่าวว่า "แต่เดิม Private Equity เป็นสินทรัพย์ที่เข้าถึงได้ยากเนื่องจากเปิดให้เฉพาะนักลงทุนที่เป็นสถาบัน แต่ในระยะหลังมีการขยายมาสู่นักลงทุนรายย่อยมากขึ้น อย่างตัว KFGPE-UI ของ Schroder ก็นำมาปรับให้มีความคล่องตัวขึ้นโดยสามารถขายได้ในรายไตรมาส จากที่ต้องถือยาวสามถึงห้าปี นอกจากนี้ความโดดเด่นของกองทุนนี้ที่เสมือนได้ลงทุนใน Private Equity ใน 160 บริษัททั่วโลกแล้ว ยังมีการบริหารจัดการแบ่งพอร์ตออกเป็นสองส่วน (80:20) คือ Small Mid Buyout (80%) ในบริษัทที่มีการบริหารจัดการมาระดับหนึ่งแล้วมีแผนอยากพัฒนาไปอีกขั้น เช่น กิจการครอบครัว (Family Business) ในสหรัฐฯ และ Mid Small Asia (20%) ในกิจการที่กำลังโต เปิดมาได้ไม่นานแต่มีความน่าสนใจในการลงทุน ซึ่งจะให้สัดส่วนที่ไม่มากนัก โดยจากข้อมูลล่าสุดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผลตอบแทนของทั้งพอร์ตเป็นที่น่าพอใจโดยจัดแบ่งการลงทุนในพอร์ตเป็น Mid Small Buyout (82%) Growth (15%) และ Venture (3%)"

จัดพอร์ตตามศักยภาพการเติบโตของตลาดแต่ละภูมิภาค
เศรษฐกิจและตลาดเงินโลกขึ้นอยู่กับภูมิภาคฉันใด การลงทุนใน Private Equity ก็ย่อมไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งกองทุน KFGPE-UI ของ Schroder เองมีการจัดพอร์ตโดยพิจารณาความเป็นไปทางด้านภาพรวมของตลาดแต่ละภูมิภาคของโลก โดยที่ผ่านมามีการลงทุนในส่วนภูมิภาคอเมริการเหนือ 48% ยุโรป 42% และเอเชีย 10% ซึ่งส่วนของเอเชียนั้นแต่เดิมวางไว้ที่ 20% แต่เพราะภาพรวมยังมีความท้าทายทางเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19 มาร่วมด้วยจึงปรับลงมาที่ 10% และส่วนใหญ่เป็นกิจการในจีนและอินเดีย ขณะที่ยุโรปก่อนหน้าอยู่ที่ประมาณ 47-48% แต่ช่วงที่ผ่านมาลงเพิ่มส่วนของสหรัฐอเมริกามากขึ้น เพราะปัจจัยพื้นฐานมีความน่าสนใจ และมีกระแสเงินสดเข้ามาต่อเนื่อง ซึ่งมองว่าเป็นโอกาสในการลงทุน

สินทรัพย์อ้างอิง (underlying) ที่เข้าไปลงทุนมี 3 แบบ คือ เข้าไปถือหุ้นด้วย (Co-investment) 53% ซื้อเพิ่มเติมจากตลาดรองของ Private Equity (Secondaries) 36% แล้วนำมาบริหารต่อ ซึ่งแบบนี้มีข้อดีที่ธุรกิจที่ดำเนินกิจการแล้วกระแสเงินสดผ่าน J-Curve ไปแล้ว และ Late Primaries 11% ที่เป็นกองทุน Private Equity อื่น ๆ ซึ่งวันที่ไปลงทุนจะมีระยะเวลาการลงทุน หรือการเรียกระดมทุนในช่วง 3-5 ปี โดยจะเลือกกองที่ลงทุนมาแล้วระดับนึง จึงทำให้ความผันผวนค่อนข้างต่ำ

ประเภทกิจการที่เลือกลงทุน จะจัดพอร์ตโดยเน้นที่กลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ 34% ซึ่งเป็นกองทุนที่ Schroder บริหารอยู่ถึง 40% ในกลุ่มนี้ เพราะผันผวนน้อยมีความยืดหยุ่นที่ดีไม่เหวี่ยงตามภาวะเศรษฐกิจมากนัก ตามด้วยกลุ่มกิจการด้านเทคโนโลยี (27%) สินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค (19%) และบริการทางธุรกิจ (1%)

พอร์ตกองทุนซึ่งตั้งมาราว ๆ สามปี โดยภายในสองปีมีบริษัท 10-20% ที่สามารถสร้างกระแสเงินสด (CF) ให้กองทุนแล้ว ทำให้มีสภาพคล่องได้รวดเร็ว ทั้งนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีกองทุน Private Equity ออกมาเสนอขายมากมาย แต่ราคาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1.6 เท่าขึ้นไปของเงินลงทุน ซึ่งบริษัทพยายามเลือกออกมาเสนอขาย โดยส่วนใหญ่ CF จะอยู่ที่ 0.9-1.1 เท่าของเงินลงุทน ซึ่งจากข้อมูลมีผลตอบแทนที่ 1.1% YTD (ข้อมูลเมื่อ 31 ส.ค. 2565)

นายธณาพล อิทธินิธิภัค Director and Head of Thai Business จาก BlackRock อีกหนึ่งผู้จัดการกองทุน Private Equity ชั้นนำ ได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า "กองทุน Private Long Term Captial มีความแตกต่างจากกองทุนอื่น อย่างกองทุน KFLTPC-UI ถือเป็นกองทุนเรือธงของ BlackRock มูลค่ารวมสี่พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเลือกลงทุนในธุรกิจหลายรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่การลงทุนกับการซื้อกิจการที่มีงบการเงินแข็งแกร่ง สามารถทำกำไรได้สูง (Buyouts) นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) และการนำดอกเบี้ยหรือเงินปันผลไปลงทุนต่อ (Capital Growth) ด้านผลตอบแทน MOIC 1.4 เท่า ทั้งยังรวมถึงความเชี่ยวชาญในการบริหารกองทุน Private Equity ของ BlackRock ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกองทุนทางเลือกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าสินทรัพย์ถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมเครือข่ายทั่วโลกและเทคโนโลยี Aladdin ที่พัฒนาขึ้นพร้อมกับบริษัทเอง โดยกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Fund) ก็นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ด้วย ทำให้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของ Private Equity ได้ ซึ่งแตกต่างจากหุ้นทั่วไปที่หาข้อมูลจากสาธารณะ สำหรับ BlackRock แล้วการเป็นผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) ไม่เพียงแต่เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ แต่ยังต้องบริหารจัดการและกำหนดกลยุทธ์การลงทุนให้มีประสิทธิภาพและสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างแท้จริง"

ธุรกิจครอบครัว ตัวเลือกที่มาเติมเต็มความน่าสนใจของกองทุน Private Equity
กลุ่มธุรกิจที่กองทุน Private Equity ให้ความสนใจส่วนใหญ่จะเป็น Buyout อย่างกรณีของธุรกิจครอบครัว ที่มักจะนำเงินทุนมาขยายและสร้างแบรนด์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีซื้อไว้หกบริษัทในพอร์ต ในภาพรวมมีผลการดำเนินงานที่ดี ค่าธรรมเนียม 0.85% ซึ่งได้ค่าธรรมเนียมเท่าเดิม แต่กองทุนมีขนาดใหญ่ขึ้น อาทิ ABG Authentic Brands Group เจ้าของแบรนด์แฟชั่นระดับโลกมากกว่า 50 แบรนด์ อาทิ Nautica, Vanhousen, Prince, Juicy Coutour และ David-Beckham ซึ่งมีการใช้โมเดลขยายธุรกิจแบบ Asset Light มีกำไรส่วนที่เป็นเงินสดจริง ๆ (EBITDA Margin) ที่ 74% ทั้งยังมีข้อดีคือผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดอเมริกาได้ จากผลงานในช่วงหนึ่งไตรมาสที่ผ่านมามีการควบรวมแบรนด์เข้าด้วยกัน ทำให้มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่าง David Beckham (โตขึ้น 40%) กับ Reebok (โตขึ้น 19%) หรือการร่วมมือกับ LF Corp. ได้ช่วยโปรโมตแบรนด์ในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตัวแรกและใหญ่สุดของพอร์ต และทำกำไรไปแล้วถึง 180% เป็นต้น

จุดต่างของกองทุน KFGPE(Schroders) และ KFLTPC (BlackRock)
สองกองทุนที่ บลจ. กรุงศรีเลือกมานำเสนอนักลงทุน ต่างมีความน่าสนใจและมีความโดดเด่นที่ผู้ลงทุนสามารถเลือกให้เหมาะกับความต้องการ กองทุน KFGPE (Schroders) เน้นลงทุนในธุรกิจ Small Mid Buyout โดยกระจายน้ำหนักการลงทุนในตลาดทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ขณะที่กองทุน KFLTPC (Blaockrock) เน้นการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ มีการกระจายการลงทุนแบบผสมผสานทั้งตลาดแรกและตลาดรอง เน้นโซนสหรัฐอเมริกาและยุโรป

การลงทุนในกองทุน Private Equity ยังไปได้ดี แม้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
การลงทุนใน Private Equity ถือว่ายังมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีเนื่องจากการเกิดหนี้และกำไรส่วนเฉพาะ EBITDA Margin ไม่สูง โดยกองทุนถือเงินสดอยู่ราว 5% และลักษณะการลงทุนที่แม้จะมีข้อจำกัดด้านระยะห้ามขายหุ้น (Lock Up Period) ขณะที่กองทุนมีสภาพคล่องมากขึ้น ถือเป็นจุดเด่นที่ต่างจากสินทรัพย์ทางเลือกอื่นที่ต้องถือระยะยาว 7-10 ปี ซึ่งกองทุนทั้งสองของกรุงศรี ได้ปลดล็อกข้อจำกัดดังกล่าวแล้ว ทั้งยังสามารถลงทุนเพิ่มได้ คือ กอง KFGPE (Schroders) สามารถลงทุนรายเดือน และขายได้ในรายไตรมาส ส่วนกองทุน KFLTPC (Blaockrock) ลงทุนได้แบบรายไตรมาส และขายได้ในรายปี

กองทุนทั้งสองมีการคิดมูลค่าทรัพย์สินอย่างไร
การคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน (Net Asset Value: NAV) จะคิดโดยตีมูลค่าบริษัทโดยตรง อย่างหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะดูที่ราคาตลาด แต่ Private Equity จะใช้หลายวิธีในการประเมิน เช่น การคิดลดกระแสเงินสด (DCF) ซึ่งกรณีกองทุน KFGPE (Schroders) สามารถคำนวณ NAV แบบรายเดือนได้ หรืออย่างกรณีของ BlackRock ที่มีลงทุนในบริษัทอัคคีภัยซึ่งเป็นการขยายธุรกิจแบบซื้อบริษัทอื่น ไม่ใช่แค่การขายอุปกรณ์ด้านอัคคีภัยที่เป็นผลิตภัณฑ์หลัก ก็เป็นอีกตัวที่ทำให้ NAV ปรับขึ้นด้วย

"กองทุน Private Equity นับเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ กองทุนทั้งสองที่ บลจ. กรุงศรี นำเสนอมานั้นก็ถือเป็นกองทุนคุณภาพที่ผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี และผู้บริหารกองทุนทั้งสองอย่าง Schroders และ BlackRock ที่มีความเชี่ยวชาญจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้ และเนื่องจากกองทุนทั้งสองมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน จึงขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของผู้ลงทุนว่าอยากเน้นการลงทุนในรูปแบบและธุรกิจแบบใด หากชอบธุรกิจขนาดใหญ่แนะนำกองทุน KFLTPC-UI (BlackRock) และหากชอบธุรกิจตลาดแรกและตลาดรองที่มีแนวโน้มโตได้ดีและกระจายตัวหลากหลายแนะนำกองทุน KFGPE-UI (Schroders) หรือจะเก็บทั้งสองกองในพอร์ตก็ย่อมได้เช่นกัน เพราะจะช่วยเสริมกันได้เป็นอย่างดีด้วย" นายวิน กล่าวปิดท้าย

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน KFLTPC-UI บริหารจัดการโดย BlackRock และกองทุน KFGPE-UI บริหารจัดการโดย Schroders ได้ที่ บลจ. กรุงศรี โทร. 02-657-5757 หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา