• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ESRI หนุนใช้เทคโนโลยี GIS แก้โจทย์ภัยพิบัติ-เหตุฉุกเฉิน-โควิด 19

Started by Prichas, September 28, 2021, 09:03:41 PM

Previous topic - Next topic

Prichas



ESRI ชี้ควรใช้เทคโนโลยี GIS จัดการภัยพิบัติ รับมือเหตุฉุกเฉินครบวงจร ระบุเป็นกุญแจสำคัญแก้โจทย์โควิด-19 เพราะประสิทธิภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนที่เชิงลึก

นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าโซลูชันสุดล้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก GIS for Crisis Management หรือ จีไอเอสเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตครบวงจร สามารถดึงจุดแข็งด้านข้อมูลแผนที่อัจฉริยะและการวิเคราะห์ประมวลผลเชิงลึก เพื่อรับมือภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ชูศักยภาพขั้นสูงระบุความเสี่ยงของพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ เข้าใจสถานการณ์ คาดการณ์ผลกระทบ เตรียมแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา พร้อมบริหารจัดการภาวะวิกฤตตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุจนสถานการณ์คลี่คลาย ช่วยฟื้นฟูให้กลับสู่สภาวะปกติ ต่อยอดความสามารถ GIS สู่เทรนด์การพัฒนาเมือง เสริมคุณภาพชีวิตและการจัดการพื้นที่ทุกมิติ แนะหน่วยงานภาครัฐใช้เทคโนโลยีจีไอเอสเพื่อการบริหารภาวะวิกฤตเต็มรูปแบบในทุกสถานการณ์

"ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์วิกฤต ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรง ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก จากรายงาน Adaptation Gap Report 2020 ที่จัดทำขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมนุษย์และเศรษฐกิจโลก ปัจจุบันในหลายประเทศได้จัดเตรียมแผนรับมือ โดย UNEP ระบุว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะใช้เงินทุนรับมือเรื่องดังกล่าวประมาณ 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ตัวเลขค่าใช้จ่ายจะเพิ่มสูงถึง 1.4 – 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2573 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2593"

บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทด้าน Location Intelligence ที่เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ArcGIS แพลตฟอร์มภูมิสารสนเทศอัจฉริยะระดับโลกในประเทศไทยมากว่า 30 ปี สำหรับประเทศไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายภัยพิบัติอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากเหตุไฟไหม้ป่าของไทยในปี 2563 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,100 ล้านบาท ขณะที่ภัยแล้ง ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 17,000-19,000 ล้านบาท ผนวกกับวิกฤตโควิด-19 คาดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจติดลบ 0.5% ในปีนี้ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเป็นสถานการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ดังนั้น การนำเทคโนโลยีเข้าวางแผนป้องกันและช่วยแก้ปัญหาภัยพิบัติรวมทั้งเหตุการณ์ฉุกเฉิน คือภารกิจเร่งด่วนที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องริเริ่มเตรียมพร้อมรับมือร่วมกัน