• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

นักวิชาการแนะใช้ 'เทคโนโลยี' เพิ่มเข้าถึง 'บริการสุขภาพ' ทั่วถึง

Started by kaidee20, September 08, 2021, 06:42:15 AM

Previous topic - Next topic

kaidee20



ดร.กฤษกร สุขเวชชวรกิจ หัวหน้าสาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวถึงกระแสรัฐสวัสดิการที่มาแรงในขณะนี้ ระบุว่า จากเหตุผลที่ประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนานั้น ย่อมไม่สามารถจัดเก็บภาษีเงินได้ในระดับสูงถึง 50-60% เหมือนประเทศแถบสแกนดิเนเวียหรือกลุ่มประเทศ OECD และจากการเก็บภาษีที่สูงมาก ส่งผลให้คนในประเทศเหล่านั้นได้รับบริการทางสังคมอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และที่สำคัญคือ "ฟรี"

"เราเป็นประเทศกำลังพัฒนา หากต้องเปรียบเทียบ ควรเทียบกับประเทศที่อยู่ในระดับเดียวกันหรือกลุ่มประเทศ ASEAN ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยถือว่ามีโครงสร้างระบบสาธารณสุขที่ดีในระดับหนึ่งแล้ว ย้อนไป 20-30 ปีก่อนหน้านี้ การสาธารณสุขของไทยมีเป้าหมายมุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคเป็นหลักเท่านั้น จนกระทั่งปี 2543 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) มีแนวคิดเรื่อง All for Health, Health for All หรือสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน ประเทศไทยจึงเริ่มเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมว่าการสาธารณสุขไม่ใช่เพียงการรักษาโรคเท่านั้น แต่รวมถึงการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ" ดร.กฤษกร เผย


จนกระทั่งมีการกำหนด พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ขึ้น หน่วยงานด้านการสาธารณสุขในประเทศไทยจึงเพิ่มจำนวนมากขึ้น อาทิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น ส่งผลให้คนไทยมีโอกาสได้พบหมอตามสิทธิด้านสุขภาพของแต่ละคน ซึ่งอาจแตกต่างกันไป และได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น

หลักการถ้วนหน้า แต่คุณภาพไม่ถ้วนหน้า

ดร.กฤษกร ระบุว่า คนไทยทุกคนมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการแพทย์แล้วก็จริง แต่คุณภาพยังมีความเหลื่อมล้ำ ทุกวันนี้ถ้ามีกำลังจ่ายย่อมเลือกไปโรงพยาบาลเอกชนมากกว่า และเรื่องการไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นอีกหนึ่งปัญหาหลักของระบบสาธารณสุขไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากบุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนน้อยและมีการกระจุกตัวในเมืองหลวงสูงจนน่าตกใจ



ปัจจุบันอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรในกรุงเทพมหานคร คือ 1 ต่อ 565 คน  ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ 1 ต่อ 8,375 คน วิธีแก้ไขแบบตรงไปตรงมา คือ เพิ่มหมอและพยาบาลไปในพื้นที่ต่างจังหวัด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ เนื่องด้วยประชากรวัยทำงานที่ลดลงและความสามารถในการผลิตบุคลากรทางแพทย์มีจำกัด

163052495099

ทางออกที่ดีที่สุดของประเทศไทย ณ ขณะนี้ จึงเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วย เพื่อลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษา และเพิ่มความสามารถในการนำความช่วยเหลือไปสู่พื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในระบบบริการด้านสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนทุกระดับ จะช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างมีคุณภาพ ไม่เหลื่อมล้ำ และปลอดภัย โดยแบ่งเป็น 4 ระบบกว้าง ๆ ได้ดังนี้

1. ระบบที่ใช้จัดเก็บและบันทึกข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย: เวชทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งต่อไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อความต่อเนื่องของการรักษา

2. ระบบที่ใช้ในการสื่อสารและติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย: ระบบการแพทย์ทางไกล สามารถพูดคุยกันแบบ Real-time (Telemedicine) หรือระบบติดตามดูแลสุขภาพผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile Health) จะช่วยให้ติดตามอาการผู้ป่วยได้แม้อยู่ที่บ้าน และยังช่วยลดปัญหาการครองเตียงลงได้อีกด้วย

3. ระบบการสั่งยาและการบริหารยา: ลดปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error) และการใช้ระบบโลจิสติกส์ร่วมกับคลังยาส่วนกลาง ทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องไปรับยาที่โรงพยาบาลอีกต่อไป

4. ระบบสนับสนุนด้านการตัดสินใจทางคลินิก: แพทย์ที่ชำนาญเฉพาะทางสามารถช่วยแพทย์ที่อยู่หน้างานตัดสินใจได้ ไม่จำเป็นต้องมีแพทย์เฉพาะทางในทุกพื้นที่ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ดีขึ้น


จากสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ยิ่งทำให้ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพ และเว้นระยะห่างทางสังคมมากขึ้น คนส่วนใหญ่จึงนิยมเลือกเข้ารับบริการการรักษาด้วยวิธีที่ทันสมัยมากขึ้น 

"ความมั่นคงทางสุขภาพคือพื้นฐานแรกของการดูแลประชาชน ประเทศไทยอาจไม่ใช่ประเทศร่ำรวยที่จะทำระบบรัฐสวัสดิการได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่เราสามารถสร้างความปลอดภัยและความสุขให้คนในประเทศได้ มองในแง่ดีเรามีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานการรักษาที่เข้าขั้นระดับสากล ให้บริการด้วยไมตรี เป็นกันเอง และราคาที่สมเหตุสมผลกว่าประเทศอื่น ๆ นับเป็นจุดแข็งที่เพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับประเทศในด้าน Medical Tourism ได้อีกด้วย" 

คุณภาพที่ถ้วนหน้าและเท่าเทียม ต้องใช้องค์ความรู้ที่รอบด้าน

ดร.กฤษกร แสดงความกังวลด้วยว่า หากให้ภาครัฐผลักดันฝ่ายเดียวคงไม่ทันการณ์ เอกชนและคนรุ่นใหม่ควรมีส่วนร่วมผลักดัน แต่เนื่องจากเรื่องเทคโนโลยีสุขภาพเป็นศาสตร์ประยุกต์ คือต้องมีทั้งองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ การบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้า ผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับด้านนี้จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ทางวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเร่งเพิ่มเติมองค์ความรู้ดังกล่าว ด้วยการเปิดหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ: Health Business Management (HBM) หลักสูตรนี้สามารถเรียนได้ตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ Startup หรือบุคคลที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพทั้งหมด ตัวอย่างวิชาที่เปิดสอน อาทิ วิชา Managerial Decision Strategy โดยใช้หลักการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Futuristic Thinking) เตรียมกลยุทธ์รับมือในแต่ละสถานการณ์ และใช้กระบวนการตัดสินใจที่ละเอียดอ่อนกว่าธุรกิจปกติทั่วไป


เนื่องด้วยความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต วิชา Logistics and Supply Chain Management for Healthcare Business จะช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันของการรับบริการทั้งระบบลงได้ เพราะห่วงโซ่ที่มีประสิทธิภาพย่อมทำให้ต้นทุนการบริการทางการแพทย์ลดลง

ขณะที่วิชา Healthcare Business Analytics and Data Science จะช่วยให้คนไทยทุกคนมีตัวตนในระบบสุขภาพอย่างแท้จริง ไม่ได้แค่มีชื่อในระบบ แต่สามารถติดตามผลรายบุคคลและนำมาสู่การวางแผนป้องกันด้านสาธารณสุขระดับประเทศ ก่อนที่จะเกิดวิกฤตสุขภาพเกิดขึ้นอีกในอนาคต