• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

นักวิเคราะห์ชี้รัสเซียยึดเชอร์โนบิลเปิดช่องส่งกำลังจากเบลารุส

Started by Thetaiso, February 27, 2022, 12:24:39 PM

Previous topic - Next topic

Thetaiso

นักวิเคราะห์ชี้รัสเซียยึดเชอร์โนบิลเปิดช่องส่งกำลังจากเบลารุส

นักวิเคราะห์ให้ความเห็นถึงเหตุผลที่รัสเซียบุกยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลว่ามาจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แม้ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้จะไม่ได้ใช้การแล้วหลังเกิดเหตุระเบิดเมื่อปี 2529 อีกทั้งพื้นที่โดยรอบในรัศมีหลายไมล์ยังคงมีสารกัมมันตภาพรังสีตกค้างอยู่ก็ตาม โดยนักวิเคราะห์ระบุว่าโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลตั้งอยู่ในเส้นทางที่ใกล้ที่สุดระหว่างประเทศเบลารุสและกรุงเคียฟของยูเครน และขนานไปกับเส้นทางการโจมตีที่รัสเซียวางแผนจะใช้ในการบุกยูเครน

นักวิเคราะห์การทหารฝั่งตะวันตกมองว่า การที่รัสเซียยึดโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลก็เพื่อใช้เป็นเส้นทางสำหรับการบุกโจมตีจากเบลารุสซึ่งเป็นพันธมิตรของรัสเซียได้เร็วที่สุด

"นี่เป็นวิธีการเดินทางที่เร็วที่สุดจุด A ไปจุด B" นายเจมส์ แอคตัน จากสถาบันส่งเสริมสันติภาพระหว่างประเทศคาร์เนกี (Carnegie Endowment for International Peace) กล่าว

ขณะที่พลเอกแจ็ก คีน อดีตผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐให้ความเห็นว่า "เชอร์โนบิลไม่ได้มีนัยสำคัญทางการทหาร แต่เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดจากเบลารุสมายังกรุงเคียฟ ซึ่งเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่รัสเซียใช้ในการยึดอำนาจและขับไล่รัฐบาลยูเครนออกไป"

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของยูเครนยังระบุว่า การยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเป็นส่วนหนึ่งของแผนรัสเซีย ขณะที่เจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐระบุว่า สหรัฐยังไม่สามารถยืนยันเรื่องนี้ได้

นายแอคตันยังกล่าวว่า การที่รัสเซียยึดโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลนั้นไม่ได้เป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมระบุว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรงของยูเครนมีความเสี่ยงมากกว่าเชอร์โนบิล ซึ่งตั้งอยู่ใน "เขตยกเว้น" ที่มีขนาดใกล้เคียงประเทศลักเซมเบิร์ก

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเคียฟ 67 ไมล์ (108 กม.) ระเบิดขึ้นในเดือนเม.ย. 2529 เนื่องจากความผิดพลาดระหว่างทดสอบความปลอดภัย ส่งผลให้กลุ่มเมฆที่มีกัมมันตภาพรังสีแผ่กระจายไปทั่วยุโรปและฝั่งตะวันออกของสหรัฐ

โดยในเบื้องต้น ทางการโซเวียตพยายามปกปิดภัยพิบัติในครั้งนี้ และไม่ยอมรับว่ามีการระเบิดเกิดขึ้นในทันที ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำโซเวียตขณะนั้นด่างพร้อย รวมถึงกระทบต่อการดำเนินนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost) ที่ส่งเสริมการเปิดกว้างในสหภาพโซเวียตด้วย หลายฝ่ายมองว่า เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในอีกไม่กี่ปีต่อมา