• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

KBANK คาดกรอบบาทสัปดาห์หน้า 33.00-33.70

Started by kaidee20, January 31, 2022, 03:56:18 PM

Previous topic - Next topic

kaidee20

KBANK คาดกรอบบาทสัปดาห์หน้า 33.00-33.70 จับตาข้อมูลศก.ไทย-ทิศทางเงินทุน

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์ถัดไป (31 ม.ค.-4 ก.พ.) ที่ 33.00-33.70 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดในวันศุกร์ (28 ม.ค.) ที่ 33.40 บาท/ดอลลาร์

สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่า สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ได้รับแรงหนุน ทั้งในช่วงก่อนและหลังการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ทั้งนี้แม้ผลการประชุมเฟดในรอบที่ผ่านมาจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่กรอบ 0.00-0.25% ตามเดิมตามที่ตลาดคาด แต่ถ้อยแถลงและท่าทีของประธานเฟดภายหลังการประชุมออกมาในเชิงคุมเข้มและกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อมากขึ้น ซึ่งทำให้ตลาดประเมินว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 4 ครั้งในปีนี้ พร้อมกับเริ่มลดงบดุลเร็วกว่าที่คาดเพื่อสกัดแรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ

ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจการเงินไทยเดือนธ.ค. ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19

ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชน และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมง ดัชนี PMI และ ISM ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนม.ค. ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน ยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานเดือนธ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ ตลอดจนข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4/64 ของยูโรโซน และดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนม.ค. ของยูโรโซน และอังกฤษด้วยเช่นกัน

ผลสำรวจม.มิชิแกนชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำกว่าคาดในเดือนม.ค.


ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 67.2 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2554 จากระดับ 70.6 ในเดือนธ.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 68.5

ดัชนีความเชื่อมั่นได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐเป็นการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค 500 รายต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ สถานะการเงินส่วนบุคคล, ภาวะเงินเฟ้อ, การว่างงาน, อัตราดอกเบี้ย และนโยบายรัฐบาล