• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้นมาเล็กน้อย 

Started by Fern751, December 04, 2021, 12:02:33 PM

Previous topic - Next topic

Fern751

โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้แกว่งตัวในระดับ 96.16 จุด หนุนโดยบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มการเปิดรับความเสี่ยงของตลาด รวมถึงแนวโน้มเฟดเร่งลดคืวอี นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยของผู้เล่นในตลาดบางส่วนที่ยังคงกังวลต่อความผันผวนในตลาด อย่างไรก็ดี การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่มาพร้อมกับ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดและการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้กดดันให้ ราคาทองคำกลับมาย่อตัวลงสู่ระดับ 1,770 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า หากตลาดเริ่มคลายกังวลปัญหาการระบาดของ Omicron ซึ่งอาจถูกสนับสนุนโดยข้อมูลวิทยาศาสตร์ในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า เรามองว่า upsides ของราคาทองคำอาจเริ่มจำกัดและจะเหลือเพียงปัจจัยความกังวลเงินเฟ้อที่อาจพอช่วยหนุนให้ราคาทองคำไม่ปรับฐานหนักได้

อนึ่ง สินทรัพย์ในตลาดที่ผันผวนหนักในช่วงคืนที่ผ่านมา คือ ราคาน้ำมันดิบ ที่ปรับฐานหนักเกือบ -4% หลังจากที่กลุ่ม OPEC+ มีมติเพิ่มกำลังการผลิต 4 แสนบาร์เรลต่อวัน ในดือนมกราคม ตามที่เคยวางแผนไว้ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันรีบาวด์ขึ้นแรงและปิดตลาดที่ระดับเดิมก่อนผลการประชุม OPEC+ (ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบ Brent อยู่ที่ 70.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) หลังผู้เล่นในตลาดประเมินว่า กลุ่ม OPEC+ อาจปรับลดกำลังการผลิตหรือยกเลิกการเพิ่มกำลังการผลิตได้ ตามสถานการณ์ของตลาดน้ำมันหรือความต้องการใช้พลังงาน ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Omicron

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอลุ้นไฮไลท์สำคัญของข้อมูลเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ คือ รายงานข้อมูลตลาดแรงงาน โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls:NFP) ซึ่งตลาดต่างประเมินว่า หากยอด NFP ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อาทิ เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 แสนตำแหน่ง อาจหนุนให้บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่สนับสนุนการเร่งลดคิวอีในการประชุมเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งจะสอดคล้องกับมุมมองของประธานเฟดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดที่ต่างออกมาสนับสนุนการเร่งลดคิวอีจากเดือนลด 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็น 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้การทำคิวอีของเฟดจะยุติลงภายในไตรมาสที่ 1 ของปีหน้า

ส่วนในฝั่งไทย ตลาดมองว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจะช่วยหนุนให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนพฤศจิกายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 2.50% อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อจะไม่ได้ส่งผลต่อการตัดสินใจนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) เนื่องจาก BOT คงมองเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจากปัจจัยชั่วคราวและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังจำเป็นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าเงินบาทกลับมาปรับตัวที่ระดับประมาณ 33.88-33.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังเปิดตลาดเมื่อเช้านี้ทยอยอ่อนค่าไปแตะระดับ 33.99 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง ซึ่งเป็นระดับที่ทำไว้เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา และเป็นสถิติอ่อนค่าสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2560 (อ่อนค่าสุดในรอบ 4 ปี 5 เดือน) โดยเงินบาทยังคงเผชิญแรงขายตามสัญญาณการขายพันธบัตรระยะสั้นของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่ตลาดคาด หนุนค่าเงินดอลลาร์ฯ และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ให้ขยับขึ้น เพราะช่วยตอกย้ำความเป็นไปได้ที่เฟดจะทยอยปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงิน โดยการเร่งลดวงเงิน QE และอาจเตรียมคุมเข้มด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า เพื่อสกัดความเสี่ยงเงินเฟ้อ 
  
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 33.80-34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่  ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ ประกอบด้วย 
ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรและดัชนี PMI/ISM ภาคบริการเดือนพ.ย. ของสหรัฐฯ ตลอดจนดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ย.ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษ