• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 'แข็งค่า' ที่ระดับ 33.65 บาท/ดอลลาร์

Started by Thetaiso, December 01, 2021, 09:09:37 AM

Previous topic - Next topic

Thetaiso

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญในโซน 33.80-34.00 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ส่งออกบางรายยังรอขายเงินดอลลาร์ และผู้เล่นต่างชาติอาจรอจังหวะกลับเข้ามาเก็งกำไรอีกรอบ

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.65 บาทต่อดอลลาร์'แข็งค่า'ขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.73 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าอยู่ โดยเฉพาะการทยอยปรับสถานะเก็งกำไรเงินบาทของผู้เล่นต่างชาติ ซึ่งล่าสุด เราเห็นการขายบอนด์ระยะสั้นสุทธิติดต่อกัน 4 วัน รวมแล้วราว 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งสะท้อนว่า ผู้เล่นต่างชาติทยอย cut loss สถานะการเก็งกำไรเงินบาทในฝั่งแข็งค่าออกมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ ความกังวลปัญหาการระบาดของ Omicron ที่อาจทำให้ปัญหาการขนส่งยังคงมีอยู่ ขณะเดียวกันการเดินทางทั่วโลกอาจเผชิญภาวะชะงักงันและกดดันการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวของไทย นอกจากนี้ สัญญาณเชิงเทคนิคัลในระยะสั้นยังคงชี้ว่าเงินบาทยังมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าอยู่ 

ทั้งนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำในระยะสั้น เพราะเรามองว่า ความกังวลปัญหาการระบาดของ Omicron อาจหนุนให้ราคาทองคำสามารถรีบาวด์ขึ้นมาได้บ้าง ซึ่งจะเป็นจังหวะที่ผู้เล่นบางส่วนที่ได้เข้ามา Buy on Dip ในช่วงก่อนหน้า ทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ โดยโฟลว์ขายทำกำไรทองคำนั้นจะสามารถช่วยพยุงไม่ให้เงินบาทอ่อนค่าไปมากได้


ในระยะสั้นนี้ เราเชื่อว่า เงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญในโซน 33.80-34.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ส่งออกบางรายยังรอขายเงินดอลลาร์ รวมถึงผู้เล่นต่างชาติอาจรอจังหวะกลับเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทอีกรอบได้ หากสัญญาณเชิงเทคนิคัลเงินบาทเริ่มเปลี่ยนทิศหรือเกิด Divergence นอกจากนี้ หากข้อมูลวิทยาศาสตร์ชี้ชัดว่า Omicron ไม่ได้มีความน่ากลัวอย่างที่กังวลไว้ เรามองว่า เงินบาทก็สามารถกลับมาแข็งค่าได้เร็ว ซึ่งล่าสุด แนวรับเงินบาทได้ขยับขึ้นมาแถว 33.40 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งอาจเห็นผู้นำเข้าบางส่วนเข้ามาซื้อเงืนดอลลาร์บ้าง เท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือน

ดังนั้น ในระยะนี้ เราประเมินว่า ตลาดค่าเงินยังมีแนวโน้มผันผวนสูงอยู่ ผู้ประกอบการควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและควรใช้เครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.55-33.75 บาท/ดอลลาร์

ราคาสินทรัพย์ โดยเฉพาะราคาสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นทั่วโลกเริ่มมีการรีบาวด์ขึ้น หลังจากผู้เล่นในตลาดการเงินเริ่มคลายกังวลปัญหาการแพร่ระบาด COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ "Omicron" ส่งผลให้ในฝั่งสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 รีบาวด์ขึ้นมาราว +1.32% เช่นเดียวกับ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ก็รีบาวด์ขึ้นได้ +1.88% ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 ก็รีบาวด์ขึ้นราว +0.49% เช่นกัน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคฯ ที่รีบาวด์ขึ้นมาบ้าง หลังจากที่ย่อตัวลงหนักตลอดสัปดาห์ นำโดย ASML +2.8%, Adyen +1.6% และ Infineon Tech. +1.5% 


อย่างไรก็ดี เรามองว่า แม้ว่าราคาหุ้นทั่วโลกจะสามารถรีบาวด์ขึ้นได้ในระยะสั้น ทว่าความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของ Omicron ยังคงมีอยู่ ทำให้ประเด็นปัญหาการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ อาจสามารถกลับมากดดันให้ตลาดหุ้นทั่วโลกยังอยู่ในโหมดปรับฐานต่อได้ ซึ่งนักลงทุนอาจพิจารณาลดความเสี่ยงลงและเพิ่มการถือสินทรัพย์สภาพคล่อง เพื่อรอจังหวะ Buy on Dip ซึ่งเรามองว่า ตลาดยังมีความเสี่ยงที่จะปรับฐานจนกว่าจะมีความชัดเจนจากนักวิทยาศาสตร์ว่า Omicron ไม่ได้มีความน่ากลัวมาก และ วัคซีนหรือยารักษา ณ ปัจจุบัน ยังสามารถรับมือ Omicron ได้ดี หรือ วัคซีน mRNA สำหรับ Omicron สามารถผลิตออกมาได้เร็ว

ในฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่าบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จะรีบาวด์ขึ้นมาแตะระดับ 1.55% ในระหว่างที่ตลาดหุ้นรีบาวด์ขึ้นมา แต่จะเห็นได้ว่า ผู้เล่นบางส่วนยังคงมีความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์การระบาด และเลือกที่จะเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยไว้ก่อน ทำให้ ล่าสุด บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ พลิกกลับมาย่อตัวลงเล็กน้อยและแกว่งตัวใกล้ระดับ 1.50% ซึ่งเรามองว่า บอนด์ยีลด์ทั่วโลกยังมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways ไปก่อนในระยะสั้น จนกว่าตลาดจะมั่นใจได้ว่า Omicron ไม่ได้มีความน่ากลัวอย่างที่เคยประเมินไว้

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ผันผวนตามบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้ย่อตัวลงตามบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ สู่ระดับ 96.34 จุด ซึ่งเรามองว่า ในช่วงที่ตลาดยังไม่มั่นใจปัญหาการระบาดของ Omicron ตลาดมีแนวโน้มที่จะเลือกถือสินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง บอนด์ 10ปี สหรัฐฯ รวมถึง เงินเยนญี่ปุ่น มากกว่าเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะข้อมูลตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งและดีกว่าที่คาดไว้ ทำให้ตลาดยังเชื่อว่าเฟดอาจเร่งใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในปีหน้า 

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอลุ้นว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะมีทิศทางดีขึ้นหรือแย่ลง หลังจากช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนมีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากทั้งปัญหาหนี้ในภาคอสังหาฯ ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ รวมถึง การเข้ามาคุมเข้มภาคธุรกิจของทางการจีน ซึ่งภาพดังกล่าวทำให้ตลาดมองว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการของจีนในเดือนพฤศจิกายนอาจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (Official Man.cturing & Services PMIs) ที่จะลดลงสู่ระดับ 49 จุด และ 51.3 จุด อย่างไรก็ดี เรามองว่า ราคาสินทรัพย์ในฝั่งจีนอาจรับรู้ปัจจัยลบไปมากพอสมควรแล้ว ทำให้ Downside risks อาจเริ่มจำกัด แม้ว่าตลาดการเงินโลกอาจกลับมาอยู่ในโหมดปิดรับความเสี่ยงจากความกังวล Omicron ในระยะสั้น ทำให้จังหวะการปรับฐานหนักของสินทรัพย์จีน อาจเป็นโอกาสในการทยอยเข้าลงทุนได้

 

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทแข็งค่ากลับมาทดสอบแนว 33.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ หลังวานนี้แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 7 สัปดาห์ที่ 33.77 บาทต่อดอลลาร์ฯ ตามแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของต่างชาติ โดยเงินบาทฟื้นตัวกลับมาบางส่วน หลัง sentiment/บรรยากาศของตลาดการลงทุน สลับจากภาวะตื่นตระหนก (panic) กลับมาเป็นรอติดตาม (wait and see) สถานการณ์และข้อมูลของโควิด-19 สานพันธุ์โอไมครอน เพื่อให้สามารถประเมินภาพผลกระทบได้อย่างชัดเจนมากขึ้นในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดีคงต้องติดตามทิศทางฟันด์โฟลว์ที่อาจทำให้จังหวะการเคลื่อนไหวของเงินบาทยังคงมีความผันผวนในระหว่างวัน

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 33.55-33.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตามจะอยู่ที่รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนต.ค. ของธปท. ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19 ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ของจีน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ และอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน