• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

สำรวจธุรกิจ “โรงหนัง” ที่ “สตรีมมิ่ง” แทนที่ไม่ได้

Started by Cindy700, October 19, 2021, 10:09:17 PM

Previous topic - Next topic

Cindy700

หลังจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ถูกปิดมานานกว่า 5 เดือน ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน เม.ย. 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 เกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงระลอกที่ 3 ล่าสุด ทางศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้มีมติผ่อนคลายมาตรการให้โรงภาพยนตร์กลับมาเปิดได้ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

การกลับมาของโรงภาพยนตร์จะเป็นไปตามมาตรการควบคุมเข้มงวดขั้นสูงสุด COVID Free Setting เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ภายใต้เงื่อนไข โรงภาพยนต์เปิดให้บริการได้ถึง 3 ทุ่ม จำกัดผู้ชม 50% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ต้องนั่งที่เว้นที่ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และห้ามรับประทานอาหารระหว่างรับชมภาพยนตร์

สำหรับธุรกิจโรงภาพยนตร์โดนพิษโควิด-19 เล่นงานแสนสาหัส  "บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)" หรือ "เมเจอร์"  ขาดทุนครั้งแรกในรอบ 20 กว่าปีขาดทุนต่อเนื่องมาแล้ว 6 ไตรมาส ซึ่งก่อนหน้านี้ เมเจอร์ฯ ปักหมุด ปี 2563 เป็นปีทอง เพราะรายได้ในช่วงที่ผ่านมาต่างเติบโตทุกปี สะท้อนจากยอดขายตั๋วชมภาพยนตร์ ปี 2560 ขายได้ 29.5 ล้านใบ, ปี 2561 ขายได้ 33 ล้านใบ และปี 2562 ขายได้ 36.5 ล้านใบ ดังนั้นปีนี้ 2563 ประเมินว่าจะสามารถทำได้ 40 ล้านใบได้ไม่ยาก แต่กลับเกิดการแพ่ระบาดโควิด-19

อย่างไรก็ตาม การกลับมาเปิดบริการรอบนี้ เมเจอร์ หวังพลิกโกยกำไร โดยปรับกระบวนทัพโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ประกาศ  Business Model ใหม่ด้วยกลยุทธ์ "3T" เพื่อผลักดันให้การเติบโตให้กลับมาโตแบบ "V Shape" ประกอบด้วย

1. Thai Movie ขยายการลงทุนในภาพยนตร์ไทย ซึ่งเมเจอร์มีฐานธุรกิจด้าน Content Provider ด้วยการร่วมทุนสร้างภาพยนตร์อยู่แล้ว และคอนเทนต์เหล่านี้สามารถนำมาต่อยอดขายในแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งได้ ซึ่งทั้งสองช่องทางจะทำให้เมเจอร์มีฐานรายได้จากส่วนแบ่งกำไรในฐานะผู้สร้าง ซึ่งจะเข้ามาเสริมรายได้หลักจากการขยายตั๋วชมภาพยนตร์ โดยปี2564 จะผลิตภาพยนตร์ไทยเพิ่มขึ้นเป็น 20 กว่าเรื่อง จาก 6 ค่ายจากที่ผ่านมาผลิตปีละ 10–12 เรื่อง

2. Technology ขับเคลื่อนด้วยนโยบาย Major 5.0 เพื่อยกระดับองค์กรสู่ "Total Digital Organization" จะลงทุนไม่ต่ำกว่า 100–200 ล้านบาท ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์บริการแบบไร้สัมผัส เช่น การนำตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ E Ticket พัฒนาขึ้นมาใช้เป็นรายแรก และเตรียมต่อยอดสู่การเป็น Seamless Ticket ด้วยการซื้อตั๋วผ่านแอปพลิเคชั่น และนำมาสแกนที่ตู้เพื่อเข้าชมภาพยนตร์ได้ทันที

พัฒนาบัตรเงินสด M Cash เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงการชมภาพยนตร์ได้ง่ายขึ้น โดยเปิดขายตั๋วผ่านพาร์ทเนอร์ ทุกธนาคาร และระบบ Payment ต่างๆ พร้อมกับยกระดับแอปพลิเคชันเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ให้เป็น Super App เพื่อเป็นช่องทางขายตั๋วผ่าน Mobile Ticketing 100% ทั้งนี้เพื่อปรับสู่ Cashless ทั้งระบบรวมถึงนำระบบ AI & ML ในลักษณะ Movie Recommendation Engine เข้ามาพัฒนาโปรโมชั่นที่ตรงในแบบ Personalization หรือ One-on-One Offering เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าที่แตกต่างกัน เป็นต้น

3. Trading หลังจากทดลองจำหน่ายป๊อปคอร์นในช่องทาง Delivery ในงานอีเว้นท์และมาร์เก็ตเพลสอย่างช้อปปี้ ทำให้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มองถึงการข้ามไลน์เข้าสู่ค้าปลีก ด้วยการเปิดตัว "ป๊อปคอร์น พรีเมียม POPSTAR" 3 รูปแบบคือ แบบซอง, แบบเข้าไมโครเวฟ, และป๊อปคอร์นบรรจุกระป๋อง โดยจะจำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรด ที่ผ่านมาสัดส่วนรายได้จากป๊อปคอร์นมีกว่า 30% จากรายได้รวมของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ โดยปี 2562 มียอดขาย 2,000 กว่าล้านบาท จากช่องทางเดียวคือโรงภาพยนตร์ 172 สาขา

การกลับมาของโรงภาพยนต์ในเครือเมเจอร์ฯ จะดึดดูดผู้ชมด้วยหนังใหม่เตรียมลงโรงฉายอีกหลายเรื่อง เช่น No Time to Die ซึ่งถือเป็นการอำลาบทสายลับ "เจมส์ บอนด์ 007" ของ "แดเนียล เครก", Dune, Spider-man : No way Home ส่วนหนังไทยมีหลายเรื่องเช่นกันที่จ่อลงโรงส่งท้ายปี เช่น ร่างทรง, ส้มป่อย ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานจ้วด, มนต์รักวัวชน, อโยธยา มหาละลวย ฯลฯ

อีกทั้ง ปลายปีจะมีหนังฟอร์มยักษ์ซึ่งฉายในต่างประเทศไปแล้วก่อนหน้านี้ เช่น Fast & Furious 9, Black Widow, The Suicide Squad 2, Jungle Cruise และ Shang-Chi and The Legend of The Ten Rings ที่โกยรายได้ติดอันดับ 1 Box Office เป็นต้น

โดยเปิดบริการเต็มรูปแบบภายใต้มาตรการสาธรณสุขปแบบ พนักงานทุกคนฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแและต้องตรวจ ATK ก่อนเริ่มงาน มีการตรวจวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยแอลกอฮลล์ก่อนใช้บริการ ภายโรงหนังจะจัดที่นั่งเว้นระยะห่าง 2 ที่นั่ง เว้น 2 ที่นั่ง ระหว่างแถวจัดที่นั่งแบบสลับฟันปลา มีการอบโอโซนในโรงหนังทั้งก่อนและหลังบริการ พร้อมทั้งปรับเป็นโรงภาพยนตร์แบบไร้เงินสดเต็มรูปแบบ นำร่องให้บริการซื้อและชำระค่าบัตรชมภาพยนตร์แบบไร้เงินสดทุกสาขาใน กทม. และปริมณฑล ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564 เป็นต้นไป

สำหรับเบอร์รองในธุรกิจโรงภาพยนตร์  "บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)" หรือ "เอส เอฟ ซีเนม่า"  
ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงเดือน เม.ย. 2564 เช่นเดียวกันนั้น น.ส. พิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่าโรงหนังเป็นธุรกิจกลุ่มแรกๆ ที่ต้องหยุดให้บริการ และมักจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับอนุญาตให้เปิดอยู่เสมอ แม้ที่ผ่านมาจะไม่เคยมีคลัสเตอร์ที่เกิดขึ้นจากโรงหนัง

อย่างไรก็ตาม การกลับมาเปิดโรงภาพยนตร์เสิร์ฟหนังฟอร์มยักษ์เต็มอิ่มเช่นเดียวกัน และในแต่ละสัปดาห์มีหนังใหญ่รอเข้าโรงเกือบจะทุกสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็น Black Widow, The Suicide Squad, No Time To Die, Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings, Fast & Furious 9, Eternals, Venom: Let There Be Carnage, The Matrix 4, Spider-Man: No Way Home, The King's Man รวมทั้ง โปรโมชั่นจากเอสเอฟและพาร์ทเนอร์แบบจัดเต็ม เป็นการต้อนรับทุกคนกลับสู่โรงหนังอีกครั้ง

ภายใต้คอนเซ็ปต์ Keep Caring, Keep Entertaining มอบความห่วงใย เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจ ปลอดภัย และมีความสุข ชูมาตรการด้านสาธารณสุขของโรงภาพยนตร์ในเครือ เอส เอฟ เตรียมความพร้อมด้านพนักงานที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว รวมถึงมีการตรวจคัดกรองด้วย Antigen Test Kit ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และในส่วนของโรงภาพยนตร์ได้รับการประเมินผ่านมาตรฐาน THAI STOP COVID PLUS (TSC+) ของกรมอนามัย พร้อมทั้งได้ติดตั้งอุปกรณ์หลอด UVC ภายในระบบปรับอากาศ และอบ Ozone เพื่อฆ่าเชื้อโรคภายในโรงภาพยนตร์ทั้งหมด นอกจากนี้ มีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศฆ่าเชื้อโรค

สำหรับกลยุทธ์ของ เอส เอฟ คือการสร้างความแตกต่าง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในการชมภาพยนตร์ ขนานไปกับการใช้การตลาดแบบ Naming Sponsor เช่น Emprive Cineclub, CAT First Class Cinema, MasterCard Cinema, Zigma CineStadium, Happiness Cinema และ MX4D ซึ่งจะตอบโจทย์แบบ win-win ทั้งผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ และพันธมิตร

อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าโรงภาพยนตร์จะล้มตายไปภายใน 5 ปี หลังสถานการณ์โควิด – 19 แต่ในสายตาผู้ประกอบการธุรกิจโรงภาพยนตร์มองต่างออกไป  นายสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ในประเด็นนี้ไว้ว่าธุรกิจโรงภาพยนต์มอบประสบการณ์ที่แตกต่าง อย่างในอดีตเราผ่านยุคเทปผีซีดีเถื่อน โหลดหนังเถื่อนดูฟรี หรือเว็บดูหนังเถื่อนดูฟรีออนไลน์ แต่โรงภาพยนต์ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา มาถึงในยุคนี้แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเป็นกระแสใหม่ เสียค่าบริการรายเดือนรับชมคอนเทนต์หนังซีรีย์มากมาย แต่ความรู้สึกการรับชมแต่ต่างจากโรงภาพยนต์ที่เป็น Out of Home เปรียบเทียบกันไม่ได้เป็น Business Model ที่ต่างกัน อีกอย่าง สตรีมมิ่งดูไม่ดูก็ต้องจ่าย แต่โรงภาพยนตร์อยากดูค่อยจ่าย ซึ่งผู้สร้างรายใหญ่เองให้ความสำคัญกับการฉายในโรงภาพยนตร์เป็นลำดับแรก โดยเฉพาะกับหนังฟอร์มยักษ์ ต้องอาศัยระบบภาพและเสียง ที่ช่วยให้คอนเทนต์สมบูรณ์แบบกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ

 การรับชมในโรงภาพยนตร์เป็น Cinematic Experience เป็นสิ่งที่สตรีมมิ่งให้ไม่ได้ในปัจจุบัน แน่นอนว่า คุณภาพของภาพยนตร์ทั้งภาพและเสียงของสตรีมมิ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ของแต่บ้าน ขณะที่โรงภาพยนตร์มีอุปกรณ์คุณภาพสูงราคาแพง พร้อมมอบประสบการณ์และสุนทรียภาพที่ดีที่สุดในการรับชม อย่างไรเสียการบรรยากาศในโรงหนังได้อรรถรสมากกว่า 


X


อย่างไรก็ตาม แม้โรงหนังกลับมาเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ แม้จะถวิลหาบรรยากาศในโรงภาพยนต์เพียงใด แต่ด้วยสถานการณ์การพร่ระบาดโควิด-19 ก็เป็นปัจจัยหยุดยั้งพฤติกรรมผู้บริโภคเอาไว้ ตลอดจนคอนเทนต์หนังและซีรีย์ใหม่ๆ มีให้เลือกรับชมผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์สตรีมมิ่งต่างๆ มากมาย

 สถิติปี 2562 ที่คนไทยใช้บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง (Streaming) แบบบอกรับสมาชิก 1.33 ล้านราย ปี 2563 ที่ เพิ่มเป็น 1.52 ล้านราย และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ 

เริ่มตั้งแต่  Netflix ผู้ครองตลาดโลกด้วยจำนวนสมาชิก (subscription) กว่า 195 ล้านรายทั่วโลก และเป็นผู้นำในตลาดสตรีมมิ่งไทย คอนเทนต์ที่มีความหลากหลายทั้งใหม่และเก่า ออริจินัลคอนเทนต์ที่ดูได้แค่ในเน็ตฟลิกซ์ รวมถึง กลยุทธ์แบบ Think Local for Global สร้างคอนเทนต์ท้องถิ่นออกไปสู่สายตาของผู้ชมทั่วโลก

หรือสตรีมมิ่งน้องใหม่มาแรงอย่าง  Disney+ ที่มีคอนเทนต์ออริจินอลของดิสนีย์ มีภาพยนตร์และซีรีส์กว่า 700 เรื่อง จาก Pixar, Marvel, Star Wars, National Geographic ฯลฯ นอกจากนี้ยังมี VIU สตรีมมิ่งผู้ครองตลาดซีรีส์เกาหลี รวมถึง WeTV และ iQIYI กับคอนเทนต์ซีรี่ย์จีนมากมาย

นอกจากนี้ รอบปีที่ผ่านอุตสาหกรรมภาพยนตร์เคลื่อนไหวอย่างน่าจับตา มีการฉายภาพยนตร์บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งพร้อมกับโรงภาพยนตร์มากขึ้น หรือฉายบนแฟลตฟอร์มสตรีมมิ่งอย่างเดียวก็มีให้เห็นกันบ้างแล้ว

 แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า Cinematic Experience หรือ ประสบการณ์การดูหนัง การรับชมในโรงภาพยนตร์เติมเต็มอรรถรสได้มากกว่า