• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

พาณิชย์ ชี้ ตลาดออนไลน์ ดันค้าปลีกเติบโตเท่าตัวท่ามกลางวิกฤต

Started by Shopd2, September 13, 2021, 12:39:10 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2



กระทรวงพาณิชย์ เผยธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต (e-Commerce) เป็นดาวเด่นประจำเดือนกรกฎาคม 2564 ยอดจดทะเบียนจัดตั้งใหม่พุ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เพียง 7 เดือนแรกของปี 2564 มีธุรกิจตั้งใหม่ 794 ราย เกือบเท่าปี 2563 ตลอดทั้งปี สวนทางสถานการณ์โควิด-19   พบธุรกิจส่วนใหญ่จัดตั้งในรูปแบบบริษัทจำกัด เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีนักลงทุนต่างชาติอันดับ 1 คือ สิงคโปร์ และธุรกิจนี้สร้างรายได้ในประเทศสูงถึงระดับแสนล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลมาจากปัจจัยเสริมด้านต่างๆ ทั้งการผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของภาครัฐ การปรับตัวของธุรกิจและผู้บริโภค รวมถึงมาตรการ Lock Down ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคลดการออกจากบ้านและเปลี่ยนมาซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เป็นหลัก

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากข้อมูลการวิเคราะห์ธุรกิจในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า ธุรกิจที่กลายเป็นดาวเด่นประจำเดือนนี้คือ ธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต (e-Commerce) ปัจจุบันมีธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่จำนวน 3,525 ราย และตลอด 5 ปีที่ผ่านมามีจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2564 มี 'ธุรกิจจัดตั้งใหม่' ภายใน 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) จำนวน 794 ราย ซึ่งมีจำนวนเกือบเท่ากับปี 2563 ตลอดทั้งปี ที่มีจำนวน 798 ราย 

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบในช่วงเดือนก่อนหน้าพบว่า ในเดือนกรกฎาคม 2564 มีจำนวน 112 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2564 ที่มีจำนวน 106 ราย คิดเป็น 5.66% และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคมของปี 2563 ที่มีจำนวน 79 ราย ก็แสดงให้เห็นว่าการจัดตั้งธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต ยังมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องคิดเป็น 41.77% เป็นที่น่าจับตามองถึงยอดจดทะเบียนในครึ่งปีหลังที่จะสร้างโอกาสใหม่ให้ธุรกิจนี้กลายเป็นธุรกิจดาวเด่นของปี 2564 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้เร่งสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้อย่างเต็มที่

สำหรับธุรกิจฯ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเกือบทั้งหมดจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจํากัด มีจํานวน 2,865 ราย คิดเป็น 81.28% มูลค่าทุน 28,914.74 ล้านบาท โดยทุนจดทะเบียนของธุรกิจประเภทนี้แบ่งเป็น ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท จํานวน 2,758 ราย ทุนจดทะเบียน 1.01-5.00 ล้านบาท จํานวน 667 ราย ทุนจดทะเบียน 5.01-100 ล้านบาท จํานวน 84 ราย และมากกว่า 100 ล้านบาท จํานวน 16 ราย จากจำนวนนี้คิดเป็นธุรกิจขนาดเล็ก (S) มากที่สุด จํานวน 3,468 ราย คิดเป็น 98.38% ธุรกิจขนาดกลาง (M) จํานวน 38 รายคิดเป็น 1.08% และธุรกิจขนาดใหญ่ (L) จํานวน 19 ราย คิดเป็น 0.54%

"ประเด็นที่น่าสนใจอีกด้าน คือ การเข้ามาลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติของธุรกิจ e-Commerce ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน สะท้อนถึงศักยภาพและความน่าสนใจของตลาด e-Commerce ในประเทศไทย โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่ครองแชมป์อันดับที่ 1 มูลค่า 16,045.30 ล้านบาท คิดเป็น 54.18% ของมูลค่าการลงทุนในประเภทธุรกิจนี้ อันดับที่ 2 คือ ฮ่องกง จํานวน 2,224.56 ล้านบาท คิดเป็น 7.51% และ อันดับ 3 จีน จํานวน 321.80 ล้านบาท คิดเป็น 1.09 % และเมื่อเปรียบเทียบเงินลงทุนกับเดือนกรกฎาคมของปี 2563 ที่มีจำนวน 18,541.10 ล้านบาท กับเดือนกรกฎาคม 2564 ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีจำนวนการลงทุนที่ 19,023.20 ล้านบาท"

"โดยสรุปธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ตถือเป็นธุรกิจที่มีการรายได้ภายในประเทศสูงถึงระดับ แสนล้านบาทต่อปี โดยในปี 2563 ธุรกิจนี้มีรายได้รวมอยู่ที่ 111,670.15 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น สามารถใช้บริการได้แบบใกล้ตัวผ่านโทรศัพท์มือถือ ชำระค่าบริการสินค้าได้ทันทีผ่าน Mobile Banking และระบบการขนส่งสินค้าที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น มากไปกว่านั้น" 

 "การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตภายใต้การระบาดของโรคโควิด-19 ยังเป็นแรงผลักดันครั้งใหญ่ให้ผู้บริโภคลดการเดินทางออกจากบ้าน จึงจำเป็นต้องซื้อสินค้าผ่านทางโลกออนไลน์เป็นหลัก ทำให้ธุรกิจในกลุ่มนี้ได้รับผลเชิงบวกตามไปด้วย แม้ว่าจากมาตรการ Lock Down จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก แต่ขอฝากความห่วงใยไปถึงผู้ประกอบธุรกิจที่ยังคงต้องเผชิญความท้าทายและเตรียมพร้อมที่จะให้ความสำคัญถึงการจัดส่งสินค้าเพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในแต่ละพื้นที่หรือการติดเชื้อจากพนักงานขนส่งเองก็ดี อาจจะทำให้การจัดส่งสินค้าไม่เป็นไปตามที่ได้ตกลงกับผู้บริโภคได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมองหาผู้ให้บริการขนส่งที่เป็นมืออาชีพสำรองไว้หลายแห่ง เพื่อรองรับอุปสรรคดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นได้" รมช.พณ. กล่าวทิ้งท้าย
URL
 5