• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เปลี่ยน ‘สูงวัย’ เท่าทันสื่อดิจิทัล ไม่หลง ‘Fake News’ ยุคโควิด

Started by PostDD, September 08, 2021, 07:29:31 AM

Previous topic - Next topic

PostDD



เราจะเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบันข่าวสารที่เราพบในแต่ละวัน มีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอมมากมาย และมีการแชร์ความเชื่อผิดๆ ในกลุ่มไลน์ของผู้สูงวัยด้วยกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำให้ผู้สูงวัยเท่าทันเทคโนโลยี ไม่เชื่อในข่าว "Fake News"

ประเทศไทยมี "ผู้สูงวัย" ที่ติดเชื้อโควิดเพียง 85,000 คน แต่หากมาดูจำนวนของผู้เสียชีวิตแล้วจะพบว่าเสียชีวิตยอดที่ทะลุกว่า 10,000 คนนั้น มีถึงกว่า 60% ที่เป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง และมีโรคประจำตัว ซึ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และยังป่วยรุนแรงถึงชีวิต

หากค้นหาถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดเสียชีวิตเป็นกลุ่มผู้สูงวัยมากกว่าครึ่งนั้น เกิดจากผู้สูงอายุไม่น้อย ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค "โควิด 19" เนื่องจากมีความเข้าใจผิด เชื่อว่าการฉีดวัคซีนส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ

ความเชื่อทั้งหมดทั้งมวลนี้ มีสาเหตุมาจากการได้รับข่าวสารข้อมูลที่บิดเบือนทั้งสิ้น! ข่าวปลอม ข่าวลวง หรือที่เรียกว่า "Fake News" หรือ เฟคนิวส์ กำลังส่งผลร้ายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

ความไม่เท่าทันสื่อในโลกโซเชียล ซึ่งมีทั้งการให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง บิดเบือน หรืออ้างสรรพคุณเกินจริง กำลังกลายเป็นต้นตอที่ทำให้ "ผู้สูงวัย" กำลังหลงเชื่อด้วยความไม่รู้ตัว

เมื่อ "เฟคนิวส์ กำลังเป็นปัญหาหลัก" สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และภาคี "สูงวัยรู้ทันสื่อ" จึงมาจัดเวทีแลกเปลี่ยนผ่านงานเสวนาออนไลน์ "สูงวัยจะรับมือกับข่าวลวงอย่างไรในช่วงโควิด" เพื่อหาทางออกร่วมกันในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ผู้สูงวัยกับภัยข่าวลวง

ข้อมูลบิดเบือน = ข่าวลวง

"เราเคยได้รับข้อมูลจาก LINE กลุ่ม ซึ่งอ้างว่าเป็นผลวิจัยของนักเคมีวิทยาต่างประเทศ บอกว่าคนที่ฉีดวัคซีนไปแล้วจะมีอายุอยู่ได้เพียงสองปี เพราะวัคซีนจะทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลง" คุณยายโกศลวัยเจ็ดสิบกว่าปี เผยถึงข้อมูลที่ตนเองได้รับ

"ที่ร่มเก้า ระยะแรกเกือบจะกลายเป็นคลัสเตอร์ เพราะเริ่มติดมาจากตลาดแล้วขยายเป็นคลัสเตอร์ครอบครัว ปรากฎว่าคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ในชุมชนคือผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ซึ่งก็คือผู้สูงอายุ สิ่งที่เราพบคือ ส่วนหนึ่งเกิดจากการรับข่าวสารทางสื่อออนไลน์ที่ผิดๆ จนไม่ยอมไปฉีด" อีกเสียงบอกเล่าเสริมจากป้าอุ้ม ปราณี รัตนาไกรศรี สูงวัยรู้ทันสื่อ ชุมชนเคหะร่มเกล้า แกนนำชุมชนที่ต้องเผชิญและรับมือ "ข่าวลวง" ที่กำลังแพร่ระบาดแข่งกับการระบาดของโควิด 19 ในช่วงกว่าสองปีที่ผ่านมานี้

ป้าอุ้มเล่าว่า ประชาชนไม่น้อยยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคโควิด 19 การรักษา การฉีดวัคซีน ไปจนถึงความเข้าใจผิดต่อคนที่ป่วย ความกลัวโรคกลัวผู้ติดเชื้อกลายเป็นความรังเกียจ ไม่กล้าเข้าใกล้

"ความจริงแล้ว เชื้อโควิด 19 ไม่ได้ติดง่ายมากขนาดนั้น หากไม่ได้สัมผัสหรือโดนน้ำลายเสมหะ สารคัดหลั่งโดยตรง แต่เขาก็รังเกียจ ตีตรากันแล้ว" ป้าอุ้มกล่าวด้วยความหนักใจ 

วัยรุ่น (ใหญ่) มือไว ใจร้อน

ป้าอุ้มเล่าต่อถึงพฤติกรรมของการใช้สื่อในกลุ่มผู้สูงอายุว่า ส่วนใหญ่มักชอบรับข่าวสารแล้วแชร์ส่งต่อในทันที โดยแต่ละคนจะมีกลุ่มก้อนของตัวเองและใช้แอปพลิเคชัน อาทิ ไลน์กลุ่มในการสื่อสารระหว่างกัน ซึ่งมีสมาชิกหลักสิบหรือหลักร้อยคนแตกต่างกัน แต่ที่สำคัญคือ แทบทุกคนนั้นจะมีไลน์กรุ๊ปกันหลายกลุ่มก้อน เป็นที่มาว่าทำไมการส่งต่อข่าวลวงจึงแพร่ไปเร็วไวนัก
 

"ในช่วงโควิดเรื่องข่าวลวงยิ่งเห็นผลชัดเจน จากการเกิดปรากฏการณ์ผู้สูงอายุไม่ยอมฉีดวัคซีน คือพอเขาได้รับข้อมูล มาเห็นข่าวทีวีว่ามีผู้เสียชีวิตก็เกิดความกลัว ตัวลูกหลานเองก็รับข้อมูลข่าวสารเยอะไม่ให้พ่อแม่ฉีดก็มี ซึ่งที่ชุมชนเราต้องแก้ปัญหาด้วยแนวคิดที่ว่าต้องมีการสื่อสารข้อมูลที่มากขึ้น เราจัดให้อาสาสมัครลงพื้นที่สำรวจผู้สูงอายุในชุมชน เข้าไปจัดการชักชวนเพื่อให้มาฉีด มีการให้ข้อมูลความที่ถูกต้องว่า การฉีดวัคซีนไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด และผลเสียของการไม่ฉีดวัคซีนเป็นอย่างไร"

พฤติกรรมผู้สูงอายุยังเป็นกลุ่มสำคัญที่มีบทบาทต่อการ "ส่งต่อ" หรือแชร์ข่าวลวงเหล่านี้ โดยไม่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล ส่งผลให้ข่าวลวงเหล่านี้ยิ่งกระพือแพร่กระจาย และกลายเป็น "ข่าวลวงวนซ้ำ" อย่างไม่รู้จบ

ข่าวลวงวนซ้ำ

"สาเหตุหลักที่ทำให้ข่าวลวงวนซ้ำในประเทศไทยมีอยู่สามสี่เรื่อง หนึ่งคือการสื่อสารในระบบแอปพลิเคชันที่เป็นระบบปิด หรือในกลุ่มปิด ซึ่งทำให้ยากหรือไม่มีการตรวจสอบข่าว ทำให้เขาหลวงวันซ้ำถึง 28% นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากการมีอคติต่อประเด็นเนื้อหาข่าวทำให้เชื่อถือหรือไม่เชื่อถือ โดยขาดการตรวจสอบหรือไม่เปิดให้มีการโต้แย้งข้อมูลได้ 27% และการขาดความร่วมมือบางแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ในการแก้ปัญหา เช่นการขึ้นคำเตือนหรือลบเนื้อหา และความเกรงใจเมื่อผู้ส่งข่าวที่สงสัยว่าจะเป็นข่าวลวง มีความอาวุโสและมีฐานะทางสังคมสูงกว่าทำให้ไม่กล้าเตือนหรือตรวจสอบข้อมูล" ญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก11) สสส.  อธิบาย

พร้อมเอ่ยถึงรายงานจากการสำรวจโดย สำนักงานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับโคแฟค สำรวจประชากรออนไลน์ 670 คน พบ 94.7% เคยพบเห็นข่าวปลอมบนโลกออนไลน์ และมองว่าข้อมูลที่ปรากฏบนออนไลน์ไม่มั่นใจว่าจะเชื่อถือได้และเป็นปัญหาที่พบมากสุดในปีนี้โดยเพิ่มขึ้น 13.1% จากปี 2562 ที่สำคัญ ทุกคนมีโอกาสเป็นคนส่งต่อ Fake News กันหมด จากการแชร์โดยไม่ทันคิด

ญาณีเอ่ยว่า ผู้สูงอายุเปรียบเสมือน "ผู้อพยพทางดิจิทัล" คือเกิดมาก่อนแต่ยังต้องอยู่ในยุคของคนเจนอื่น ในโลกดิจิทัล ซึ่งโลกเปลี่ยน ทำให้สื่อเปลี่ยน คนมีทักษะที่จะสร้างข่าวบิดเบือนเก่งขึ้น หลากหลายขึ้น

"ผู้สูงอายุถือเป็นน้องใหม่ในวงการโลกดิจิทัล ซึ่งจากการสำรวจ อินไซท์เบบี้บูมเมอร์ 2021 (Insight Baby Boomer 2021) พบว่า คนกลุ่มนี้ คือคนที่กำลังเป็นผู้สูงอายุในปัจจุบัน มีพฤติกรรมติด Facebook หนักมากมองหาสมาร์ทโฟนจอใหญ่ไปถึง iPad แถมยังลามไปถึงอีสปอร์ต บางคนว่างก็ใช้เวลาดูหนังเก่าได้ทั้งวัน และเป็นลูกค้าหลักของสินค้าเพื่อสุขภาพแนว wearable อย่างพวกสมาร์ทวอช เป็นต้น ที่สำคัญ กลุ่มผู้สูงวัยที่มีพฤติกรรม มือลั่น ยังมีอยู่ไม่น้อย"
  Fake News ญาณีอธิบายต่อว่า ปัญหา Fake News ยังเป็นปัญหาที่กระทบทั่วโลก ปีที่แล้วองค์การยูเนสโกจึงมีการประกาศว่า สิ่งที่จะช่วยชีวิตเราทุกคนได้ปลอดภัยจากภัยสุขภาพในครั้งนี้ คือ หมอ พยาบาล และข้อมูลสุขภาพที่เป็นข้อเท็จจริง

ส่วนปีนี้ ในการจัดงาน World press freedom day 2021 ยังตอกย้ำถึงการให้ความสำคัญกับข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดยได้ประกาศสโลแกนว่า Information as a public good โดยการสนับสนุนให้คนเราเชื่อข้อมูลได้รับการตรวจสอบแล้ว และส่งเสริมให้สื่อมวลชนมีหน้าที่ตรวจสอบและส่งต่อข้อมูลไปยังประชาชน

รับมือปัญหาข่าวลวงยังไงให้ยั่งยืน?

เมื่อมองถึงทางออกของการแก้ปัญหาข่าวลวงแบบยั่งยืน เธอเอ่ยว่า อาจต้องทำในหลายประเด็นและหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การมีแพลตฟอร์มเฉพาะเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลในการตรวจสอบเพรารวม เช่น โคแฟค ให้ตรวจสอบข่าวลวงได้ ควรมีการสร้างวัฒนธรรมการตรวจสอบข่าวลงไปในชุมชนออนไลน์ทุกระดับเพื่อให้เป็นวิถีชีวิตใหม่ รวมถึงการเพิ่มทักษะการใช้สื่อดิจิทัลในหลักสูตรการเรียนรู้ทุกระดับ เพื่อสร้างความเท่าทันสื่อ หรือ Digital literacy และอีกทางหนึ่งคือการเพิ่มอิสระเสรีภาพในการโต้แย้งข้อมูลข่าวสารในแบบในประเทศเสรีประชาธิปไตย ส่วนบทบาทของแพลตฟอร์มคือควรมีการเพิ่มฟังชั่นลบข่าว การเตือนเมื่อเจอข่าวที่พิสูจน์ว่าเป็นข่าวเท็จ

"สิ่งสำคัญคือผู้ใช้สื่อออนไลน์จะเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลด้วยตนเองในเบื้องต้นได้ดีที่สุด ไม่ควรพึ่งพารัฐเพียงอย่างเดียว ขณะที่สื่อมวลชนเองควรจะช่วยตรวจสอบข่าวลือและข่าวลวงอย่างทันท่วงที รวมถึงไม่ผลิตซ้ำข่าวลวง รัฐเองควรทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนข้อมูลเปิดในการตรวจสอบได้ง่าย" ญาณีเอ่ย

สสส. จึงเน้นย้ำในเรื่องการส่งเสริมให้ประชากรทุกช่วงวัย รวมถึงผู้สูงวัยเป็นแอคทีฟซิติเซ่น นั่นคือ การพัฒนาพลเมืองให้เท่าทันสื่อรอบรู้สุขภาวะ มีจิตสำนึกเพื่อการเป็นนักสื่อสารสุขภาพที่ยืดหยุ่นและปรับตัว ซึ่งเขาจะทำหน้าที่บอกต่อข้อมูลข้อมูลดีๆ แก่ผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง รวมถึงการพัฒนากระบวนการสื่อสารสุขภาวะและสุขภาวะทางปัญญา เพื่อสร้างพลังความเข้มแข็งสังคมในช่วงวิกฤต โควิด 19 ทำให้ปีที่ผ่านมา สสส. จึงเน้นย้ำเรื่องการพัฒนานักสื่อสารสุขภาวะ ซึ่งมีถึง 3,880 คน ที่สามารถสื่อสารส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับเครือข่ายของตนเอง

"นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากลไกตรวจสอบข่าวลวงด้วยระบบดิจิทัลด้านสุขภาพ ที่ทำร่วมกับโคแฟค เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถใช้ตรวจสอบค้นหาข้อมูลข่าวร่วงและข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการเน้นพัฒนาให้เกิดทักษะการตรวจสอบข่าวในกลุ่มภาคประชาชนด้วยตัวเอง รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาทักษะเท่าทันสื่อของกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อเป็นนักสื่อสารสุขภาวะที่เท่าทันสื่อ เท่าทันชีวิตและเท่าทันโลก" ญาณีกล่าว

ปล่อยคาถารู้ทันข่าวลวง

จิราณีย์ พันมูล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กล่าวถึงพฤติกรรมผู้สูงวัยใช้สื่อดิจิตอล เธอบอกว่า ข่าวลวงนับเป็นภัยคุกคามแต่ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในยามเกิดวิกฤตสุขภาพ อย่างโควิด 19 เฟคนิวส์ หรือข้อมูลที่บิดเบือนสามารถที่จะทำลายสุขภาพและทำลายชีวิตผู้คนได้เช่นเดียวกัน

ผลเสียของข่าวลวงที่เกิดกับสุขภาพก็คือ ทำให้ผู้สูงอายุที่ได้รับข่าวสารมีความกังวลความตื่นตระหนกกลัวเครียด หวาดระแวง และส่งผลไปยังสุขภาพร่างกาย คือนอนไม่หลับ ไม่กล้าทำกิจกรรมนอกบ้าน ไม่กล้าออกกำลังกาย ขาดวิถีสังคมเพราะไม่กล้าออกจากบ้าน หรือไปเจอใคร แล้วไม่กล้าออกไปประกอบอาชีพจนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ

"แต่จากประสบการณ์ทำงานพบว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาหรือพื้นฐาน กลุ่มมีการศึกษาเองก็ส่งข้อมูลผิดๆ มาเช่นกัน"
 
ทางโครงการจึงได้พัฒนาโครงการสูงวัยรู้ทันโควิด โดยมีคาถาสูงวัยรู้ทันโควิดเพื่อให้ผู้สูงอายุนำไปใช้ ได้แก่ หนึ่ง การรู้จักตั้งคำถามกับตัวเอง สอง การไปหาข้อมูลก่อนคือการหาข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลก่อนแชร์ สาม หากเราแชร์จะเดือดร้อนใครหรือไม่

โดยจากการประเมินผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความยังคิดมากขึ้นตามหลักการสามข้อ จากเมื่อก่อนเจออ่านแค่หัวข้อข่าวก็ส่งต่อเลยทันที แต่เมื่อเข้าโครงการนี้เริ่มทำความเข้าใจมากขึ้น เข้าไปอ่านเนื้อหาก่อนที่จะส่งต่อ รวมถึงวิเคราะห์ว่าที่ส่งต่อมานี้มันใช้เรื่องจริงหรือไม่จริง

ด้าน วันชัย บุญประชา กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า คาถาสามข้อเป็นเครื่องมือและสร้างภูมิต้านทานกับผู้สูงอายุ แต่ขณะเดียวกันยังจำเป็นต้องการพัฒนาอาสาสมัครสูงวัยรู้ทันสื่อที่จะคอยตั้งคำถามต่างๆ เวลาเจอข่าวที่แชร์กันมา แล้วจะมีทักษะคัดข่าวและสื่อสารแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงวัยว่าข่าวนั้นเป็นข่าวปลอมได้อย่างไร

"อย่างไรก็ดี ในระดับภาพรวมทั้งประเทศ เราคงต้องมานั่งคิดว่าจะทำยังไงให้มีประสิทธิภาพ เช่นการสร้างความฉลาดในวิธีคิดของผู้สูงอายุในเรื่องอื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะแต่เรื่องสื่อ" วันชัยเอ่ยทิ้งท้าย