• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ตรวจสอบสิทธิ์ www.sso.go.th 'เงินเยียวยาประกันสังคม' ม.40 ม.39 ลูกจ้าง-นายจ้าง ม.33

Started by Jessicas, August 20, 2021, 08:54:05 AM

Previous topic - Next topic

Jessicas



มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตรวจสอบสิทธิ์ www.sso.go.th เงินเยียวยาประกันสังคม ม.40 ม.39 ลูกจ้าง-นายจ้าง ม.33 มีรายละเอียดความคืบหน้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ เสนออนุมัติวงเงิน 33,471 ล้านบาท เนื่องจากการประกาศเพิ่มจำนวนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จาก 13 จังหวัด ก่อนจะเพิ่มอีก 16 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด

โดยกรอบการเยียวยาที่จะนำไปจ่ายให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งเป็นแรงงานอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ สัญชาติไทย รายละ 5,000 บาท โดยโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชน โดยใน 29 จังหวัด แบ่งออกเป็นผู้ประกันตน ม.39 จำนวน 1.4 ล้านคน และม.40 จำนวน 5.25 ล้านคน รวมทั้งสิ้น 6,694,200 คน

ขณะที่ กลุ่มผู้ประกันตน ม.39 และม.40 ใน 13 จังหวัด จะได้รับเงินเยียวยารวม 2 เดือน โดย ครม.ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานไปทำรายละเอียดที่จะได้อีก 1 เดือน เสนอต่อการประชุมครม. ครั้งต่อไป

โดยตรวจสอบสิทธิ์ www.sso.go.th เงินเยียวยาประกันสังคมที่จะจ่ายให้แต่ละกลุ่มจะมีรายละเอียด และเงื่อนไขการจ่ายเงินแตกต่างกัน ดังนี้

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่ 16 จังหวัดประกอบด้วย กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ระยอง สิงห์บุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ตาก มีอยู่ราว 3-4 แสนราย

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่ 13 จังหวัดประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา (บางส่วนที่ชำระเงินสมทบก่อนวันที่ 3 ส.ค.64 ) จำนวน 4.2 ล้านราย

ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 ใน 16 จังหวัดประกอบด้วย กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ระยอง สิงห์บุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ตาก

ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยาประกันสังคม 

1.เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ คลิกที่นี่ 

2.เลือกตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตนตามกลุ่มของตน คือ 

- ตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถตรวจสอบสิทธิได้ ที่นี่ 

- ตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยานายจ้าง สามารถตรวจสอบสิทธิได้ ที่นี่

- ตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถตรวจสอบสิทธิได้ ที่นี่

- ตรวจสอบสถานะสิทธิ์โครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถตรวจสอบสิทธิได้ ที่นี่

3.กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และกรอกรหัสให้ตรงตามรูปที่กำหนด

4.จากนั้นกดค้นหา

5.ระบบจะแสดงผลการค้นหา พร้อมระบุจะอัปเดตข้อมูลล่าสุด ตามวันเวลาที่กำหนดอีกครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

'ประกันสังคม' ม.33 ม.39 ม.40 เช็คที่นี่วิธีผูกพร้อมเพย์รอเงินเยียวยาเข้า 5 พัน
เช็คเงิน 'เยียวยาประกันสังคม' ม.33 โอนเงิน 2,500 บาท พื้นที่สีแดงเข้ม 16 จังหวัด

ส่วนสาเหตุ ที่ตรวจสอบสิทธิ์ www.sso.go.th เงินเยียวยาประกันสังคม เข้าไปตรวจสอบในระบบ แต่กลับพบว่า ไม่ได้รับสิทธิ อาจจะมีสาเหตุ มาจาก ชื่อหรือนามสกุล ในระบบผู้ประกันตนมีตัวสะกดไม่ตรงกับบัตรประชาชน เพราะผู้ประกันตนอาจมีการเปลี่ยนชื่อภายหลัง หรือตอนสมัครมีการสะกดผิด สามารถเข้าระบบสมาชิกผู้ประกันตนได้ ที่นี่

ขณะเดียวกัน ล่าสุด ธนาคารกรุงไทย แจ้งผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 โอน เงินเยียวยา ผ่านพร้อมเพย์ด้วยบัตรประชาชน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งหมด 29 จังหวัด เริ่ม 23 ส.ค. 64

สมัครพร้อมเพย์ผ่านแอปฯ KrungthaiNEXT หรือตู้ ATM/ATM+

วิธีการสมัคร

1. เลือกเมนู พร้อมเพย์
2. เลือกหมายเลข ที่ต้องการสมัคร พร้อมเพย์ รับเงินจากภาครัฐต้องผูกกับ หมายเลขบัตรประชาชนเท่านั้น
3. อ่านข้อกำหนดและ เงื่อนไข พร้อมทำ เครื่องหมายและ กด ยอมรับ
4. เลือกบัญชีที่ต้องการ ผูกกับหมายเลข พร้อมเพย์
5. ตรวจสอบ และ ยืนยันข้อมูล
6. สมัครสำเร็จ

โดยรายละเอียดการตรวจสอบสิทธิ์ www.sso.go.th เงินเยียวยาประกันสังคม สามารถแยกรายละเอียดได้ดังนี้ 

เงินเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 2,500 บาท เข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน วันที่ 20 ส.ค.64 

เงินเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 5,000 บาท เข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน วันที่ 23 ส.ค.64 

เงินเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 40 จำนวน 5,000 บาท เข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน วันที่ 24 -26 ส.ค.64 โอนละวันละ 1.5 ล้านราย

เงินเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 จำนวน 5,000 บาท เข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน วันที่ 27 ส.ค.64