• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

'ธ.ทิสโก้' เปิด 3 ธีมลงทุนสร้างกำไรเด่น รับปี 2565

Started by Thetaiso, January 07, 2022, 06:41:51 PM

Previous topic - Next topic

Thetaiso

'ธ.ทิสโก้' เปิด 3 ธีมลงทุนสร้างกำไรเด่น รับปี 2565 ซื้อ 'เมตาเวิร์ส นวัตกรรมการแพทย์ ยุโรป และญี่ปุ่น'

ธนาคารทิสโก้ประเดิมปี 2565 แนะซื้อ 3 ธีมลงทุนเพิ่มโอกาสสร้างกำไรงามรับปีขาล ชี้กลุ่มเมกะเทรนด์อย่าง 'เมตาเวิร์ส' และ 'นวัตกรรมการแพทย์' มาแรง เหมาะลงทุนระยะยาว และจับจังหวะเข้าซื้อกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วแบบยุโรป และญี่ปุ่น เพื่อกำไรระยะสั้น


นายณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (Mr.Nattakrit Laotaweesap, Head Of Wealth Advisory of TISCO Bank Public Company Limited) เปิดเผยว่า ในปี 2565 เศรษฐกิจจะเข้าสู่ช่วงกลางของการเติบโต (Mid Cycle) โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เศรษฐกิจโลกปี 2565 จะเติบโตแบบชะลอตัวมาอยู่ที่ 4.9% จากปี 2564 ที่คาดว่าจะเติบโต 5.9% โดยมีปัจจัยกดดัน 3 ประการ ได้แก่ 1. การระบาดของ COVID-19 ที่ยังยืดเยื้อจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงในการแพร่ระบาดมากกว่าเดิมที่อาจจะนำไปสู่การกลับมาใช้มาตรการ Lockdown และจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่แต่ละประเทศเริ่มมีข้อจำกัดในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้เม็ดเงินอัดฉีดไปในช่วงก่อนหน้านี้

แรงกดดันเงินเฟ้อที่อาจจะอยู่ระดับสูงจากปัญหาเชิงโครงสร้างในด้านอุปทานของแรงงานที่ขาดแคลน เช่น ในสหรัฐฯ ที่มีแรงงานถูกปลดออกในช่วงไวรัส COVID-19 ระบาด เป็นจำนวนมากถึงกว่า 3 ล้านคน และเป็นแรงงานที่มีอายุมากกว่า 55 ปี ซึ่งส่วนใหญ่อาจตัดสินใจเกษียณอายุและไม่กลับสู่ตลาดแรงงานอีก แม้ว่าด้านอุปสงค์จะผ่อนคลายลงในปีหน้า ทำให้การผลิตสินค้าก็ยังไม่สามารถทำได้เท่ากับก่อนเกิดวิกฤต COVID-19
และ 3. นโยบายการเงินจากปัญหาเงินเฟ้อที่คาดว่าจะทรงตัวระดับสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้นอย่างชัดเจน โดย Fed น่าจะยุติการทำ QE ในไตรมาส 1 นี้ และอาจเริ่มขึ้นดอกเบี้ยทันทีอีกราว 3 ครั้งในปี 2565 ซึ่งสภาพคล่องที่ลดลงและดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นชัดเจน จะเป็นปัจจัยกดดันต่อ Valuation ของตลาดหุ้นในปีนี้ โดยข้อมูลในอดีตชี้ว่า ค่าอัตราราคาต่อกำไร (P/E) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P 500) จะลดลงเฉลี่ย 5% ในช่วง 2-3 เดือนหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เริ่มขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก
นายณัฐกฤติกล่าวอีกว่า จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้กลยุทธ์การลงทุนปี 2565 จึงอยู่ในสภาวะที่ไม่ได้มีตัวเลือกมากนัก โดยคาดว่า 'หุ้น' จะสร้างผลตอบแทนดีกว่าตราสารหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงและอาจจะไม่คุ้มค่าการลงทุนเท่าใดนักในช่วงที่ดอกเบี้ยกำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้น อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าแม้หุ้นจะเป็นสินทรัพย์ที่น่าจะสร้างผลตอบแทนเป็นบวกได้ในปีนี้ แต่ผลตอบแทนก็ย่อมผันผวนไปตามปัจจัยลบที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงแนะนำให้นักลงทุนเน้นลงทุนระยะยาวเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน และเน้นลงทุนในกลุ่มหุ้นที่มีการเติบโตระดับสูงสอดรับกับ Megatrends

สำหรับในปี 2565 ธนาคารทิสโก้แนะนำทยอยสะสม 3 ธีมการลงทุนหลัก ดังนี้

หุ้นกลุ่มเมตาเวิร์ส (Metaverse) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีแห่งอนาคต (The Future Trend of Technology) โดยหุ้นกลุ่มนี้มีแนวโน้มการเติบโตในระดับสูง มีโมเดลทางธุรกิจ (Business Model) ที่มีกำไรขั้นต้นที่ดีและมีรายได้ค่อนข้างสม่ำเสมอจากผู้ใช้งานในปัจจุบันที่กำลังอยู่ในช่วงเติบโต ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ ได้แก่ Video Games และ Esports, Cloud Computing และ Cyber Security ที่คาดว่าจะมียอดขายเติบโตใน ประมาณ 20% ต่อปี ซึ่งดีกว่าเมื่อเทียบกับยอดขายของกลุ่มบริษัทใน NASDAQ 100 ที่คาดว่าจะเติบโตเพียง 8% ต่อปี
หุ้นกลุ่มนวัตกรรมการแพทย์ (Healthcare Innovation) อย่างไบโอเทค (Biotechnology) ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามค่าใช้จ่ายการในการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีน โดยคาดว่าในปี 2565 ทั่วโลกยังคงต้องอยู่ร่วมกับไวรัส COVID-19 ที่มีการกลายพันธุ์ หุ้นกลุ่มนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ใช้นวัตกรรมทางชีวภาพใหม่ๆ มาช่วยป้องกันและรักษา ทำให้รายได้ของหุ้นกลุ่มนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยคาดว่าตลาดของอุตสาหกรรมไบโอเทคของประเทศสหรัฐฯ และจีนในปี 2565 จะมียอดขายเติบโตได้ราว 12% และ 38% ตามลำดับ
โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีแห่งอนาคต และหุ้นกลุ่มนวัตกรรมการแพทย์ นับเป็นเมกะเทรนด์ ที่เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว
หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Market: DM) โดยเฉพาะประเทศที่คาดว่าหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อ Fed จะดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในไตรมาสที่ 1/2565 ได้แก่ ได้แก่ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น และยุโรป โดยทั้งสองประเทศยังมีเม็ดเงินส่วนเพิ่มจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อย่างประเทศญี่ปุ่นที่จะมีเม็ดเงินกว่า 78.9 ล้านล้านเยน คิดเป็น 5.6% ของ GDP และฝั่งยุโรปที่จะมีวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 7.5 แสนล้านยูโร คิดเป็น 5.5% ของ GDP ทั้งนี้ ระดับมูลค่าหุ้น (Valuation) ของ 2 ประเทศยังมีความน่าสนใจ ด้วยระดับอัตราราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น 12 เดือนข้างหน้า (Forward P/E 12 Months) เพียง 14 เท่า และ 15.5 เท่าตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับไม่ได้สูงเกินไปเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ แนะนำว่าสำหรับตลาดหุ้นยุโรปและญี่ปุ่น นักลงทุนควรใช้กลยุทธ์ "ทยอยซื้อ" ในจังหวะที่ตลาดปรับตัวลง เพื่อหาจังหวะทำกำไรในช่วงที่ราคาปรับตัวขึ้น