• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ปลดล็อกกับดัก 'ท่องเที่ยว' เครื่องยนต์ฟื้นเศรษฐกิจไทย หลังโควิด

Started by Chanapot, August 02, 2021, 04:50:56 PM

Previous topic - Next topic

Chanapot



เป็นระยะเวลา 16 เดือนแล้ว ที่วิกฤติโควิด-19 ยังอยู่กับคนทั้งโลก รวมถึงประเทศไทย และสร้างความเสียหายต่อสุขภาพ ประชากรกว่า 198 ล้านคนต้องติดเชื้อไวรัส และกว่า 4.2 ล้านคนต้องเสียชีวิต

ส่วนประเทศไทย ผู้ติดเชื้อล่าสุด ณ วันที่ 1 สิงหาคม ยอดพุ่งทยานแตะ 18,000 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 133 ราย จนรัฐต้องประกาศขยายพื้นที่สีแดงเข้มเพิ่ม 16 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด พร้อมยืดระยะเวลา "ล็อกดาวน์" ออกไปอีก 14 วัน เพื่อบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัส 

ความสูญเสียครั้งนี้ไม่จำกัดวงแค่สุขภาพ แต่ทำลายล้าง "เศรษฐกิจ" หรือจีดีพีของทั้งโลกและไทยกลายเป็นบาดแผลฉกรรจ์ ซึ่งความหวังเดียวที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องถึงการกู้ชีพจรเศรษฐกิจได้ ต้องแก้ที่ต้นตอ นั่นคือการ "ฉีดวัคซีน" โดยเร็วและทั่วถึง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เมื่อคนแข็งแรง ย่อมมีพลังไปพลิกฟื้นเรื่องปากท้องได้อีกครั้ง 

ประเทศไทยมี "เครื่องยนต์" สำคัญที่ขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ จากอุตสาหกรรมหลายเซ็กเตอร์ แต่หนึ่ง "ฮีโร่" ต้องมี "อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว" อยู่ในทำเนียบ เพราะไม่เพียงดึงดูดนักเดินทางจากทั่วโลกมาเยือน ยังสร้างรายได้มหาศาล โดยปี 2562 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวเยือนไทยร่วม 40 ล้านคน ทำเงินให้ประเทศมูลค่าราว 3 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 20% ของจีดีพี 

ทว่า นับต้ังแต่วินาทีที่โรคระบาดลามโลก ได้ "ชัตดาวน์" เศรษฐกิจทุกประเทศ และ "ดับเครื่องยนต์" เซ็กเตอร์ "การท่องเที่ยว" ให้จอดสนิท ทั้งห่วงโซ่ธุรกิจเสียหายสาหัส โรงแรมปิดให้บริการ สายการบินต้องหยุดบิน ทำให้ขาด "รายรับ" แต่ต้อง "แบกภาระรายจ่าย" รอบด้านทำให้ผู้ประกอบการต้อง "ขาดทุน" 

ส่วน "แรงงาน" ในภาคการท่องเที่ยวนับ "ล้านคน" ต้องตกงาน ว่างงาน หยุดงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน ฯ ท่ามกลางสถานการณ์เลวร้าย เชื่อว่าไม่มีใครปล่อยให้วิกฤติครั้งนี้ผ่านไปอย่างไร้ค่า ดั่งที่อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร "เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล" เคยทิ้งวรรคทองให้โลกจำ "Never let a good crisis go to waste."  

"เนชั่น ทีวี ช่อง 22" จัดฟอรั่มออนไลน์ หยิบหัวข้อ "ไทยพร้อม...เปิดประเทศ ฟื้นท่องเที่ยว" เชิญตัวแทนภาครัฐ เอกชน ภาคการท่องเที่ยวมาช่วยระดมสมองเพื่อพลิกฟื้นท่องเที่ยวระยะสั้น และปลดล็อกกับดักดีใจกับ "ตัวเลข" นักท่องเที่ยวปีละหลายสิบล้าน สู่การแสวงหาโอกาส ตลาด นักเดินทางกลุ่มใหม่หลังโควิด-19 คลี่คลาย

++กล้าปลดล็อกอุปสรรค

แก้ "คอขวด" ท่องเที่ยว

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ไทยควรใช้ห้วงเวลาที่โรคโควิดระบาดซ่อมบ้านหรือปรับปรุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ดี ไม่ใช่แค่จังหวัดที่มีเศรษฐกิจอิงการท่องเที่ยวหรือเมืองหลัก แต่ต้องขยายสู่เมืองรองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงทางเดิน ชายหาด ฯ  

 นอกจากนี้ ท่ามกลางการบริหารจัดการไวรัส มีการกระจายฉีดวัคซีน จึงเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลด้านสาธารณสุขต้องกระจ่างแจ้งเพื่อสร้างความสบายใจให้กับทุกฝ่าย เพราะนาทีนี้ วัคซีนเป็นทรัพยากรหายาก และเงินงบประมาณที่นำไปใช้จ่ายมีอยู่จำกัด 

ขณะเดียวถึงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องมี "ความกล้า" ในการแก้ไขกฏระเบียบที่เป็น "คอขวด" กติกาที่เป็นอุปสรรค สร้างความไม่สะดวก ช่วยลดภาระให้กับประชาชน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้ใช้ชีวิตยากลำบากอยู่แล้ว

"ใช้วิกฤติให้เกิดโอกาสใหม่ ต้องกล้าผ่าตัด รื้อกฎระเบียบ ใช้ปากกาแก้ไขกฎกระทรวง ค่าธรรมเนียมต่างๆ ตอนนี้มีประชุมเยอะ ก็ประชุมออนไลน์ซะ"   

ส่วนการปั๊มชีพจรผู้ประกอบการท่องเที่ยวระยะสั้น รัฐควรพิจารณากระบวนการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ จากปีก่อนพูดไม่ถนัด เพราะยังไม่เห็นผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ที่ยังทำ "กำไรมาก" 

"ตอนนี้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวกำลังอ่อนแอ หลังจมน้ำมานาน แต่การพิจารณาให้สินเชื่อสามารถช่วยคนที่กำลังขึ้นจากน้ำ และดึงผู้ประกอบการในห่วงโซ่หรือซัพพลายเชนให้พ้นน้ำได้ทั้งระบบ"  


++4D คัมภีร์ดึงดูดนักเดินทาง

ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ฉายภาพธุรกิจท่องเที่ยวของไทยที่ผ่านมา ผู้ประกอบการมีความสุขกับตัวเลขนักท่องเที่ยวร่วม 40 ล้านคนต่อปี แต่โลกภายใต้โควิด ยากจะเห็นจำนวนคนมากมายเดินทางเช่นเดิม เพราะผ่านพ้นครึ่งปีแรก นักท่องเที่ยวมาไทยกว่า 34,000 คนเท่านั้น หลังเปิดโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ อ้าแขนรับนักเดินทางไปเกือบครึ่งหนึ่ง 


นอกจากนี้ โลกวิถีปกติใหม่(New Normal) แผนการเดินทางของนักท่องเที่ยวไม่เหมือนเดิม เพราะการจองทริปเกิดขึ้นในเวลาอันสั้น ไม่เตรียมการนานเหมือนในอดีต เพราะมีเงื่อนไขสถานการณ์โรคระบาดของแต่ละประเทศให้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต มีผลต่อตารางการท่องเที่ยวทั้งสิ้น 

ท่ามกลางตัวแปรที่หลากหลาย แต่ภารกิจของททท. คือต้องผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้เติบโต จึงผ่อนเกียร์ในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์การท่องเที่ยวไม่ได้ มุ่งผนึกกับสำนักงานทั้ง 29 ประเทศ ดึงนักเดินทางให้กลับมาเยือนไทย สื่อสารให้เข้าใจไทยมีภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ พัก อาศัย เที่ยวในเกาะได้ หากอยู่ครบตามเงื่อนไข ไร้ความเสี่ยงโรคระบาด อาจได้ขยายพื้นที่เที่ยวยังจุดอื่นๆได้ขึ้นภายใต้สถานการณ์และการควบคุมโรคระบาด  

ขณะที่การทำตลาดจะยึดสูตรเดิมไม่ได้ เพราะพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเปลี่ยน จึงต้องปรับตัวเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย คัมภีร์ 4D ลุยตลาด ได้แก่ Demand ผู้ประกอบการต้องฟังความต้องการของนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholders)ที่ทำงานร่วมกัน อย่างยุคนี้มาเที่ยวโรงแรม ที่พักต่างๆต้องปลอดภัย เมื่อมาต้องตรวจเชื้อโควิด-19 ทำให้กินเวลานานขึ้น มีผลต่อเวลาเช็คอิน เช็คเอาท์ จึงต้องปรับให้เหมาะสม ไม่ยึดกฏเหล็กนับ 24 ชั่วโมง เช่น หากมาเช็คอิน 08.00 น. แล้วต้องเช็คเอาท์ เวลาใกล้เคียงกัน แขกเข้าพักต้องตื่นเช้าเพื่อออกจากโรงแรม อดมื้อเช้า เหล่านี้ต้องยืดหยุ่นได้ อย่าคำนึงถึงแค่ผลทางธุรกิจ

"กลยุทธ์เดิมอาจพัฒนาสินค้าดีขึ้นห้างขาย ประเทศไทยสวยหล่อเลือกได้ นักท่องเที่ยวมาเยือน 40 ล้านคน Enjoy มานาน แต่ยุคนี้ต้อง Demand Driven ทำตลาดต้องฟังเสียงลูกค้า ตอนนี้นักท่องเที่ยวพาครอบครัว คนรักมาเที่ยวจะมองหาสถานที่เที่ยวแล้วมั่นใจ ปลอดภัย"

Data Driven ข้อมูลขับเคลื่อนธุรกิจ ทำตลาดต้องรู้สถานการณ์แต่ละประเทศมีเงื่อนไขเกี่ยวกับโรคโควิด-19 อย่างไร ไทยอยู่ในโซนสีไหนของแต่ละประเทศ เพราะมีผลต่อการพัก กักตัวของนักท่องเที่ยวเมื่อกลับประเทศเหล่านั้น Digital โรคระบาดเป็นปัจจัยเร่งให้ดิจิทัลทรงพลังมากขึ้นและเปลี่ยนทุกสิ่งทั้งการติดต่อกัน อีเวนท์แบบกายภาพหรือ Physical ลดลง หากนักท่องเที่ยวไม่ต้องการใช้จ่ายเงินสด โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ต้องมีเทคโนโลยี บริการอิเล็กทรอนิกส์รองรับ และควรใช้เวลานี้ปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เพราะยังมีเวลาก่อนนักเดินทางกลับมาเยือนไทยอีกครั้ง

  Domestic กลับมาพึ่งการตลาดในประเทศ เมื่อคนไทยหยุดเชื้อเพพื่อชาติเป็นเวลานาน หากนโยบายเปิดประเทศ สถานการณ์โควิดคลี่คลาย การกระตุ้นให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวทั่วไทย เป็นกลไกฟื้นเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ "จีน" เป็นกรณีศึกษาน่าสนใจ เมื่อรัฐยังไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ ประชากรจำนวนมากเดินทางเที่ยวในประเทศทำสถิติเท่ากับปี 2562 การพักที่จุดหมายปลายทางต่างๆนานขึ้น เช่น ไปมาเก๊า 5 วัน จากปกติ 1-2 วันเท่านั้น 

++ เที่ยวเชิงสุขภาพ 

New S-Curve เติบโต   

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย อดีตเคยมีนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพจากยุโรป สหรัฐฯ เข้ามาพักผ่อนเป็นเวลาหลายวัน กระทั่ง "มังกรผงาด" จีนยุคใหม่ต่างพากันตบเท้าออกนอกประเทศเพื่อชมโลกกว้าง ไม่เพียงเท่านั้น ยุคโลกไร้พรมแดน ทำให้มีนักท่องเที่ยวอิสระ(FIT)ทั่วทุกมุมโลกออกเดินทางมากขึ้น ทำให้กลุ่มเป้าหมายของแต่ละตลาดเปลี่ยน รวมถึงไทยที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลมามหาศาล 

ทว่า จากนี้ไปตัวเลข ไม่ใช่เป้าหมายสำคัญสุดอีกต่อไป เพราะผู้ประกอบการตีโจทย์ใหม่ ป้องกันความเสี่ยงจากตลาดเดียว และขยายตลาดเพิ่มขุมทรัพย์รายได้ ซึ่งหลายส่วนเห็นพ้องว่าหลังโรคโควิดระบาด การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) รวมถึง การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์(Medical Tourism) จะมีบทบาทยิ่งขึ้น 

กิตติศักดิ์ ปัทมะเสวี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจมนทาระ ฮอสพิตาลิตี้ กรุ๊ป ผู้บริหาร ตรีสรา รีสอร์ต ภูเก็ต หยิบข้อมูลย้อนหลังปี 2560 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทั่วโลกมีมูลค่าถึง 6.4 แสนล้านดอลลาร์ ขนาดใหญ่กว่าจีดีพีไทยมาก และมีอัตราการเติบโตราว 7% ขยายตัวเร็วกว่าเศรษฐกิจหลายประเทศด้วยซ้ำ 

ทั้งนี้ หากธุรกิจท่องเที่ยว โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตที่พึ่งพาชาวต่างชาติจำนวนมาก โดยเฉพาะจีน รัสเซีย ซึ่งยังไม่กลับมาในเร็วๆนี้ ทำให้ต้องปรับตัวหาตลาดใหม่ เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาวให้ได้

นอกจากนี้ การติดตามสถานการณ์โรคระบาด และศึกษาข้อมูลต่างๆ ทำให้กรณีที่น่าสนใจ อย่างสหรัฐฯ มีผู้ป่วยนับล้าน หากไม่มีโรคเรื้อรังอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 14% หากมีโรคเรื้อรัง อัตราจะเพิ่มเป็น 45% หรือราว 3 เท่าตัว และมีผลต่อการเสียชีวิตจาก 5% เป็น 20% หรือเพิ่ม 4 เท่าตัว ผลกระทบไม่ได้เกิดกับร่างกายเท่านั้น แต่มีผลต่อสภาพจิตใจของคนในครอบครัวด้วย 

ขณะที่พฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพยังสูง 2-4 เท่าตัว และใช้เวลาทำกิจกรรม พักผ่อนยาวนานเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวทั่วไป ส่วนการเดินทางยังไปพร้อมครอบครัว พ่อแม่ ลูกฯ 

"โควิดทำให้คนตระหนักเรื่องสุขภาพ และกระตุ้นตลาดความต้องการตลาดสุขภาพทั่วโลก wellness tourism จึงเป็นโอกาสในวิกฤติ" 

ทั้งนี้ บริษัทจึงพัฒนาโครงการ "ตรีวนันดา" บนพื้นที่ 600ไร่ มีโซนที่พักอาศัย และรีสอร์ท รองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยจุดเด่นโครงการไม่เพียงรองรับนักท่องเที่ยว แต่ยังตอบโจทย์การลงทุนด้วย เพื่อให้ลูกค้าที่ลงทุนสามารถปล่อยเช่าได้ผลตอบแทน ซึ่งคาดว่าจะช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้กลับเข้ามาลงทุนส่งเสริมเครื่องยนต์เศรษฐกิจภูเก็ตและประเทศต่อไป

"ระยะยาว Wellness Tourism ตอบโจทย์การผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เติบโตในอนาคต เพราะคนทัวโลกต้องการมีสุขภาพดี ประเทศไทยมีทรัพยากร วัฒนธรรม บุคลากรตอบโจทย์" 

 ศิริญา เทพเจริญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) เห็นพ้องว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ถือเป็นปัจจัยสร้างการเติบโตใหม่หรือ New S-Curve ของภาคท่องเที่ยว เพราะโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องรักษาชีวิต รักสุขภาพ หันมาสร้างภูมิป้องกันโรคต่างๆมากขึ้น 


หากมองดูประเทศไทย มีจุดแข็งมากมายที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ ทั้งมีทรัพยากรสมุนไพร การปลดล็อกกัญชาเพื่อทางการแพทย์ และเชิงพาณิชย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ บริษัทนำไปต่อยอดในโครงการมายโอโซน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโต ยกระดับเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทางเหมือนการไปดื่มไวน์ณ เมืองต่างๆในประเทศฝรั่งเศส 

"โควิดทำให้คนโหยหามากสุดคือสุขภาพ เพราะมีเงินก็ตาย ขณะที่การส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เมดิคัล ฮับต่างๆ ไม่ยาก เพราะไทยมีจุดแข็งอยู่แล้ว หากทำได้เชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นกลับมาเร็ว"

พัลลภ แซ่จิว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่จะยั่งยืน ต้องหันพึ่งพาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และไม่แค่การรักษาพยาบาล แต่มองถึงการเป็นแหล่ง "ดิจิทัล ดีท็อกซ์" ใช้พื้นที่อับสัญญาณโทรศัพท์ พัฒนารีสอร์ท เพื่อให้นักเดินทางมาปรับคุณภาพชีวิต กลับมาตั้งสติมากขึ้น 

นอกจากนี้ จะยกระดับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร Agro Gastronomy เชื่อมโยงการเกษตรกับอาหารแบบครบวงจร มีลายแทงร้านเด็ดดี ปราศจากสารเคมี ดึงนักเดินทางให้มาเที่ยวแล้วได้เรียนรู้ศาสตร์การทำอาหารที่ดีต่อสุขภาพติดตัวกลับไป เป็นต้น  

ภูเก็ต จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวสำคัญของไทย แต่ละปีโกยนักเดินทางจำนวนมาก เศรษฐกิจท้องถิ่น 95% พึ่งพาการท่องเที่ยว แต่โควิดทำให้ต้องคิดใหม่ ภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต บอกว่า ระยะยาวการฟื้นเศรษฐกิจภูเก็ต ต้องไม่ยึดติดกับท่องเที่ยว ต้องสร้างเครื่องยนต์ใหม่ เช่น การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การศึกษา สมาร์ทซิตี้ฯ เพื่อกระจายความเสี่ยง แต่ยอมรับว่าจะก้าวไปสู่จุดดังกล่าว เป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อย พัฒนาระบบขนส่ง ดูแลการท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อมให้ดี

"เพื่อไม่ต้องพึ่งพางบประมาณภาครัฐ  ควรหานวัตกรรมทางการเงินเพื่อให้ภูเก็ตเดินหน้าต่อได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนมองระยะยาว ต้องเอาตัวรอดปัจจุบันก่อน หากติดหล่มการจัดการโรคระบาด อนาคตคงเป็นแค่ฝัน"