• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Naprapats

#9316


เมื่อต้องดำเนินธุรกิจภายใต้สถานการณ์วิกฤติโรคระบาด การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง "เอส แอนด์ พี" ร้านอาหารและเบเกอรี่ชั้นนำ ป็นอีกองค์กรที่ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี ฮึดสู้และพลิกหลายกระบวนท่า จนนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี

วิทูร ศิลาอ่อน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด(มหาชน) ฉายภาพว่า ปี 2563 เป็นปีที่บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมาก ทั้งโรงงานผลิตสินค้า บริหารกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดและผู้บริโภค การดูแลแรงงานทั้งหน้าร้าน บาร์น้ำ เดลิเวอรี่ เพิ่มประสิทธิภาพหรือโปรดักทิวิตี้ ในการทำงานมากขึ้น ส่วนร้านที่มีสาขาในห้างค้าปลีก มีการเจรจากับเจ้าของหางหรือแลนด์ลอร์ดในการลดค่าเช่าพื้นที่ เป็นต้น 

ส่วนปี 2564 บริษัทเน้นการปรับตัวเร็วและแรงหรือ Agile มากขึ้น และต้องทำตลอดเวลา เพื่อให้เอสแอนด์พี มีความแข็งแรงมากขึ้น ไม่ว่าบริษัทจะเจอกับสถานการณ์หนักเบาเพียงใด หรือการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นตลอดเวลาก็ตาม 

"เรายังมุ่นมั่นดำเนินธุรกิจหลักให้แกร่ง แต่การที่ธุรกิจะมีความยั่งยืน วิธีการคิดหรือมายด์เซ็ทต้องเข้มแข็ง มุ่งมั่น เอสแอนด์พี เราต้องพร้อมจะเปลี่ยนเร็วและแรงเพื่อใหองค์กรอยู่รอดอย่างดี ด้านวิสัยทัศน์ระยะยาวต้องชัด มีการดิสรัปวิธีคิดใหม่ๆ อย่าให้ความคุ้นเคยเก่าๆ วิธีการทำงานเดิมๆทำให้บริษัทเชื่องช้า การมุ่งเรื่องฟิตและลีนต้องทำต่อเนื่อง เพื่อให้ผลประกอบการและกำไรเป็นไปตามเป้าหมาย และยังสานภารกิจสร้างสรรค์สินค้าและบริการตอบสนองให้ลูกค้ามีความสุข" 

ทั้งนี้ วิกฤติโควิดเปรียบเหมือนเสียงปลุก(Wake up call)ครั้งใหญ่ ทำให้รู้ว่าหนทางการต่อสู้ยังอีกยาวไกล บริษัทจึงต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆมาผลักดันการเติบโต โดยแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจครึ่งปีหลัง ลุย 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ตอบโจทย์ความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค ด้วยการขยายร้านเดลต้าอีก 20 สาขา เพื่อให้สิ้นปีมีร้านครบ 31 สาขา รองรับบริการเดลิเวอรี่ และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ่้น 2.การผลักดันยอดขายเดลิเวอรี่ให้แตะ 3 ล้านบาทต่อวัน 


3.ปรับกลยุทธ์สินค้าที่จำหน่ายช่วงเทศกาล มาเป็นสินค้าขายทุกวัน เช่น คุกกี้จากขายช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองเดือนพฤศจิกายน ธันคาคม มาขายทุกวัน ขนมไหว้พระจันทร์ลด 20% ทุกวัน ไม่ต้องรอวันพุธ รังสรรค์เค้กที่ทานได้ทุกวัน มีเค้กรวมรสเพิ่มความหลากหลาย การสั่งเค้กต้องได้เค้ก คือลูกค้าต้องการเค้กแบบไหน เอสแอนด์พีต้องทำได้ตามสั่งทุกอย่าง ฯ  พร้อมทั้งผลักดันชุดอาหารไทยซึ่งสินคา "ฮีโร่"ต้องประกอบอาหารให้เร็ว เพื่อเสิร์ฟถึงมือลูกค้าเร็วขึ้น และ 4.การบริหารจัดการต้นทุน ทั้งโรงงาน พนักงาน ค่าเช่า การผนึกกำลังแบรนด์ในเครือทำตลาดเพื่อไม่ให้ขาดทุน เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ไมเซน ฯ 

ปี 2564 บริษัทยังเดินหน้าขยายร้านเอสแอนด์พี มาร์ท ให้เป็น 10 สาขา จากปัจจุบันมีร้านต้นแบบ 1 แห่งที่อาคารอิตัลไทย โดยร้านดังกล่าวมีคอนเซปต์ช้อปสนุก จ่ายเงินเร็ว ขณะเดียวกันบริษัทจะปรับปรุง(Revamp)กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า(ซีอาร์เอ็ม) ให้สอดคล้องกับดิจิทัลแพลตฟอร์มมากขึ้น รวมถึงเน้นสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าครบครันความอร่อย ร้อน เร็ว 

"เรายังมุ่งมั่นการเป็นร้านอาหารไทยและเบเกอรีร้านโปรดของคนไทย เช่น เบเกอรีต้องย้ำจุดแข็งเบอร์ 1 เค้กวันเกิด ทำให้ลูกค้าไม่ต้องนึกถึงแบรนด์อื่น  รีเทลปีนี้จะร่วมมือกับพันธมิตรนำสินค้าที่โดดเด่นไปเสนอขายผ่านช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น ส่วนฟู้ดเซอร์วิส ต้องเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ๆต่อเนื่อง"   



อรรถ ประคุณหังสิต ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการธุรกิจ บริษัท เอส แอนด์ พี บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจเดลิเวอรี่เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากขยายจุดจำหน่ายได้มากขึ้นทั้งแปลงร้านเบเกอรี 323 จุดทั่วประเทศ ขยายร้านเดลต้ามากขึ้น และการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ผ่าน snp1344.com ง่าย สะดวกขึ้น รวมถึงพัฒนาเมนูป้อนเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ 

การปรับตัวตลอดดเวลา ทำให้บริษัทสร้างสถิติยอดขายมากมาย เช่น 12 สิงหาคม เดลิเวอรี่ทำนิวไฮ 4.4 ล้านบาท เค้กวันแม่ยอดขาย 14,000 จาน ข้าวแช่โกยยอด 26 ล้านบท หรือ 1.54 แสนชุด โต 3 เท่าจากปีก่อนขาย 4 หมื่นชุด การปิดบริการนั่งทานในร้าน แต่ออกโปรโมชั่น 1 แถม 1 ทำยอดขาย 61 ล้านบาท ประเดิมปรับกลยุทธ์ขายคุกกี้ทุกวันได้ 7 ล้านบาท จากขายเฉพาะเทศกาลกว่า 200 ล้านบาท  กาแฟบลูคัพหั่นราคาเริ่มที่ 69 บาท ยอดขาย 4 ล้านบาท หรือ 6 หมื่นแก้วต่อเดือน จากเดิม 4 หมื่นแก้วต่อเดือน ใช้พื้นที่นั่งทานอาหารในร้านปรับเป็น  "เอสแอนด์พีมาร์เก็ตเพลส" เดือนกรกฎาคมทำยอดขาย 100 ล้านบาท เป็นต้น 

เจาะกลยุทธ์ "เอสแอนด์พีมาร์เก็ตเพลส"

"เดลิเวอรี่ทำยอดขายเติบโตอย่างแข็งแกร่ง 28% อีกพระเอกคือกับข้าวไทย ครึ่งปีหลังจะออก 50 เมนูใหม่ ตอกย้ำช่องทางเดลิเวอรี่ รวมถึงเปิดตัวอาหารว่างหรือสแน็คบ็อกซ์ทำตลาดเพิม ที่ขาดไม่ได้คือการซีนเนอร์ยีร้านอาหารในเครือทั้งไมเซน อุเมะโนะฮานะ ออกโปรโมชั่นใหม่ๆ ตอบสนองและขยายฐานลูกคา"  

สำหรับภาพรวมครึ่งปีแรก บริษัททำรายได้รวม 2,214 ล้านบาท ลดลง 9% คิดเป็น 219 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 123 ล้านบาท เติบโต 258% หรือเพิ่มขึ้น 201 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ "ขาดทุน" 78 ล้านบาท เฉพาะไตรมาส 2 ทำกำไร 44 ล้านบาท เติมโต 185% หรือเพิ่มขึ้น 95 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขาดทุน 51 ล้านบาท
#9318
รับผลิตสเปรย์แอลกอฮอลการ์ดราคาส่ง
ราคาถูก ราคาเบา ราคาโรงงาน
มีเลขที่จดแจ้ง ได้มาตรฐาน 
ราคาเริ่มต้น 15 บาท/ชิ้น
สนใจติดต่อ  https://lin.ee/nXGuYwR
โทร. 0863754112
#9319
น้ำมันว่านเศรษฐีเรียกลาภ  ขวดละ 299 บาท


หุงจากว่านด้านเมตตา โชคลาภ 4 ชนิด ว่านรวยไม่เลิก ว่านเศรษฐีเรือนนอก ว่านเศรษฐีเรือนใน ว่านรางเงิน

พร้อมใส่ตะกรุดหัวใจพระสีวลีให้ทุกขวด ส่งเสริม เรื่องเมตตา โชคลาภ ค้าขาย

ว่านเศรษฐีเรือนใน

เป็นว่านที่มีคุณทางเมตตามหานิยม มีโชคลาภและวาสนาทรัพย์สินเงินทองมากมาย

ว่านเศรษฐีเรือนนอก 

เป็นว่านให้ผลในทางคุ้มครองป้องกันภัย มีโชคลาภและฐานะเจริญรุ่งเรือง

ว่านรวยไม่เลิก

เป็นว่านให้ผล ในเรื่องความร่ำรวยตลอดไปเหมือนชื่อต้น มีโชคลาภ

ว่านรางเงิน 

เป็นว่านะดีเด่นในเรื่องของเมตตามหานิยม และโชคลาภ 

คาถาบูชา

ตั้ง นะโม 3 จบ

สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุ เมฯ

(ท่องคาถาแล้วอธิษฐาน)

ใช้เจิมตามซอกคอ ตามตัว ทาที่คิ้ว เจิมที่หน้าผาก พกติดตัว

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สั่งซื้อบูชา ทักแชทได้เลยหรือติดต่อได้ที่

โทร. 0846623662

id line : teerapat999

ลาซาด้า

https://www.lazada.co.th/products/-i792070635-s1584866736.html?search=store?spm=a2o4m.10453683.0.0.10b96d16q6OJEJ&search=store

#9326


มวยปล้ำ WWE เตรียมเปิดให้ชาวอเมริกันเชียร์ติดขอบสนามอีกครั้ง! กับศึก SmackDown และ RAW พร้อมชมการคืนสนามของ จอห์น ซีน่า ในรอบ 17 เดือน ชาวไทยดูสด ๆ ได้ทาง 3BB GIGATV

ภายหลังจากสถานการณ์โควิดในอเมริกาเริ่มคลี่คลาย สมาคมมวยปล้ำ WWE ได้ปรับให้มีการเปิดเข้าชมของแฟนมวยปล้ำอีกครั้ง ประเดิมเปิดเวทีกับสองรายการสุดฮิตที่คอมวยปล้ำชื่นชอบ รายการ Smackdown และ RAW กับบรรยากาศแฟนมวยปล้ำลุ้นเต็มขอบสนามจริง ภายหลังที่ต้องชมผ่าน WWE Network มาเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง หลังสถานการณ์โควิดในอเมริกาดีขึ้น และเมื่อเปิดให้มีการจองบัตรที่นั่ง ปรากฏว่าบัตรเต็มในเวลาอันสั้น!!!

วินซ์ แม็กแมน (Vince McMahon) ประธานบริหารและ CEO สมาคม WWE เผยว่า "กว่าหนึ่งปีครึ่ง ที่ WWE ขาดสิ่งที่สำคัญที่สุดของโชว์ไป นั่นคือแฟนๆ ของเรา แม้ว่าเราจะพยายามมากแค่ไหน ทั้งไม่เคยหยุดออกอากาศ ยืดหยัดสร้างสรรค์ผลิตรายการออกมาเสมอ ลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ซึ่งนำพาแฟนๆ เกือบล้านคนเข้ามาอยู่ในโชว์ของเราผ่านจอวิดีโอบอร์ด แต่มันก็ไม่เหมือนที่เคยเป็น ท่วงทำนองของเราขาดหายไปประสบการณ์ที่เราสัมผัสร่วมกัน อารมณ์ความรู้สึก ปฏิกิริยาของผู้ชมที่ทำให้ทุกการกระแทกและรอยฟกช้ำที่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่า มันขาดหายไป พรุ่งนี้ทุกสิ่งจะเปลี่ยนไป"

ทาง WWE ยังเอาใจแฟนมวยปล้ำ ด้วยการปรากฏตัวของ จอห์น ซีน่า (John Cena) ตำนานนักมวยปล้ำชื่อดัง อดีตแชมป์โลก 16 สมัย ซึ่งปัจจุบันผันตัวเป็นนักแสดงชื่อดังในฮอลลีวูด (เรื่อง Fast9) นี่คือการกลับมาคืนจอ WWE ครั้งแรกของซีน่า นับตั้งแต่ Firefly Fun House ใน WrestleMania 36 ซึ่งเป็นการอัดเทปในสถานที่ปิดไร้ผู้ชม แต่ครั้งนี้คือการกลับมาท่ามกลางผู้ชมในสนามครั้งแรกของเขา ในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่รายการ SmackDown กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ก่อน COVID-19 pandemic และนี่คือ เวที WWE ที่เปิดรับผู้ชมกลับมาคืนสนามเต็มความจุอีกครั้ง

ซึ่งในเดือนกันยายนนี้ แฟนมวยปล้ำชาวไทย สามารถรับชมความสนุกเร้าใจกับความสนุกทุกคู่ เลือดสาดทุกแมตช์ เกรี้ยวกราดทุกช็อต ชั้นเชิงขั้นเทพแบบโหด-เลว-ดี ไม่มีสิ้นสุด ชมกันแบบเต็มอิ่มได้ลุ้นเหมือนได้นั่งเชียร์ที่ขอบสนามด้วยตัวเอง ทุกเช้าวันอังคาร จะได้ชมรายการ RAW เวลา 07.00 - 10.00 น. และ ทุกเช้าวันเสาร์ ชมรายการ SMACKDOWN เวลา 07.00 - 09.00 น. ที่ช่อง 3BB SPROTS ONE หมายเลข 401 ผ่านบริการ 3BB GIGATV สอบถามเพิ่มเติม โทร 1530
#9327


โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพ ขอเชิญคุณร่วมเฉลิมฉลอง "เทศกาลไหว้พระจันทร์" ปีนี้ ด้วยขนมไหว้พระจันทร์ หลากรส รังสรรค์โดยเชฟผู้สะสมประสบการณ์การในการทำขนมไหว้พระจันทร์แบบโฮมเมดมานาน โดยมีจุดเด่นของความอร่อย คือ เลือกใช้แต่วัตถุดิบที่สด สะอาด อีกทั้งยังทำใหม่ทุกวัน พร้อมให้คุณได้ลิ้มลอง สุดยอดความอร่อยไปกับไส้ต่างๆ อาทิ ไส้ที่ขายดีที่สุดอย่างทุเรียน เม็ดบัว โหงวยิ้ง พุทราผสมวอลนัท และคัสตาร์ด โดยบรรจุในแพคเกจที่หรูหราสวยงาม สามารถมอบเป็นของขวัญในเทศกาลพิเศษนี้



ในราคาชิ้นละ 208 บาท
แบบกล่อง 2 ชิ้น ราคากล่องละ 588 บาท
แบบกล่อง 4 ชิ้น ราคากล่องละ 988 บาท
แบบกล่องบรรจุขนมไหว้พระจันทร์ขนาดเล็กไส้คัสตาร์ด จำนวน 8 ชิ้น ราคา 888 บาท
แบบกล่องหนังดีไซน์พิเศษ บรรจุขนมไหว้พระจันทร์ จำนวน 8 ชิ้น ราคา 1,888 บาท



วางจำหน่ายที่ ห้องอาหารร่มไทร ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม – 21 กันยายน 2564
วันที่ 2 – 21 กันยายน 2564 ณ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
วันที่ 7 – 21 กันยายน 2564 ณ ห้างสรรพสินค้า ดิเอ็มควอเทียร์ และ เดอะมอลล์บางแค
วันที่ 14 – 21 กันยายน 2564 ณ โครงการ สามย่าน มิตรทาวน์
หรือสั่งผ่านแอพ Robinhood https://bit.ly/BTTHBK_RobinhoodApp
URL
 12
 
#9330


เชื่อว่าภารกิจสำคัญของรัฐบาลหลายๆ ชาติ นอกจากจะควบคุมโรคระบาดจากเชื้อโควิด-19 ให้ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดโดยเร็วที่สุดแล้ว คงเป็นเรื่องการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยเต็มตัว แต่แนวทางการพัฒนาของโลกยุคหลังโควิด-19 ไม่ควรย้อนรอยกลับไปสร้างความผิดพลาดแบบเดิมๆ ที่สร้างความหายนะทั้งทางสิ่งแวดล้อมและความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างแสนสาหัส

บทเรียนการพัฒนาที่มุ่งทำลายต้นทุนธรรมชาติและระบบนิเวศพิสูจน์แล้วว่าเปราะบางและพร้อมจะพังทลายลงได้ในบัดดลเมื่อพบกับเภทภัยระดับโลกเช่นนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อม (Green Stimulus) เป็นแนวทางที่นักวิชาการและนักสิ่งแวดล้อมหลายสำนักนำเสนอเพื่อใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และเตรียมรับมือกับภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่าโรคระบาดครั้งนี้หลายเท่า



ย้อนกลับไปยังต้นตอของวิกฤตโรคระบาดระดับโลกครั้งนี้ อธิบดีกรมควบคุมและป้องกันโรคของจีนออกมายอมรับว่าเป็นไปได้อย่างมากที่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019-nCoV หรือ COVID-19 มีต้นกำเนิดมาจากตลาดค้าขายสัตว์ป่าผิดกฎหมายในเมืองอู่ฮั่น ที่มีประชากรราว 11 ล้านคน จนทำให้จีนต้องออกมาประกาศปิดตลาดค้าสัตว์ป่าทั่วประเทศชั่วคราวตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม อีกหนึ่งเดือนถัดมาคณะกรรมาธิการสภาประชาชนแห่งชาติของจีนมีมติให้การรับรองคำสั่งห้ามบริโภคสัตว์ป่าอย่างเด็ดขาด รวมทั้งประกาศจะปราบปรามตลาดค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายทั่วประเทศ เพื่อให้ความปลอดภัยด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน และความมั่นคงทางด้านนิเวศวิทยา

หลายคนยังกังขาว่ารัฐบาลจีนจะเอาจริงแค่ไหนเพราะตอนที่เกิดเหตุโรคซาร์สระบาดเมื่อ ค.ศ.2003 ก็เคยมีนโยบายที่คล้ายคลึงกันออกมาเช่นกัน แต่เมื่อโรคระบาดหายไปไม่นาน ตลาดค้าสัตว์ป่าก็กลับมาค้าขายกันเหมือนเดิม และขยายตัวยิ่งกว่าเดิมด้วยซ้ำตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและช่องทางค้าขายออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น

ปัญหาการค้าสัตว์ป่าเป็นเพียงแค่ตัวอย่างเดียวของการใช้ประโยชน์ธรรมชาติอย่างล้างผลาญที่ส่งผลโดยตรงต่อการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต หากลองสำรวจวิกฤตการณ์ที่ผ่านมาก็จะพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนกำลังรุมเร้าและท้าทายการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์มากขึ้นทุกที ไม่ว่าจะเป็น มลพิษทางอากาศ สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันพิษ มลภาวะจากขยะพลาสติก อุณหภูมิที่สูงผิดปกติและภาวะเป็นกรดของมหาสมุทร ไปจนถึงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากการละลายของน้ำแข็งแถบขั้วโลก

ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นจึงเป็นวิกฤตที่คู่ขนานไปกับภาวะฉุกเฉินทางด้านนิเวศวิทยาและสภาพภูมิอากาศ และความไม่เท่าเทียมอย่างสุดขั้ว ภาวะวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมและโรคระบาดเป็นปรากฏการณ์ที่ตอกย้ำให้เห็นว่าเราควบคุมสถานการณ์ไม่อยู่แน่นอนถ้าไม่หันมาฟังคำเตือนของนักวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง และไม่กลับไปแก้ที่ต้นตอของปัญหา ทั้งระบบเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยว การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติแบบเอาแต่ได้ และการเมืองที่ยึดโยงอยู่กับผลประโยชน์
สิ่งที่จะทำให้เรารอดไปด้วยกันจึงไม่ใช่แค่เงินชดเชยรายได้ (ที่จำเป็นมากๆ สำหรับผู้มีรายได้น้อย) และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเพื่อหวนกลับไปสร้างความมั่งคั่งให้กับคนกลุ่มน้อยที่อยู่บนสุดของพีรามิดเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รัฐบาลควรใช้วิกฤตครั้งนี้ทบทวนแผนการลงทุนขนาดใหญ่ หันมาให้น้ำหนักกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ส่งเสริมการรักษาต้นทุนธรรมชาติและกำหนดทิศทางใหม่ในการพัฒนาเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติครั้งใหม่ในอนาคต
นักวิชาการได้นิยามการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อม (Green Stimulus) ว่ามีลักษณะสำคัญ 4 อย่างคือ 1) ทำให้เกิดการจ้างงานอย่างรวดเร็ว 2) เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 3) ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน และ 4) เกิดผลด้านบวกต่อระบบนิเวศ หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ แน่นอนว่าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจจะถูกนำมาใช้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินเท่านั้น

ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 นักวิชาการและนักสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกาได้มีการนำเสนอยุทธศาสตร์สำคัญ 4 ด้านของการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่มีมูลค่ารวมถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่สอดคล้องกับข้อเสนอ Green New Deal โดยเนื้อหาใจความหลักสามารถนำมาปรับใช้กับบ้านเราได้เช่นกันคือ
การสร้างงานใหม่ๆ ในระดับชุมชนที่ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว เช่น การขยายกำลังผลิตของภาคพลังงานหมุนเวียน การปรับปรุงอาคารและสิ่งก่อสร้างเพื่อลดการใช้พลังงาน การขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ การส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรในระดับท้องถิ่น การปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน การผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (เช่น สวนสาธารณะป้องกันน้ำท่วม ทางเชื่อมระหว่างผืนป่าให้สัตว์ข้ามไปมา) ปรับหลักสูตรในระดับอาชีวะและอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว

การลงทุนอย่างชาญฉลาดสำหรับโลกในอนาคต เช่น การปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา การเปลี่ยนรถเมล์เป็นรถไฟฟ้า การพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในชนบท การเตรียมความพร้อมของครูและนักเรียนสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ รวมไปถึงการสร้างความหลากหลายในการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาในอดีต และมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบอย่างหนักในอนาคตจากสภาวะโลกร้อน (เช่น ชุมชนชายฝั่ง) ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ไม่พึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่งเป็นหลัก พัฒนาการท่องเที่ยวที่ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและมีกลไกการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกับชุมชน

การเพิ่มสิทธิความเป็นเจ้าของในกิจการสาธารณะ เช่น ยกระดับความรับผิดชอบขององค์การสาธารณะในภาวะวิกฤต อาทิ ขนส่งมวลชน การเคหะ การไฟฟ้า การประปา อุตสาหกรรมพลังงาน สายการบิน โรงเรียน โดยยึดโยงกับประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน ปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสที่พยายามรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันผลกระทบร้ายแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงการพัฒนาแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับชุมชนและภูมิภาคซึ่งจะช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เหมาะสม
ภายใต้ยุทธศาสตร์ทั้งสี่ รัฐบาลสามารถแตกย่อยแผนพัฒนาที่เป็นรูปธรรมให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละภูมิภาคได้ แน่นอนว่าแผนดังกล่าวต้องอาศัยวิสัยทัศน์และการลงทุนจำนวนมหาศาล แต่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากการอัดฉีดเงินเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ การจัดสรรงบประมาณลงไปในจุดที่จะเป็นการสร้างภูมิต้านทานภัยพิบัติในอนาคตก็ต้องถือเป็นการลงทุนที่เหมาะสม เราได้เป็นจักษุพยานของโลกที่ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความปั่นป่วน (disruption) และเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ระบบที่ยืดหยุ่นมีประสิทธิภาพและมีความสามารถในการปรับตัวสูงจึงกลายเป็นคุณสมบัติสำคัญของสังคมที่จะอยู่รอดต่อไปได้ในอนาคต

วิกฤตโควิด-19 ยังเป็นบทเรียนสำคัญถึงความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน อย่างที่เกรตา ธันเบิร์ก สาวน้อยนักเคลื่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศสะท้อนไว้อย่างน่าฟังว่า "ถ้าไวรัสแค่หนึ่งสายพันธุ์สามารถล้มระบบเศรษฐกิจของทั้งโลกได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ นั่นเป็นบทพิสูจน์ว่าสังคมเราแทบไม่มีภูมิต้านทานเลย แต่ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นว่า ในภาวะฉุกเฉินเราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกันได้เร็วขนาดไหน" หากมองในมุมนี้ก็ทำให้พอมีความหวังว่าถ้าโลกตระหนักถึงความจำเป็นของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังเพื่อความอยู่รอดและเพื่อรักษาชีวิต เราพิสูจน์แล้วว่าทำได้และจะได้เห็นโลกทั้งโลกร่วมมือกันอย่างรวดเร็วในยามที่เกิดวิกฤตร้ายแรง

ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเราก็ต้องหาทางแก้ร่วมกัน แต่การแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมแบบเดิม ย่อมทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความเหลื่อมล้ำมากมาย สุดท้ายกลายเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่รู้จบและยิ่งส่งผลร้ายกว่าเดิมในระยะยาว นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจึงพยายามเสนอการแก้ปัญหาแบบใหม่ที่ย้อนกลับไปหาธรรมชาติ เรียนรู้การทำงานของระบบนิเวศที่สมดุล สมบูรณ์ ลงตัว ยกตัวอย่างง่ายๆ ในกระบวนการผลิตตามธรรมชาติมีประสิทธิภาพขนาดที่ไม่มีของเสียหรือของเหลือทิ้งเกิดขึ้นเลย หรือนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ที่หันกลับไปลอกเลียนหลักการทำงานสุดเจ๋งของธรรมชาติในศาสตร์ชีวลอกเลียน (biomimicry)

หากนำเอาการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูธรรมชาติมาเป็นหัวใจในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาสุขภาพและสุขภาวะของคนในชาติน่าจะหมายถึงการเพิ่มพื้นสวนสาธารณะ เพิ่มจำนวนต้นไม้ใหญ่และพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติให้คนในเมืองได้มีโอกาสใช้ชีวิตกลางแจ้ง สร้างภูมิคุ้มกันด้วยแลกเปลี่ยนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และสร้างสมดุลในการใช้ชีวิต การปฏิรูปการศึกษาน่าจะหมายถึงการพัฒนาหลักสูตรเนื้อหาที่สอดคล้องกับนิเวศวิทยาท้องถิ่นและกระตุ้นให้เกิดความรักในการเรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัว การสร้างความมั่นคงทางอาหารน่าจะหมายถึงการฟื้นฟูทะเล ฟื้นฟูป่า แหล่งผลิตอาหารที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลก และส่งเสริมการเพาะปลูก การเพาะเลี้ยงสัตว์ การบริโภคอย่างยั่งยืนในทุกๆ สภาพแวดล้อม โดยเฉพาะในเมืองที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนกว่าครึ่งโลก

วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ตอกย้ำความจริงที่ว่า "เงินทองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง" เศรษฐกิจจะยั่งยืนต้องมาจากฐานทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง และเมื่อมนุษย์ยิ่งเรียนรู้ก็ยิ่งพบความจริงว่าทางออกของปัญหาต่างๆ ของสังคมนั้นมีอยู่แล้วในธรรมชาติ เราเพียงแต่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและเข้าใจว่า งานอนุรักษ์ไม่ใช่เรื่องของคนกลุ่มน้อยที่พยายามไล่คนให้กลับไปอยู่ถ้ำ แต่คือการอนุรักษ์ต้นทุนธรรมชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ คือการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐศาสตร์ให้สอดคล้องกับขีดจำกัดของระบบนิเวศ การอนุรักษ์คือการพัฒนาอย่างชาญฉลาด อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

หากแยกย่อยเมนูสำหรับการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสีเขียว เราอาจจัดกลุ่มแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามหมวดหมู่ต่างๆ ได้ดังนี้

1. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บ้านเรือนประหยัดพลังงาน เช่น ตั้งเป้าอาคารบ้านเรือนที่สร้างใหม่จะต้องปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายใน 10 ปี

2. การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสูง เช่น ตั้งเป้าระบบขนส่งสาธารณะที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายใน 10 ปี

3. การปรับปรุงระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพ สร้างของเหลือให้น้อยที่สุด มีระบบสวัสดิการที่เป็นธรรมกับพนักงานและลูกจ้าง เช่น ตั้งเป้ามีระบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพร้อยละ 80 ภายใน 10 ปี

4. การพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน และการประหยัดพลังงาน เช่น ตั้งเป้าหมายระบบพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายใน 10 ปี

5. การสร้างระบบผลิตอาหารที่ยั่งยืน ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ตั้งเป้าสัดส่วนการผลิตภาคเกษตรอินทรีย์อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายใน 10 ปี

6. การจัดการที่ดินและพื้นที่ชายฝั่งอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ระบบนิเวศดั้งเดิม พัฒนาเครือข่ายพื้นที่คุ้มครองระดับภูมิภาคและประเทศ ขยายพื้นที่สวนสาธารณะในเมือง และส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับครัวเรือน (เช่น ป่าครอบครัว) เช่น ตั้งเป้าพื้นที่คุ้มครองทางบกไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และพื้นที่คุ้มครองทางทะเลไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ภายใน 10 ปี

7. การเงิน การธนาคารและกระบวนการจัดซื้อเพื่อความยั่งยืน เป็นแนวคิดที่เน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ของธุรกิจและสังคมในระยะยาวมากกว่าผลตอบแทนในระยะสั้น โดยดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อม สังคม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี นำหลักการวิเคราะห์วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (product life cycle) มาใช้พิจารณาในกระบวนจัดซื้อ

8. เป็นแนวร่วมสำคัญในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกอย่างเข้มแข็ง ด้วยการปฏิบัติตามพันธกิจของอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาแรมซาร์ว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ อนุสัญญาไซเตสว่าด้วยการค้าชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน อนุสัญญาว่าด้วยชนิดพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่น

บทความโดย ดร.เพชร มโนปวิตร

ข้อมูลอ้างอิง https:// www.the101.world/green-stimulus/


นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ที่ผ่านการทำงานในองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลกหลายแห่ง ทั้ง IUCN, WWF และ WCS ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา พร้อม ๆ กับเป็นนักเขียนและนักแปลบทความด้านสิ่งแวดล้อมและทางออกด้านการอนุรักษ์ ปัจจุบันขับเคลื่อนประเด็นเศรษฐกิจหมุนเวียน ขยะทะเลและการอนุรักษ์ปะการังกับ ReReef บริษัทสตาร์ทอัพที่เน้นการแก้ปัญหา