• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Jessicas

#8791


การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ติดลบต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง โดยจีดีพีในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ติดลบถึง 12.2% ถึงแม้ว่าหลังจากนั้นเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่ดีขึ้นเกือบอยู่ในระดับปกติ แต่การระบาดระลอกที่ 2 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ต่อด้วยการระบาดระลอกที่ 3 นับตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา มีความรุนแรงมากขึ้นจนการระบาดระลอกนี้มีผู้ติดเชื้อสะสมถึงวันที่ 8 ส.ค.2564 มีจำนวนถึง 727,642 คน

สถานการณ์ที่เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องทำให้รัฐบาลประกาศขยายพื้นที่กึ่งล็อกดาวน์จาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด พร้อมกับการเตรียมงบประมาณสำหรับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก 30,000 ล้านบาท เป็น 60,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่มีโอกาสถดถอย และทำให้บางองค์กรเริ่มปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 เป็นติดลบแล้ว นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยสูงมาก ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่รัฐบาลต้องเตรียมรับมือให้ได้

หากดูประสิทธิภาพการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤติของรัฐบาลอาจทำให้มีความเชื่อมั่นลดลงต่อการรับมือภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งที่ผ่านมามีการตัดสินใจที่ผิดพลาดในหลายประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะความผิดพลาดในการจัดหาวัคซีนที่หลายประเทศวางแผนอย่างเข้มข้นในช่วงครึ่งหลังปี 2563 ที่จะจัดหาวัคซีนมาให้เพียงพอ ในขณะที่ประเทศไทยจัดหาวัคซีนได้ล่าช้าและปฏิเสธการพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอของหลายฝ่ายที่เสนอแนวทางการเร่งนำเข้าวัคซีน

ประเทศไทยในขณะนี้จึงตกอยู่ในสถานการณ์ขาดแคลนทั้งงบประมาณดำเนินการทำให้ต้องกู้เงินมาบริหารภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งขาดแคลนวัคซีนและอุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ โดยถ้ามองย้อนไปปลายปี 2563 คงไม่มีใครคิดว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานการณ์นี้ ดังนั้นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการบริหารบนสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ สมมติฐานในกรณีเลวร้ายที่สุดอย่าเพิ่งรีบตัดออกไป เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอหากสถานการณ์ยังไม่จบ

ลำพังการนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการระบาดระลอกใหม่นี้ดูเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญสำหรับรัฐบาลปัจจุบัน และเมื่อมาเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงแล้วรัฐบาลจะนำพาประเทศให้พ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปได้หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาการจัดหาวัคซีนที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการควบคุมการระบาดยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้เมื่อใด รัฐบาลควรตระหนักถึงโอกาสที่ได้รับจากประชาชนแล้วใช้โอกาสที่ได้รับเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติให้ดีกว่านี้
#8793


นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 7 ส.ค.64 ระบุ จำเป็นต้องมีการวิจัยรักษาโควิด-19 ด้วยฟ้าทะลายโจรซ้ำด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น โดยว่า "เมื่อวานนี้ ทีมผู้วิจัย (ชาวไทย) ซึ่งได้ทำวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) ที่สรุปผลได้ว่าฟ้าทะลายโจรใช้รักษาโควิด19แล้วมีผลดีลดการเกิดปอดอักเสบได้ ได้ขอถอนนิพนธ์ต้นฉบับของตนเองที่รอตีพิมพ์กลับคืนจากคลังวารสารรอตีพิมพ์ (medRxiv) ด้วยเหตุผลว่ามีความผิดพลาดในการคำนวณค่านัยสำคัญของความแตกต่าง (p-value) จึงของดการเผยแพร่ไว้ก่อนเพื่อป้องกันการนำผลวิจัยไปใช้ด้วยสำคัญผิด

เจาะลึกลงไปอีกหน่อยก็คือในงานวิจัยนั้นรายงานว่า กลุ่มผู้ใช้ฟ้าทะลายโจร 29 คน เป็นปอดอักเสบ 0 คน กลุ่มที่ใช้ยาหลอก 28 เป็นปอดอักเสบ 3 คน คำนวณนัยสำคัญของความแตกต่างได้ p=<0.039 ซึ่งเป็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ (ตัดกันที่ p=<0.05)

แต่หากคำนวณอย่างถูกต้องแท้จริงแล้วค่านัยสำคัญจริงๆคือ p=0.1 แปลไทยให้เป็นไทยก็คือจะต้องเปลี่ยนคำสรุปผลวิจัยเป็น "การใช้ฟ้าทะลายโจรลดปอดบวมได้ไม่แตกต่างจากใช้ยาหลอก"

ระหว่างที่งานวิจัยใหม่นี้ยังไม่ออกมา ชาวไทยเราก็ต้องอาศัยข้อสรุปใหม่ล่าสุดที่ว่า "ฟ้าทะลายโจรลดปอดบวมในคนไข้โควิด-19ได้ไม่แตกต่างจากยาหลอก" ไปพลางๆ ก่อนนะครับ และที่หมอสันต์เคยบอกว่าหลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ฟ้าทลายโจรรักษาโควิดตอนนี้พอแล้วนั้น ก็ต้องถอนคำพูด และขอใช้คำพูดใหม่ว่า

"หลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิดตอนนี้ยังมีไม่พอ ต้องรอการวิจัยซ้ำด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น"
#8795
ขายดาวน์  247,800 ( กค 2564 ) ห้อง 225
#8796
น้ำมันว่านจูงนาง   ใส่ตะกรุดนะเมตตามหานิยม ให้ทุกขวด  ขวดละ 399 บาท


 หุงด้วย น้ำมันบารมีครู 108 มหามงคล (น้ำมันแช่เหล็กไหลไพลดำ น้ำมันว่านไก่แดง น้ำมันว่าน 108 น้ำมันเกราะเพชร น้ำมันจักรพรรดิ น้ำมันชาตรี มวลสารมหามงคล 108 รัตนชาติฐานรองพระธาตุพระสีวลี )  

ช่วยในเรื่องเมตตา มหาเสน่ห์และโชคลาภ

คาถากำกับ     ปาสุอุชา จิตตังภิกขิรินิเม    ท่อง  9 จบ

แล้วอธิษฐานใช้เจิมตามซอกคอ ตามตัว ทาที่คิ้ว เจิมที่หน้าผาก พกติดตัว

ว่านจูงนางนักเลงชาย หญิง แต่โบราณ ชอบสาว ชอบหนุ่มใด มักจะเอาดอกเอาต้นว่านไปแช่น้ำมันจันทร์บ้างน้ำมันเสน่ห์ต่างๆหรือผสมกับสีผึ้งใช้ติดตัวทางปาก ทาหน้าทางมือ เพราะมีความเชื่อว่าว่านจูงนางนี้มีพลังเสน่ห์เมตตามหานิยมรุนแรง ต่อเพศตรงข้าม หรือเพศเดียวกัน ชักจูงได้ง่าย ทำให้อีกฝ่ายคล้อยตามง่าย เชื่อง่าย และยังกระตุ้นอารมณ์ของอีกฝ่ายให้เกิดความหลงใหลได้อย่างง่ายดาย และว่านจูงนางนี้ยังสามารถช่วยให้เจรจาค้าขายกับผู้คนต่างๆอย่างได้ผลพ่อค้าแม่ค้า นักธุรกิจมักมีติดตัวไว้ใช้กัน

 ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สั่งซื้อบูชา ทักแชทได้เลย

หรือติดต่อได้ที่
โทร. 0846623662
id line : teerapat999

ลาซาด้า
 https://www.lazada.co.th/products/-i1162308605-s2732826682.html?search=store?spm=a2o4m.10453683.0.0.10b96d16q6OJEJ&search=store 
#8798
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#8800


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) อยู่ระหว่างทำแผนสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ระยะที่ 2) ปี 2565-2569 เพื่อใช้ดูแลสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ต่อจากแผนระยะที่ 1 (2561-2564) 

ทั้งนี้ แผนระยะที่ 2 จะมีความชัดเจนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นการวางแผนในช่วงที่มีการประกาศใช้แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2562 ซึ่งกำหนดการใช้พื้นที่ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม การพัฒนาเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ดิจิทัล และการป้องกันสาธารณภัย

รายงานข่าวจาก สผ.ระบุว่า ขณะนี้การจัดทำแผนอยู่ระหว่างการรับฟังความเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง โดยได้มีการสรุปปัจจัยที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมในอีอีซี 6 ด้าน คือ

1.ความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งในเขตเกษตรกรรม มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการพัฒนา ส่งผลให้พื้นที่ทางการ เกษตรถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่สิ่งปลูกสร้างและทิ้งร้างว่างเปล่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการลดลงของผลผลิตอาหารในพื้นที่ ส่วนในเขตเมืองและชุมชน เขตอุตสาหกรรมความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น เพราะจำนวนประชากรที่เพิ่มจาก 4.15 ล้านคน ในปี 2562 เป็น 5.85 ล้านคน ในปี 25670 โดยประชากร 53% อาศัยอยู่ในเขตเมือง (ปี 2562) ซึ่งผลิตอาหารเองไม่ได้และต้องพึงพาแหล่งอาหารจากพื้นที่เกษตรกรรม 

2.สุขภาพ เขตเมืองและชุมชน เขตอุตสาหกรรมมีพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไปเป็นแบบเมือง ได้แก่ การกิน การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ การดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรม เนือยนิ่ง ส่งผลต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยอีอีซีมีพฤติกรรมการบริโภคแบบเมืองเพิ่มจาก 11.12% ในปีงบประมาณ 2556 เป็น 14.89% ในปีงบประมาณ 2563 และหากอัตรการเพิ่มยังไม่เปลี่ยนแปลงคาดการณ์ว่าปี 2570 จะเพิ่มเป็น 18.66% 

ขณะที่สถานการณ์ด้านมลภาวะทางอากาศเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันมลพิษภาพรวมอยู่ระดับมาตรฐาน แต่มีเกินค่ามาตรฐานบ้างในบางพื้นที่และบางเวลา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโรงงานหนาแน่น โดยพื้นที่สีเขียวที่เป็นแนวทางการลดและบรรเทามลภาวะในพื้นที่เมืองที่มีความหนาแน่นสูงมีสัดส่วนพื้นที่ที่น้อยกว่าค่าที่ควรจะเป็นสำหรับการสร้างสภาพอากาศที่ดีในเมือง

3.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต้นไม้ทั่วไป 1 ต้น ดูดซับ CO2 ได้ 21 กิโลกรัมต่อปี แต่หากต้นไม้มีอายุ 100 ปี จะ ดูดซับ CO2 ได้ 1 ตันต่อปีต่อต้น พื้นที่ป่าไม้ในเขตอีอีซีจาก 12.50% ในปี 2556 เป็น 12.39% ในปี 2563 นั่นหมายถึงประสิทธิภาพการกักเก็บ คาร์บอนในอีอีซีต่ำลง โดยแนวทางการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำจำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ ในขณะที่ไทยมีเป้าหมายลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20-25% ภายในปี 2573 เท่ากับเป้าหมายการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอีอีซีอยู่ที่ 6.9-8.6 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

4.นโยบายหรือโครงการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในอีอีซีพบว่า พื้นที่เกษตรกรรมลดลง 4.9% ในช่วงปี 2556-2563 ในขณะที่พื้นที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 27.41% พื้นที่พาณิชยกรรมเพิ่มขึ้น 35.64% และพื้นที่อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 28.98% นับว่าเป็นแรงกดดันของทุกภูมินิเวศ ทั้งนี้ขึ้นกับทำเลที่ตั้งของโครงการพัฒนาต่างๆ

5.ประชากร นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคน ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 18 ล้านคนในปี 2562 ส่งผลต่อการบุกรุกและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรในพื้นที่ธรรมชาติหากขาดการบริหารจัดการที่ดีพอ ในขณะที่ประชากรแฝงในพื้นจังหวัดชลบุรีเพิ่มขึ้นจาก 538,000 ในปี 2562 เป็น 1.15 ล้านคน ในปี 2570 ซึ่งหมายถึงความต้องการบริโภคทรัพยากรและการปล่อยของเสียออกสู่พื้นที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและแรงงานที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อความเปราะบางของพื้นที่ในการเปลี่ยนแปลง และความมีอยู่ของอาหารในพื้นที่

6.สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เขตพื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งน้ำมีคุณภาพเสื่อมโทรม คือ คลองนครเนื่องเขต คลองท่าไข่ จ.ฉะเชิงเทรา , คลองตำหรุ คลองพานทอง จ.ชลบุรี และแม่น้ำประแสร์ แม่น้ำระยอง จ.ระยอง ในขณะที่พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชุมชน เขตอุตสาหกรรม 168,166 ไร่ คิดเป็น 10.06% และน้ำต้นทุนอยู่ที่ 1,215 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งไม่พอความต้องการที่มากถึง 2,375 ล้าน ลบ.ม.

ปรัชญา สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก หอการค้าไทย กล่าวว่า แผนสิ่งแวดล้อมอีอีซีจะไปผูกพันกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในโครงการในอีอีซี ซึ่งต้องพิจารณาถึงระยะเวลาการศึกษาให้สั้นลงและให้คนมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งบางครั้งไม่สอดคล้องกับงบประมาณ เช่น การพัฒนาถนนเลียบชายฝั่ง การสร้างสะพานข้ามคลองหรือแหล่งน้ำ

ทั้งนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในอีอีซีจะมีมากขึ้น โดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมใหม่ คือ ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะจากกระบวนการการผลิต ขยะชีวภาพ ซึ่งต้องมีกระบวนขจัดให้ถูกต้อง ดังนั้นต้องพิจารณากระบวนการจัดขยะให้ชัดเจนในแผนจัดการสิ่งแวดล้อม และต้องไม่เพิ่มขั้นตอนอีกเพราะจะทำให้ผู้ลงทุนลังเลและไม่อยากลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาเกิดขึ้นหลายโรงงาน ดังนั้นจึงอยากให้มีความชัดเจนในแผนการขจัดขยะทั้งระบบ

ส่วนการบริหารจัดการแหล่งน้ำที่ปัจจุบันใช้น้ำรวมกันทั้งการบริโภคและอุตสาหกรรม เช่น อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ ซึ่งแหล่งน้ำในภาคตะวันออกที่ดีที่สุด คือ อ่างเก็บน้ำประแสร์ เพราะต้นน้ำไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมทำให้ไม่มีปนเปื้อน ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำต้องแยกให้ชัดเจนระหว่างแหล่งน้ำผลิตประปาเพื่ออุปโภคบริโภคและแหล่งน้ำอุตสาหกรรม โดยที่ผ่านมาหอการค้าไทยเสนอโครงการเดินท่อน้ำจากแหล่งน้ำเพื่อเป็นระบบปิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเมื่อถึงโรงกรองน้ำสำหรับผลิตน้ำประปา

นอกจากนี้การบริหารทรัพยากรทางชายฝั่งที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาการรั่วไหลน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมัน หรือเรือบรรทุกสินค้า หรือเรือบรรทุกของเสียทำของเสียรั่วลงทะเลและซัดมาเกยตื้นที่ชายฝั่ง ซึ่งควรมีแนวทางจัดการเรื่องนี้ ส่วนปัญหาอากาศต้องการให้รัฐบาลปัดฝุ่น พ.ร.บ.อากาศสะอาดกลับมาอีกครั้ง แม้ว่าปัจจุบันหลายโรงงงานดูแลจัดการเรื่องนี้แล้วก็ตาม
#8801
น้ำมันว่านจูงนาง   ใส่ตะกรุดนะเมตตามหานิยม ให้ทุกขวด  ขวดละ 399 บาท


 หุงด้วย น้ำมันบารมีครู 108 มหามงคล (น้ำมันแช่เหล็กไหลไพลดำ น้ำมันว่านไก่แดง น้ำมันว่าน 108 น้ำมันเกราะเพชร น้ำมันจักรพรรดิ น้ำมันชาตรี มวลสารมหามงคล 108 รัตนชาติฐานรองพระธาตุพระสีวลี )  

ช่วยในเรื่องเมตตา มหาเสน่ห์และโชคลาภ

คาถากำกับ     ปาสุอุชา จิตตังภิกขิรินิเม    ท่อง  9 จบ

แล้วอธิษฐานใช้เจิมตามซอกคอ ตามตัว ทาที่คิ้ว เจิมที่หน้าผาก พกติดตัว

ว่านจูงนางนักเลงชาย หญิง แต่โบราณ ชอบสาว ชอบหนุ่มใด มักจะเอาดอกเอาต้นว่านไปแช่น้ำมันจันทร์บ้างน้ำมันเสน่ห์ต่างๆหรือผสมกับสีผึ้งใช้ติดตัวทางปาก ทาหน้าทางมือ เพราะมีความเชื่อว่าว่านจูงนางนี้มีพลังเสน่ห์เมตตามหานิยมรุนแรง ต่อเพศตรงข้าม หรือเพศเดียวกัน ชักจูงได้ง่าย ทำให้อีกฝ่ายคล้อยตามง่าย เชื่อง่าย และยังกระตุ้นอารมณ์ของอีกฝ่ายให้เกิดความหลงใหลได้อย่างง่ายดาย และว่านจูงนางนี้ยังสามารถช่วยให้เจรจาค้าขายกับผู้คนต่างๆอย่างได้ผลพ่อค้าแม่ค้า นักธุรกิจมักมีติดตัวไว้ใช้กัน

 ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สั่งซื้อบูชา ทักแชทได้เลย

หรือติดต่อได้ที่
โทร. 0846623662
id line : teerapat999

ลาซาด้า
 https://www.lazada.co.th/products/-i1162308605-s2732826682.html?search=store?spm=a2o4m.10453683.0.0.10b96d16q6OJEJ&search=store 
#8802
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#8803


นักวิจัยต่างชาติผลิตวัคซีน "ไฟเซอร์" "โมเดอร์น" ประเภท mRNA ให้คนทั้งโลกใช้ และนักวิจัยไทยก็พยายามพัฒนาวัคซีนโควิดเช่นกัน คาดว่ากลางปีหน้า (2565)วัคซีน ChulaCov19 ประเภทmRNA และวัคซีนใบยา (จะสามารถนำมาใช้ในมนุษย์ได้เป็นแห่งแรกในเอเชีย) รวมถึง วัคซีนเชื้อตาย ของมหาวิทยาลัยมหิดล และวัคซีนของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   

ทั้งหมด ถ้าผ่านขั้นทดลอง จนแน่ใจว่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสร้างภูมิคุ้มกันโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้ ก็จะทยอยออกมา

ล่าสุด ทีมงานนักวิจัยคนไทยผู้พัฒนาวัคซีนโควิดทุกทีมกำลังทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ เพื่อประชาชนไทย เพราะตั้งแต่โควิดระบาดระลอก 3 ทุกคนต่างเศร้าเสียใจที่คนไทยติดเชื้อไวรัสโควิด แล้วจากไปเหมือนใบไม้ร่วง 

แม้วัคซีนสัญชาติไทยจะออกมาช้า แต่ได้ใช้แน่นอน อาจใช้เป็นวัคซีนป้องกันโควิดเข็ม 3,4,5... เพราะการฉีดวัคซีนหนึ่งเข็มสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้นาน 6-12 เดือน  ยกเว้นมีการคิดค้นใหม่ เพื่อให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มได้ยาวนานกว่านั้น

ถ้าอย่างนั้นมาดูสิ วัคซีนจากนักวิจัยไทยไปถึงไหนแล้ว



(ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับวัคซีนที่ทดลองในอาสาสมัครมนุษย์ -ภาพจากเฟซบุ๊ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ )

1.วัคซีน ChulaCov19 

(เดือนสิงหาคม 64 ทดลองในมนุษย์)


-ประเภท mRNA 

ผลิตจากชิ้นส่วนขนาดจิ๋วสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา (โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด) ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป จะทำการสร้างเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัสขึ้น (spike protein) 

และกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียมต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ เมื่อวัคซีนชนิด mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้ว ภายในไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด


-ผู้พัฒนาวัคซีน

ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ Prof. Drew Weissman


-การทดลองที่ผ่านมา

หลังจากทดลองในลิงและหนู พบว่า สามารถยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดและสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง จึงนำมาสู่การผลิตการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1ให้กับอาสาสมัครเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มอายุ จำนวน 72 คน 

กลุ่มแรก เป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 18-55 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน

กลุ่มที่สอง เป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 65-75 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน

ในจำนวนสองกลุ่มข้างต้นจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยที่ฉีดวัคซีน 10 ไมโครกรัม, 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูว่า วัคซีน ChulaCov19 มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ปริมาณเท่าไร เพราะปัจจุบันโมเดอร์นาใช้วัคซีนปริมาณ 100 ไมโครกรัม ส่วนไฟเซอร์ใช้ 30 ไมโครกรัม 

ถ้าการทดลองได้รู้ขนาดที่ปลอดภัยและกระตุ้นภูมิได้สูง จะเข้าสู่การทดสอบระยะที่ 2 จำนวน 150-300 คน คาดว่าเริ่มต้นฉีดเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป


-จุดเด่น ChulaCov19

จากการทดสอบ มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งคือ ความทนต่ออุณหภูมิของวัคซีน พบว่าวัคซีน ChulaCov19 อยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) ได้นาน 3 เดือน และเก็บในอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ ทำให้การจัดเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ยี่ห้ออื่น 


-ความคืบหน้าวัคซีน

กำลังจะทดสอบในอาสาสมัครคนไทยเฟส 1 เพิ่มเติมในกลุ่มผู้สูงอายุ  คาดว่าจะรู้ผลว่าสร้างภูมิคุ้มกันปลายเดือนตุลาคม 2564 และคาดอีกว่าจะเป็นวัคซีนที่ผลิตสำหรับการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันเป็นเข็มที่ 3 สำหรับคนไทยโดยมีเป้าหมายว่าจะผลิตออกมา พร้อมขึ้นทะเบียนอย.ได้ในเดือนเมษายน 2565

(ที่มาข้อมูล : เฟซบุ๊คคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ) 

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวไว้ในเฟซบุ๊คดังกล่าวว่า หากองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (NIH) สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ได้ว่า "วัคซีนที่มีประสิทธิภาพต้องกระตุ้นภูมิเท่าไร" ก็จะช่วยลดขั้นตอนได้ สมมติว่าเกณฑ์วัคซีนโควิด-19 ที่ดีต้องสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่า 80 IU (International Unit)

"ถ้าวัคซีน ChulaCov19 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าค่านี้แสดงว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ก็สามารถยกเว้นการทำทดสอบทางคลินิกระยะที่สามได้ วัคซีนนี้อาจได้รับอนุมัติให้ผลิตเพื่อใช้ในคนจำนวนมากได้ภายในก่อนกลางปีหน้า"


(วัคซีน ChulaCov19 ประเภท mRNA อยู่ในขั้นตอนทดลองในมนุษย์ เดือนสิงหาคม 64)




2. วัคซีนจากใบยา

(เดือนสิงหาคม 64 ทดลองในอาสาสมัคร)


-ประเภทโปรตีนจากใบยา

เทคโนโลยีการผลิตโมเลกุลโปรตีนจากพืช คือใส่ยีนเข้าไปในพืช แล้วใช้กระบวนการผลิตของพืช ผลิตโปรตีนที่เราต้องการ โปรตีนที่ได้จึงมีความบริสุทธิ์ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เป็นเทคโนโลยีที่มีมากว่า 15 ปี เคยใช้รักษาโรคอีโบล่า


-ผู้พัฒนาวัคซีน

รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ คนต้นคิดวัคซีนจากใบยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี และผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานกรรมการบริหาร ทั้งสองทำงานแบบสตาร์ทอัพ ในนามบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ในความดูแลของ CU Enterprise

โดยการวิจัยพัฒนาวัคซีนชนิด Protein Subunit ดำเนินการโดยบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จํากัด ,คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


(ในห้องทดลองบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด) 

-การทดลอง 

-วัคซีนใบยาได้ผ่านการทดสอบในหนูและลิง ด้วยการฉีด 2 เข็มห่างกัน 3 สัปดาห์ ผลการทดสอบปรากฏว่าลิงมีความปลอดภัย และไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ

ผลเลือดในลิงที่ใช้ทดลองมีค่าเอนไซม์ตับปกติ อีกทั้งจำนวนเม็ดเดือดแดงและเม็ดเลือดขาวอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้เมื่อนำเปปไทด์ไปกระตุ้นเซลล์ของลิงพบว่า มีการกระตุ้น T Cell ได้ดี ซึ่งนับว่าการทดลองดังกล่าวประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

-โดยกระบวนการผลิตวัคซีนที่ใช้พืช สามารถผลิตเป็นจำนวนครั้งละมาก ๆ ได้ และสามารถยกระดับจากการผลิตวัคซีนในห้องทดลอง มาเป็นการผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรมได้ทันที

การผลิตวัคซีนจากใบยาสูบนี้สามารถผลิตได้ประมาณ 10,000 โดสต่อเดือนในห้องทดลองขนาดเล็กเท่านั้น จึงนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคระบาดในอนาคต


-จุดเด่นวัคซีนใบยา

การผลิตจากพืช เมื่อเกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในอนาคต ทีมวิจัยสามารถนำรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์นั้นๆ มาผลิตเป็นวัคซีนใช้ได้ทันที เหมาะกับการผลิตวัคซีนที่เชื้อไวรัสมีสายพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาตลอด ไม่ต้องเสียเวลานำเข้าวัคซีนเฉพาะบางสายพันธุ์จากต่างประเทศ

วัคซีนมีส่วนประกอบที่เป็นโปรตีน จึงค่อนมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง ในส่วนของประสิทธิภาพจะต้องมีการทดลองในมนุษย์กันต่อไปจึงสามารถวัดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


-ความคืบหน้า

สิงหาคม-กันยายน 2564  ทดลองอาสาสมัครกลุ่มแรกจำนวน 50 คน อายุ 18 - 60 ปี โดยอาสาสมัครต้องมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน การทดสอบวัคซีน จะเริ่มในเดือนกันยายน

อาสาสมัครจะได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนสองเข็ม เว้นระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกเสร็จเราก็จะทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครกลุ่มอายุ 60–75 ปี ต่อไป คาดว่าวัคซีนใบยาจะพร้อมฉีดให้คนไทยช่วงกลางปี 2565

รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ คนต้นคิดวัคซีนจากใบยา ให้ข้อมูลกับ"กรุงเทพธุรกิจ"ไว้ว่า เทคโนโลยีการผลิตโมเลกุลโปรตีนจากพืช คือใส่ยีนเข้าไปในพืช แล้วใช้กระบวนการผลิตของพืช ผลิตโปรตีนที่เราต้องการ โปรตีนที่ได้จึงมีความบริสุทธิ์ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้

"พืชที่เราปลูก ไม่ได้ใส่สารพันธุกรรม เป็นพืชธรรมชาติ จนกว่าจะโตเหมาะสม เราก็ฉีดอะโกรแบททีเรียม(การถ่ายโอนดีเอ็นเอ )เข้าไป หลังจากนั้น 4-5 วัน เราก็ตัดพืชมาสกัดโปรตีนที่ต้องการนำไปทดสอบ ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกว่า วันไหนพืชจะผลิตโปรตีนได้มากที่สุด"

หากถามว่า ทำไมต้องเป็นวัคซีนจากใบยา อาจารย์วรัญญู ให้ข้อมูลว่า

"มีโรคมากมายในโลกนี้ ที่ยังไม่มีวัคซีนป้องก้น ไม่ว่าเทคโนโลยีแบบไหนจะดีแค่ไหน ก็ต้องศึกษา เทคโนโลยีจากโมเลกุลโปรตีนพืชสามารถทำออกมาได้เร็ว ต่อให้ไม่ได้ผล เราก็รู้เร็ว เปลี่ยนได้เร็วการทำวัคซีนโควิดเราใช้ฐานความรู้ไวรัสซาร์สและเมอร์สมาพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกก็ทำแบบนี้"

3. วัคซีนมหาวิทยาลัยมหิดล 

(เดือนสิงหาคม 64 ทดลองในอาสาสมัคร)

-ชนิดเชื้อตาย HXP-GPOVac 

พัฒนาโดย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน  มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม สถาบัน PATH และ The University of Texas at Austin


นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เคยให้ข้อมูลความคืบหน้าไว้ในกรุงเทพธุรกิจว่า

"รายงานผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ จะเลือกวัคซีน 2 สูตรที่ดีที่สุดจากการทดลองไป 5 สูตร เพื่อนำมมาทำการทดลองระยะที่ 2 ในอาสาสมัคร 250 คนในเดือนสิงหาคมนี้ และเลือก 1 สูตรที่ดีที่สุดเพื่อทดลองในระยะที่ 3 "

ส่วนการทดลองระยะที่ 3 ในภาคสนามกับอาสาสมัคร 1,000 - 10,000 คน โดยวัคซีนที่ผ่านการวิจัยในมนุษย์ทั้ง 3 ระยะแล้วจะถูกนำไปขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา เพื่อเริ่มการผลิตต่อไป


ขอวัคซีนให้คนไทยทุกคน อย่างเท่าเทียม เสมอภาพ 

...................

4.วัคซีนสวทช. 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)พัฒนาวัคซีนโควิดออกมา 2 ชนิด

1. Adenovirus ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ ออกแบบโดยการพ่นเข้าจมูกผ่านละอองฝอย รูปแบบนี้น่าจะเป็นวัคซีนที่ใกล้เคียงกับหลายๆ ที่ ที่กำลังทดสอบในเฟส1-2 ของทีม 

นักวิจัย สวทช. ผ่านการทดสอบในหนูทดลองที่ฉีดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว พบว่า หนูทดลอง นอกจากไม่มีอาการป่วย ยังมีน้ำหนักขึ้นสูงกว่ากลุ่มที่ฉีดเข้ากล้ามอย่างเห็นได้ชัด ผลการทดสอบความปลอดภัยไม่มีปัญหา

การผลิตในระดับ GMP ร่วมมือกับ KinGen BioTech เรากำลังจะทดสอบวัคซีนนี้ในอาสาสมัครมนุษย์ในรูปแบบที่สร้างจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในเร็วๆนี้(เดือนสิงหาคม 64) ผลงานวิจัยกำลังเร่งรวบรวมผลส่งเข้าตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

2. Influenza virus ที่มีการแสดงออกของโปรตีน RBD ของสไปค์ ตัวนี้กำลังต่อคิวทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคโควิด-19

และผลการวิจัยเรื่องระดับภูมิคุ้มกันในหนูทดลองได้ตีพิมพ์ไปแล้ว วัคซีนตัวนี้ร่วมมือกับทีมองค์การเภสัชกรรม และมีแผนจะออกมาทดสอบเป็นตัวต่อมา

"ในเรื่องของการกลายพันธุ์ที่หลายคนเป็นห่วง ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง หนึ่ง.คนที่ได้รับวัคซีนต้องฉีด 2 เข็ม ไม่ใช่ฉีดเข็มแรกแล้วไม่ฉีดต่อ เพราะภูมิคุ้มกันจากเข็มแรก จะเข้าไปจับไวรัสแบบอ่อนๆ หลวมๆ ทำให้ไวรัสเปลี่ยนตัวเองได้และการกลายพันธุ์เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ถ้าไม่มีการฉีดเข็มที่สอง

(ที่มาข้อมูล : เพจ Anan Jongkaewwattana)

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เคยให้ข้อมูลกับกรุงเทพธุรกิจว่า  

"เราต้องการวัคซีนที่แข็งแรงจับไวรัสได้ ทำลายให้ตายในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ให้เวลามันปรับตัวเปลี่ยนแปลงตัวเอง"
#8804
ขายดาวน์  247,800 ( กค 2564 ) ห้อง 225