• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Naprapats

#8611
น้ำมันว่านเศรษฐีเรียกลาภ  ขวดละ 299 บาท


หุงจากว่านด้านเมตตา โชคลาภ 4 ชนิด ว่านรวยไม่เลิก ว่านเศรษฐีเรือนนอก ว่านเศรษฐีเรือนใน ว่านรางเงิน

พร้อมใส่ตะกรุดหัวใจพระสีวลีให้ทุกขวด ส่งเสริม เรื่องเมตตา โชคลาภ ค้าขาย

ว่านเศรษฐีเรือนใน

เป็นว่านที่มีคุณทางเมตตามหานิยม มีโชคลาภและวาสนาทรัพย์สินเงินทองมากมาย

ว่านเศรษฐีเรือนนอก 

เป็นว่านให้ผลในทางคุ้มครองป้องกันภัย มีโชคลาภและฐานะเจริญรุ่งเรือง

ว่านรวยไม่เลิก

เป็นว่านให้ผล ในเรื่องความร่ำรวยตลอดไปเหมือนชื่อต้น มีโชคลาภ

ว่านรางเงิน 

เป็นว่านะดีเด่นในเรื่องของเมตตามหานิยม และโชคลาภ 

คาถาบูชา

ตั้ง นะโม 3 จบ

สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุ เมฯ

(ท่องคาถาแล้วอธิษฐาน)

ใช้เจิมตามซอกคอ ตามตัว ทาที่คิ้ว เจิมที่หน้าผาก พกติดตัว

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สั่งซื้อบูชา ทักแชทได้เลยหรือติดต่อได้ที่

โทร. 0846623662

id line : teerapat999

ลาซาด้า

https://www.lazada.co.th/products/-i792070635-s1584866736.html?search=store?spm=a2o4m.10453683.0.0.10b96d16q6OJEJ&search=store

#8615
บมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ ผลิตอาหารสัตว์ ครบวงจรเคาะราคาขายหุ้น IPO ที่ 13.50 บาทต่อหุ้น เปิดจองซื้อ 19 - 21 ต.ค. นี้

บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFM ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย พร้อมแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์อีก 3 ราย เป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้น IPO ของ TFM ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)

นายบรรลือศักร โสรัจจกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ TFM ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำและสัตว์เศรษฐกิจแบบครบวงจร เปิดเผยว่า นับเป็นอีกก้าวความสำเร็จและความภาคภูมิใจในการนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งการเข้าระดมทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากธุรกิจของ TFM ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะตลาดในประเทศไทยเท่านั้น บริษัทฯ ยังได้มีการขยายธุรกิจไปยังประเทศที่อุตสาหกรรมสัตว์น้ำมีศักยภาพในการเติบโตสูง ผ่าน Model ธุรกิจที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศ เช่น (1) การส่งออก เช่น ศรีลังกา มาเลเซีย บังคลาเทศ และพม่า เป็นต้น (2) การเข้าทำสัญญาความร่วมมือกับ AVANTI ซึ่งเป็นผู้นำการผลิตอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินเดีย โดยการใช้ชื่อทางการค้าและสูตรการผลิตของ TFM ในการขายสินค้าในประเทศอินเดีย และ (3) การเข้าร่วมลงทุนกับพันธมิตร จัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศอินโดนีเซียและปากีสถาน ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของรายได้และกำไรของบริษัทฯ ในช่วง 3 – 5 ปีข้างหน้า



ทั้งนี้ TFM มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำการดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์น้ำ ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำที่มีคุณภาพดีที่สุด เพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ พร้อมใช้ประโยชน์จากความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่มีมาอย่างยาวนาน ความพร้อมทางด้านบุคลากร และแหล่งเงินทุนของบริษัทฯ และยังเป็นตัวแทนของประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารสัตว์เศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคเอเชีย

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TFM กล่าวต่อว่า บริษัทฯ มีกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ 3 แนวทาง ได้แก่ (1) รักษาและพัฒนาความเป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศ ผ่านความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ พร้อมช่วยสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การให้วงเงินการซื้อสินค้าและระยะเวลาการให้สินเชื่อ (Credit Term) ที่เหมาะสม, ศึกษาข้อมูล ช่วยแก้ไขปัญหา ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างเหมาะสม, พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและพัฒนาสายพันธุ์ลูกกุ้งที่มีคุณภาพ, นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และแสดงให้เห็นถึงคุณภาพและความคุ้มค่า (Proof of Performance) ของผลิตภัณฑ์

ADVERTISEMENT


(2) พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพการผลิตตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ผ่านการมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และสูตรอาหาร รวมถึงสูตรอาหารสำหรับสัตว์น้ำชนิดใหม่ เพื่อส่งเสริมให้มีสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น อาหารปลากะพงยักษ์ ปลาเก๋า อาหารปลาสลิด อาหารปู และปลากดคัง เป็นต้น พร้อมพัฒนาสูตรอาหารโดยใช้วัตถุดิบใหม่ เพื่อลดการพึ่งพิงวัตถุดิบประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น การใช้โปรตีนจากพืช และการพัฒนาสูตรการผลิตที่ลดปริมาณการใช้น้ำมันปลา เป็นต้น

ก.ล.ต. อนุมัติแบบคำขอเสนอขายหุ้น IPO 'บมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์'
ปี'64 คาดผู้บริโภคจ่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์สูงขึ้น 2.0% จากราคาและต้นทุนเพิ่มขึ้น
และ (3) ขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโต โดยมีปัจจัยสำคัญในการพิจารณา ได้แก่ ความเป็นไปได้ของการลงทุน อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ความเสี่ยงและแนวทางการบริหารหรือลดความเสี่ยง ทั้งนี้ บริษัทฯ จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นสูงสุด

ปัจจุบัน TFM มีการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์สินค้าหลักของบริษัทฯ ได้แก่ โปรฟีด (PROFEED) นานามิ (NANAMI) อีโก้ฟีด (EGOFEED) แอคควาฟีด (AQUAFEED) และดี-โกรว์ (D-GROW) เป็นต้น ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารกุ้ง โดย TFM เป็นหนึ่งในผู้นำในกลุ่มตลาดอาหารกุ้ง มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 17 ของปริมาณอาหารกุ้งในไทย (ปี 2563) (2) ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารปลา (รวมอาหารกบและอาหารปู) แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. อาหารปลาทะเล เช่น อาหารปลากะพงและปลาเก๋า 2. อาหารปลาน้ำจืด เช่น อาหารปลานิลและปลาดุก 3. อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน สำหรับการอนุบาลลูกปลา และ 4. อาหารกบ โดย TFM เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกและเป็นผู้นำกลุ่มตลาดอาหารปลากระพง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลาที่มีราคาจำหน่ายและอัตรากำไรค่อนข้างสูงกว่าอาหารปลาประเภทอื่นๆ โดยบริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดอาหารปลากะพงประมาณร้อยละ 24 ของปริมาณอาหารปลากระพงไทย (ปี 2563) และ (3) ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารสัตว์บก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. อาหารสุกร 2. อาหารสัตว์ปีก โดยบริษัทฯ เริ่มขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจอาหารสัตว์บกปลายปี 2561 และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นที่น่าพอใจบริษัทฯ มีโรงงานผลิตสินค้า 2 แห่ง คือ (1) โรงงานมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และ (2) โรงงานระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพและเหมาะแก่การประกอบธุรกิจผลิตอาหารสัตว์น้ำ เนื่องจากภาคกลางและภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีการเพาะพันธุ์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สำคัญของประเทศ โดยทั้ง 2 โรงงานมีกำลังการผลิตรวม 273,000 ตันต่อปี (ณ 30 มิ.ย.64) แบ่งเป็นอาหารกุ้ง 153,000 ตันต่อปี อาหารปลา 90,000 ตันต่อปี และอาหารสัตว์บก 30,000 ตันต่อปี รวมถึงเป็นสายการผลิตแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติที่มีระบบการควบคุมและสั่งงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถติดตามข้อมูลในการผลิตระหว่างกระบวนการผลิตได้ทันที (Real time) ทั้งนี้ TFM มีกลุ่มลูกค้าหลัก คือ ร้านค้าจำหน่ายอาหารสัตว์ และฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์


นายพิเชษฐ สิทธิอํานวย กรรมการผู้อํานวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จํากัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า บมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ราคา 13.50 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในช่วงราคาที่ใช้ทำ Bookbuilding ที่ราคานี้คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) เท่ากับ 21.7 เท่า หากพิจารณาผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่เหมาะสม โดยเตรียมเปิดให้นักลงทุนจองซื้อหุ้น IPO ในวันที่ 19 – 21 ตุลาคม 2564 และคาดว่าจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนและซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ภายในเดือนตุลาคมนี้

ทั้งนี้ TFM เสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 109.3 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน 90.0 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) จำนวน 19.3 ล้านหุ้น รวมทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 21.9 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO ครั้งนี้ โดยจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซีย ชำระคืนเงินกู้ และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในอนาคต

"การเดินหน้าเข้าระดมทุนของ TFM ในครั้งนี้ ถือเป็นการพิสูจน์ถึงความแข็งแกร่งและความเชื่อมั่นของกลุ่มไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ประกอบกับด้วยปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคง มีความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำและสัตว์เศรษฐกิจ สามารถสร้างการเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยการกำหนดราคาหุ้น IPO ของ TFM ที่ 13.50 บาท ถือเป็นระดับราคาที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง จากศักยภาพการเติบโตและแผนการลงทุนในธุรกิจอาหารสัตว์น้ำในต่างประเทศ เพื่อสร้างรากฐานการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสให้ TFM ในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต" นายพิเชษฐ กล่าว
#8616
ผู้เขียน    เกษมณี นันทรัตนพงศ์
นับตั้งแต่ปี 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2564 ทั่วโลก รวมถึงไทยต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ หลายธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากมาตรการล็อกดาวน์ เว้นระยะห่าง งดการเดินทาง เพื่อความพยายามหยุดยั้งการระบาดของเชื้อโรคอุบัติใหม่ที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนายารักษาที่ถูกกับเชื้อโรค

ธุรกิจบัตรเครดิต เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่กลับพบว่ายอดการใช้จ่าย บัตรเครดิต เดอะวัน หาเป็นเช่นนั้นไม่

คุณอาร์ต หรือ คุณอธิศ รุจิรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด และหมวกอีกใบ ประธานชมรมบัตรเครดิต จะมาเฉลยให้ฟังถึงธุรกิจบัตรเครดิตที่เจอสถานการณ์โควิดยาวนานถึง 2 ปี
"โดยภาพรวม แน่นอนว่าตลาดบัตรเครดิตขึ้้นอยู่กับการใช้จ่ายของผู้บริโภค ถือเป็นผลิตภัณฑ์การเงินที่เปราะบางกับโควิด ช่วงล็อกดาวน์ ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรตกลงมาก เช่นเดียวกับการหาสมาชิกเปิดบัตรใหม่ เพราะเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่อยู่บ้าน ไม่คำนึงถึงความจำเป็นในการใช้จ่ายมากนัก โดยเฉพาะการระบาด เวฟ 3 หลังผ่านเทศกาลสงกรานต์ เมษายน 2564 ผลกระทบเริ่มเห็นมากขึ้น แต่พีคสุด คือช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จากมาตรการล็อกดาวน์เข้มข้น แต่พอเริ่มคลายมาตรการล็อกดาวน์ ห้างกลับมาเปิดบริการ จะเห็นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรค่อยๆ ดีขึ้น"

คุณอาร์ตอ้างอิงตัวเลขธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สินเชื่อคงค้างมีอัตราเติบโต 4% ยอดเปิดบัตรใหม่ช่วงครึ่งปีแรก สิ้นสุดมิถุนายน 2564 ยังมีอัตราเติบโตประมาณ 3% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน "ถามว่าโตจริงมั้ย ต้องอธิบายว่าปีที่แล้วมีแอ่งนรกอยู่เลยเห็นภาพเป็นเขียว แต่มีสัญญาณเตือนคือ ยอดใช้จ่ายติดลบ ปีที่แล้วเจอล็อกดาวน์ จากการระบาดเวฟ 1 ยอดใช้จ่ายตกเพราะคนกลัวโควิดมาก เนื่องจากเป็นโรคใหม่ ไม่กล้าใช้จ่าย ซึ่งตอนนั้นว่าแย่แล้ว แต่ครึ่งปีแรกของปีนี้ ยอดใช้จ่ายตกยิ่งกว่า ติดลบ 3% โดยยอดกดเงินสดถือว่าตกลงมาเพราะโควิดส่งผลคนตกงานเพิ่มขึ้น ความสามารถการใช้หนี้ลดลง ปัญหาเรื่องหนี้เอ็นพีแอลจึงเป็นสิ่งที่น่ากังวล"

เมื่อถามถึงเฉพาะสถานการณ์ บัตร เดอะวัน คุณอาร์ตยิ้มก่อนตอบ "ดีกว่าตลาด อาจจะด้วยความโชคดีที่เป็นบัตร โคแบรนด์ การฟื้นตัวเห็นภาพชัดและเร็วกว่าบัตรที่ออกโดยธนาคาร"

ปี 2563 มีอัตราเติบโต จากติดลบมากๆ สามารถกลับมาบวกได้ เฉพาะธันวาคมเดือนเดียวมียอดใช้จ่ายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 8,500 ล้านบาท

หากเทียบมิติเดียวกับข้อมูล ธปท. ครึ่งปีแรก 2564 บัตร เดอะวัน เติบโต 5% ยอดเปิดบัตรใหม่ สินเชื่อคงค้างเติบโต 14% ส่วนยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเติบโตถึง 16%



เรียกว่า "เก่งบวกเฮง" ซึ่งคุณอาร์ตยอมรับเป็นโชคดีที่ปรับเป็นโคแบรนด์ ได้พันธมิตรที่มีศักยภาพเข้มแข็งอย่าง เซ็นทรัล กรุ๊ป แม้จะเจอสถานการณ์โควิด-19 กดดันกลุ่มห้าง แต่เซ็นทรัลยังมี ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, ไทวัสดุ, เพาเวอร์บาย ได้รับอานิสงส์จากโควิด อัตราเติบโตยังไปได้ ทั้งดีมาก และดีพอสมควร

นอกจากโชค ยังปรับกลยุทธ์หลายอย่าง จนปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายระดับพรีเมียมหันมาใช้บัตร เดอะวัน เป็นบัตรหลักอย่างเห็นได้ชัด "เราไม่ได้วางตัวเองเป็นโคแบรนด์ แต่วางตัวเป็น Lifestyle Credit Card จุดขายคือสิทธิประโยชน์จากการช้อปปิ้งเครือเซ็นทรัล ที่ขยายตัวสู่ออนไลน์ ทำตลาดแบบ Omnichannel ซึ่งเป็นแผนต่อเนื่องถึงปีหน้า รับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนโดยสิ้นเชิง


"ผมเชื่อว่าช่องทางออนไลน์ไม่ได้มาแค่ช่วงโควิด แต่จะมีผลต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อย่างโปรโมชั่น Midnight Sale เดิมจัดแค่หน้าร้าน ปัจจุบันจะช้อปช่องทางไหน ออนไลน์ ออฟไลน์ ได้สิทธิประโยชน์ดีที่สุดเหมือนกัน ตอนนี้ห้างให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า New Sale Channel จะทำโปรโมชั่นทุกช่องทางการขาย และ Consistent (สม่ำเสมอ)"

แม้ผลงานช่วงวิกฤตจะออกมางดงาม แต่คุณอาร์ตยอมรับเลยว่า ไม่ง่าย "ไม่มีคำว่าไม่เหนื่อย ยิ่งการบริหารโคแบรนด์ มีพาร์ตเนอร์ ต้องบาลานซ์ผลประโยชน์ เหมือนกับการแต่งงาน มีครอบครัวฝั่งเรา คือกรุงศรี (ธนาคารกรุงศรี) และครอบครัวที่แต่งกับเรา คือเซ็นทรัล เราจึงมีเจ้านายหลายคน ต้อง Work Hand in Hand โดยเฉพาะสถานการณ์โควิด เชื่อว่าผู้บริหารทุกคนต้องโดนแรงกดดัน เพราะยอดขายหายไปมาก ก็ต้องทำงานกันใกล้ชิดเพื่อผลักดันยอดขายกลับมา รวมถึงการเพิ่มสมาชิกบัตรใหม่ เป็น Omnichannel ผสมผสานกับช่องทางดั้งเดิมที่ยังต้องไปสาขา แต่คาดว่าช่องทางแบบ Face to Face จะค่อยๆ ลดลง อีก 3-5 ปี Digital Channel จะกลายเป็นช่องทางหลัก"

คุณอาร์ตอธิบายเพิ่มเติมว่า โควิดได้เปลี่ยนวิธีการใช้บัตร ลูกค้าไม่รู้สึก Comfortable เหมือนแต่ก่อนในการยื่นบัตรให้พนักงานนำไปรูดชำระสินค้า เพราะกังวลเรื่องการสัมผัส เราจึงพัฒนา New Payment Technology ซึ่งเป็นภาพใหญ่ที่กำลังทำอยู่ เริ่มจากพัฒนาบัตร เดอะวัน เป็นบัตร Contactless ไร้การสัมผัส แค่แตะบัตรที่เครื่องอีดีซี พร้อมให้สิทธิประโยชน์ควบคู่ ซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก แค่เพิ่งเริ่มปี 2563 มีฐานผู้ใช้เพิ่มเกือบ 60-70%

และที่กำลังทำอยู่คือ QR Payment ผ่าน UChoose โมบาย แอพพลิเคชั่นที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นกัน คาดว่าช่วงปลายปีนี้เริ่มดำเนินการได้ นอกจากนี้ คือ ทำวอลเล็ท โดยจะ piggyback กับดอลฟิน วอลเล็ท ของเซ็นทรัลมากขึ้น รับสิทธิประโยชน์เดียวกับการใช้บัตร

"มองภาพรวม เรากำลัง move away จากการทำธุรกรรมบนบัตรเครดิตแบบดั้งเดิมคือการรูดบัตร เป็นเพิ่มฟังก์ชั่นแปลกใหม่ แต่ไม่ได้รีบร้อน เพราะลูกค้าในพอร์ตเป็นกลุ่มที่มีอายุประมาณหนึ่ง มี traditional เพียงแค่โควิดเป็นตัวเร่งให้ทุกคนพร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่" สำหรับภาพรวมตลาดบัตรเครดิตปีหน้า คุณอาร์ตบอกว่า ปีที่แล้วเรามองว่าปีนี้มีความหวัง แต่ตอนนี้ เราไม่มี scenario ที่ว่าโควิดหายไปแล้ว เป็นการทำงานบน scenario ว่าโควิดยังอยู่ เพียงแต่เข้าใจมากขึ้นและอยู่กับโควิดยังไง ดังนั้นปีหน้า เรายังมีความหวังเช่นเดิม แต่มองเป็นจริงมากขึ้น และ going forward



คุณอาร์ตฉายภาพการตลาดบัตรเครดิตได้แจ่มชัด แต่หากย้อนดูโปรไฟล์ ยิ่งต้องทึ่ง เพราะมาร์เก็ตติ้งมืออาชีพท่านนี้โตมาจากครอบครัวนักวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่คุณตา คือ ศ.ดร.สตางค์ มงคล คณบดีคนแรก และผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ ซึ่งเป็นมารดา และ ศ.ดร.สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ ผู้เป็นบิดา ล้วนอยู่ในสายอาชีพนักวิทยาศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศ ขณะที่ตัวคุณอาร์ตเองก็เลือกเรียนสายวิทย์ เจริญรอยตามทางบ้านจนได้รับทุน จาก Trent University ประเทศแคนาดา ปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์เคมี

แต่จุดพลิกผันของชีวิตที่ควรอยู่สายอาชีพวิทย์เหมือนทางบ้าน กลับกลายเป็นสายมาร์เก็ตติ้ง คุณอาร์ตเผยให้ฟังว่า "เหมือนเป็น Family Occupation ยอมรับว่าเรียนสายวิทย์เพราะครอบครัว และระบบการศึกษาไทยตอนนั้นวางแบบให้เลือกแค่สายวิทย์, ศิลป์คำนวณ หรือศิลป์ ไม่มีการ Explore ว่าเด็กชอบหรือถนัดด้านไหน ดังนั้น เด็กที่เรียนเก่งมักจะเลือกเรียนสายวิทย์โดยปริยาย ผมมารู้ตัวประมาณปี 3 ปี 4 แต่ก็อยู่แคนาดาจนเรียนจบ กระทั่งคุณพ่อคุณแม่อยากให้เรียนต่อถึง ดร. จึงได้คุยกัน ท่านก็เข้าใจ ผมจึงกลับมาประเทศไทยมาทำงานเพื่อค้นหาตัวเองก่อนว่าชอบอะไร และมาค้นพบตัวเองเมื่อเรียนต่อปริญญาโท หลักสูตรเอ็มบีเอ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้สึกชอบมากต่างจากที่เรียนสายวิทยาศาตร์ ต้องทำความเข้าใจอย่างมาก เพราะในหัวไม่มีภาพ ต้อง Imagin แต่การตลาด ผมมองเห็นภาพ เห็นได้ในชีวิตจริง"

แต่ใช่ว่าการเรียนสายวิทยาศาสตร์จะสูญเปล่า คุณอาร์ตได้นำมาใช้กับการทำงานสายการตลาด มีกรอบทางความคิดแบบเป็นขั้นเป็นตอน ช่วยตีโจทย์ทางธุรกิจหรือวางกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำ

หลังจบปริญญาโท ที่แรกที่ทำงานคือแบงก์เอเชีย (สมัยนั้น) เปิดรับตำแหน่ง Assistant Marketing สายบัตรเดบิต ทำยาวนาน 22 ปี ได้เรียนรู้เยอะมาก และทำสายนี้เรื่อยมาจนปัจจุบัน

เป็นสายอาชีพที่คุณอาร์ตถนัดและรัก แต่ไม่ใช่สิ่งที่เป็น passion ในวัยเด็กที่ชื่นชอบ-หลงใหลการเสพภาพยนตร์ ซึ่งคุณอาร์ตเคยมีโอกาสได้ทำงานด้านเอ็นเตอร์เทนเมนต์กับ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (ไอบีซี) ราว 4-5 ปี

แต่คงเป็นจังหวะเวลาของชีวิตที่กำหนดไว้แล้ว เมื่อหมดโปรเจ็กต์กับไอบีซี มีโอกาสได้ลุยงานสายธุรกิจบัตรเครดิต จึงตัดสินใจเดินหน้าต่อ ส่วนงาน passion ขอเป็นแค่ hobby รับช่วยงานเป็นครั้งคราวพอกระชุ่มกระชวยหัวใจ

ตลอดเส้นทางอาชีพ คว่ำหวอดธุรกิจสายบัตรเครดิตมาอย่างยาวนาน เริ่มถึงจุดอิ่มตัวหรือไม่ คุณอาร์ตกล่าวตอบ "จะทำต่อไปเรื่อยๆ ไม่เคยรู้สึกอิ่มหรือตัน เพราะทุกแบงก์ที่เคยร่วมงาน ไม่ได้จำเจ อย่างแบงก์เอเชีย ถือเป็น innovative นำตลาด มีอะไรแปลกใหม่เสมอ พอมาอยู่ จีอี จะเป็นแนว aggressive และเป็น multinational มีสไตล์การทำงานเป็นของตัวเองส่วนยูโอบี จะเป็น regional bank

"ผมเชื่อว่าวิวัฒนาการของบัตรเครดิตจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หากมองย้อนกลับจะเห็นพัฒนาการของบัตรเครดิต จนตอนนี้กลายเป็นเดต้า เทคโนโลยี เพราะตราบใดที่คนยังใช้จ่ายซื้อของ บัตรก็ยังคงอยู่ แค่เปลี่ยนฟอร์มไป จากบัตรพลาสติก เป็นอยู่ในมือถือ หรือเป็นรูปแบบอื่นๆ ในอนาคต"

ถามถึงการมาของเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างคริปโทเคอร์เรนซีที่เริ่มเข้ามาพัวพันกับการใช้ชีวิตของคนมากขึ้น คุณอาร์ตมองว่า การคิดใหม่ ทำใหม่ของ innovation ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ แต่จะ take off หรือไม่ จากประสบการณ์ new thinking เกิดขึ้นได้เสมอ แต่การทำให้เกิด ยากกว่า สำหรับธุรกิจบัตรเครดิตมีมานานมาก เรียกว่าเป็น journey มีระยะเวลาเดินทางมายาวนานจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ไปแล้ว หากจะมีอะไรมาดิสรัปต์ คงต้องใช้เวลาอีกนาน

สรุปสั้นๆ ได้ใจความ ธุรกิจบัตรเครดิตยัง Move on ตราบใดที่คนยังต้องจับจ่าย...ขีดเส้นใต้
#8618
น้ำมันว่านเศรษฐีเรียกลาภ  ขวดละ 299 บาท


หุงจากว่านด้านเมตตา โชคลาภ 4 ชนิด ว่านรวยไม่เลิก ว่านเศรษฐีเรือนนอก ว่านเศรษฐีเรือนใน ว่านรางเงิน

พร้อมใส่ตะกรุดหัวใจพระสีวลีให้ทุกขวด ส่งเสริม เรื่องเมตตา โชคลาภ ค้าขาย

ว่านเศรษฐีเรือนใน

เป็นว่านที่มีคุณทางเมตตามหานิยม มีโชคลาภและวาสนาทรัพย์สินเงินทองมากมาย

ว่านเศรษฐีเรือนนอก 

เป็นว่านให้ผลในทางคุ้มครองป้องกันภัย มีโชคลาภและฐานะเจริญรุ่งเรือง

ว่านรวยไม่เลิก

เป็นว่านให้ผล ในเรื่องความร่ำรวยตลอดไปเหมือนชื่อต้น มีโชคลาภ

ว่านรางเงิน 

เป็นว่านะดีเด่นในเรื่องของเมตตามหานิยม และโชคลาภ 

คาถาบูชา

ตั้ง นะโม 3 จบ

สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุ เมฯ

(ท่องคาถาแล้วอธิษฐาน)

ใช้เจิมตามซอกคอ ตามตัว ทาที่คิ้ว เจิมที่หน้าผาก พกติดตัว

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สั่งซื้อบูชา ทักแชทได้เลยหรือติดต่อได้ที่

โทร. 0846623662

id line : teerapat999

ลาซาด้า

https://www.lazada.co.th/products/-i792070635-s1584866736.html?search=store?spm=a2o4m.10453683.0.0.10b96d16q6OJEJ&search=store

#8620
จาก 4 กลุ่มนักธุรกิจรายใหญ่ภาคเหนือ!! ผนึกกำลังเป็น "เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล" หวังนำประสบการณ์กว่า 20 ปี สร้างการเติบโตก้าวกระโดด "จุดขาย" น้องใหม่ไอพีโอ เข้าระดมทุน 19 ต.ค. นี้ "สุธารทิพย์ พิสิฐบัณฑูรย์" นายหญิง ลั่นปี 2566 ขยายพอร์ตสินเชื่อรวมแตะ 1.48 หมื่นล้านบาท

"หากต่างคนต่างทำ ตลาด-ฐานทุนถูกจำกัด ดังนั้นคงยากที่ธุรกิจจะเติบโตได้เร็ว !" 

นี่คือ "จุดกำเนิด" ของ บมจ. เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล หรือ HENG ที่มีกลุ่ม "4 กลุ่มนักธุรกิจ" ให้บริการสินเชื่อรายใหญ่ในภาคเหนือมารวมตัวกัน ประกอบด้วย "กลุ่มทวีเฮง" ถือหุ้น 36.7% "กลุ่มพัฒนสิน" ถือหุ้น 10% "กลุ่มมิตรเอื้ออารีย์" ถือหุ้น 9.8% และ "กลุ่มสินปราณี" ถือหุ้น 7.6% (ตัวเลขหลังเสนอขายหุ้น IPO) ซึ่งแต่ละกลุ่มผู้ถือหุ้นมีประสบการณ์ในธุรกิจมานานกว่า 20 ปี !!

"เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล" ผู้ให้บริการด้านสินเชื่อบุคคลครบทุกรูปแบบ ภายใต้เครื่องหมายบริการ "เฮงลิสซิ่ง" รายใหญ่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ เตรียมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 800,837,300 หุ้น ในราคาหุ้นละ 1.95 บาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1.00 บาท เข้าซื้อขาย (เทรด) วันแรก 19 ต.ค. 2564

"4หุ้นใหญ่" HENG ผนึกกำลังดันธุรกิจโต ! ณ ปัจจุบัน HENG เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งให้บริการ 1. สินเชื่อเช่าซื้อ 2. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน 3. สินเชื่อที่มีบ้านและที่ดินเป็นหลักประกัน 4.สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน 5. สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์) และ 6.นายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต ให้แก่ลูกค้ารายย่อยทั่วไป 


"สุธารทิพย์ พิสิฐบัณฑูรย์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล หรือ HENG เล่าให้ "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ฟังว่า การเข้าระดมทุนในครานี้ ! ถือเป็นการปลดล็อกการดำเนินธุรกิจให้สร้างการเติบโตระดับสูง เนื่องจากเงินระดมทุนจะขยายขีดความสามารถในการลงทุนนี่คือ "ธงผืนใหญ่" เธอบอกเช่นนั้น !! 

สะท้อนผ่านแผนธุรกิจ 3 ปี (2564-2566) เตรียมนำเงินระดมทุนไปขยายธุรกิจการให้บริการสินเชื่อ ขยายสาขา เพื่อขยายธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้เติบโตตามแผนโตปีละ 28% หรือ ในปี 2566 พอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ที่ 14,800 ล้านบาท จากปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ที่ 8,420 ล้านบาท ประกอบด้วย "สินเชื่อที่มีหลักประกัน" จำนวน 7,901.9 ล้านบาท และ "สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน" จำนวน 517.9 ล้านบาท หรือคิดเป็น 93.8% และ 6.2% ของมูลค่าลูกหนี้รวมของบริษัท ตามลำดับ

"4หุ้นใหญ่" HENG ผนึกกำลังดันธุรกิจโต ! โดยเป้าหมายภายในปี 2566 บริษัทต้องการขยายพอร์ตสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันเพิ่มเป็น 10% จากปัจจุบัน 6.2% และพอร์ตสินเชื่อที่มีหลักประกันอยู่ที่ 90% จากปัจจุบัน 93.8% 


พร้อมทั้งการขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 830 สาขา คาดใช้เงิน 2 แสนบาทต่อสาขา จากปัจจุบันบริษัทมีสาขาจำนวน 451 สาขา เพื่อครอบคลุมฐานลูกค้ารายใหม่ ๆ และช่วยสนับสนุนการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อรวมตามเป้าหมาย อีกส่วนหนึ่งชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วนจากสถาบันการเงิน ลดภาระหนี้เพื่อลดต้นทุน และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Software และ Mobile Application

"ถือเป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญของ HENG ที่จะช่วยเสริมศักยภาพการเติบโตอย่างยั่งยืน เรานำความเชี่ยวชาญของ 4 กลุ่มผู้ให้บริการสินเชื่อรายใหญ่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี มารวมกันจึงสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน"

"4หุ้นใหญ่" HENG ผนึกกำลังดันธุรกิจโต ! เธอ บอกต่อว่า ปัจจุบันบริษัทมี "หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้" (NPL) อยู่ที่ระดับ 3.7% ซึ่งคาดในปี 2566 บริษัทจะคุม NPL ไม่เกิน 2.9% โดยสัดส่วนสินเชื่อทะเบียนรถจะเพิ่มเป็น 48% จากปัจจุบัน 27% 

ทั้งนี้ บริษัทมีเป้าหมายในการอขยายการให้บริการไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ครอบคลุม ทั้งสินเชื่อที่มีหลักประกันและสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน พร้อมทีมพนักงาน "เฮงลิสซิ่ง" ที่คัดเลือกคนในพื้นที่สาขาให้บริการ ซึ่งเข้าใจวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของลูกค้าในแต่ละท้องถิ่น ทำให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยบริษัทมีรายได้จากดอกเบี้ย (ปี 2561-2563) อยู่ที่ 1,239 ล้านบาท 1,557 ล้านบาท และ 1,450 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งสินเชื่อเช่าซื้อในกลุ่มสินเชื่อที่มีหลักประกัน เป็นพอร์ตทรายได้หลัก ขณะที่กำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 44.6% ต่อปี อยู่ที่ 152 ล้านบาท 189 ล้านบาท และ 318 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ที่ 1.5 เท่า ยังสามารถจัดหาแหล่งเงินทุนอื่นมาเพิ่มได้ ต้นทุนก็ต่ำลง

ส่วนผลการดำเนินงวด 6 เดือน ปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้บริษัทเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ มีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งมีการปรับเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อประจำปีทำให้พอร์ตสินเชื่อรวมสุทธิก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ/ ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คิดคาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นจากปี 2563 เล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 บริษัทจึงตั้งค่าเผื่อเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการ (Management Overlay) เพื่อรองรับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินเชื่อในอนาคต 

ท้ายสุด "สุธารทิพย์" กล่าวไว้ว่า เรามีแผนเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น ผ่านการลงทุนในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้าน Software และ Mobile Application เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการ ควบคู่กับการขยายสาขาของเฮงลิสซิ่งในภูมิภาคต่าง ๆ ไปด้วย
#8621

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมกับ ก.ล.ต. พัฒนาต้นแบบนวัตกรรม "คุณดูแลป่า เราดูแลคุณ" ร่วมกับภาคประชาชนในป่าชุมชน 4 จังหวัดผลิตคาร์บอนเครดิตป้อนภาคธุรกิจ พร้อมขยายงานสามแสนไร่ทั่วประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ชุมชน ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

วันที่ 18 ตุลาคม 2564 หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยว่า โครงการต้นแบบ "คุณดูแลป่า เราดูแลคุณ" ผ่านกลไกการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นความริเริ่มของ ก.ล.ต. กับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในการผสานงานพัฒนาชนบทกับการรักษาป่าเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

โครงการนี้ดำเนินงานมาแล้ว 15 เดือนร่วมกับชุมชนที่รักษาป่า 16 แห่งของจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และพะเยา รวม 19,611 ไร่ มีประชาชนได้รับประโยชน์จำนวน 9,166 คน และได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ เป็นอย่างดีเนื่องจากลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเกิดผลดีต่อชุมชน ภาคเอกชน และประเทศไทย โดยมุ่งส่งเสริมชุมชนที่ดูแลป่าชุมชนภายใต้ พ.ร.บ. ป่าชุมชน 2562 ให้มีอาชีพทางเลือกใหม่ และมีความเป็นอยู่ที่มั่นคงจากการรักษาป่าให้สมบูรณ์ และคาดว่าจะมีปริมาณคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชน 16 แห่งรวม 392,220 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลา 20 ปี



"ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ปีละสามร้อยกว่าล้านตัน จึงมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกกำลังจะกลายเป็นกติกาหนึ่งในการค้าของโลก ซึ่งถ้าเราไม่เร่งแก้ไข ก็จะถูกกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้"

ป่าชุมชนแต่ละแห่งที่เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือ T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) รับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และผู้ประเมินภายนอกที่มีความเป็นอิสระ


"ชุมชนเหล่านี้ได้รับความรู้ในการดูแลป่าเพื่อประเมินเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิตไว้แลกเปลี่ยนในอนาคต รวมทั้งมีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมอาชีพใหม่ๆ ที่ชุมชนมีส่วนร่วมและริเริ่มขึ้น ทำให้การดูแลป่าช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ด้วย ส่วนภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมก็มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพคน สนับสนุนให้ชุมชนรักษาพื้นที่ป่า และได้คาร์บอนเครดิตไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก"

โครงการต้นแบบในป่าชุมชนทั้งสี่จังหวัดได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน 7 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 2) บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 3) บริษัทอินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด 4) บริษัททีเอ็มที สตีล จำกัด (มหาชน) 5) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 6) บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส จำกัด และ 7) บริษัทพีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด รวมเป็นวงเงินประมาณ 43 ล้านบาทสำหรับระยะเวลาหกปีเพื่อวางรากฐานให้กับชุมชน

โครงการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งไปใช้ในการสำรวจพื้นที่ทางภูมิสารสนเทศ (GIS) และภาคสนาม วางแปลงตัวอย่าง T-VER เพื่อประเมินปริมาณคาร์บอนเครดิต จัดอบรมให้ชุมชน และอีกส่วนหนึ่งสำหรับการจัดตั้งกองทุนดูแลป่าและกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต ปัจจุบันชุมชนได้รวมกลุ่มอาชีพใหม่ขึ้นแล้วห้ากลุ่ม เช่น กลุ่มผลิตภาชนะจากใบไม้ กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และกลุ่มตลาดกลางสินค้าชุมชน

สืบเนื่องจากที่ประชาคมโลกเริ่มกำหนดเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นกติกาการค้าของโลก จึงมีการคาดการณ์ว่าราคาคาร์บอนเครดิตจะสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีกสิบปี มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงขยายโครงการต้นแบบสู่การดำเนินงานอย่างจริงจัง เข้าร่วมกับป่าชุมชนอีก 33 แห่ง ประมาณ 32,500 ไร่ในจังหวัดเชียงใหม่ กำแพงเพชร อุทัยธานี และกระบี่ระหว่างปี 2564 – 2565 และคาดว่าจะครอบคลุมพื้นที่ป่าชุมชน 150,000 ไร่ในปี 2566 ทั้งยังประเมินว่าป่าชุมชนดังกล่าวสามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกและคิดเป็นคาร์บอนเครดิตมากถึงประมาณ 2.8 ล้านตัน และสร้างรายได้ให้ชุมชนรวม 840 ล้านบาทในระยะเวลา 20 ปี

นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการขยายกิจกรรมอนุรักษ์ป่าเพื่อคาร์บอนเครดิตให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ร่วมกับหน่วยงานหลักของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)


"กระทรวงทรัพยากรฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากและมีความเห็นตรงกัน ดังนั้นนอกจากการทำงานร่วมกับชุมชนแล้ว เราก็จะร่วมมือกับทางกระทรวงเพื่อปรับรูปแบบงานเข้าสู่พื้นที่ภายใต้การดูแลของกระทรวง เพื่อให้งานคาร์บอนเครดิตจากป่ากลายเป็นระบบที่เข้มแข็ง"

อย่างไรก็ตาม หม่อมหลวงดิศปนัดดากล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงภาคประชาชนที่ดูแลรักษาป่าชุมชนด้วย

"ไมค์ เบอเนอร์ส ลี ผู้เชี่ยวชาญก๊าซเรือนกระจกของโลกคำนวณไว้ว่า การใช้โทรศัพท์มือถือคนละหนึ่งชั่วโมงต่อวันผลิตคาร์บอนปีละ 63 กิโลกรัม เมื่อนับจำนวนโทรศัพท์ทั้งหมดในโลกและระยะเวลาการใช้งานในแต่ละวันก็ถือเป็นปริมาณมหาศาล เราทุกคนมีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน"

หน่วยงานและบุคคลที่สนใจสนับสนุนโครงการ "คุณดูแลป่า เราดูแลคุณ" สามารถร่วมสมทบทุนดูแลป่าและชุมชนได้ในอัตรา 2,500 บาทต่อไร่ (ระยะเวลาโครงการ 6 ปี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล์: decarbonization@doitung.org
#8622
ไทยประกันชีวิต ธุรกิจครอบครัว "ไชยวรรณ" ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. ขายหุ้นไอพีโอ ไม่เกิน 2,384 ล้านหุ้น คาดเข้าเทรดปี 2565 ในวาระครบรอบ 80 ปี "ไชย" ซีอีโอ กางผลดำนเนินงาน 3 ปีย้อนหลัง รายได้ 1 แสนล้านบาท-กำไร 6-7 พันล้านบาท

ไทยประกันชีวิต จ่อขายไอพีโอ 2,384 ล้านหุ้น
วันที่ 18 ตุลาคม 2564 นายไชย ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ Thai Life Insurance เปิดเผยว่า บริษัทได้ดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 2,384.32 ล้านหุ้น คิดเป็นประมาณ 20.6% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมด

และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน(Greenshoe) ไม่เกิน 322.54 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 13.5% ของจำนวนหุ้นสามัญที่เสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้ แบ่งเป็น 1.หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทจำนวนไม่เกิน 1,000 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 8.6% 2.หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท วี.ซี.สมบัติ จำกัด จำนวน 1,218.82 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 10.5% และ 3.หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Her Sing (H.K.) Limited จำนวนไม่เกิน 165.50 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 1.4%



โดยคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ(SET) กลุ่มธุรกิจการเงิน / ประกันภัยและประกันชีวิต ประมาณปี 2565 ซึ่งจะเป็นปีที่บริษัทดำเนินธุรกิจครบ 80 ปี และมีบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับการทำไอพีโอ

"บริษัทได้ศึกษาและเตรียมพร้อมสำหรับการทำ IPO มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เป็นไปตามวิสัยทัศน์ในการมุ่งสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน เนื่องจากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังสอดรับกับ Business Landscape ของธุรกิจประกันชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นโอกาสในการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อยกระดับการกำกับดูแลและบริหารจัดการองค์กรไปสู่ระดับสากล รวมถึงยกระดับแบรนด์ไทยประกันชีวิตให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ" นายไชย กล่าว

กางแผนใช้เงิน "ลงทุนดิจิทัล-ขยายตลาดพันธมิตร"
ทั้งนี้การระดมทุนดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจของบริษัทให้ดียิ่งขึ้น เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจประกันชีวิตของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการระดมทุนจะนำเงินไปใช้ 1.ลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) 2.การทำตลาดเสริมสร้างความแข็งแกร่งของช่องทางจัดจำหน่ายทางพันธมิตร 3.เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียน


นายไชย กล่าวอีกว่า ฐานะทางการเงินของบริษัทในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมาก โดยมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฏหมาย(CAR Ratio) สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 อยู่ที่ 334% ซึ่งสูงกว่าอัตราที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดที่ 120% และบริษัทยังมีส่วนของผู้ถือหุ้นสูงถึง 82,184 ล้านบาท ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 3 ของธุรกิจประกันชีวิตไทย

3 ปีย้อนหลัง รายได้แสนล้าน-กำไร 6-7 พันล้าน
สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (2561-2563) บริษัทมีรายได้รวม 100,851.67 ล้านบาท 108,388.70 ล้านบาท และ 107,642.26 ล้านบาท (ตามลำดับ) ขณะที่มีกำไรสุทธิย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 6,709.23 ล้านบาท 6,777.35 ล้านบาท และ 7,692.32 ล้านบาท (ตามลำดับ) ส่งผลให้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ระหว่างปี 61-63 ประมาณ 7.1%

ส่วนผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 บริษัทมีรายได้รวม 50,744.50 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 5,935.33 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 42.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

นายไชย กล่าวต่อว่า และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจ แต่บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากอัตราการจ่ายสินไหมสุขภาพของบริษัทช่วงก่อนเกิดโควิด-19 และหลังการแพร่ระบาดอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งบริษัทยังสามารถบริหารจัดการด้านสินไหมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับบริษัทมีเงินสำรองประกันชีวิตที่สูง ณ ธันวาคม 2563 อยู่ที่ 344,590 ล้านบาท ซึ่งพร้อมจ่ายคืนแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญากรมธรรม์


เปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่


บริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน
"ไทยประกันชีวิตดำเนินธุรกิจบนวิสัยทัศน์ "การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน" ด้วยแนวคิดมุ่งสู่การเป็นทุกคำตอบด้านการวางแผนชีวิตและการเงินส่วนบุคคล (Life & Financial Solutions) ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าแบบปัจเจกบุคคล ในทุกช่วงของชีวิต (Life Stage) ทุกจังหวะชีวิต (Life Event) และทุกรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) รวมถึงการพัฒนาบริการที่มากกว่าการประกันชีวิต เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไร้รอยต่อ และตรงตามความต้องการ




ปัจจุบันบริษัทมีช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนประกันชีวิตกว่า 66,000 ราย ซึ่งไทยประกันชีวิตเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่มีจำนวนตัวแทนมากที่สุด และสามารถสร้างเครือข่ายตัวแทนฯ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงเป็นช่องทางการจำหน่ายที่สำคัญที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเปลี่ยนผ่านจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน ไปสู่การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนและให้ผลกำไรมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังมีสาขาและศูนย์บริการลูกค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ 270 แห่ง"

ทั้งนี้มีการพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การขายทางโทรศัพท์ และ E-Commerce รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์และให้บริการแก่ลูกค้า อาทิ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารและองค์กรของรัฐ บริษัทลีสซิ่งและเช่าซื้อ บริษัทสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค

ซึ่งบริษัททำสัญญาทั้งในลักษณะการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียว (Exclusive) และสัญญาการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบทั่วไป (Non-exclusive) กับพันธมิตร ช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการเลือกพันธมิตรที่ดีที่สุดในแต่ละด้าน และส่งผลต่อมูลค่าของบริษัทโดยรวมในระยะยาว ปัจจุบันบริษัทเป็นพันธมิตรกับธนาคารพาณิชย์จำนวน 4 แห่ง ซึ่งมีเครือข่ายสาขากว่า 750 แห่งทั่วประเทศไทย และเป็นพันธมิตรกับธนาคารและองค์กรของรัฐอีกจำนวน 5 แห่ง ซึ่งมีเครือข่ายสาขากว่า 1,500 แห่งทั่วประเทศ

ธุรกิจประกันชีวิตในไทยใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน
ทั้งนี้จากรายงานธุรกิจประกันชีวิตไทย ที่จัดทำโดย Milliman Limited ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยอิสระ รายงานว่า ธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ที่ 7.3% โดยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และในปัจจุบันมีอัตราการเข้าตลาด (Penetration Rate) สูงสุดเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดีในปี 2563 อัตราการเข้าตลาด (Penetration Rate) ของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำคิดเป็น 3.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product หรือ GDP) ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตในไทยยังมีศักยภาพในการเติบโตจากปัจจัยหนุนแนวโน้มคนไทยที่มีรายได้สุทธิที่สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการคุ้มครองสุขภาพและประกันชีวิตที่เพียงพอ และความต้องการวางแผนเกษียณอายุและการออมทั่วไปที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างโอกาสสำคัญในการเติบโตให้กับบริษัทประกันชีวิต ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจต่อไป

อนึ่ง ไทยประกันชีวิต มีรากฐานมายาวนานกว่า 79 ปี โดยถูกจัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 2485 และเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกในประเทศไทย ที่เป็นของคนไทยและก่อตั้งโดยคนไทย บริษัทประสบความสำเร็จในการพัฒนาแบรนด์ "ไทยประกันชีวิต" ให้เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักอย่างดีว่าเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการประกันภัยชั้นนำของประเทศไทย รวมไปถึงมีการรับรู้ถึงแบรนด์อย่างกว้างขวางและแพร่หลาย โดยภาพลักษณ์ของแบรนด์ "ไทยประกันชีวิต" คือ คู่คิด เพื่อทุกชีวิต รู้รอบ รอบรู้ คนดี มุ่งมั่นทำดี และ มองไกลและทุ่มเท

โดยถือหุ้นของบริษัทคือ ครอบครัวไชยวรรณ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรายใหญ่ของบริษัท ได้ให้การสนับสนุนบริษัทมาตั้งแต่ปี 2513 จากรุ่นสู่รุ่น โดยสมาชิกของครอบครัวไชยวรรณ ซึ่งมีแนวคิดทางธุรกิจและมีประสบการณ์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการและคณะผู้บริหารของบริษัทฯ โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกและความเชี่ยวชาญของบุคคลดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนบริษัทฯ ให้สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย

นอกจากนี้ Meiji Yasuda Life Insurance Company (MY) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเชิงกลยุทธ์ (Strategic Shareholder) ของบริษัทก็เป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดย MY ได้ให้การสนับสนุนองค์ความรู้และความชำนาญต่างๆ ที่บริษัทได้นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ เช่น วิธีการคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน และการวิเคราะห์และการพัฒนาเครื่องมือการขายทางดิจิทัลสำหรับตัวแทนประกันของบริษัทฯ

นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับประโยชน์จากศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่แข็งแกร่งของ MY เพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเชิงกลยุทธ์และการเปลี่ยนผ่านทางด้านดิจิทัลของบริษัทด้วย นอกจากความเชี่ยวชาญในด้านการปฏิบัติงานแล้ว MY ยังช่วยให้บริษัทเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มตลาดใหม่ๆ โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางธุรกิจระดับโลกของ MY โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น
#8625
ผู้ชายควรกิน Low GI สุขภาพที่มีโภชนาการสูงปลอดสารพิษ ข้าวหอมทุ่งกุลาร้องไห้แท้ 100%
ข้าวดีปลอดสารแท้ 100%ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์  ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ส่งทั่วไทย #ข้าวออแกนิค หรือ #ข้าวออร์แกนิค หรือ #ข้าวออร์แกนิก หรือ "#ข้าวเกษตรอินทรีย์"  (#OranicRice)
ข้าวออแกนิค หรือ ข้าวออร์แกนิค หรือ ข้าวออร์แกนิก (#OranicFood) หรือเรียกง่ายๆเป็นภาษาไทยว่า "ข้าวเกษตรอินทรีย์" หรือ "ข้าวอินทรีย์" /ข้าวมะลินิลปลอดสารพิษ คือ ข้าวที่ผ่านการผลิตทางการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี หรือวัตถุสังเคราะห์ใด ๆ ทั้งสิ้น (รวมไปถึงเมล็ดพันธุ์ ข้าวที่ไม่ตัดต่อทางพันธุกรรม) กระบวนการผลิตข้าวไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ก่อนการปลูกข้าวจะต้องเตรียมหน้าดินก่อนด้วยวิธีธรรมชาติ ทุกขั้นตอนการผลิตข้าวจะไร้สารปนเปื้อนที่เกิดมนุษย์ จะไม่ผ่านการฉายรังสี ไม่เพิ่มเติมสิ่งปรุงแต่งลงไปในข้าว 




ข้าวหอมมะลิorganicข้าวออแกนิค หรือ ข้าวออร์แกนิค หรือ ข้าวออร์แกนิก หรือ "ข้าวเกษตรอินทรีย์"  (Oranic Rice)   ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ คืออะไร?
1. ส่วนประกอบทุกอย่างล้วนมากจากธรรมชาติ โดยข้าวออแกนิคจะไม่มีการใช้สารสังเคราะห์ใด ๆ ในการเพาะปลูก ข้าวปะกาอำปึลออแกนิคคือเลย ข้าวก็จะถูกปลูกและเจริญเติบโตมาด้วยอาหารจากธรรมชาติล้วน ๆ ส่วนข้าวก็จะเป็นการปลูกในนา ไม่ใส่วัตถุสังเคราะห์ใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ใช้แต่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการเพาะปลูกข้าว ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่นำมาเพาะปลูกจะต้องไม่มีตัดต่อพันธุกรรม และต้องมีการเตรียมหน้าดินก่อนการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธีธรรมชาติ คือ จะต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี เหล่านี้จึงเรียกได้ว่าเป็นการสร้างอาหารแบบธรรมชาติอย่างแท้จริง 100% มีกลิ่นหอมตามแบบธรรมชาติ ทุกขั้นตอนในการปลูกข้าวและการแปรรูปข้าวจะต้องอยู่ในมาตรฐานที่ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนประกอบทุกอย่างจึงสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสารพิษตกค้างหรือสารก่อมะเร็ง
2. ข้าวออแกนิคจะไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ เลย ส่วนประกอบทุกอย่างจะต้องมาจากธรรมชาติ เพราะถ้ามีการใช้สารเคมีก็จะไม่ถือว่าเป็นข้าวออแกนิค ซึ่งการไม่ใช้สารเคมีที่ว่านั้นหมายถึง การไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี 
3. ไม่ก่อให้เกิดมลพิษในกระบวนการปลูก  ข้าวอินทรีย์หอมมะลิแดง เพราะข้าวออแกนิคนั้น นอกจากจะมุ้งเน้นให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีแล้ว จุดประสงค์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการช่วยลดมลพิษให้กับธรรมชาติ เพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการใช้สารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี หรือสารเร่งการเจริญเติบโตต่าง ๆ นั้นจะก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในดิน ในน้ำ และในอากาศ ซึ่งกว่าจะย่อยสลายไปได้บางทีก็อาจใช้ระยะเวลาเป็นสิบ ๆ ปี ซึ่งวิธีการปลูก  ขายข้าวกล้องหอมมะลินิลอินทรีย์ แบบธรรมชาตินี้เองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยฟื้นฟูธรรมชาติที่เสียไป เพราะนอกจากจะได้รับประทานข้าวที่ปลอดสารพิษแล้ว ยังช่วยลดมลพิษต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วย

ข้าว Hor.Boutique ข้าวอินทรีย์สุรินทร์   ข้าวกล้องหอมมะลิแดงปลอดสารพิษ
277 หมู่ 14 ถ.พิชิตชัย ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทร. 092-8245655
website : https://xn--22c6daqhyo0am1a6t.net/
Line: @Hor.Boutique

เรามีข้าวอินทรีย์ 7 ประเภทครับ
1. ข้าวหอมมะลิออแกนิค
2.  ข้าวกล้องหอมมะลิสุขภาพ
3.  ปลูกข้าวปะกาอำปึลอินทรีย์
4.  ข้าวผสมหลายสายพันธุ์ออร์แกนิคสุรินทร์
5.  ข้าวกล้องหอมมะลิแดงเกษตรอินทรีย์6. ข้าวกล้องหอมมะลินิลเพื่อสุขภาพ7. ข้าวไรซ์เบอร์รี่เกษตรอินทรีย์


#ข้าวออร์แกนิกสุรินทร์  #ข้าวออแกนิคสุรินทร์  #ข้าวออแกนิกสุรินทร์   #ข้าวอินทรีย์สุรินทร์  #ข้าวสุขภาพสุรินทร์