• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Ailie662

#10292
6 วัน 6 วิชา ขายออนไลน์อย่างไร...ให้ปัง
#10293
สนใจติดต่อคุณเป้ง 087-347-6299
https://gladnessaccounting.co.th/

สำนักงานบัญชีนนทบุรี  สำนักงานบัญชีบางกรวย  สำนักงานบัญชีบางใหญ่  สำนักงานบัญชีบางบัวทอง  สำนักงานบัญชีไทรน้อย  สำนักงานบัญชีปากเกร็ด  สำนักงานบัญชีบางศรีเมือง  สำนักงานบัญชีพิมลราช  สำนักงานบัญชีบางคูรัด  สำนักงานบัญชีบางรักพัฒนา  สำนักงานบัญชีบางแม่นาง  สำนักงานบัญชีบางกร่าง  สำนักงานบัญชีไทรม้า  สำนักงานบัญชีตลาดขวัญ  สำนักงานบัญชีบางตะไนย์  สำนักงานบัญชีบางพลับ  สำนักงานบัญชีบางรักน้อย  สำนักงานบัญชีมหาสวัสดิ์  สำนักงานบัญชีศาลากลางนนทบุรี  สำนักงานบัญชีอ้อมเกร็ด  สำนักงานบัญชีแจ้งวัฒนะ  สำนักงานบัญชีถนนกาญจนาภิเษกนนทบุรี  สำนักงานบัญชีถนนจงถนอม-ไทรน้อย  สำนักงานบัญชีถนนชัยพฤกษ์  สำนักงานบัญชีถนนติวานนท์  สำนักงานบัญชีถนนทวีวัฒนา  สำนักงานบัญชีถนนเทศบาลจังหวัดนนทบุรี  สำนักงานบัญชีถนนเทิดพระเกียรติ  สำนักงานบัญชีท่าอิฐ  สำนักงานบัญชีถนนนครอินทร์  สำนักงานบัญชีบางม่วง  สำนักงานบัญชีบางกรวย-จงถนอม  สำนักงานบัญชีถนนบางไกรใน  สำนักงานบัญชีบางกรวย-ไทรน้อย  สำนักงานบัญชีบางคูเวียง  สำนักงานบัญชีบางศรีเมือง  สำนักงานบัญชีถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม  สำนักงานบัญชีไทรม้า  สำนักงานบัญชีถนนพิบูลสงคราม  สำนักงานบัญชีถนนราชพฤกษ์  สำนักงานบัญชีตลิ่งชัน  สำนักงานบัญชีถนนเรวดี  สำนักงานบัญชีถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี  สำนักงานบัญชีถนนศรีสมาน  รับทำบัญชี
#10294
ส่งภาพภายนอก ภายใน พร้อมรายละเอียดของรถมาที่
Line ID : nopcartoday
#10295
ขายดาวน์ 215,800 (เดือน กค 2564) ห้อง 1017
#10296
ทาวเวอร์เบียร์ ราคาถูก!!!!!
#10299


แกร็บ ประเทศไทย เปิดตัว "GrabExpress 4 Hours" บริการรับส่งพัสดุด่วนภายในเวลา 4 ชั่วโมงด้วยราคา 59 บาท ขานรับตลาดอีคอมเมิร์ซโตแบบก้าวกระโดด ชู 3 จุดเด่น "ย่อมเยา ยืดหยุ่น ปลอดภัย" เล็งเจาะกลุ่มร้านค้าออนไลน์ (Social Seller)

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาดและพันธมิตรธุรกิจ แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า "จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาเกือบสองปี ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปในทุกด้าน คนหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซหรือการซื้อขายสินค้าออนไลน์นั้นมีอัตราเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งนี้ จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2563 โดย Google, Temasek และ Bain & Company ระบุว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีการเติบโตที่รวดเร็วอย่างมีนัยยะสำคัญและเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2563 มีมูลค่าสูงถึง 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตขึ้น 81% จากปีก่อนหน้า และคาดว่าธุรกิจดังกล่าวจะเติบโตถึง 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า" 

"เทรนด์การซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้มีปริมาณความต้องการของบริการจัดส่งสินค้า-พัสดุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งต้องมีทั้งความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและมีราคาที่ย่อมเยา ล่าสุด แกร็บ ประเทศไทย จึงได้เปิดตัว 'GrabExpress 4 Hours' บริการจัดส่งสินค้า-พัสดุภายในระยะเวลา 4 ชั่วโมงด้วยแกร็บเอ็กซ์เพรส ในราคาเริ่มต้นเพียง 59 บาท ซึ่งถือเป็นบริการรูปแบบใหม่ล่าสุดที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยปิดจุดอ่อนของบริการจัดส่งพัสดุด่วนแบบเรียลไทม์ (Instant Delivery) ที่มีราคาค่อนข้างสูง และบริการจัดส่งสินค้าในวันถัดไป (Next Day Delivery) ที่แม้ราคาค่าบริการจะถูกกว่าแต่ลูกค้าต้องรอนานข้ามวัน โดยบริการ GrabExpress 4 Hours นี้มาพร้อมจุดเด่น 3 ด้านที่สร้างความแตกต่าง ช่วยให้ร้านค้าออนไลน์สามารถส่งมอบสินค้าได้ทันใจและประหยัดต้นทุนไปพร้อมๆ กัน" 



จุดเด่น 3 ประการของบริการ GrabExpress 4 Hours ประกอบด้วย
• ราคาย่อมเยาเข้าถึงได้ (Affordability): ค่าบริการเริ่มต้นเพียง 59 บาทซึ่งเป็นราคาเหมาสำหรับการจัดส่งสินค้าหรือพัสดุขนาดเล็กภายในระยะทาง 15 กิโลเมตรแรก โดยใช้เวลาจัดส่งถึงมือลูกค้าเพียง 4 ชั่วโมงนับจากเวลาที่กดใช้บริการ (อัตราค่าบริการจัดส่งเพิ่มขึ้นกิโลเมตรละ 10 บาทตั้งแต่ระยะทาง 15 - 30 กิโลเมตร)
• ความยืดหยุ่นในการให้บริการ (Flexibility): สามารถเรียกใช้บริการจัดส่งได้ตลอดวันตั้งแต่ 08.00 - 18.00 น. (สำหรับในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จะให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.) โดยมีพาร์ทเนอร์คนขับไปรับสินค้าหรือพัสดุจากผู้ส่งถึงมือ ไม่ต้องเสียเวลาไปจัดส่งด้วยตัวเอง
• ความปลอดภัยในการใช้บริการ (Service Guarantee): สามารถตรวจสอบและติดตามสถานะการจัดส่งได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน Grab ทั้งยังการประกันสินค้า ครอบคลุมมูลค่าสูงสุดถึง 10,000 บาทต่อการจัดส่งในแต่ละครั้ง

"GrabExpress 4 Hours ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของบริการจัดส่งสินค้า-พัสดุแบบออนดีมานด์ ซึ่งมุ่งเน้นตอบโจทย์ให้กับกลุ่มร้านค้าออนไลน์เป็นหลัก โดยเราริเริ่มขึ้นเพื่อต่อยอดโครงการ 'GrabExpress Sellers Club' คู่คิดพิชิตธุรกิจออนไลน์ ที่แกร็บเพิ่งได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยหวังว่าบริการนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจและลดต้นทุนให้แก่ร้านค้าออนไลน์ได้ ซึ่งแกร็บเตรียมขยายบริการดังกล่าวไปในจังหวัดอื่นๆ ต่อไปในอนาคต" นางสาวจันต์สุดา กล่าวทิ้งท้าย

แกร็บ (Grab) คือ ผู้นำด้านซูเปอร์แอปที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันให้กับผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันแอปพลิเคชันแกร็บได้ถูกดาวน์โหลดแล้วบนโทรศัพท์มือถือมากกว่า 214 ล้านเครื่อง ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงพาร์ทเนอร์คนขับ พาร์ทเนอร์ร้านค้า รวมถึงตัวแทนกว่าหลายล้านราย โดยนำเสนอบริการต่างๆ แบบออนดีมานด์ ไม่ว่าจะเป็น การเดินทาง การจัดส่งอาหาร สินค้าและพัสดุ ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนบริการทางการเงิน เพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการทั่วทั้ง 428 เมืองใน 8 ประเทศ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแกร็บได้ที่ www.grab.com
#10300


ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย และ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไนอาก้า อินโดนีเซีย ร่วมให้บริการชำระเงินผ่าน QR Code ระหว่างประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย ตอกย้ำยุทธศาสตร์ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในการก้าวเป็น 'a Digital-led with ASEAN Reach'

ภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางอินโดนีเซีย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็น 1 ใน 3 ธนาคารที่ได้รับความไว้วางใจในระดับภูมิภาคอาเซียนให้เป็นผู้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระดุล (Settlement Bank) ของประเทศไทย ในการชำระเงินผ่าน QR Code ระหว่างประเทศไทยและอินโดนีเซีย โดยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จะเริ่มให้บริการเดือนกันยายน 2564  

คนไทยที่เดินทางไปอินโดนีเซีย สามารถใช้ CIMB THAI Digital Banking แอปพลิเคชันหลักของธนาคารบนมือถือ จ่ายเงินผ่าน QR Code ที่อินโดนีเซีย โดยสแกน QRIS (Quick Response Code Indonesian Standard) ซึ่งเป็น QR มาตรฐานของประเทศอินโดนีเซีย ขณะที่คนอินโดนีเซียที่เดินทางมาไทยสามารถใช้ OCTO Mobile แอปของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไนอาก้า ชำระสินค้าที่ไทย โดยสแกน Thai QR Code  เพิ่มความสะดวกสบายให้ทั้งนักท่องเที่ยวและร้านค้า เพราะปัจจุบัน การชำระเงินผ่าน QR Code เป็นวิธีการชำระและรับเงินได้ทันที มีประสิทธิภาพ ช่วยลูกค้าปลอดภัยเพราะไม่ต้องพกเงินสด และประหยัดค่าธรรมเนียมต่างๆ อาทิ ค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ

นายพอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า "การชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR Code ระหว่างไทย-อินโดนีเซีย เป็นการเปิดช่องทางใหม่ในอาเซียน ประเทศที่ 2 แล้วของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ที่เข้าไปมีส่วนร่วม และเป็นอีกก้าวสำคัญในการเชื่อมโยงการชำระเงินในอาเซียนให้กว้างยิ่งขึ้น เราตื่นเต้นที่จะได้เห็นคนอาเซียนเชื่อมโยงกันใกล้ชิด ผ่านการชำระเงินของผู้บริโภครายย่อยและร้านค้าแบบเรียลไทม์ เราหวังให้ภูมิภาคของเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้โดยเร็ว และอาเซียนกลับมาเปิดประเทศกันได้อีกครั้ง" นายพอล วอง กล่าว

Mr. Tigor M. Siahaan, President Director & Chief Executive Officer, PT Bank CIMB Niaga Tbk เปิดเผยว่า "การขยายตัวของการชำระเงินด้วย QR Code ในอาเซียนสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการบูรณาการทางการเงินระดับภูมิภาคผ่านนวัตกรรมดิจิทัลที่มองไปข้างหน้า และเป็นความภาคภูมิใจที่ ซีไอเอ็มบี ไนอาก้า ซีไอเอ็มบี ไทย และสมาชิกอื่นๆ ของกลุ่มซีไอเอ็มบีได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้บริการลูกค้าของเราได้ดียิ่งขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน"

ทั้งนี้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้รับเลือกให้เป็นผู้ให้บริการ QR payment ระหว่างประเทศไทย และมาเลเซีย จากความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางมาเลเซีย และธนาคารแห่งประเทศไทย
อนึ่ง กลุ่มซีไอเอ็มบี มีเครือข่ายครบทั้ง 10 ประเทศอาเซียน ทั้งการเป็นสาขาเต็มรูปแบบ สำนักงานตัวแทน และเครือข่ายธุรกิจ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เชื่อมโยงความเป็นอาเซียน อาทิ BizChannel@CIMB Mobile app ที่ให้ลูกค้าธุรกิจสามารถบริหารจัดการทุกบัญชี CIMB ทั่วอาเซียนได้ในแอปเดียว สำหรับลูกค้ารายย่อยผู้ถือบัตรเดบิต ของกลุ่มซีไอเอ็มบี สามารถกดเงินข้ามประเทศผ่านตู้ ATM ของกลุ่มซีไอเอ็มบีโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
#10301


นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 ได้ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยและสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ จัดการประชุมหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าข้าวของรัฐบาลมาเลเซีย (Padiberas Nasional Berhad : BERNAS) ผ่านระบบ Video Conference  

ปี 2564 นี้ คาดว่ามาเลเซียจะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีปริมาณ 1.08 ล้านตัน เนื่องจากมีปัญหาด้านการเพาะปลูกในประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นแหล่งนำเข้าข้าวหลักของมาเลเซียมาโดยตลอดเนื่องจากข้าวไทยมีคุณภาพดีและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวมาเลเซีย อย่างไรก็ดี ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา BERNAS จำเป็นต้องนำเข้าข้าวจากแหล่งอื่น เช่น อินเดีย ปากีสถาน และเวียดนาม เพิ่มขึ้น แม้ว่าคุณภาพข้าวจะด้อยกว่าไทยแต่เนื่องจากประเทศเหล่านี้สามารถส่งข้าวในราคาที่ถูกกว่าข้าวไทยมาก

 


อย่างไรก็ดี BERNAS เห็นว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 อุปสงค์ของข้าวไทยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาข้าวไทยลดลงมาอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อได้ ทั้งนี้ นอกจากปัจจัยด้านราคาที่ปรับตัวลดลงทำให้ข้าวไทยแข่งขันได้มากขึ้นแล้ว ผู้บริโภคในมาเลเซียยังเชื่อมั่นในคุณภาพและนิยมข้าวไทยมากกว่าข้าวจากแหล่งอื่น โดยจะเห็นได้จากปริมาณคำสั่งซื้อข้าวจากไทยที่เริ่มมีมากขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอีกในช่วงครึ่งปีหลัง

 

นอกจากนี้ BERNAS ยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในมาเลเซียว่าควรเริ่มดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไป เนื่องจากคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลาย ประชาชนจะเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ รวมถึงอุปสงค์จากธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้อุปสงค์ข้าวไทยเพิ่มขึ้นด้วย

 
นายกีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะต่อไปกรมฯ มีแผนหารือกับบังกลาเทศ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้ข้าวไทยมีส่วนแบ่งในตลาดเป้าหมายเพิ่มขึ้นต่อไป

 

สำหรับสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยตั้งแต่ (1 ม.ค. – 29 ก.ค.) ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 2.74 ล้านตัน ลดลง 17.07%  คิดเป็นมูลค่า 1,671 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 50,925 ล้านบาท) ลดลง 24.84%  แต่คาดว่าในช่วง 6 เดือนหลังสถานการณ์การส่งออกข้าวน่าจะดีกว่า 6 เดือนแรก
#10305


นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า แม้ว่า ในปีงบประมาณ 2564 กระทรวงการคลังจะไม่สามารถจัดเก็บรายได้ให้รัฐบาลได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่กระทรวงการคลังจะสามารถบริหารจัดการสภาพคล่องให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายและปิดหีบงบประมาณในปีนี้ได้ โดยที่ระดับเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนก.ย.2564 จะอยู่ในระดับกว่า 4 แสนล้านบาท


ทั้งนี้ ขณะนี้ เงินคงคลังของรัฐบาลอยู่ในระดับกว่า 3 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ที่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย โดย 9 เดือนของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายราว 1.9 แสนล้านบาท ตลอดทั้งปีงบประมาณกระทรวงการคลังคาดว่า จะต่ำกว่าเป้าหมายกว่า 2 แสนล้านบาท

"แม้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณนี้จะต่ำเป้าหมาย แต่กระทรวงการคลังจะสามารถบริหารจัดการให้การปิดหีบงบประมาณทำได้สำเร็จ และ ยังทำให้แคชโฟลว์ของรัฐบาลในปลายงวดที่จะส่งต่อไปยังปีงบประมาณใหม่มีความเพียงพอที่กว่า 4 แสนล้านบาท ทั้งนี้ เงินคงคลัง เป็นส่วนเสริมสภาพคล่องในระบบงบประมาณ"


สำหรับงบประมาณรายจ่ายปี 2564 ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.นี้ รัฐบาลตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 3.285 ล้านล้านบาท โดยคาดว่า จะมีรายได้ 2.677 ล้านล้านบาท ทำให้เป็นงบประมาณขาดดุล และต้องกู้ชดเชยการขาดดุล 6.23 แสนล้านบาท สำหรับงบประมาณรายจ่าย 2565 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 ต.ค.นี้นั้น มีงบประมาณรายจ่ายที่ 3.10 ล้านล้านบาท โดยคาดว่าจะมีรายได้เข้ามา 2.4 ล้านล้านบาท ทำให้เป็นงบประมาณขาดดุล 7 แสนล้านบาท

เขากล่าวว่า ผลการจัดเก็บรายได้ที่ต่ำเป้าหมาย เป็นผลพวงจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ที่กระทบทุกกิจกรรมเศรษฐกิจ ทำให้ยอดการจัดเก็บภาษีในทุกกรมจัดเก็บต่ำเป้าหมาย อย่างไรก็ดี สำหรับปีงบประมาณ 2565 นั้น เป้าหมายการจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าปีนี้ ก็เชื่อว่า กระทรวงการคลังจะสามารถจัดเก็บได้ตามเป้าหมาย

"เรื่องการจัดเก็บรายได้นั้น เราได้หารือกันตลอดในทุกเดือนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยจัดเก็บ เพื่อติดตามและเร่งรัดให้การจัดเก็บเป็นไปตามเป้าหมาย"

ทั้งนี้ จากสถิติการคลัง สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลต่อจีดีพีในปี 2563 อยู่ที่ 15.01% ซึ่งกระทรวงการคลัง ยังมองว่า สัดส่วนนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น ควรปฏิรูประบบภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ เพื่อให้ทันต่องบประมาณรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ หากมองงบประมาณรายจ่ายนั้น ได้ทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง ในปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 1.7 ล้านล้านบาท

ต่อมาในงบประมาณปี 2554 เป็นปีแรกที่งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล กระโดดขึ้นมาสู่หลัก 2 ล้านล้านบาท โดยอยู่ที่ 2.69 ล้านล้านบาท และปีงบประมาณ 2561 ก็เป็นปีที่งบประมาณกระโดดขึ้นมาแตะหลัก 3 ล้านล้านบาท โดยมาอยู่ที่ 3.050 ล้านล้านบาท

ส่วนระดับเงินคงคลังของรัฐบาล เคยอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ในปีงบประมาณ 2560 โดยอยู่ที่ 7.49 หมื่นล้านบาท ซึ่งเงินคงคลังส่วนใหญ่มาจากการจัดเก็บภาษี รวมถึง บัญชีเงินของกระทรวงการคลังที่ฝากไว้ในธนาคารแห่งประเทศไทย และเงินสดที่อยู่ตามคลังจังหวัดทั่วประเทศ