(https://i.ibb.co/xqhsRhg/2021-07-28-111640.jpg)
จากการตั้งคำถามของประชาชน รวมถึงการทำงานของสื่อมวลชนที่ยากต่อการนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาเผยแพร่ เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 64 เครือข่ายนักวิชาการและสื่อมวลชน ซึ่งมีการร่วมลงชื่อกว่า 333 คน ได้ออกแถลงการณ์ เสนอเปิดเผย "ข้อมูลบริหารจัดการและกระจายวัคซีนโควิด-19 ตามหลัก Open data (https://www.vechmont.com/Guestpost/%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%94)" โดยใจความระบุว่า การบริหารจัดการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม คือ กุญแจสำคัญในการผ่านวิกฤตในครั้งนี้ "การเปิดเผยข้อมูลบริหารจัดการและกระจายวัคซีนโควิด-19 ตามหลัก Open data"
จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสื่อสารว่ารัฐบาลมีความตั้งใจที่จะบริหารจัดการวัคซีนอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้สังคมได้มีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูล เข้าใจในกระบวนการตัดสินใจของภาครัฐ และนำไปสู่บรรยากาศของความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ และภาคสังคม ซึ่งจะช่วยให้สังคมมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ ให้ความมั่นใจกับประชาชน และลดปัญหาความสับสนจากปัญหาข่าวลือและข่าวปลอม
โดยข้อมูลที่ต้องเปิดเผยให้เป็นไปตามมาตรฐาน Open Data Standard ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่ให้สื่อมวลชนและประชาชนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ง่าย มีความละเอียด ครบถ้วน สมบูรณ์ อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ และอยู่ในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้ (Machine-Readble Format) เช่น ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ XLS หรือ CSV
ไทย มีโอเพ่นดาต้าหรือไม่
ที่ผ่านมา ข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ หรือ โอเพ่นดาต้า (Open Data) เริ่มมีการพูดถึงและนำมาใช้ในหลายภาคส่วน แต่ของไทยอาจจะยังไม่มากเมื่อเทียบกับในต่างประเทศ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับโอเพ่นดาต้า โดยเฉพาะข้อมูลของภาครัฐให้ประชาชนและภาคประชาสังคมเข้าถึงข้อมูลและสามารถตรวจสอบการดำเนินของภาครัฐตามนโยบายที่ประกาศให้ไว้กับประชาชน
ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ ได้ระบุว่า ในยุคดิจิทัล ข้อมูลเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับสร้างนวัตกรรม การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยผลักดันการสร้างนวัตกรรมและบริการใหม่ๆ เผยแพร่สู่สังคมและเชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกัน ประชาชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของภาครัฐ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่
รวมทั้งนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของภาครัฐเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ กับประชาชนมากขึ้น โดยประเทศไทยมีศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thai) ซึ่งมีชุดข้อมูลอยู่ราว 3,569 ชุดข้อมูล
โอเพ่นดาต้า ลดเฟคนิวส์ ลดดราม่า
"รองศาสตราจารย์ พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล" คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า จากแถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการและสื่อมวลชน เสนอเปิดเผย "ข้อมูลบริหารจัดการและกระจายวัคซีนโควิด-19 ตามหลัก Open data" เป็นการทำงานและประชุมร่วมกันจากหลายภาคส่วน ตอนนี้สังคมมีเฟคนิวส์เยอะ เพราะฉะนั้นทางเครือข่าย จึงมองว่า ควรมีโอเพ่นเดต้า ที่เปิดให้ให้สาธารณชนได้รับรู้
ซี่งควรจะต้องมีข้อมูลการจัดหาและการกระจายวัคซีนเป็นข้อมูลเปิด เพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้และสร้างความน่าเชื่อถือกับรัฐบาล ลดทอนเฟคนิวส์ หรือข่าวปลอมที่เกิดขึ้น เมื่อเอาดาต้ามาคลี่ จะลดความดราม่าในสังคม จึงรวมกลุ่มกันในการเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดโอเพ่นดาต้า รวมถึงเครือข่ายสื่อมวลชน นักวิชาการ ตามข้อเรียกร้อง 5 ข้อที่เสนอไป ได้แก่
1.) เปิดเผยกระบวนการเสนอ อนุมัติ และลงนามในสัญญาจัดซื้อวัคซีนที่ผ่านมาและในอนาคต รวมถึงเงื่อนไขสำคัญๆ ในสัญญาจองซื้อและจัดซื้อวัคซีนทุกยี่ห้อ อาทิ จำนวนโดส อายุสัญญา กำหนดการส่งมอบ บทลงโทษกรณีส่งมอบล่าช้า การยกเว้นความรับผิดให้กับผู้ผลิต เป็นต้น
2.) เปิดเผยแผนการจัดหาวัคซีนทุกชนิดต่อสาธารณะ รวมทั้งแผนการทดแทนวัคซีนที่ขาดแคลนในปัจจุบันและการจัดหาวัคซีนให้เพียงพอและทั่วถึงในอนาคต
3.) เปิดเผยหลักเกณฑ์การจัดสรรวัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่มีรายละเอียดการจัดลำดับความสำคัญ และจำนวนกลุ่มเป้าหมายของการจัดสรร
4.) เปิดเผยแผนการฉีดวัคซีนและการบริหารจัดการวัคซีนตามกลุ่มเป้าหมายที่วางหลักเกณฑ์ไว้
5.) เปิดเผยความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอเป็นรายวัน โดยมีรายละเอียด ชนิดวัคซีน บุคคลกลุ่มต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ พร้อมข้อมูลลักษณะประชากร ข้อมูลเชิงพื้นที่ (รายจังหวัด) และข้อมูลเชิงหน่วยงานที่ดำเนินการ
จัดหา กระจายวัคซีน ประเด็นที่สังคมสนใจ
ทั้งนี้ แม้สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ศูนย์ข้อมูลของ ศบค. หรือกระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานอัพเดทข้อมูลรายวัน รศ.พิจิตรา อธิบายว่า ในปัจจุบันจะเห็นข้อมูลที่เกี่ยวกับยอดผู้เสียชีวิต ยอดผู้ป่วยเป็นหลัก ที่ประชาชนติดตาม ซึ่งคิดว่าอีกมุมหนึ่งที่เราอยากได้ คือ การจัดหา และการกระจายวัคซีน ระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้อย่างน้อยประชาชนได้เห็น แสงสว่างปลายอุโมงค์และสามารถแพลนชีวิตตัวเองได้ ซึ่งภาครัฐควรเปิดให้เป็นโอเพ่นเดต้า อยากจะรู้ว่า ณ ปัจจุบัน วัคซีนแต่ละล็อตจะเข้ามาเท่าไหร่ แต่ละยี่ห้อเป็นอย่างไร และเข้ามาอย่างไร เพื่อให้เห็นไทม์ไลน์ต่างๆ ประชาชนจะได้วางแผนชีวิตได้
ลดความกังขา วัคซีน
อีกส่วนหนึ่งที่คิดว่าอยากจะขับเคลื่อนและคิดว่าน่าจะเป็นแนวทางที่ดีในเรื่องของโอเพ่นเดต้าที่จะเกิดขึ้น คือ วัคซีน 1.5 ล้านโดส ที่มาจากการบริจาคของสหรัฐฯ เรารู้สึกว่ามีการตั้งข้อกังขาค่อนข้างเยอะ และถ้ารัฐ มีข้อมูลว่าวัคซีนกระจายไปที่ไหน หน่วยงานไหนบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ ไทม์ไลน์การกระจายเป็นอย่างไร บุคลากรทางการแพทย์ สามารถได้วัคซีนมากน้อยขนาดไหน
"ไม่อยากจะให้แค่เป็นแผน อยากจะให้เราได้ดาต้าที่สามารถเห็น ในทางปฏิบัติว่านอกจากแนวทางที่รัฐวางไว้ 4-5 เงื่อนไข อยากจะเห็นว่าข้อเท็จจริงกระจายไปมากน้อยแค่ไหน และนี่เป็นรูปแบบของโอเพ่นเดต้าที่เราเรียกร้อง ดังนั้น วัคซีน 1.5 ล้านโดส น่าจะเป็นแนวทางที่ดี ที่เราอยากจะได้รับจากรัฐบาลในเรื่องของโอเพ่นดาต้า
ลดช่องว่างรัฐ ประชาชน
ทั้งนี้ หากเริ่มจากการทำโอเพ่นดาต้า นับว่าเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการลดความคลางแคลงใจจากรัฐบาลได้ รศ.พิจิตรา กล่าวต่อไปว่า โอเพ่นเดต้าสร้างความโปร่งใส เราสร้างแคมเปญนี้ เพราะรู้สึกว่าดาต้าที่ประชาชนได้รับเป็นรายวัน แต่ยังไม่ยังไม่เห็นการกระจาย หรือข้อมูลระยะยาวที่ประชาชนสามารถวางแผน
หรือ ข้อมูลที่สื่อมวลสามารถได้ข้อมูล และดาต้าไซแอนทิส สามารถเอาข้อมูลมาทำบนแดชบอร์ดได้ โดยเราสามารถเห็นกันแบบเรียลไทม์ ขณะที่ ในต่างประเทศ มีหลายประเทศที่อาจจะไม่เรียลไทม์ แต่มีการทยอยในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล เห็นยอดการฉีด และยอดของเป้าหมายที่จะไปถึง
แก้ปัญหาไม่เข้าใจ ด้วยดาต้า
ณ ปัจจุบัน ข่าวสารข้อมูลที่ทยอยออกมาจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งพบว่าหลายครั้งพบว่า เกิดกระแสดราม่า ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องออกมาชี้แจง และตัวประชาชนเองก็เสียเวลาในเรื่องของการลงไปกระทู้ถามดราม่ารายวัน
รศ.พิจิตรา กล่าวว่า หากเราได้ดาต้าที่เป็นดาต้าเซ็ตและเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น สะท้อนปัญหาที่ประชาชนร่วมเห็นด้วย คิดว่า อย่างน้อยก็จะสามารถบอกประชาชนได้ว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น นี่คือปัญหาที่เราพบ และเราจะมาแก้ปัญหากันด้วยพื้นฐานดาต้าอย่างไรดี อย่างน้อยในเรื่องของการโอเพ่นเดต้า สะท้อนความจริงใจ ความโปร่งใสของรัฐบาลที่มีให้กับประชาชน
"และหลังจากนั้นสิ่งที่เราจะเดินหน้า คือ ส่งหนังสือ อย่างเป็นทางการในการขอโอเพ่นเดต้าของภาครัฐ ซึ่งตอนนี้รวบรวมรายชื่อได้ 333 รายชื่อในล็อตแรก เป็นรายชื่อที่ระดมจากสื่อเพราะสื่อต้องเอาโอเพ่นเดต้ามาทำข่าว และนักวิชาการสายนิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสายดาต้าไซน์ ในสเต็ปต่อไป จะเปิดให้สาธารณชน ลงชื่อสนับสนุนแถลงการณ์ตัวนี้โดย ผ่านเว็บไซต์ Change.org เพื่อให้สามารถที่จะร่วมลงชื่อได้"
"เราทำเพราะคิดว่าเป็นประโยชน์ เชื่อว่าโอเพ่นเดต้า จะช่วยสนับสนุนการทำงานของสื่อมวลชน ถ้าเรามีโอเพ่นเดต้า ที่เรียลไทม์และเป็นวันสต็อปเซอร์วิส คลี่ดาต้าออกมาให้คนเห็นว่าเกิดอะไรขึ้น จะลดความเคลือบแคลงใจ และลดดราม่าไปเยอะ"
ในโควิดระลอกแรก ซึ่งกองทุนสื่อฯ ร่วมกับ เวิร์คพ้อย ทำแดชบอร์ด ก็เห็นได้เลยว่าคนติดเป็นใคร เน้นเรื่องคนติดเชื้อเป็นหลัก แต่ตอนนี้ระลอกสาม ระลอกสี่ สถานการณ์เปลี่ยนไป วัคซีนเป็นปัจจัย เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เปิดประเทศได้ และทำให้การติดเชื้อลดลง เราจึงต้องมาเดินหน้าเรื่องของวัคซีนต่อ เพื่อสนับสนุนทั้งสื่อมวลชนและช่วยรัฐบาลในการสร้างความโปร่งใสด้วย
"ไม่อยากให้เกิดดราม่า เราอยากให้เกิดดาต้า ตอนนี้เชื่อว่า เป้าหมายของเราคืออยากให้รัฐตอบสนองและเปิดโอเพ่นดาต้า ซึ่งความจริงมีข้อมูลที่เปิดอยู่แล้ว เช่น กรมควบคุมโรค ก็มีโอเพ่นเดต้าบ้างแล้ว หรือมีงานวิจัยของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ ม.มหิดล เก็บและร่วมกันทำโอเพ่นเดต้าให้สังคมได้รับรู้ คิดว่ารัฐทำอยู่แล้ว แต่อยากให้เปิดเผยต่อสาธารณชนด้วย" รศ.พิจิตรา กล่าว