ลงประกาศฟรี โพสต์ฟรี โปรโมทเว็บไซต์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => อื่นๆ ที่ไม่ตรงหมวดข้างบน => Topic started by: Shopd2 on February 22, 2022, 11:45:00 PM

Title: เปิดเงินเดือนสงฆ์จากอัตรานิตยภัต ทำไมสงฆ์ถึงมีรายได้ประจำตำแหน่ง?
Post by: Shopd2 on February 22, 2022, 11:45:00 PM
(https://assets.brandinside.asia/uploads/2022/02/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C.png)นิตยภัค คือ ค่าภัตตาหารที่พระมหากษัตริยถวายแก่ภิกษุสามเณร สมัยก่อน พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชศรัทธาถวาย ภัตตาหาร อัฐบริขาร และพระราชทานเบี้ยหวัดเป็นรายปีแก่พระสงฆ์ ก่อนที่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จะโปรดให้ยุบเลิกเบี้ยหวัดรายปี เปลี่ยนเป็นเบี้ยหวัดรายเดือนแทน และทรงโปรดให้วางอัตรานิตยภัตตามลำดับชั้นสมณศักดิ์ปัจจุบัน นิตยภัคยังถูกมองเป็นค่าภัตตาหาร (ภาษาอังกฤษคือ Monthly Food Allowance) และหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตเป็นของรัฐบาล โดยกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการจะเบิกจ่ายเป็นรายปี จุดประสงค์ก็เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติศาสนกิจ ด้านการบริหาร การปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และด้านสาธารณูปการ ซึ่งก็มีการปรับปรุงอัตรานิตยภัตให้เหมาะสมกับสภาวะของเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละช่วงมาตลอด อัตรานิตยภัตที่ใช้อยู่ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงและประกาศล่าสุดจากคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2554 และให้แก่พระที่มีสมณศักดิ์ทั้งหมด 76 สมณศักดิ์ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ไปจนถึง เลขานุการเจ้าคณะตำบล ซึ่งอยู่ที่ประมาณปีละ 1,122,572,400 บาท ดังนี้
[list=1]
(https://assets.brandinside.asia/uploads/2022/02/shutterstock_274312364-scaled.jpeg)อย่างไรก็ตามแม้พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์จะได้รับนิตยภัตรายเดือนประหนึ่งเงินเดือน แต่นิตยภัตไม่นับเป็นรายได้และไม่ต้องเสียภาษี เช่นเดียวกับค่ากิจนิมนต์หรือเงินบริจาคจากญาติโยม ก็เข้าเกณฑ์มาตรา 42 (10) ของประมวลรัษฎากร ว่าเป็น "เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี" ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีทั้งนี้ตัวกฎหมายงดเว้นภาษีแค่นิตยภัตและค่ากิจนิมนต์ เงินบริจาคเท่านั้น หากพระสงฆ์นำเงินที่ได้รับการถวายไปต่อยอดให้งอกเงยขึ้น เช่น ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากหรือนำไปทำธุรกิจและได้กำไร ลักษณะนั้นถึงจะเข้าข่ายเสียภาษี เช่นเดียวกับกรณีของพระที่ได้รับเงินเดือนจากการสอนในมหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย ก็นับเป็นรายได้ที่จะต้องถูกนำไปคำนวนภาษีตามมาตรา 40(1) ของประมวลรัษฎากรส่วนคำถามที่ว่าพระสงฆ์จำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ ด้วยหรือไม่นั้น (นอกจากค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของวัด) น่าจะเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้ไม่จบ