• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - deam205

#10412
สนใจเชิญให้เข้าร่วมกลุ่ม Line "บ้านที่ดิน HouseLand" เพื่อรับการอัพเดทที่ดิน
https://bit.ly/3xFTxOS

โปรดติดต่อทีมงาน 88
ติดต่อคุณชัย 88
โทร. 0918849203
LINE ID : @614skoug
เว็บบ้านที่ดิน  www.housetheland.com ที่ดินบ้านสวนคลอง14 ชุดพิเศษ 10แปลง ที่ดินองครักษ์ นครนายก ที่สวยติดธรรมชาติ EP1

กดไลค์กดแชร์ กดติดตาม คือ Property บ้านที่ดิน HouseLand
https://www.youtube.com/channel/UCIz5DVj6igFVHKPUqY-Z4RA

บ้านที่ดิน HouseLand อสังหาครบวงจร
https://www.facebook.com/HouseTheLand
#10420


ค่าเงินบาทปีนี้อ่อนค่าแรงต่อเนื่อง โดยปิดการซื้อขายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 ส.ค.) ที่ระดับ 33.35 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดสิ้นปี 2563 ที่ 29.99 บาทต่อดอลลาร์

โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปีเงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่า 10% และเป็นการอ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินภูมิภาค เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ ดังนี้

1. สถานการณ์เศรษฐกิจกลุ่มประเทศหลักที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดี ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น สร้างแรงกดดันต่อสกุลเงินภูมิภาคให้ปรับอ่อนค่าลง

2. เงินสกุลภูมิภาคบางประเทศอาจได้รับผลบวกจากปัจจัยเฉพาะ เช่น ประเทศที่มีสัดส่วนการส่งออกสินค้าสูง หรือประเทศที่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ได้ดี ทำให้สกุลเงินอ่อนไม่มากนัก เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้

3. ไทยยังมีการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่รุนแรง รวมถึงนักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยลงมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากมีสัดส่วนพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง

4. นักลงทุนต่างชาติปรับลดการถือครองหุ้นไทย แต่ยังคงเพิ่มการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว สะท้อนความเชื่อมั่นในปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย รวมถึงฐานะด้านต่างประเทศของไทยยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง จากปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูง และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศที่ต่ำ

ทั้งนี้ ธปท. ติดตามถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพร้อมดูแลไม่ให้เงินบาทผันผวนจนกระทบการปรับตัวของภาคธุรกิจ และแนะนำให้ภาคเอกชนบริหารความเสี่ยงค่าเงินอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้นำเข้า-ส่งออก ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงค่าเงินได้ที่ https://bit.ly/35lWOaG
#10421


เกิดเหตุวุ่นวายที่เมืองแฟรงคลิน รัฐเทนเนสซี สหรัฐฯ เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังคณะกรรมการด้านการศึกษาวิลเลียมสัน เคาน์ตี ลงมติกลับมาบังคับทุกบุคคลในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่เกรด 1-12 ในนั้นรวมถึงครู ผู้บริหาร และนักเรียนกลับมาสวมหน้ากากป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางเสียงคัดค้านของบรรดาผู้ปกครองและคนอื่นๆ

บรรดาผู้ปกครองของเด็กๆ ในเขตการศึกษาวิลเลียมสัน เคาน์ตี และชาวบ้านในรัฐเทนเนสซี ที่คัดค้านมาตรการบังคับสวมหน้ากาก พากันตะโกนขู่และด่าทอคณะกรรมการด้านการศึกษา ทั้งระหว่างและหลังการประชุมในประเด็นโต้เถียงดังกล่าว ตามรายงานข่าวของนิวยอร์กโพสต์

รายงานข่าวของเอ็มเอสเอ็นบีซีระบุว่า การประชุมครั้งนี้กินเวลานานถึง 4 ชั่วโมง ระหว่างนั้น 2 กลุ่มที่เห็นต่างกันได้โต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน ส่วนคณะกรรมการด้านการศึกษาก็รับฟังความเห็นจากทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านบังคับสวมหน้ากาก ซึ่งสุดท้ายแล้วทางคณะกรรมการด้านการศึกษาก็ลงมติกลับมาบังคับทุกบุคคลในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานสวมหน้ากากป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

"ความวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อคืนวันอังคาร (10 ส.ค.) ในเมืองแฟรงคลิน ตอนคณะกรรมการด้านการศึกษาของวิลเลียมสัน เคาน์ตี ลงมติเห็นชอบบังคับสวมหน้ากากสำหรับโรงเรียนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากขณะเดียวกันนั้นมีพวกผู้ประท้วงรวมตัวกันอยู่ด้านนอก" นิวยอร์กโพสต์ระบุอ้างอิงรายงานของสื่อมวลชนท้องถิ่น



นิวยอร์กโพสต์รายงานว่า ระหว่างการโต้เถียงก่อนลงมติเห็นชอบมาตรการนี้ ผู้ปกครองตนเองรายหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าอดีตนาวิกโยธิน ดาเนียล จอห์นแดน บอกกับคณะกรรมการว่าเขา ผู้ปกครองคนอื่นๆ และชาวบ้านจะไล่ล่าสมาชิกคณะกรรมการในแนวทางที่ไม่ใช้ความรุนแรง "การกระทำต่างๆ มีผลลัพธ์ตามมาเสมอ หากคุณเลือกโหวตให้สิ่งนี้ เราจะไล่ล่าคุณ ในแนวทางที่ไม่ใช้ความรุนแรง" จอร์แดน กล่าว

ผู้ปกครองคนอื่นๆ ขู่ฟ้องเขตการศึกษาต่อมาตรการนี้ โดยบอกกับคณะกรรมการว่า "แล้วเจอกันในศาล" และเชื่อว่าคำสั่งบังคับสวมหน้ากากจะถูกตีตกในการยื่นคัดค้านทางกฎหมาย นอกจากนี้แล้วหลายคนได้เน้นย้ำว่าคณะกรรมการการศึกษามาจากการเลือกตั้งของชาวบ้าน ดังนั้น ก็จำเป็นต้องฟังเสียงผู้ปกครอง ซึ่งเป็นคนลงคะแนนโหวตให้พวกเขาเข้ามาทำงานบริหารจัดการเขตการศึกษา

อย่างไรก็ตาม มีผู้ปกครองอย่างน้อย 1 คน ซึ่งระบุตัวเองว่าเป็นแพทย์ดูแลผู้ป่วยหนัก แสดงความคิดเห็นสนับสนุนมาตรการบังคับสวมหน้ากาก "ในฐานะกุมารแพทย์ไอซียู เรากำลังเห็นเด็กๆ ที่มีสุขภาพแข็งแรงล้มป่วยจากภาวะการหายใจล้มเหลวและภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล มากกว่าสายพันธุ์ต่างๆ ก่อนหน้านี้ ในขณะที่เด็กๆ ติดเชื้อกันมากขึ้น" เธอกล่าว "แนวโน้มนี้รังแต่จะแย่ลง หากว่าเราไม่ลงมือในตอนนี้"

ประเด็นโต้เถียงเริ่มร้อนแรงขึ้น จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ต้องเข้าช่วยบรรเทาสถานการณ์ความตึงเครียด ร้องขอให้ผู้เข้าร่วมอยู่ในความสงบ ทั้งนี้ มีรายงานด้วยว่าเจ้าหน้าที่ถึงขั้นต้องพาตัวบุคคลรายหนึ่งออกจากห้องประชุม

กระนั้นก็ตามความวุ่นวายเกิดขึ้นอีกรอบภายนอกอาคารหลังเสร็จสิ้นการประชุม หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานว่า พวกนักเคลื่อนไหวต่อต้านหน้ากาก พากันกรูไปยังลานจอดรถและเผชิญหน้ากับคณะกรรมการด้านการศึกษาบางคนอีกครั้ง "เรารู้ว่าคุณคือใคร" ผู้ปกครองรายหนึ่งพูดกับสมาชิกคณะกรรมการด้านการศึกษา "คุณสามารถออกไปอย่างอิสระในตอนนี้ แตเราจะหาตัวคุณเจอ"

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) ออกคำแนะนำสวมหน้ากากยามอยู่ในโรงเรียนเมื่อช่วงปลายเดือนที่แล้ว บ่งชี้ว่าสืบเนื่องจากตัวกลายพันธุ์เดลตาของโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดทั่วประเทศ ประชาชนทั้งหลายซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่พบเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ควรสวมหน้ากากยามอยู่ในร่ม นอกจากนี้แล้วซีดีซียังแนะนำให้ทุกคนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่เกรด 1-12 สวมหน้ากาก โดยไม่พิจารณาว่าคนเหล่านั้นฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่

(ที่มา : เอ็มเอสเอ็นบีซี/นิวยอร์กโพสต์)
#10422


คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 รับทราบความก้าวหน้าแผนบริหารจัดการน้ำในอีอีซี รองรับทั้งภาคการผลิตและการเกิดขึ้นของ "เมืองใหม่ทั้งเมืองอัจฉริยะ" และ "เมืองการบินภาคตะวันออก" ที่ครอบคลุมรัศมี 30 กิโลเมตร รอบสนามบินอู่ตะเภาที่อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการ โดยต้องสร้างความมั่นใจว่าจะมีน้ำเพียงพอถึงปี 2580 

สำหรับการจัดหาแหล่งน้ำในอีอีซี ที่มีระบบบริหารน้ำในภาพรวมครบถ้วน ซึ่งการวางแผนให้อีอีซีจะมีน้ำใช้พอเพียงทั้งการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคธุรกิจและการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรม โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดโครงการสำคัญ เช่น ให้กรมชลประทานเร่งเสนอโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำกลับคลองสะพาน-ประแสร์ เส้นที่ 2 และเครือข่ายคลองวังโตนด-อ่างเก็บน้ำประแสร์ เส้นที่ 2 เพื่อสร้างความมั่นคงการจัดการน้ำในระยะยาว 

ส่วนในนิคมอุตสหกรรม สั่งการให้แต่ละนิคมอุตสาหกรรมจัดหาแหล่งน้ำสำรองของตนเอง รวมถึงเร่งเพิ่มน้ำต้นทุน และเร่งศึกษาเดินหน้าโครงการเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด โดยต้องดำเนินการให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด 

ขณะที่การหาแหล่งน้ำเพื่อรองร้บเมืองการบินภาคตะวันออกในรัศมี 30 กิโลเมตรรอบสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคต และจะมีการขยายตัวของที่อยู่อาศัยตามการเติบโตของประชากร โดยนอกจากแผนการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่ิมเติมได้หาแหล่งน้ำใต้ดินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เพิ่มในอนาคต ถือเป็นครั้งแรกที่บริหารน้ำผิวดินร่วมกับน้ำใต้ดิน

ทั้งนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ช่วยทำ "แผนที่น้ำใต้ดิน" ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้ 4 จุด จากการสำรวจพบว่ามีปริมาณน้ำใต้ดินรวมกว่า 4,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งใช้เป็นแหล่งน้ำรองรับความต้องการน้ำในอีอีซีทั้งภาคการผลิต และเมืองการบินภาคตะวันออก 4 พื้นที่ ได้แก่ 

1.อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา ปริมาณน้ำที่กักเก็บ 3,013 ล้านลบ.ม. มีปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ 2,260 ล้านลบ.ม. 

2.อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ปริมาณน้ำกักเก็บ 599 ล้านลบ.ม. มีปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ 449 ล้านลบ.ม.

3.อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ปริมาณน้ำที่กักเก็บ 883 ล้านลบ.ม. มีปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ 662 ล้านลบ.ม.

4.อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ปริมาณน้ำกักเก็บ 890 ล้านลบ.ม. มีปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ 668 ล้านลบ.ม.



สำหรับพื้นที่แหล่งน้ำบนดินในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบสนามบินอู่ตะเภา สำรวจพบแหล่งน้ำที่พัฒนาเป็นแหล่งน้ำรองรับการพัฒนาพื้นที่ประกอบด้วย การพัฒนาคลองบางไผ่ จ.ชลบุรี และแหล่งน้ำขนาดเล็กในบริเวณใกล้เคียง โดยมอบให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานหลักบูรณาการกับหน่วยงานที่ี่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการ  

การปรับปรุงและพัฒนาอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่ คณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออก วันที่ 21 พ.ค.2564 เห็นชอบแผนดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาอ่าง พื้นที่ 3,348 ไร่ โดยมอบให้กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

สำหรับแผนระยะยาว ในการบริหารจัดการน้ำในอีอีซีมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับอีอีซี ปี 2563-2580 รวม 38 โครงการ รวม 52,874 ล้านลบ.ม. โดยเพิ่มน้ำต้นทุน 872 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบันแล้วเสร็จ 9 โครงการ

การผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (Desalination) โดยแผนงานดังกล่าวได้ประชุม กนช.เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2563 เห็นชอบหลักการเร่งรัดแผนงานก่อสร้าง 14 โครงการสำคัญ โดยมี Desalination เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญ และเมื่อวันที่ 24 ก.ค.2564 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล 
สมเกียรติ ประจําวงษ์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ผลการวิเคราะห์ความต้องการใช้น้ำใน 3 จังหวัดอีอีซี โดยใช้ปี 2560 เป็นปีฐาน และวิเคราะห์ความต้องการ ประกอบด้วย น้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อภาคการผลิต ไม่ว่าภาคเกษตรกรรมหรือภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ และผลักดันน้ำเค็ม กรอบเวลากําหนดไว้ 20 ปี ในภาพรวมความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรมในปี 2560 มีจํานวน 2,404.91 ล้านลบ.ม. เพิ่มเป็น 2,777.68 ล้านลบ.ม. ในปี 2570 และ 2,977.55 ล้านลบ.ม. ในปี 2580 

ในช่วง 10 ปีแรก (2570) ความต้องการใช้น้ำในทุกกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากปีฐาน 372.77 ล้าน ลบ.ม. และ 10 ปีที่สอง (2580) เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 ปีแรก 199.87 ล้านลบ.ม.

"รวมความแล้วความต้องการใช้น้ำในอีอีซีในปี 2580 จะเพิ่มขึ้นจํานวน 572.64 ล้านลบ.ม. เมื่อโจทย์ความต้องการใช้น้ำชัดแล้วที่เหลือเป็นการค้นหาปริมาณน้ำที่อยู่ในมือและที่ต้องจัดหาเพิ่มเติม เพื่อให้พอความต้องการ"

ทั้งนี้ สทนช.วางแผนพัฒนาแหล่งน้ำและจัดหาน้ำ 7 มาตรการ ได้แก่ 1.ปรับปรุงเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำเดิม 2.พัฒนาอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติมใน EEC และนอก EEC 3.พัฒนาระบบผันน้ำเชื่อมโยงแหล่งน้ำ 4.พัฒนาแหล่งน้ำสํารองภาคเอกชน 5.พัฒนาน้ำบาดาลสําหรับภาคอุตสาหกรรมและเสริมในพื้นที่ขาดแคลน 

6.ใช้เทคโนโลยีใหม่ อาทิ การผลิตน้ำจืดจากน้ําทะเล และนําน้ำเสียที่ผ่านการบําบัดมาใช้ประโยชน์ 7.การจัดการด้าน Demand Side ได้แก่ การเสริมประสิทธิภาพการใช้น้ำ การลดน้ำสูญเสีย การปรับ ระบบการเพาะปลูกให้เหมาะสม
#10423
คิดจะถมที่ ปลูกบ้าน หรือ สร้างโรงงาน ยินดีให้คำปรึกษา เริ่มที่เราจบที่เรา ไม่ทิ้งงาน 080-022-3804
#10424


วันนี้ (15 ส.ค.) น.ส.ปุณยวีร์ โพธิพิพิธ นายกเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า จากสถานการณ์การของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีอยู่ในขณะนี้นั้น จากการติดตามข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ข้อมูลวันที่ 14 ส.ค.64 ที่ผ่านมา พบว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 176 ราย ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อแตกต่างจากวันที่ 12 ส.ค.เป็นอย่างมาก

เนื่องจากวันดังกล่าวนั้นพบผู้ติดเชื้อมากถึง 502 ราย ถือว่าข้อมูลนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าเป็นเพราะการลงพื้นที่ตรวจหาเชื้อในเชิงลึกของบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี หากตัวเลขยังลดลงอย่างต่อเนื่องถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งต้องขอขอบคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งสาธารณสุขจังหวัด และบุคลากรทางการแพทย์ทุกๆ โรงพยาบาล

แต่อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขของผู้ป่วยที่กำลังรักษาอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ นั้นยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก จากตัวเลขพบว่า มีมากถึง 5,989 ราย ที่ผ่านมา จังหวัดกาญจนบุรีโดยผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ได้มีนโยบายให้อำเภอแต่ละอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละท้องที่ จัดหาสถานที่ที่เหมาะสมดำเนินการปรับปรุงให้เป็นศูนย์พักคอย เพื่อให้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เข้ามาพักรับการรักษาชั่วคราวระหว่างรอเตียงจากโรงพยาบาลต่างๆ

ซึ่งเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น ได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ด้วยการใช้ศาลา 60 พรรษา เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น ปรับปรุงเป็นศูนย์พักคอย สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 50 เตียง ขณะนี้ได้ปรับปรุงพร้อมใช้แล้ว 100% โดยในวันพรุ่งนี้ (16 ส.ค.) ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี จะเดินทางมาเป็นประธานเปิดศูนย์พักคอยประจำเทศเมืองเมืองท่าเรือพระแท่นอย่างเป็นทางการ

น.ส.ปุณยวีร์ โพธิพิพิธ นายกเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น กล่าวว่า ในยามวิกฤตเช่นนี้กลับมีเรื่องราวในหลายเรื่องที่ทำให้ประชาชนมีความอุ่นใจ คือ การที่มีผู้คนมากมายออกมาเสียสละแสดงถึงความมีน้ำใจต้องการช่วยเหลือสังคมที่กำลังต่อสู้กับวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 กันเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้จากโลกออนไลน์ต่างๆ โพสต์ภาพการให้ความช่วยเหลือกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เช่น การร่วมแรงร่วมใจกันสมทบทุนซื้อถุงยังชีพ

รวมทั้งแจกจ่ายอาหารตามบ้านเรือนประชาชนกลุ่มที่ต้องกักตัว รวมทั้งมอบข้าวกล่องให้ประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ายินดีกับสังคมไทยที่กำลังวิกฤตอยู่ในขณะนี้ ทำให้รู้ว่าในยามที่คนไทยได้รับความเดือดร้อน คนไทยด้วยกันเองไม่เคยทิ้งกันจริงๆ

สำหรับศูนย์พักคอยศาลา 60 พรรษาเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมาก โดยมีการบริจาคทั้งข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งเงินสดเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มาพักคอยรอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ผู้บริหารบริษัทสามัคคีที่ดินและการเคหะ จำกัด ได้นำเงินสด จำนวน 100,000 บาท มามอบให้เพื่อนำเข้าสมทบกองทุนรวมน้ำใจศูนย์พักคอย เพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่เขตเทศบาลของเราอีกด้วย