• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Fern751

#3441
ใครที่ตอนนี้ได้รับผลกระทบจากโควิด ตกงาน ปิดกิจการ รายได้ลดลง หนี้สินท่วมตัว เงินไม่พอใช้

อยากมาศึกษาออนไลน์ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร กลัวเจ๊ง คอร์สนี้มีคำตอบ

ออนไลน์ ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือ "ทางรอด"

คอร์สออนไลน์  6 วัน 6 วิชา        
- 6 เสาหลักสร้างเพจปัง       
- ยิงแอด facebook ให้ได้ผล        
- แต่งภาพสวยง่าย ๆ จากมือถือ         
- การตลาดบน Tik Tok ให้มีคนติดตามหลักแสน       
- เปิดร้านบนไอจี Instragram
- เคล็ดลับแม่ค้าออนไลน์ร้อยล้าน

สอนแบบจับมือทำ ตั้งแต่พื้นฐาน จนเป็นมืออาชีพ
สอนจากประสบการณ์จริง โดยอาจารย์ที่มีรายได้กว่า 100 ล้านบนโลกออนไลน์
สอนสด ผ่านแอปซูม เรียนได้จากที่บ้าน

เวลาเรียน 19.00 - 22.30

ปรกติคอร์สนี้ราคา 9,800.-
พิเศษ !!!  เฉพาะช่วงโควิด ปรับโปรช่วยชาติ เหลือเพียง 98 บาท!!!
ย้ำ !!! รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่าน ที่จัดสรรเวลาได้ !!!

คลิ๊กดูรายละเอียดคอร์ส
https://drive.google.com/file/d/1fZIP-BhrqgnSHAb-4HZezzgtKL9qKHFR/view?usp=drivesdk

สนใจ สามารถแอดไลน์สอบถามที่ @049dhubr หรือลิงค์ไลน์
https://lin.ee/4zIaPti

หรือโทร 098-378-1371, 098-378-1373

***เรียนไม่คุ้ม คืนเงินทันที ***
#3442


นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ผลดำเนินงาน 1 ปี "ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs" หรือ บสย. F.A. Center ประสบผลสำเร็จเกินความคาดหมาย ให้คำปรึกษาช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ จากสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังขาดเงินทุนหมุนเวียน ต้องการสินเชื่อ มีปัญหาหนี้ ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ และพัฒนาธุรกิจ ให้สามารถยืนต่อได้ จำนวน 1,133 ราย (ณ 31 ก.ค. 2564) ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการขอสินเชื่อ จำนวน 782 ราย ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ธุรกิจ จำนวน 200 ราย และต้องการปรับปรุงธุรกิจ จำนวน 151 ราย



ปัจจัยความสำเร็จของศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs มาจากกลยุทธ์ คิดนอกกรอบ ยกระดับการบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจาก "นายประกันสู่ ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs" ที่มองเห็นปัญหาร่วมกัน ผสานนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ด้วย Business Model ที่ต่างไปจากเดิม โดย บสย. ได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน อดีตผู้บริหารระดับสูง ที่มีประสบการณ์จากสถาบันการเงินชั้นนำ คร่ำหวอดด้านการวิเคราะห์ธุรกิจผู้ขอสินเชื่อ การจัดทำบัญชีวิเคราะห์สินเชื่อ การวางแผนการเงิน บริหารสภาพคล่อง การบริหารจัดการหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมดีไซน์ รูปแบบการให้คำปรึกษาธุรกิจแบบเชิงลึก แบบเฉพาะตัว เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังประสบปัญหากู้ยาก ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ แก้โจทย์ธุรกิจ ปัญหาขาดสภาพคล่อง ได้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงและนำไปปรับปรุง วางแผนและพัฒนาธุรกิจของตนเองต่อไปได้ โดยศูนย์แห่งนี้ยังได้เปิดหลักสูตรอบรมด้านการเงินและธุรกิจ ที่เหมาะกับธุรกิจทุกขนาดทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ มากกว่า 50 หลักสูตร อาทิ ด้านธุรกิจ กฎหมาย การเงิน บัญชี การเตรียมตัวกู้เงิน ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ผ่านวิกฤต อย่างมั่นใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs เป็นที่ยอมรับจากผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้ารับคำปรึกษาว่าสามารถช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานพันธมิตร หน่วยงานด้านกำกับดูแล ที่เกี่ยวข้องกับ SMEs และคณะผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าศึกษาดูงาน ในฐานะศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน SMEs แบบองค์รวม เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ด้านการให้คำปรึกษาทางการเงิน ช่วยผู้ประกอบการแก้หนี้ได้จริง ทั้งนี้ ได้เตรียมยกระดับการให้บริการ "ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs" โดยผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อร่วมให้คำปรึกษาแก้หนี้ เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs รอดพ้นจากวิกฤตโควิด-19 ให้มากที่สุด

ผู้ประกอบธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาหนี้ สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับคำปรึกษาฟรีกับ "บสย. F.A. Center" ที่ บสย. Call Center 0 2890 9999 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. หรือติดต่อได้ที่สำนักงานเขต บสย. ทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ หรือติดตามกิจกรรมการจัดหลักสูตรอบรมได้ที่หมอหนี้ บสย. ที่ Line @doctor.tcg และ www.facebook.com/tcg.or.th
#3443


นายสมหมาย ภาษี อดีต รมว.คลัง โพสต์ข้อความระบุว่า การดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในปีนี้น่าจะจบกัน เมื่อวันพุธที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ในสื่อมีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายสำหรับคนไทย ข่าวดีคือท่านนายกรัฐมนตรียอมยกเลิกประกาศปิดปากสื่อโดยใช้การอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกข้อกำหนดให้ยกเลิกข้อกำหนดฉบับที่ 29 ที่ออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.เดียวกันนี้ ฟังดูมันเหมือนเรื่องตลกสำหรับคนทั่วไป

จะเอาอะไรกันกับเรื่องแค่นี้ ในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อ 46–47 ปีที่แล้ว สมัยที่ท่านจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ยังได้นำทหารออกมาทำการปฏิวัติตัวเองเลย เรื่องนี้คนไทยสมัยนี้ที่ยังไม่เกษียณคงจำเหตุการณ์ไม่ได้ น่าจะมีการลองทำแบบนี้กันอีกไหมครับ จะทำอะไรก็สุดแท้แต่ผู้มีอำนาจและนักการเมืองทั้งหลายเถอะครับ เพราะตอนนี้ที่พึ่งของประชาชนเหมือนไม่มีแล้ว

สำหรับข่าวร้ายที่ได้ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ในวันพุธที่ 11 นี้ ก็คือข่าวที่ว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (US Centers for Disease Control and Prevention) หรือ CDC ได้ออกคำเตือนแก่ชาวสหรัฐให้เลี่ยงการเดินทางไปหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยนั้น CDC ได้ปรับให้อยู่ในระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด คือ ห้ามการเดินทาง เพราะมีการระบาดและติดโควิดสูงในไทย!

บางคนอาจจะทำเป็นรู้ดีบอกว่าเราไม่ต้องเป็นกังวล เพราะนักท่องเที่ยวสหรัฐปกติมาเที่ยวไทยน้อยมากอยู่แล้ว แต่ผมว่าเขาพูดถูกแค่นิดเดียวเอง เพราะข้อเท็จจริงคือเมื่อสหรัฐพูดคนทั่วโลกเขาก็ได้ยินด้วยว่าไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงสุดถึงขนาดห้ามการเดินทางเข้ามา

ถ้าผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวพอจำกันได้ว่า เมื่อประมาณกลางเดือนกรกฎาคมที่แล้ว กลุ่มประเทศ EU ก็เคยปรับมาตรการไม่รับคนไทยเข้าประเทศกลุ่ม EU มาแล้ว ซึ่งเท่ากับบอกประชาชนของกลุ่ม EU ที่หน้าหนาวนักท่องเที่ยวชอบมาเมืองไทยกันมากให้รู้ว่าเมืองไทยไม่ควรมานะ

ADVERTISEMENT


เมื่อการท่องเที่ยวไม่มีโอกาสฟื้นในปีนี้ ความพยายามที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวดูเหมือนจะจบแล้ว ความหายนะของประเทศก็จะแผ่ออกไปมากขึ้น นับตั้งแต่การจ้างงานในด้านการท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากสุดของประเทศจะไม่เกิด อาชีพอื่นๆที่เกี่ยวโยงที่มีการจ้างงานมากก็ไม่มีทางฟื้นเช่น ธุรกิจการบิน ธุรกิจทัวร์ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจนวดแผนโบราณและสปา แม่ค้าแม่ขายของที่ระลึก และรวมถึงร้านอาหารที่มีสภาพล้มทั้งยืนกันให้เห็นทุกจังหวัดตายหมด

ความหวังที่อุตส่าห์คิด อุตส่าห์ทำ เพื่อสร้างโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โครงการสมุยพลัส และยังมีการคิดชื่อล่วงหน้าที่หรูไว้อีกมาก สำหรับกระบี่ พัทยา และที่จังหวัดอื่นๆ ล้วนต้องเป็นฝันกลางวันไปหมด

ใครเป็นคนทำให้ความหวังที่จะฟื้นของการท่องเที่ยวซึ่งเป็นสาขาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศต้องคลานจนโงหัวไม่ขึ้นมาจะสองปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องเอ่ยชื่อหรือถามชื่อกันอีกแล้ว สาเหตุที่เศรษฐกิจพังพินาศมาจากโควิด-19 จากการแพร่ระบาดที่มีไม่มากตอนต้นปี 2563 มาถึงขณะนี้จะสองปีแล้วกลับระบาดจนวิกฤตติดอันดับต้นของโลก ใครกันที่รับทำงานสู้รบกับมัน ในทางการเมืองประชาชนเขาต้องชี้ไปที่ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสาธารณสุขเท่านั้นแหละ ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานหนักและเหนื่อยมากนั้น ไม่มีใครไปโทษเขาเหล่านี้หรอก แต่พวกท่านๆทั้งหลายนี่ซิที่คนเขาสาปแช่งวันละสามเวลา

ทำยังไงๆ อธิบายยังไงๆ ประชาชนก็ยังยากที่จะคิดว่าพวกท่านๆทั้งหลายจะเอาอยู่ เพราะแค่ในคุกที่อยู่ในอุ้งมือของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทยยังมีการระบาดได้ และยังเอาไม่อยู่ หรือในแคมป์คนงานก่อสร้างใหญ่ๆใน กทม.ที่ต้องอยู่ในสายตาและการควบคุมของหน่วยงานราชการหลายหน่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานครก็ยังเอาไม่อยู่

ในช่วงนี้จะได้ข่าวกันว่ายังมีการระบาดของโควิด-19 ชุกชุมมากในโรงงานทั้งเล็กและใหญ่รอบๆ กทม. ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร ชลบุรี อยุธยา ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ถ้าเอาไม่อยู่ ปล่อยให้การระบาดทอดยาวออกไปก็จะเกิดผลกระทบกับกระบวนการผลิตเพื่อการส่งออกของประเทศแน่

อย่างไรก็ดียังมีข่าวดีที่เพิ่งผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ศบค. ซึ่งนำไปปฏิบัติได้แล้ว คือข้อเสนอของกระทรวงแรงงงาน เรื่อง Factory Sandbox เพื่อทำการตรวจ รักษา ควบคุม และดูแล สถานประกอบการที่ผลิตเพื่อการส่งออกสำหรับโรงงานขนาดพนักงาน 500 คนขึ้นไป ทั้งนี้ต้องให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องหลัก เช่น มหาดไทย สาธารณสุข แรงงาน และอุตสาหกรรม ร่วมดำเนินการด้วยกันอย่างกระชับและรวดเร็วเป็นระบบ ถือว่าเป็นข่าวดีอีกชิ้นหนึ่งที่เพิ่งคิดกันได้

แต่อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่ายังมีจุดอ่อนที่ใหญ่มากอยู่เรื่องหนึ่ง คือแม้ไม่ใช่โรงงานผลิตเพื่อการส่งออกก็ควรต้องรวมเข้าไปด้วย และโรงงานที่มีขนาดพนักงานต่ำกว่า 500 คน เช่น 200 คน ที่มีการติดโควิด-19 กันระนาวก็ควรนำมารวมเข้าไปในโครงการนี้ด้วยเช่นกัน มิฉะนั้น จะทำให้เกิดการขว้างงูไม่พ้นคอเป็นแน่

เมื่อไม่กี่วันมานี้ เผอิญผมได้ฟังแนวนโยบายการปราบโควิด-19 ของท่านประธานาธิบดีไบเดนว่า "เรื่องต่อสู้กับโควิด-19 นี้จะไม่มีคนหนึ่งคนใดปลอดภัย ตราบใดที่คนอื่นๆ ยังไม่ปลอดภัย" ผมเห็นว่า แม้ผู้นำของเราจะมีความเก่งและความฉลาดเท่าผู้นำของชาติอื่น ก็ไม่ควรทำตัวเอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับนโยบายดีๆ ของชาติอื่น
#3444


นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มทิสโก้  กล่าวว่า สำหรับมาตรการใหม่เพิ่มเติมหลังหมดพักหนี้ 2 เดือนแล้ว และคงต้องรอความชัดเจนจากทางธปท. ก่อนว่าจะช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโควิด-19ต่อไปอย่างไร   ซึ่งธนาคารพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่  

ขณะที่ปัจจุบันมาตรการของธนาคารมีการให้ความช่วยเหลือลูกค้าอยู่นั้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์  มีทั้งปรับโครงสร้างหนี้ พักหนี้ตามมาตรการธปท.และคืนรถปลดหนี้  มองว่าเรามีเครื่องมืือที่ยังเพียงพอดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ปีนี้ได้อยู่  

โดยมาตรการคืนรถปลดหนี้ นับถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ยังเพียงพอดูแลหากลูกค้าไปไม่ไหวจริงยังมีมาตรการนี้รองรับได้ แต่ปัจจุบันกลับพบว่า มีลูกค้าเข้ามาคืนรถปลดหนี้เพียง 1,000 ราย ยังต่ำที่คาดไว้ 5,000 ราย  สะท้อนว่ารถยนต์ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ประกอบอาชีพและสร้างรายได้อยู่ เพื่อพยายามจ่ายหนี้ได้บ้าง 

ทั้งนี้ทางธนาคารพยายามช่วยประคับประคองลูกค้า ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้าเป็นรายกรณี ถือว่าตอบโจทย์ลดภาระหนี้ระยะยาวให้ลูกค้าผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19ไปให้ได้  เช่น สามารถลดค่างวดได้ 30-50% หรือยืดระยะเวลาผ่อนออกไป 3-6 เดือน   ขณะที่มาตรการพักหนี้รอบนี้  มีลูกค้ามาขอช่วยเหลือน้อยมากไม่ถึง 1 %ของพอร์ตลูกหนี้ทั้งหมด  
#3445


โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อประชาชนที่มีฐานะยากจน "ปทุมธานีโมเดล" เป็นโครงการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่เคยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมคลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ในอดีตคลองรังสิตเป็นคลองสายหลักในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีการขุดคลองนี้ขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2433 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้คลองรังสิตนี้ ทำหน้าที่ระบายน้ำจากแม่น้ำนครนายกกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆเพื่อเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของทุ่งรังสิต การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมาริมคลองนี้มีชุมชนเกิดขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็นรูปแบบบ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนที่บุกรุก โดยพบว่าชุมชนบุกรุกมีการก่อตั้งบ้านเรือนรุกล้ำเข้าไปในคลองต่างๆจำนวนมาก ทำให้ปัญหาเรื่องการระบายน้ำ การแก้ไขปัญหาการระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในการรักษาความสะอาด รวมทั้งการรื้อถอนบ้านเรือนประชาชนที่รุกล้ำลำคลอง

ในปีพ.ศ.2559รัฐบาลได้มี นโยบายแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเพื่อคนยากจนที่บุกรุกที่สาธารณะริมคลอง สร้างโอกาสให้มีที่พักอย่างอาศัยที่มั่นคง ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่สาธารณะริมคลองหนึ่ง ใน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ได้รับการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านที่อยู่อาศัย ภายใต้โครงการปทุมธานีโมเดล

นาย ธนัช นฤพรพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการปทุมธานีโมเดล ว่า " ปทุมธานีโมเดล มุ่งแก้ไขพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่อยู่บริเวณริมคลองในเขตปทุมธานี ในบริเวณ คลอง 1 ซึ่งมีชุมชนที่บุกรุก 16 ชุมชน 1000 กว่าครัวเรือน กระทรวงการพัฒนาชุมชน ร่วมกับผู้ว่าจังหวัดปทุมธานี ร่วมมือกัน จัดทำโครงการ "ปทุมธานีโมเดล" แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน โครงการปทุมธานีโมเดล มีการแก้ปัญหา 3รูปแบบ



รูปแบบที่ 1เป็นการร่วมมือของ 3 หน่วยงานคือ จังหวัดปทุมธานี กรมธนารักษ์ และ พ.อ.ช. กรมธนารักษ์จัดหาที่ราชพัสดุ ประมาณ 30 ไร่ ใกล้กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ให้ชุมชนเช่าอยู่อาศัย โดยวางแผนจัดสร้างเป็นที่พักแบบอาคารชุด 6 อาคาร โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งปัจจุบันสร้างเสร็จไปแล้ว 4 อาคาร และเริ่มมีเข้าผู้พักอาศัยแล้ว

รูปแบบที่ 2 ชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ รวมกันซื้อที่ดินเองในการปลูกสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัย ได้ซื้อที่ดินจำนวน 5 ไร่เศษ ประชาชนประมาณ 100 กว่าครัวเรือน รื้อบ้านที่อยู่ริมคลอง มาอยู่ในที่ดินแห่งใหม่ โครงการก็เริ่มมาตั้งแต่ 2559 เหมือนกับโครงการรูปแบบที่ 1 และดำเนินการสร้างพักเสร็จปลายปี 2560 ประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยได้ประมาณ 3 ปี แล้ว โครงการรูปแบบที่ 2 นี้ สำเร็จไปแล้วทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์

รูปแบบที่ 3 คืออยู่บริเวณเดียวกับรูปแบบที่ 1 ในพื้นที่ 30 ไร่ ของราชพัสดุ โดยเป็นชุมชนที่บุกรุกเดิมในพื้นที่ เปลี่ยนจากการบุกรุกมาสู่การสร้างที่พักอาศัยในบริเวณเดิมที่บุกรุกของจำนวน 34 ครัวเรือน

การคืบหน้าของโครงการทั้ง 3 รูปแบบ มีประชาชนที่เข้ามาพักอาศัยแล้ว 300 ครัวเรือน จากเป้าหมาย 1084ครัวเรือน เป็นพื้นที่รวม 16 กิโลเมตร ตั้งกระจายอยู่ตามเส้นทางตั้งแต่ ชุมชนริมคลอง 1 ถึงวัดคุณหญิงส้มจีน อีก 700 กว่าครัวเรือนจะเป็นระยะต่อไป ที่จะต้องพูดคุยกับชุมชน และหาที่ดินรองรับ ให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อเข้าสู่โครงการระยะต่อไป


จากความสำเร็จของโครงการที่คลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และปทุมธานีโมเดลระยะที่ 1 ได้สร้างความสั่นคงในที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน นับเป็นความสำเร็จที่ ทำให้เกิดความเข้าใจและการตอบรับที่ดีจากชุมชน ในโครงการปทุมธานีโมเดล ระยะ ที่ 2

บ้านที่อยู่อาศัย นับเป็นปัจจัย 1 ใน 4 ในการดำเนินชีวิต เริ่มจากการมีบ้านที่มั่นคง มีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีชุมชนที่เข็มแข็ง จะทำให้การเดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาน ทำได้อย่างเต็มที่และมรประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาต่างๆก็ดีขึ้น เช่นปัญหาการป้องกันแพร่กระจายของโควิด – 19 ในชุมชนที่ได้รับการพัฒนาแล้ว จะทำได้ดีกว่าชุมชนเดิม ที่เป็นชุมชนแออัด เพราะในชุมชนมีพื้นที่ส่วนกลางของสหกรณ์ที่สามารถนำมาปรับให้เป็นพื้นที่พักคอยรอการส่งต่อ และในบ้านที่สร้างใหม่เป็นบ้านแฝด 2 ชั้น มีห้องพักที่สามารถให้ผู้ป่วยในระบบ Homeisolate ผู้ป่วยสามารถแยกกักตัวได้ การมีผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการจากชุมชนใหม่ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความแข็งแรงของชุมชน สามารถดูแลสมาชิกในชุมชนได้ดีขึ้นเป็นระบบมากขึ้น การจัดทำโครงการบ้านมั่นคงในรูปแบบสหกรณ์เป็นกลไกลในการบริหารโครงการกรรมการสหกรณ์ก็สามารถเป็นกลไกลที่ช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนได้ การดำเนินโครงการต้องมีอุปสรรคบ้างจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยปัญหาเหล่านี้ทาง พ.อ.ช เน้นเรื่องการพูดคุย สร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ เข้าใจและให้ความร่วมมือทำให้โครงการดำเนินต่อไปได้อย่างดี การพัฒนาที่อยู่อาศัยอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี เป็นนโยบายที่รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ โดยมีจุดมุ่งหมายว่าประชาชนทุกคนต้องมีบ้านที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีชุมชนที่เข็มแข็ง ทุกคนภายในปี 2579 พ.อ.ช.มุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายตามแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม มีสภาพแวดล้อมที่ดี สร้างชุมชนที่ดี สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทั่วประเทศ

นอกจากที่อยู่อาศัยที่มั่นคงอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว การมีอาชีพที่มั่นคงถือเป็นความสำคัญ ประชาชนมีรายได้เลี้ยงตนเอง สร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจให้ตนเองและชุมชน ตัวอย่างเช่นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส

อรุณี ยะโย ประธานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ กล่าวถึงการรวมกลุ่มว่า "วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ เกิดจากการรวมกลุ่มของแม่บ้าน ที่มองเห็นถึงโอกาสในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแปรรูปให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ เมื่อเกิดการรวมกลุ่มแม่บ้าน ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหลายหน่วยงาน เช่น พช.เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนด้านเทคนิคการผลิต การให้ความรู้ สนับสนุนอุปกรณ์ ทำให้กลุ่มเข็มแข็งมากขึ้น การดำเนินของกลุ่มจะรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรเช่นลูกหยีและผลผลิตตามฤดูกาลเช่น ส้มแขก ทุเรียน แต่ผลผลิตหลักคือลูกหยี เพราะสามารถเก็บไปได้นาน การแปรรูปลูกหยีมีหลากหลายรสชาติ สามารถจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ และยังต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวชุมชน ทำให้กลุ่มและชุมชน มีรายได้จากการท่องเที่ยวและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปเหล่านี้"

วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประสานกับการนำนวัตกรรมมาปรับใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่ม ให้มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง หรือส้มแขกแช่อิ่ม โดยที่ผ่านมาทาง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปทางการเกษตรบ้านนากอก็ได้รับการสนับสนุน จากหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ และมอบอุปกรณ์และพัฒนาระบบการผลิตให้มาตราฐาน

น.อ.วิชชา พรหมคีรี รอง ผอ.รมน.จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า " กอ.รมน.มีบทบาทในการประสานงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และดูแลความสงบเรียบร้อย ช่วยเหลือประชาชน มีการส่งเสริมในการประกอบอาชีพต่าง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ เป็นชุมชนที่มีความเข็มแข็ง ทั้งด้านการท่องเที่ยว และมีความสามารถ มีความคิดริเริ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในท้องถิ่นให้เป็นสินค้า สามารถจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชน และได้รับการส่งเสริมจากหลากหลายหน่วยงานในจังหวัดทำให้ชุมชนมีความเข็มแข็งมากขึ้น "

ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านนากอ เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความมั่นคงและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสมาชิกได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ทางกลุ่มมีแนวคิดสร้างเครือข่ายชุมชนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน โดยมีการหารือแนวทางในการร่วมกันบริหารจัดการและสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการขึ้นทะเบียน GMP เพื่อที่ช่วยยกระดับมาตรฐาน และสร้างความมั่นใจ

การสร้างโอกาสให้กับประชาชนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะคนทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อยู่อย่างเท่าเทียมกัน การสร้างโอกาสทางอาชีพที่เหมาะสมให้ผู้มีความบกพร่องทางร่างกายทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีอาชีพ สามารถหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เขาได้ทำประโยชน์แก่สังคม

โครงการสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพและสร้างรายได้เครือข่ายกลุ่มคนพิการ มูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เป็นมูลนิธิที่ทำงานอยู่กับคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งอยู่ในชุมชนบัวใหญ่มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี โดยงานหลักของมูลนิธิ นั่นคือการช่วยเหลือและสนับสนุนคนพิการให้มีอาชีพ สร้างรายได้เลี้ยงตัวเองและความครัวได้ ผลจากข้อนี้ก็จะช่วยให้คนพิการเกิดการยอมรับจากคนในสังคมมากขึ้น เกิดเป็นความภาคภูมิใจในตัวเองและมีสุขภาพจิตที่ดี ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้เห็นความสำเร็จพร้อมๆ กับปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน จึงเกิดแนวคิดสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้เครือข่ายกลุ่มคนพิการเพื่อให้พวกเค้าเกิดเป็นองค์ความรู้สำหรับการต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาร่วมกับคนพิการต่อไปในอนาคต

นางพัชราภรณ์ ชนภัณฑารักษ์ กล่าวถึงความเป็นมาของมูลนิธิว่า "จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัญหาของกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาเรื่องการเข้าถึงสิทธิ์ แต่เป็นปัญหาเรื่องการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสม ทางมูลนิธิได้นำงานวิจัยมาทอดบทเรียนได้ต้นแบบ 4 ต้นแบบ นำต้นแบบมาขยายผลสู่เยาวชน 40 คน เยาวชนกลุ่มนี้ได้เข้ารับการฝึกอบรมด้านอาชีพ และกลับมาเป็นแกนนำ ต่อจากนั้นทางมูลนิธิได้ขอทุนสนับสนุน จาก กศศ เพื่อใช้ในการพัฒนาและยกระดับ กลุ่มคนพิการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนผู้มีบกพร่องทางร่างกาย ให้เข้าถึงสิทธิ์ต่างๆของทางภาครัฐและได้รับอุปกรณ์ ส่งเสริมให้มีอาชีพ มีรายได้ และสามารถพึ่งพิงตัวเองได้ครับ ทั้งนี้มูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ได้จัดโครงการสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพของเครือข่ายกลุ่มคนพิการขึ้น เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านภูมิปัญญางานหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่ใช้สมองและงานฝีมือ ให้พวกเขามีอาชีพและสร้างรายได้ตามศักยภาพของตนเอง และวางแผนขยายช่องทางการตลาดผ่านระบบออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลังจากการฝึกอบรมการขายแบบออนไลน์ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ผลปรากฏว่ามียอดการสั่งจองสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้พิการมีรายได้มากขึ้น"

นอกจากการส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมแล้ว ยังมีการส่งเสริมอาชีพการทำการเกษตรให้กับคนพิการบางกลุ่มที่ไม่มีความถนัดในงานหัตกรรม การส่งเสริม การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประกอบด้วยการเลี้ยงไก่ การปลูกผักอินทรีย์ โดยเน้นปลูกผักใช้น้ำน้อย สามารถดูแลได้ง่าย เพื่อให้รายได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ซึ่งเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ และมูลนิธิยังคอยติดตามช่วยเหลือแนะนำ รวมทั้งรับซื้อผลผลิตของกลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายด้วย โครงการสร้างพลังคนพิการประกอบอาชีพและสร้างรายได้เครือข่ายกลุ่มคนพิการของมูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สร้างพลังให้กลุ่มคนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สร้างความภาคภูมิใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
#3446


แต่หลังมีการใช้ยาแรงทำให้สถานการณ์ช่วงปลายปีเริ่มดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาคึกคักประชาชนเริ่มออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทำให้หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่าปี 2564 ทุกอย่างจะดีขึ้น เศรษฐกิจไทยจะกลับมาสดใสอีกครั้งจากฐานที่ต่ำในปีก่อน

แต่สุดท้ายกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น หลังพบไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตาที่ระบาดได้เร็วกว่าเดิมหลายเท่า ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากหลักไม่กี่ร้อยคนต่อวัน ขยับขึ้นมาเป็นหลักพัน และหลักหมื่นในที่สุด จนระบบสาธารณสุขแทบจะรับไม่ไหว ทำให้ภาครัฐต้องงัดมาตรการคุมเข้มออกมาใช้อีกครั้ง แต่รอบนี้ไม่ได้ล็อกดาวน์ทั้งประเทศ แต่คุมเข้มในพื้นที่ 29 ที่มีการระบาดสูง 

หากดูจากสถานการณ์เวลานี้ ต้องยอมรับว่าโรคระบาดไม่น่าจะคลี่คลายลงง่ายๆ หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อยังไม่มีทีท่าจะลดลง แม้จะใช้ยาแรงมาเกือบจะ 1 เดือน

แน่นอนว่ายิ่งสถานการณ์ยิ่งลากยาวออกไป ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทยอยปรับลดคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ และส่วนใหญ่มองว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่เศรษฐกิจไทยจะติดลบต่ออีกปี

โดยเครื่องยนต์หลักทุกตัวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบจะหยุดนิ่ง มีเพียงแค่ "ภาคการส่งออก" เท่านั้นที่ยังขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จึงกลายเป็นพระเอกสำคัญที่ช่วยประคับประคองเศรษฐกิจ

ขณะที่ "การลงทุนภาคเอกชน" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฟันเฟื่องหลัก หลังซบเซามานานนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด ทำให้เอกชนไม่กล้าลงทุน ทั้งผู้ประกอบการในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจ แถมยังติดขัดปัญหาการเดินทางเข้าประเทศ

แต่ขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากตัวเลขขอรับส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมเข้ามาแล้ว 801 โครงการ เพิ่มขึ้น 14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 386,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 158% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 60,970 ล้านบาท รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมการแพทย์ 43,040 ล้านบาท, อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 28,160 ล้านบาท, อุตสาหกรรมการเกษตรและแปรรูปอาหาร 23,170 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ 20,720 ล้านบาท

ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ยื่นขอรับการส่งเสริมเข้ามาทั้งหมด 403 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 278,658 ล้านบาท สูงกว่าปี 2563 ทั้งปีที่ 171,160 ล้านบาท นำโดยนักลงทุนจากญี่ปุ่น 42,773 ล้านบาท รองลงมาคือ สหรัฐ 24,131 ล้านบาท และตามด้วยจีน 18,615 ล้านบาท

เห็นตัวเลขจากบีโอไอแล้วพอที่จะยิ้มออกได้บ้าง สะท้อนว่านักลงทุนทั้งในประเทศและต่างชาติยังสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งคงต้องติดตามต่อว่าจะลงทุนจริงมากน้อยแค่ไหน และจะเริ่มกลับมาลงทุนเมื่อไหร่ จะปีนี้ ปีหน้า หรือปีไหน?

เชื่อว่าปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนของเอกชนคงขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิดเป็นหลัก ถ้าไทยควบคุมการระบาดได้เร็ว จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง และสามารถกลับมาเปิดประเทศได้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง คงได้เห็นภาพการลงทุนคึกคักขึ้น เพราะผู้ประกอบการหลายบริษัทพร้อมที่จะลงทุนทันที เนื่องจากที่ผ่านมาได้ตระเตรียมทุกอย่างไว้หมดแล้ว แต่ต้องเลื่อนออกไปก่อนหลังเกิดโรคระบาด

แน่นอนว่ากลุ่มที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดเห็นจะเป็นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่เข้าไปตั้งโรงงานในจีนต้องการย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย เพื่อหนีสงครามการค้า แต่กลับเกิดโรคระบาดเสียก่อน ดังนั้น ถ้าสถานการณ์คลี่คลายเชื่อว่าประเทศไทยยังเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ต่างชาติสนใจ

โดยบล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุว่า หุ้นกลุ่มนิคมฯ จะพลิกฟื้นกลับมาได้ เมื่อสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายและสามารถเปิดเมืองรับต่างชาติได้ แต่ระหว่างรอยังมีรายได้จากค่าเช่า ค่าบริการ ค่าน้ำ ค่าไฟช่วยหล่อเลี้ยงได้ ขณะเดียวกันหลายบริษัทกระจายธุรกิจไปยังเวียดนามช่วยกระจายความเสี่ยงด้วย โดยยังคงคำแนะนำซื้อ AMATA, ROJNA และ WHA เพื่อการลงทุน
#3447


ทวิตเตอร์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น #WhatsHappening และสิ่งที่ผู้คนกำลังพูดถึง ในช่วงของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทวิตเตอร์ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญของข่าวสารและข้อมูลล่าสุดที่มาจากแหล่งข่าวน่าเชื่อถือ ในช่วงเวลานี้ที่ #StayAtHome และ #WorkFromHome กลายเป็นเรื่องปกติของใครหลายๆ คน ทำให้

ไลฟ์สไตล์และรูปแบบของการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับหวยออนไลน์การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ของผู้บริโภคในช่วงของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทวิตเตอร์จึงได้วิจัยบทสนทนาที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคบนทวิตเตอร์ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 - 31 พฤษภาคม 2021 พบว่าในช่วงการแพร่ระบาด

ของโควิด-19 มีบทสนทนาเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้ถูกพูดถึง 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป, เครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม, ผลิตภัณฑ์ดูแลและบำรุงผิว และผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน

ผลการวิจัยพบว่า ในประเทศไทยมี 3 เทรนด์ที่สำคัญเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่

1.การเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซ

ช่วงก่อนการแพร่ระบาดโควิด-19 อีคอมเมิร์ซเป็นเพียงเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง แต่ปัจจุบันนี้อีคอมเมิร์ซและการ
ส่งของออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย ตลาดนัดขายของแบบเดิมถูกดิสรัปต์ และ
ทวิตเตอร์ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ผู้บริโภคจะเข้ามาค้นหาข้อมูลและสั่งซื้อสินค้าในปัจจุบัน

2. การล็อกดาวน์บางส่วนไม่ได้เป็นแค่แรงขับเคลื่อนเดียวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในประเทศไทย

ถึงแม้ว่าการล็อกดาวน์บางส่วนและการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคจะมีความเกี่ยวพันกันอยู่บ้าง
แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป จากการวิจัยของทวิตเตอร์พบว่าแม้จะอยู่ในช่วงที่มีการผ่อนปรนมาตรการการลงเพื่อให้ห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารเปิดให้ผู้คนเข้ามาใช้บริการได้ แต่บทสนทนาบนทวิตเตอร์ยังคงพูดถึงเรื่องของการ
ซื้อของที่สะดวกสบาย ซึ่งอีคอมเมิร์ซคือตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ของผู้บริโภคไทยที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องในอนาคต

3. แม้ว่าโปรไฟล์กลุ่มเป้าหมายของสินค้าอุปโภคบริโภคแต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่ในบางเรื่อง

ผู้หญิงจะมีอิทธิพลในบทสนทนายอดนิยม 5 อันดับแรกทั้งหมดที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป, เครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม, ผลิตภัณฑ์ดูแลและบำรุงผิว และผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เท่ากันทั้งหมดในทุกบทสนทนา แต่จากการวิจัยพบว่าผู้หญิงจะทวีตข้อความเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าผู้ชาย อีกทั้งยังพบว่านอกเหนือไปจากบทสนทนาที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค 5 อันดับแรก กลุ่มเป้าหมายก็ยังมีความคล้ายคลึงกันใน

บทสนทนาหัวข้ออื่นๆ อย่างเช่นโปรไฟล์ของกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของ "ความสนใจอื่นๆ" โดย 2 อันดับแรกที่เหมือนกัน ได้แก่ ดนตรีและศิลปะ

ชานดาน ดีฟ หัวหน้าแผนก Emerging Business ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวิตเตอร์ เปิดเผยว่า "ไม่แปลกใจเลยที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในครั้งนี้จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิถีการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนในปัจจุบัน รวมไปถึงผู้คนบนทวิตเตอร์ในประเทศไทย เราเห็นว่าเรื่องสินค้าอุปโภคบริโภคได้กลายมาเป็น บทสนทนาที่สำคัญ และคนไทยอยากจะเป็นคนแรกที่ได้ซื้อ ลองใช้ และแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าใหม่ชนิดนั้นอย่างไร แบรนด์เองก็รู้สึกตื่นเต้นที่กลุ่มเป้าหมายขยับใกล้เข้ามามากยิ่งขึ้นและเลือกใช้ทวิตเตอร์ในการเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพนับล้านคนบนทวิตเตอร์"

บทสนทนาเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค 5 อันดับยอดนิยมบนทวิตเตอร์ประเทศไทย ได้แก่

1. ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป (Packaged Food)

บทสนทนาที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปบนทวิตเตอร์ประเทศไทยเกิดขึ้นทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และยังเป็นอันดับหนึ่งจากทั้ง 5 อันดับในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งมีการเติบโตขึ้นถึง 22% นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2020 จนถึงไตรมาสแรกของปี 2021 ซึ่งมีแรงประสานร่วมกันที่ชัดเจนระหว่างการเติบโตของบทสนทนาบนทวิตเตอร์และการล็อกดาวน์บางส่วน

เนื่องจากคนไทยที่ใช้งานทวิตเตอร์ชอบพูดคุยกันในเรื่องของอาหารตั้งแต่สินค้า ผลิตภัณฑ์อาหาร ร้านอาหาร ไปจนถึงตัวเลือกในการช้อปปิ้งอาหารผ่านออนไลน์ อีกทั้ง นวัตกรรมสินค้ารสชาติใหม่ๆ ขนมรุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น และการเปิดตัวสินค้าบนทวิตเตอร์ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเนื่องจากคนไทยบนทวิตเตอร์ต้องการเป็นคนแรกที่ได้ซื้อและได้ลอง

ในขณะที่ บทสนทนาเกี่ยวกับการทำอาหารและการทำขนมเป็นหัวข้อยอดนิยมมาตั้งแต่ก่อนจะเกิดโควิด-19 แล้ว แต่ในไตรมาสแรกของปี 2021 บทสนทนาบนทวิตเตอร์ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะความนิยมเกี่ยวกับขนมขบเคี้ยว ของกินเล่น ความชื่นชอบในการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปจากร้านสะดวกซื้อและร้านค้าปลีกที่เป็นอีคอมเมิร์ซ

เครดิตทวีตจาก: https:// twitter.com/NanJeera/status/1370003555654934528

2. เครื่องดื่ม (Beverages)

ช่วงโควิด-19 มีบทสนทนาเกี่ยวกับเครื่องดื่มบนทวิตเตอร์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบทสนทนาเกี่ยวกับเครื่องดื่มมักมีความเชื่อมโยงกับอาหารและได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมาก จากการเปิดตัวสินค้าใหม่ และการดึงเหล่าเซเลบริตี้ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ อาทิ เป๊ก ผลิตโชค (@peckpalit) วงแบล็กพิงก์ (@BLACKPINK) และดาราไทยจากซีรีส์ F4 ซึ่งช่วยขับเคลื่อนบทสนทนาและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

เครดิตทวีต: https:// twitter.com/winnieboy_2102/status/1409496936739004416

เทรนด์ของบทสนทนาเกี่ยวกับเครื่องดื่มในไตรมาสแรกของปี 2021 จะเป็นพวกเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่ช่วยในเรื่องของความงามและผิวพรรณ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคอลลาเจน

3. ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม (Hair Care)

บทสนทนาที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศที่มีจำนวนมากที่สุดในช่วงที่มีการแพร่ระบาด คือ ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมโดยมีวัฒนธรรมป็อบเป็นตัวหลักในการจุดกระแสของบทสนทนาหัวข้อนี้ ไม่ว่าจะเป็นสีผมหรือสไตล์ทรงผมล่าสุดของศิลปินดารา K-pop และไอดอลไทยที่ทำให้แฟนๆ เข้ามาพูดคุยและตอบรับกับกระแสอย่างต่อเนื่อง

บนทวิตเตอร์ บทสทนาที่กำลังมาแรงนี้มีวิวัฒนาการตั้งแต่การขายสินค้าและการรีวิวสินค้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 มาจนถึงการดูแลเส้นผมและหนังศีรษะในไตรมาสแรกของปี 2021 เนื่องจากคนไทยให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้มากขึ้นและมีการแชร์เคล็ดลับรวมถึงการแนะนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ

เครดิตทวีตจาก: https:// twitter.com/eri_pmpm/status/1365135239983423489


เนื่องจากความอยากที่เป็นผู้นำเทรนด์ล่าสุด คนไทยบนทวิตเตอร์จึงเป็นคนกลุ่มแรกที่อยากซื้อและทดลองใช้สินค้าหรือสไตล์ใหม่ๆ ล่าสุด นอกจากนี้ยังกระตือรือร้นที่จะแชร์คำแนะนำต่อให้กับคนอื่นๆ ทำให้ทวิตเตอร์กลายเป็นตลาดในการขายสินค้าและเป็นแหล่งข้อมูลใหม่ล่าสุดของเทรนด์ในการดูแลเส้นผมอีกด้วย

เครดิตทวีตจาก: https:// twitter.com/Hamkdy_/status/1421072145329709066

4. ผลิตภัณฑ์ดูแลและบำรุงผิว (Personal and Skin Care)

บทสนทนาที่เกี่ยวกับความงามบนทวิตเตอร์ประเทศไทยยังคงได้รับความนิยมและแทบไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าบทสนทนาหัวข้อนี้ได้รับความนิยมมากสุดในกลุ่มผู้หญิง 62% แต่การทวีตข้อความที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลและบำรุงผิวก็ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ชายมากถึง 38%

กลุ่มเป้าหมายชาวไทยบนทวิตเตอร์เปิดใจรับกับผลิตภัณฑ์ความงาม ทำให้ทวิตเตอร์กลายเป็นสถานที่สำหรับแบรนด์ต่างๆ ในการเปิดตัวสินค้าดูแลและบำรุงผิวตัวใหม่ล่าสุด และด้วยความอยากลองใช้สินค้าตัวใหม่ล่าสุด คนไทยบน ทวิตเตอร์จึงรีบไปซื้อสินค้ามาลองใช้เพื่อแชร์ประสบการณ์ในการใช้งาน

นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ยังชอบแนะนำและ ขายต่อ ทำให้ทวิตเตอร์กลายเป็นตลาดที่ได้รับความนิยมสำหรับผลิตภัณฑ์ความงามและแบรนด์ต่างๆ เพราะว่าคนไทยยังคงมองหาสินค้าที่จะมาใช้ในกิจวัตรการดูแลความงามของตัวเองอย่างต่อเนื่องในช่วงโควิด

ซึ่งบทสนทนาในหัวข้อนี้ก็ไม่ได้ขับเคลื่อนเฉพาะแค่เรื่องความปรารถนาที่จะดูดีเพียงอย่างเดียว แต่เรื่องของสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งบทสนทนาที่สำคัญเนื่องจากผู้คนหันมาใช้ทวิตเตอร์ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพผิว ตั้งแต่เรื่องสิว ไปจนถึงเรื่องของการมีผิวกระจ่างใสและขอคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องผิวพรรณ

เครดิตทวีตจาก: https:// twitter.com/FKYz_/status/1420332191708454912

5. ผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน (Home Care)

การแพร่ระบาดโควิด-19 ในช่วงแรกผู้คนต่างมุ่งความสนใจไปในเรื่องการฆ่าเชื้อโรคในบ้านทำให้บทสนทนาที่เกี่ยวกับการดูแลบ้านเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ติดอยู่ใน 5 อันดับบทสนทนาที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค แม้ว่าบทสนทนาใน
หัวข้อนี้จะลดน้อยลงไปในระดับหนึ่ง แต่การดูแลบ้านยังคงเป็นหัวข้อบทสนทนาที่มีความสำคัญอยู่บนทวิตเตอร์ประเทศไทย

ชาวทวิตภพมักทวีตเกี่ยวกับการดูแลรักษาและการป้องกันบ้านที่อยู่ของพวกเขา และจากการสนทนาเกี่ยวกับการดูแลรักษาที่อยู่อาศัย มาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2021 เทรนด์การสนทนาได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของความงามและสุนทรียศาสตร์แทนเนื่องจากคนส่วนใหญ่หันมาโชว์บ้านหรือห้องของตัวเองที่ดูสะอาดสะอ้านสบายตาและการตกแต่งที่ดูดีมีสไตล์ทำให้บทสนทนาในหัวข้อนี้ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องบนทวิตเตอร์ประเทศไทย

เครดิตทวีตจาก: https:// twitter.com/JorOrYor/status/1416250284364369920

คลิกที่นี่ครบจบ เช็คสิทธิ 'ประกันสังคม' www.sso.go.th ม.33 ม.39 ม.40
ยึดทรัพย์​กว่า 100 ล้าน ปธ.สโมสรฟุต.ดังเมืองเหนือ น้องใหม่ไทยลีก 2 คดีค้ายาเสพติด
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ยิ่งหนัก! พบติดเชื้อเพิ่ม 23,418 ราย เสียชีวิต 184 ราย ไม่รวม ATK อีก 1,523 ราย
การเปลี่ยนแปลงเทรนด์ของผู้บริโภคสร้างโอกาสใหม่ให้กับแบรนด์

การวิจัยของทวิตเตอร์แสดงให้เห็นว่าเทรนด์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ความ
ชื่นชอบที่เกิดจากความพึงพอใจในทันทีผ่านการซื้อของออนไลน์และการช้อปปิ้งที่ร้านสะดวกซื้อทำให้เทรนด์ของผู้บริโภคในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงต่อไปเรื่อยๆ

และหากมองจากมุมมองของแบรนด์ ทวิตเตอร์ ถือเป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งที่แบรนด์สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ โดยผู้ใช้งาน 71% ให้คะแนนในการโต้ตอบกับแบรนด์ว่า "ดี / ดีเยี่ยม" (มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ) นอกจากนี้ทวิตเตอร์ยังเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับแบรนด์ต่างๆ ในการเปิดตัวสินค้าอุปโภคบริโภคใหม่ๆ

โดยผู้ใช้งาน 77% ให้คะแนนในเรื่องของการที่ทวิตเตอร์แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกอยู่ในขณะนั้นว่า "ดีมาก / ดีที่สุด" (มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ) ดังนั้นแบรนด์ที่ชาญฉลาดจะใช้ประโยชน์จากทวิตเตอร์ในการทำความเข้าใจเทรนด์ของผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต ขณะเดียวกันยังเป็นการเชื่อมต่อกับกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพผ่านการใช้เครื่องมือโฆษณาสร้างสรรค์ของทวิตเตอร์และใช้พลังของการสนทนาบนทวิตเตอร์ได้อีกด้วย
#3448
 
ข้าวอินทรีย์ (Organic Rice)ข้าวอินทรีย์สุรินทร์ เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิตและในระหว่างการเก็บรักษาผลผลิต หากมีความจำเป็นแนะนำให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติ และสารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคนหรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลผลิต ในดินและในน้ำ ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผล ข้าวจังหวัดสุรินทร์ที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นข้าวกล้องอินทรีย์ (Organic Rice) เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมและสารกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิตและในระหว่างการเก็บรักษาผลผลิต หากมีความจำเป็นแนะนำให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติ และสารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคนหรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลผลิต ในดินและในน้ำ ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวอินทรีย์กรมการข้าวที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 
       ประเภทของข้าวอินทรีย์
   1. ข้าวอินทรีย์รับรองมาตรฐาน Certified Organic เป็นระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืช มีการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานอิสระ โดยมีทั้งภาครัฐ เอกชนและหน่วยงานจากต่างประเทศ มีตราสัญลักษณ์ติดที่ผลิตภัณฑ์ และจะต้องมีการตรวจเพื่อต่ออายุใบรับรองทุกปี
 
   2. ข้าวอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน In-conversion เป็นข้าวที่อยู่ในช่วงระยะเวลาที่เริ่มทำเกษตรอินทรีย์ในปีแรกก่อนจะได้รับการรับรองผลผลิตว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ โดยระยะปรับเปลี่ยนเป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
 
   3. ข้าวอินทรีย์แบบยังไม่รับรอง Non Certified เป็นการปลูกข้าวอินทรีย์แบบพึ่งตนเอง ส่วนใหญ่เป็นการทำเกษตรแบบพื้นบ้านหรือปลูกในระบบผสมผสานหรือในไร่หมุนเวียน ไม่มีการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานใดๆ เกษตรกรกลุ่มนี้อาจเป็นกลุ่มที่ทำการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนและนำผลผลิตส่วนเกินมาจำหน่ายผ่านระบบตลาดท้องถิ่น ทั้งนี้อาจมีการรับรองกันเองในระบบกลุ่มหรือชุมชนข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ข้าวกล้องอินทรีย์  คือ ข้าวที่ได้จากการผลิตภายใต้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ซึ่งมีการจัดการการผลิตข้าวที่เกื้อกูลต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ เน้นใช้วัสดุธรรมชาติ ไม่ใช้วัตถุดิบสังเคราะห์และมีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาสภาพการเป็นข้าวอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ 
ขั้นตอนการผลิตข้าวอินทรีย์  ข้าวอินทรีย์กรมการข้าวส่งทั่วไทย ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
ข้าวอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน
เป็นระบบการผลิต ข้าวหอมมะลิแดงอินทรีย์ส่งทั่วไทย ที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโตสารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารพิษแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน
ข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล
การผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล มีกระบวนการผลิตการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ และห้ามใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์ในกระบวนการผลิตและแปรรูปข้าวอินทรีย์ ซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องผฏิบัติตามเพื่อให้ได้รับการรับรอง มีขั้นตอนการปฏิบัติเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.เกษตรกรจะต้องมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในการผลิตข้าวอินทรีย์ (  หลักปฏิบัติในการผลิตข้าวอินทรีย์ )
2.เกษตรกรจัดทำบันทึกขั้นตอนการใช้ปัจจัยการผลิต โดยแสดงแหล่งที่มาและปริมาณการใช้
3.สมัครขอรับรองต่อกรมการข้าว เกษตรกรต้องแสดงข้อมูลต่อไปนี้
- ประวัติการใช้พื้นที่
- ประวัติการใช้สารเคมี และผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในดินและน้ำ (ถ้ามี)
- แผนที่และแผนผังแปลงนาที่ขอการรับรองและพื้นที่ข้างเคียง
- แผนการผลิตในทุกขั้นตอน
- บันทึกขั้นตอนการใช้ปัจจัยการผลิต
- บันทึกกิจกรรมในแปลงนา และข้อมูลอื่นๆ

สถานการณ์ข้าวอินทรีย์ไทย  ข้าว Hor.Boutique ข้าวอินทรีย์สุรินทร์    ข้าวอินทรีย์ 277 หมู่ 14 ถ.พิชิตชัย ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทร. 092-8245655
Facebook :https://www.facebook.com/Hor.Organic
Twitter : https://twitter.com/hor_boutique
IG : https://www.instagram.com/hor.boutique/
Line: @Hor.Boutique

เรามีข้าวอินทรีย์ 7 ประเภทครับ
1.  ข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์
2. ข้าวกล้องหอมมะลิเพื่อสุขภาพ
3.  ปลูกข้าวปะกาอำปึลอินทรีย์ #ข้าวพื้นถิ่นสุรินทร์
4.  ข้าวผสมหลายสายพันธุ์ออร์แกนิคจังหวัดสุรินทร์
5. ข้าวกล้องหอมมะลิแดงออแกนิคคือ
6.ข้าวมะลินิลอินทรีย์สุรินทร์
7. ข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์

ข้าว Hor พร้อมขายแล้วที่ Shopee & Lazada
https://shopee.co.th/hor.boutique
https://www.lazada.co.th/shop/horboutique/

#ข้าวออร์แกนิกสุรินทร์
#ข้าวออแกนิคสุรินทร์
#ข้าวออแกนิกสุรินทร์
#ข้าวอินทรีย์สุรินทร์
#ข้าวคุณภาพสุรินทร์
 
 
#3449


เข้าสู่วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ ที่ในปีนี้ ใครหลายๆ คนอาจจะไม่ได้กลับไปหาแม่ที่บ้าน เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19

การแสดงความรัก การดูแลพ่อแม่ ไม่จำเป็นจะต้องเฉพาะ '12 สิงหา วันแม่แห่งชาติ' เท่านั้น แต่เมื่อเป็นวันพิเศษ ก็อาจจะมีของขวัญพิเศษๆ ให้แก่คุณแม่ ถึงตัวจะไปหาไม่ได้ส่งของขวัญไปแทนกันยังดี

เลือกของขวัญแทนคำบอกรักแก่คุณแม่
เริ่มด้วย อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ  สิ่งสำคัญอย่างมากในกลุ่มคุณแม่ หรือผู้สูงอายุ ยิ่งในยุคนี้อาหารเสริมเพื่อสุขภาพมีความจำเป็นอย่างมากในการเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต่างๆ แก่ผู้สูงอายุ

สเปรย์แอลกฮออล์พกพา และชุดหน้ากากอนามัย เรียกได้ว่ากลายเป็นอาวุธประจำตัวของทุกคนไปแล้วในยุคโควิด-19 เพราะไปไหนมาไหน หรือแม้แต่อยู่ในบ้านก็ต้องมีติดตัวไว้ แนะนำให้เลือกสเปรย์แอลกฮออล์พกพาที่จะถนอมมือคุณแม่ มอบความชุ่มชื่น ไม่ทำให้มือลอก มือแห้ง ขณะที่ชุดหน้ากากอนามัยก็ควรจะเลือกผ้า หรือยี่ห้อที่ไม่ระคายเคืองผิวของคุณแม่


แผ่นหอมติดแมส คุณแม่ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา อาจหายใจไม่สะดวก อึดอัด แนะนำ แผ่นหอมติดแมส ช่วยให้หายใจสดชื่นแม้ใส่แมสตลอดเวลา ลดกลิ่นอับ ลมหายใจไม่สดชื่น ปลอดภัยด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีอันตราย

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด มีความจำเป็นอย่างมากในยุคโควิด สามารถวัดระดับออกซิเจนในเลือด (Sp02) อัตราการเต้นของหัวใจ (PR) และค่าการไหลเวียนของเลือด (PI) ได้ เพื่อความปลอดภัย

ชุดเครื่องหอม สมุนไพร ผู้สูงอายุอาจมีอาการวินเวียงหัว ปวดหัว ยิ่งใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา อาจทำให้หายใจไม่สะดวก แนะนำเลือกซื้อ ชุดเครื่องหอม สมุนไพร ที่ช่วยให้ความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าผ่อนคลาย ลดอาการคันและปวด มอบความเย็นสบาย

'นมแม่' วัคซีนป้องกันโควิด-19 ป้องกันโรคได้ดีที่สุด
นอกจากของขวัญที่จะให้คุณแม่ใน วันแม่แห่งชาติ แล้ว รู้หรือไม่ว่า??? 'นมแม่' เป็นเสมือนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ป้องกันโรคต่างๆ แก่ลูกได้ดีที่สุด  

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าโควิด-19 สามารถติดต่อผ่านน้ำนมแม่ได้ องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ จึงแนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถให้นมจากเต้าและโอบกอดแนบเนื้อได้แม้ว่าแม่จะติดเชื้อโควิด-19 หรือมีความเสี่ยงสูงก็ตาม  

อย่างไรก็ดี แม่ควรรักษาสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัยขณะให้นมลูก ล้างมือด้วยสบู่ก่อนและหลังสัมผัสลูก ตลอดจนหมั่นทำความสะอาดพื้นผิวที่แม่สัมผัสบ่อยๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ


การศึกษาต่าง ๆ พบว่า ประโยชน์ของ นมแม่ มีมากกว่าความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปสู่ลูก อีกทั้งแอนติบอดี้ในนมแม่ยังอาจช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อหาก ทารก ได้รับเชื้อโควิด-19


นางคยองซัน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการช่วยให้ทารกเติบโตอย่างแข็งแรงโดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด-19 น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับทารก เพราะเปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ แอนติบอดี้ ฮอร์โมน และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยกระตุ้นระบบ ภูมิคุ้มกัน ของทารกและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ดี

'ยูนิเซฟเรียกร้องคุณแม่ไทยม่เลี้ยงลูกด้วย 'นมแม่'
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กทั้งในช่วงแรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ การศึกษาต่าง ๆ พบว่าเด็กที่ได้กินนมแม่มักจะมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยน้อยกว่า อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะมีไอคิวสูงกว่า มีการศึกษาที่สูงกว่าและทำงานที่ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่

นอกจากนี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังช่วยเสริมสร้างสายใยรักและผูกพันระหว่างแม่กับลูก อีกทั้งลดความเสี่ยงของแม่ในการเป็นโรคอ้วน  โรคเบาหวานชนิดที่สอง โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่อีกด้วย


ยูนิเซฟได้แนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกเพื่อประโยชน์สูงสุดด้านสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตรานี้ต่ำที่สุดในภูมิภาค ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยพ.ศ. 2562 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและยูนิเซฟ พบว่า มีเด็กเพียงร้อยละ 14 ที่ได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกของชีวิต ซึ่งลดลงจากร้อยละ 23 ในพ.ศ. 2559

แนะรัฐบาล สธ.ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างจริงจัง
ยูนิเซฟ ได้เรียกร้องให้ภาครัฐบาลและเอกชนเพิ่มการลงทุนในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการ เลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ ตัวอย่างเช่น บุคลากรทางการแพทย์ควรสนับสนุนให้ทารกแรกเกิดได้รับนมแม่ภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด พร้อมให้ความรู้และคอยแนะนำให้แม่สามารถให้นมลูกได้อย่างต่อเนื่อง

ในขณะเดียวกัน หน่วยงานสาธารณสุขควรปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กอย่างเคร่งครัด เช่น กำกับดูแลการตลาดออนไลน์ของนมผงที่เข้าถึงแม่โดยตรง หรือห้ามการแจกตัวอย่างนมผงภายในโรงพยาบาล


นอกจากนี้ ภาครัฐบาลและเอกชนควรออกนโยบายที่เป็นมิตรกับเด็กและครอบครัวเพื่อให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องหลังจากที่ต้องกลับไปทำงาน เช่น สามารถ ลาคลอด ได้อย่างน้อย 18 สัปดาห์โดยได้รับค่าจ้าง หรือสิทธิลาคลอดสำหรับพ่อ ในขณะเดียวกัน ที่ทำงานควรมีนโยบายที่ชัดเจนและจัดให้มีมุม นมแม่ ที่สะอาดปลอดภัยเพื่อให้แม่บีบเก็บน้ำนมได้ 

อ้างอิง: promotions, unicef
#3450


ดร.ขนิษฐา บูรณพันศักดิ์ หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า จังหวัดปทุมธานี โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ดำเนินโครงการ "การพัฒนาสมรรถนะนักสังคมสงเคราะห์และรูปแบบการดูแลทางสังคม" ดูแลและติดตามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว แต่ต้องกักตัวอยู่บ้านอีก 14 วัน รวมถึงผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงแยกกักตัวดูแลตนเองที่บ้าน หรือ HOME ISOLATION

ซึ่งจากการลงพื้นที่ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ ลดความกังวลใจ พบว่า ผู้ป่วยจำนวนมากประสบปัญหาไม่มีรถรับ-ส่งในการเดินทางมาโรงพยาบาล จึงต่อยอดขยายผลจัดทำโครงการ 'อาสาTAXI ปทุมฯ ห่วงใยช่วยภัยโควิด' โดยชักชวนอดีตผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาชีพขับแท็กซี่ เคยรักษาในโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ฯ รวมกลุ่มแท็กซี่ ขับรถรับ-ส่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยในการมารับการรักษาที่โรงพยาบาล ขณะนี้มีแท็กซี่ที่เข้าร่วมโครงการฯ แล้วจำนวน 6 คัน

"จากการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พบว่าผู้ป่วยจำนวนมากประสบปัญหาไม่มีรถส่วนตัว ในการเดินทางมาตรวจเอกซเรย์ปอด หรือรักษาที่โรงพยาบาล กลุ่มจิตอาสา และเครือข่ายผู้ขับรถแท็กซี่ จึงอาสาเข้ามาช่วย โดยร่วมกันปรับปรุงรถแท็กซี่ให้ใช้งานรับส่งผู้ป่วยไป-กลับบ้าน และโรงพยาบาล ทำฉากกั้นระหว่างคนขับกับผู้โดยสาร และคนขับแท็กซี่ทุกคนจะใส่ชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ตลอดการขับขี่ เช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนค่าบริการจะคิดตามราคามิเตอร์ ในกรณีผู้ป่วยยากไร้ โรงพยาบาลจะพิจารณาช่วยเหลือค่าโดยสารเป็นรายๆ ไป" ดร.ขนิษฐา กล่าว


นายพจนารถ แย้มยิ้ม จิตอาสา TAXI ปทุมฯ ห่วงใยช่วยภัยโควิด กล่าวว่า ได้มาเป็นแท็กซี่จิตอาสารับ-ส่งผู้ป่วย เนื่องจากติดเชื้อโควิด-19 ในการระบาดระลอกแรก ช่วงเดือนมีนาคม 2563 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ฯ ได้พบกับกลุ่มนักสังคมสงเคราะห์ที่เข้ามาให้กำลังใจ พอหายดีกลับมาขับแท็กซี่พบว่า จำนวนผู้โดยสารลดลงส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอ

กลุ่มนักสังคมสงเคราะห์จึงชักชวนให้มาขับรถแท็กซี่เพื่อรับ-ส่ง ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ของโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ฯ พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่สามารถเดินทางมาเข้ารับการรักษาได้ จึงได้ชักชวนเพื่อนแท็กซี่มาเข้าร่วมโครงการฯ นอกจากจะมีรายได้เพิ่มแล้ว ยังได้ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ด้วย



'มิสทีน' เปิดลงทะเบียน 'มิสทินสู้โควิด' แจก 1 พันบาท-สินค้า เริ่ม 12 -14 ส.ค.นี้
อัพเดท! มิสทีนสู้โควิด.com เว็บล่มไม่เลิก เช็คเลื่อนเวลาลงทะเบียน แจกเงิน 1,000 บาท
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ติดสูง! พบติดเชื้อเพิ่ม 22,782 ราย เสียชีวิต 147 ราย ไม่รวม ATK อีก 3,673 ราย
"รู้สึกตื้นตันใจทีได้ช่วย ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีรถมาโรงพยาบาล และสามารถช่วยแบ่งเบาภาระรถฉุกเฉินของโรงพยาบาล หน่วยงานสาธารณสุข รถกู้ภัย ในการช่วยเหลือผู้ป่วย และยังลดการติดเชื้อจากการสัญจรของผู้ติดเชื้อได้ ซึ่งผู้โดยสารหลายคนดีใจมากที่มีรถมารับ บางครั้งหากผู้โดยสารไม่มีทุนทรัพย์ก็ไม่คิดเงินถือว่าได้ช่วยเหลือกัน"

"นอกจากงานแท็กซี่จิตอาสาแล้ว ยังร่วมกับทีมนักสังคมสงเคราะห์ ในการให้คำปรึกษา แนะนำดูแลเฝ้าระวัง และการป้องกันตนเองจากโควิด-19 ให้กับชุมชน พร้อมมอบของอุปกรณ์ยังชีพต่างๆ เพื่อให้กำลังใจด้วย" นายพจนารถ กล่าว

ทั้งนี้ หากท่านใดต้องการใช้บริการ 'อาสา TAXI ปทุมฯ ห่วงใยช่วยภัยโควิด' สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 061-868-5246 แจ้งล่วงหน้า 1 วัน รับ-ส่งในพื้นที่ กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล
#3451


นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ปัจจุบันผลผลิตไข่ไก่ที่มีอยู่ในระบบยังมีปริมาณตามปกติ ที่  41-42 ล้านฟองต่อวัน และจากมาตรการรัฐที่ให้ยืดอายุแม่ไก่ยืนกรง จะทำให้ปริมาณไข่ไก่เพิ่มอีก 3 ล้านฟองต่อวัน รวมเป็น 44-45 ล้านฟองต่อวันในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ เป็นปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศอย่างแน่นอน  ที่สำคัญคือราคาขายหน้าฟาร์มเกษตรกรยังอยู่ในระดับเดิมตามที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือไว้ จึงแปลกใจว่าทำไมราคาไข่ไก่ในหลายพื้นที่มีการปรับสูงขึ้น

 

"ต้องยอมรับว่าในสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่มีหลายจังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้มถูกล็อกดาวน์ การขนส่งผลผลิตไข่ไก่ให้กับห้างต่างๆ  จึงทำได้ไม่สะดวกนัก  ส่งได้เพียงวันละหนึ่งเที่ยว  หากว่ามีคนซื้อมากกว่าปกติ ก็จะทำให้เติมไม่ทัน  ยืนยันว่าผลผลิตไข่ไก่ที่มีอยู่ขณะนี้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศอย่างแน่นอน  ความต้องการที่ดูเหมือนว่ามีเพิ่มขึ้นช่วงนี้น่าจะเป็นเพราะผู้บริโภคซื้อตุนไว้ เพื่อลดความถี่ในการออกนอกบ้าน จากปกติซื้อที่ 10 ฟอง ก็เพิ่มเป็น 90-120 ฟอง   เราเองก็เห็นใจผู้บริโภค ก็ต้องประคับประคองกันไป เพื่อก้าวผ่านโควิด-19 ไปด้วยกัน" นายสุเทพ กล่าว

 

นายสุเทพ กล่าวว่า ปัญหาราคาไข่ที่สูงขึ้นช่วงนี้ อยู่ที่พ่อค้าคนกลางเป็นสำคัญ  ซึ่งทางสมาคมฯได้ย้ำให้เกษตรกรระมัดระวังไม่ขายผลผลิตไข่ให้คนแปลกหน้า แต่จะขายให้เฉพาะลูกค้าประจำ สำหรับต้นทุนการเลี้ยง  ขณะนี้มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยพุ่งขึ้นมาใกล้เคียงเกือบเท่าราคาที่ขายหน้าฟาร์มแล้ว จากช่วงไตรมาสที่สองต้นทุนอยู่ที่ฟองละ 2.76 บาท และมีแนวโน้มต้นทุนสูงขึ้นอีกจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกากถั่วเหลือง ทำให้ตอนนี้ผู้เลี้ยงแทบไม่มีกำไรเลย


ทางด้านนายสุวัฒน์ แพร่งสุวรรณ์ ประธานชมรมไข่ไก่ภาคอีสาน เปิดเผยว่า การที่ราคาไข่ในขณะนี้ดีดตัวขึ้น มาจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้สำหรับผู้กักตัวที่โรงพยาบาลสนามต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากกทม.ที่กลับมารักษาตัวที่ภูมิลำเนาของตนเองมากขึ้น   เพราะไข่ไก่เป็นสินค้าที่นำมาประกอบอาหารได้ง่าย และเก็บรักษาไม่ยาก   ขณะที่ราคาขายหน้าฟาร์มอยู่ในระดับที่กรมการค้าภายในขอความร่วมมือ  โดยปกติไข่ไก่ในภาคอีสาน ส่วนใหญ่จะเป็นผลผลิตส่วนเกินของภาคอื่น ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณที่ลดลงบ้างจากช่วงปกติ จากที่ภาคอื่นๆมีความต้องการเพิ่มขึ้นดังกล่าว

 

ส่วนนายอุ่นเรือน ต้นสัก ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด กล่าวว่า ปริมาณไข่ไก่ในพื้นที่ทางภาคเหนือมีเพียงพอกับความต้องการบริโภค ไม่มีปัญหาขาดแคลน และจำหน่ายตามราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด พร้อมขอให้ภาครัฐช่วยดูแลให้ราคาไข่ไก่มีเสถียรภาพ รวมทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกากถั่วเหลืองให้อยู่ในระดับที่เกษตรกรผู้เลี้ยงพอจะสามารถลืมตาอ้าปากได้
#3452


ทรูดึง 2 ฮีโร่โอลิมปิก 2020 "น้องแต้ว" กำปั้นแกร่งสาวไทย เจ้าของเหรียญโอลิมปิกแรกกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิง และ "โค้ชเช" โค้ชหัวใจไทยผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวงการกีฬาเทควันโดไทยเกือบ 20 ปี เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจ สร้างพลังบวกแบบฉบับนักสู้ ตอกย้ำ King of Sports ที่เป็นที่สุดของกีฬา ทั้งปั้นเยาวชนสู่เส้นทางอาชีพนักกีฬา ส่งเสริมคนไทยก้าวขึ้นเป็นนักกีฬาระดับสากล และรวบรวมหลากหลายคอนเทนต์ประเภทกีฬาฮิต ครบที่สุดในไทย ผ่านทุกแพลตฟอร์มชั้นนำของกลุ่มทรู ด้วยเครือข่ายอัจฉริยะทรู 5G

นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มทรู รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้นำศักยภาพขององค์กรเอกชนไทย ในฐานะผู้นำดิจิทัลไลฟ์สไตล์ครบวงจร มาสนับสนุนด้านการสื่อสารอย่างเป็นทางการแก่นักกีฬาทีมชาติ โค้ช และเจ้าหน้าที่ ในการแข่งขันโอลิมปิก โตเกียวเกมส์ 2020 ซึ่งนำความภาคภูมิใจและสร้างความสุขแก่คนไทยทั้งประเทศ ขอถือโอกาสนี้ขอบคุณทุกคน ที่มีส่วนร่วมสำหรับความสำเร็จครั้งนี้ อันเกิดจากพลังใจของคนไทยทุกคนที่เชื่อมโยงถึงกันและกัน "TRUE POWER IS THAI POWER" และครั้งนี้ กลุ่มทรู มีความยินดีอย่างมากที่ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่สู่ครอบครัวทรูอย่างเป็นทางการ ทั้ง "น้องแต้ว" สุดาพร สีสอนดี และ "โค้ชเช" ชเว ยอง-ซอก ผู้สร้างประวัติศาสตร์แก่วงการกีฬาไทย ในฐานะฮีโร่ ทรู 5G คนล่าสุด

เพื่อเป็นตัวแทนส่งต่อพลังบวกและแรงบันดาลใจให้แก่คนในสังคม สอดคล้องกับความมุ่งมั่นตั้งใจของกลุ่มทรู ในการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสื่อสารเพื่อผู้บริโภคชาวไทยอย่างต่อเนื่อง และการให้ความสำคัญด้านกีฬา ตอกย้ำภาพ King of Sports ที่สุดของกีฬา ด้วยเชื่อว่ากีฬา เป็นสิ่งที่สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ เติมพลังใจให้ทุกคนลุกขึ้นมาสู้ในทุกสถานการณ์ ซึ่งกลุ่มทรู ให้ความสำคัญ ตั้งแต่การปั้นเยาวชนสู่เส้นทางอาชีพนักกีฬา สนับสนุนนักกีฬาไทยทุกรูปแบบ ส่งเสริมคนไทยให้ก้าวขึ้นเป็นนักกีฬาระดับโลก และเป็นศูนย์รวมคอนเทนต์ทุกประเภทกีฬาที่ครบสุดในไทย ให้คนไทยได้รับชมอย่างเต็มอิ่ม ผ่านทุกแพลตฟอร์มชั้นนำของกลุ่มทรู ทั้งทรูวิชั่นส์ ทรูไอดี ทรูสปอร์ต ผ่านความเร็วกว่า แรงกว่าของเครือข่ายทรู 5G

นายโอลิเวอร์ กิตติพงษ์ วีระเตชะ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านแบรนด์และการสื่อสาร กลุ่มทรูกล่าวว่า ความสำเร็จในการแข่งขันโอลิมปิก เกมส์ 2020 นี้ คือการได้เห็นพลังใจของนักกีฬา โค้ช ทีมงานที่ต่างทุ่มเท ทำหน้าที่ตัวแทนประเทศไทยอย่างเต็มที่ และที่สำคัญ มากกว่าชัยชนะที่เป็นประวัติศาสตร์ครั้งนี้ คือการได้เห็นพลังใจของคนไทยทุกคนที่เชื่อมโยงถึงกันและกัน ซึ่งเป็นพลังที่มีคุณค่าอย่างแท้จริงยิ่งกว่า จึงเป็นที่มาของแนวคิด "TRUE POWER IS THAI POWER" สะท้อนภาพกีฬาเชื่อมโยงผู้คนทุกกลุ่มเข้าไว้ด้วยกันให้เป็นหนึ่งเดียว

การนำ 2 ฮีโร่จากกีฬาโอลิมปิก 2020 ทั้งผู้อยู่เบื้องหน้าอย่าง "น้องแต้ว" สุดาพร สีสอนดี ตัวแทนพลังนักสู้ ผู้สร้างประวัติศาสตร์ไทยให้มวยสากลสมัครเล่นหญิงไทย และผู้อยู่เบื้องหลังอย่าง "โค้ชเช" ชเว ยอง-ซอก ซึ่งเป็นพลังสู่ชัยชนะให้แก่นักกีฬาเทควันโดไทยมาเกือบ 20 ปีนั้น ได้ตอกย้ำภาพ แบรนด์ทรู ที่เชื่อมั่นว่าทุกสิ่งเป็นจริงได้เมื่อมีกันและกัน ทั้งพลังของผู้อยู่เบื้องหน้า เบื้องหลัง รวมทั้งพลังของคนไทยทุกคน ที่ได้ร่วมกันสร้างสังคมให้เกิดมิติบวก สามารถสร้างความสุขให้คนไทยได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ทั้ง 2 สมาชิกใหม่ของครอบครัวทรู ยังจะร่วมขับเคลื่อนกลยุทธ์ Sport Marketing ที่กลุ่มทรู มีความโดดเด่น เป็นผู้นำคอนเทนต์ด้านกีฬาระดับเวิลด์คลาสมาโดยตลอด ทั้งคอนเทนต์อันดับหนึ่ง อย่าง ฟุต.พรีเมียร์ลีกอังกฤษ และลีกแถวหน้าของยุโรปจากช่องบีอิน สปอร์ตส์ (beIN Sports) ที่ทำให้ทรู มีครบทุก.รายการดังและมากที่สุดในไทยถึง 7 ลีก 11 ถ้วย กว่า 1,700 แมตช์ ตลอดจนกีฬาอื่นๆ มากถึง 21 ช่องรายการ อาทิ ซูเปอร์โบว์ล, กอล์ฟ รายการเมเจอร์, เทนนิส รายการแกรนด์สแลม, แบดมินตันชิงแชมป์โลก, สนุกเกอร์ชิงแชมป์โลก, สุดยอดมอเตอร์สปอร์ต โมโตจีพี และเอ็นบีเอ ไฟนัลส์ ทั้งนี้ สำหรับแฟนๆ ชาวไทยที่ชื่นชมน้องแต้ว และโค้ชเช เตรียมติดตามเรื่องราวสร้างแรงบันดาลและส่งต่อพลังบวกให้ทุกคนก้าวต่อไปด้วยหัวใจที่เข็มแข็งผ่านภาพยนตร์โฆษณาซึ่งจะได้รับชมพร้อมกันเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน
#3453


เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดรับลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (มีเลขบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเสี่ยง (เฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนและไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน เท่านั้น)

สำหรับการเปิดรับลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด "แอสตร้าเซนเนก้า" เนื่องจากทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยของโรงพยาบาล ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเสี่ยง และมีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (มีเลขบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล) ดังนี้

โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคเบาหวาน
โรคไตเรื้อรัง 
โรคอ้วน
โรคมะเร็งทุกชนิด
โดยจะได้รับฉีดวัคซีนระหว่างวันที่ 16 - 20 สิงหาคม 2564 ณ คลินิกบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ (รับจำนวนจำกัด)

สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย

เงื่อนไขลงทะเบียน

เป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (มีเลขที่บัตรโรงพยาบาล/HN)
อายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
ต้องไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน
หลังจากได้ลงทะเบียน เลือกวันและเวลาเรียบร้อยแล้ว จะได้รับการยืนยันการจองฉีดวัคซีน ขอให้ท่านบันทึกหน้าจอไว้เป็นหลักฐาน โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียนได้ผ่านทาง Chula Care Application ภายใน 3 วัน หลังจากที่ท่านลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

'ขั้นตอนการลงทะเบียนฉีดวัคซีน

สแกนคิวอาร์โค้ด เข้าเว็บไซต์ www.chulaprom.kcmh.or.th เพื่อลงทะเบียนและเลือกวันเวลาเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19
เปิดลงทะเบียนวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 น. (ทางโรงพยาบาลจะปิดลงทะเบียนเมื่อมีผู้จองฉีดวัคซีนครบตามจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร)
ผู้ที่ผ่ามการลงทะเบียน สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน ที่คลินิกบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในระหว่างวันที่ 16-20 สิงหาคม 2564 (ตามวันเวลาที่ลงทะเบียนไว้ เท่านั้น)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขอสงวนสิทธิ์งดให้บริการสำหรับผู้ที่วอล์กอิน หรือไม่ได้ลงทะเบียนนัดหมายผ่านะบบฯ

คำแนะนำการรับบริการฉีดวัคซีนที่คลินิกบริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์

กรุณามารับบริการฉีดวัคซีนตามวันและเวลาที่นัดหมายเท่านั้น เพื่อกระจายความหนาแน่นของประชาชนผู้มารับบริการ
ในวันที่มารับบริการ เตรียมบัตรประชาชน ปากกา โทรศัพท์มือถือเครื่องที่ลงทะเบียนหมอพร้อม (หากมี) และสวมเสื้อที่สามารถฉีดวัคซีนได้ง่าย
ก่อนมารับบริการฉีดวัคซีน สามารถรับประทานอาหารและยาสำหรับโรคประจำตัวได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหยุดยาก่อนรับวัคซีน
หากท่านอยู่ระหว่างการกักตัว รอผลการตรวจเชื้อโรคโควิด-19 หรือมีอาการทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ เสมหะ หรือ น้ำมูก ในวันนัดฉีดวัคซีน ขอให้ท่านงดการมารับฉีดวัคซีน
#3454


การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้มีผู้ป่วยสะสมนับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2564 ถึงวันที่ 10 ส.ค.2564 รวม 767,088 ราย และมผู้ป่วยที่กำลังรักษา 211,223 ราย 

ในขณะที่จำนวนเตียงที่รองรับการรักษาข้อมูลล่าสุดวันที่ 4 ส.ค.2564 ทั่วประเทศมีเตียง 197,837 ราย ใช้ไปแล้ว 151,103 เตียง คิดเป็น 76.38% และมีเตียงว่าง 46,516 เตียง แบ่งเป็นเตียงว่างในกรุงเทพฯ 5,331 เตียง และในต่างจังหวัด (รวมปริมณฑล) 41,185 เตียง ซึ่งขณะนี้สถานการณ์เตียงในระบบสาธารณสุขจึงน่าเป็นห่วง

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานเปิดหน่วยคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 และโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) ในโครงการ "ลมหายใจเดียวกัน" ของกลุ่ม ปตท. วันที่ 11 ส.ค.2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม

รายงานข่าวจาก ปตท.ระบุว่า กลุ่ม ปตท.ได้จัดตั้ง "โครงการลมหายใจเดียวกัน" เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19 ของประเทศ ร่วมเป็นพลังต่อลมหายใจของประชาชน รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไป โดยในระยะแรกได้เร่งส่งมอบเครื่องช่วยหายใจ เครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหลสูง พร้อมสนับสนุนออกซิเจนเหลวแก่โรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤติ และมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อใช้ในการรักษาอาการผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัดรวมกว่า 200 แห่ง ทั่วประเทศ

รวมทั้งในระยะต่อมาได้สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 7 แห่ง ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัดหน่วยวัคซีนเคลื่อนที่เชิงรุกใน 4 พื้นที่เปราะบางและมีความเสี่ยงสูง รวมถึงเดินหน้าโครงการ Restart Thailand ต่อเนื่องทำให้มีอัตราการจ้างงานภายในประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 25,000 อัตรา ในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน กลุ่ม ปตท.ได้สนับสนุนความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในภาวะวิกฤติโควิด-19 แล้วรวมเป็นงบประมาณจำนวนกว่า 1,700 ล้านบาท

ในขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันยังไม่คลี่คลาย และมีผู้ป่วยหนักสูงขึ้น ซึ่งกลุ่ม ปตท.มีแผนช่วยเหลือประชาชนและแบ่งเบาภาระภาครัฐ โดยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และพันธมิตรทางการแพทย์ จัดตั้งหน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจรแบบ End-to-End ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่ยังคงมีตัวเลขที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการเสียชีวิต ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เร็วที่สุด



สำหรับหน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) วางแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้น "ตรวจเร็ว แยกเร็ว รักษาเร็ว" ซึ่งจะเป็นการตรวจรักษาแบบครบวงจรแห่งแรกที่เอกชนร่วมกับภาครัฐ ประกอบด้วย 4 จุดหลัก ได้แก่

จุดที่ 1 หน่วยคัดกรอง โครงการลมหายใจเดียวกัน ณ อาคาร Energy Terminal (Enter) ของบริษัทเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด กลุ่ม ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เพื่อเป็นจุดคัดกรองสำหรับกลุ่มเสี่ยง โดยวางระบบดิจิทัลเพื่อลงทะเบียน และเริ่มจากการตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Antigen test kit และหากพบว่ามีการเสี่ยงติดเชื้อ จะนำส่งตรวจ RT-PCR 

สำหรับผู้ป่วยระดับสีเขียวที่ตรวจพบสามารถทำการดูแลตนเองเบื้องต้นที่บ้านหรือในชุมชน (Home or Community Isolation) โดยจะได้รับมอบ "กล่องพลังใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน" ประกอบไปด้วยชุดอุปกรณ์การทางแพทย์และยาที่จำเป็น รวมทั้งระบบติดตามอาการ

สร้างโรงพยาบาลสนามพันเตียง

จุดที่ 2 , 3 และ 4 จัดเตรียมเป็นโรงพยาบาลสนามครบวงจร โครงการลมหายใจเดียวกัน เพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ตามระดับความรุนแรง โดยโรงพยาบาลสนามครบวงจรแห่งนี้ นับเป็นการระดมกำลังของกลุ่ม ปตท.ทุกด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หวังแบ่งเบาภาระและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเตียงในกรุงเทพฯ โดยแบ่งการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ดังนี้

1.โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับสีเขียว เปิดให้บริการในรูปแบบของ Hospitel กระจายไปในหลายโรงแรม จำนวน 1,000 เตียง รองรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากหน่วยคัดกรองอย่างเป็นระบบ

2.โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับสีเหลือง ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการในระดับหนักขึ้น เปิดให้บริการ ณ โรงแรมเดอะบาซาร์ กรุงเทพ มีเตียงผู้ป่วยจำนวน 300 เตียง มีระบบไฮโดรเจน ต่อ Direct Tube ส่งตรงถึงทุกเตียงผู้ป่วย 

พร้อมทั้งมีเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. เพื่อให้การดูแลคนไข้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ เตียงพลาสติกรับน้ำหนักสูง หุ่นยนต์ ปิ่นโต เป็นหุ่นยนต์ลำเลียงเพื่อช่วยบุคคลากรทางการแพทย์ในการดูแลคนไข้ รวมถึงหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ Xterlizer UV Robot

3.โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยระดับสีแดง โดยจัดสร้างโรงพยาบาลสนาม ICU บนพื้นที่ 4 ไร่ สำหรับผู้ป่วยจำนวน 120 เตียง ให้บริการสำหรับผู้ป่วยอาการหนัก โดยปรับพื้นที่โล่งของโรงพยาบาลปิยะเวทเป็นสถานที่ก่อตั้ง โดยจัดทำห้องรักษาความดันลบแยกรายผู้ป่วย ห้องละ 1 เตียง ซึ่งเป็นครั้งแรกของโรงพยาบาลสนามในประเทศ พร้อมระบบ Direct Tube ส่งท่อออกซิเจนตรงทุกห้องผู้ป่วย และมีการติดตั้งถังออกซิเจนเหลวขนาด 10,000 ลิตรพร้อมห้องฉุกเฉินให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
#3455


7 วัน ตั้งแต่วันที่ 4-10 ส.ค. 2564 เป็นรอบ 3 ที่ทาง 'ทีมแพทย์ชนบท' ได้บุกกรุง ลงพื้นที่ชุมชนแออัดกทม. และปริมณฑล เพื่อทำการตรวจค้นหาเชิงรุก 'ผู้ติดเชื้อ'โควิด-19

โดยครั้งนี้มีทีมแพทย์ชนบทกว่า 400 คน แบ่งเป็น 40 ทีม กระจายทุกพื้นที่ชุมชนแออัด ซึ่งแต่ละวันจะลงตรวจประมาณ 25-30 จุดในพื้นที่กทม.และปริมณฑล เฉลี่ยจุดละ  1,000 กว่าคน  ต่อวัน จะเท่ากับวันละ25,000-30,000 ราย

พบ 'ผู้ติดเชื้อโควิด-19' ในทุกพื้นที่ชุมชนกทม.และปริมณฑล
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เล่าว่าการลงพื้นที่ของทีมแพทย์ชนบทรอบที่ 3 นี้  ไม่ได้จำกัดเฉพาะในพื้นที่ชุมชนแออัดกทม.เหมือนที่ผ่านมา แต่ออกปฎิบัติไปยังอำเภอต่างๆ ในปริมณฑลด้วย  ทำให้เห็นสภาพปัญหาที่ประชาชนได้พบเจอ


อย่าง วันพฤหัสบดีที่ 5 ส.ค.2564 ทีมตนและทีมจะนะ ได้ออกไปในอำเภอสามพราน จ.นครปฐม พบว่า มีผู้สูงอายุหลายท่านที่ดูแข็งแรงพอสมควร แต่เมื่อตรวจผล Rapid test กลับเป็นผลบวก และเมื่อตรวจซ้ำด้วย RT-PCT ผลเป็นบวกเช่นกัน  จึงได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ และพูดคุยกับญาติ ซึ่งสภาพบ้านผู้สูงอายุ เป็นห้องหลังเล็กๆที่อยู่ร่วมกัน 5-6 คน มีทั้งเด็กและเด็กน้อยที่ติดโควิด-19 ส่วนกลุ่มหนุ่มสาววัยทำงานยังผลเป็นลบและคนเหล่านี้ ยังคงออกไปทำงานข้างนอกทุกวัน

"ปัจจุบันสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นต้องบอกว่าหนักกว่าทุกครั้งที่ลงพื้นที่ตรวจค้นหาเชิงรุก เพราะการลงพื้นที่ชุมชนแออัด โดยเฉพาะในกทม. ลงไปที่ไหนก็พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก จนบางชุมชนกลายเป็นเกิดภูมิคุ้มหมู่จากการติดโควิด-19 ไม่ใช่จากการฉีดวัคซีน" นพ.สุภัทร กล่าว


อีกทั้ง ในชุมชนประมาณ 25-30% จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ยิ่งไปเห็นสภาพครอบครัว ที่ห้องหนึ่งอยู่กันหลายคน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าทำไมมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ความหวังที่ยอดผู้ป่วยลดลงคงไม่เกิดขึ้น


สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย


เมืองกรุงบริหารจัดการขั้นล้มเหลว นายกฯก็ไม่สามารถแก้ได้ 
นพ.สุภัทร เล่าต่อว่า เมื่อก่อนเวลาตรวจพบ ผู้ป่วยโควิด-19 จะให้ ยาฟาวิพาราเวียร์ และต้องตอบคำถามผู้ป่วยว่าพวกเขาจะต้องทำยังไงต่อ  จะดูแลตัวเองอย่างไร ถ้าเข้า Home Isolation ใครจะดูแลเขา สภาพบ้านครอบครัวก็ไม่เหมาะสมไม่รู้จะไปรักษาที่ไหน

ทว่า ตอนนี้คำถามเหล่านั้นไม่ค่อยมี หลายคนรู้สภาพปัญหาของประเทศ ว่าไม่มีเตียงรองรับ ไม่มีรพ.ให้เข้า รู้ว่าต้องปฎิบัติตัวอย่างไร จะกักตัวเองอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ คือ การเข้าถึงยา เข้าถึงการรักษาอย่างทันถ่วงที เพราะต่อให้โทรไปหาหน่วยงานรัฐ ก็ต้องรอระบบอยู่ดี


"ภาพรวมโควิด-19 รอบนี้ จะหนักในพื้นที่กทม.และปริมณฑล ซึ่งในต่างจังหวัด หลายจังหวัด ได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ได้ดี ผิดกับในกทม.และปริมณฑล โดยเฉพาะกทม. การบริหารจัดการเข้าขั้นล้มเหลว ต่อให้ตอนนี้นายกรัฐมนตรี มานั่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์แก้โควิด-19 เฉพาะกิจในกทม.และปริมณฑล ก็ยังไม่สามารถแก้ได้" นพ.สุภัทร กล่าว

กทม.เป็นเอกเทศ ติดขั้นตอนติดระบบ กว่าจะช่วยผู้ป่วยตายก่อน
กทม.เป็นเอกเทศ ทุกคนติดขั้นตอน ติดระบบไปหมด ต่างคนต่างทำงาน ไม่มีการทำงานร่วมกัน ทำให้มีช่องว่างในการทำงานระหว่างกทม.กับหน่วยงานอื่นๆ กว่าจะตรวจคัดกรองเชิงรุก กว่าจะลงพื้นที่จ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย กว่าผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาก็ไม่ทันการกลายเป็นทั้งชุมชนแออัดเต็มไปด้วยผู้ป่วยโควิด-19


หลายชุมชนมีคนนอนตายนอกบ้าน เพราะไม่อยากทำให้คนในครอบครัวติดเชื้อ และบางชุมชนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่แบบที่รัฐบาลอยากให้เป็นแต่ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีน เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเราไม่อยากให้เป็นแบบนั้น

ปัญหาของหลายชุมชนที่พบเจอตอนนี้ ไม่ใช่เป็นปัญหาของประชาชนที่ไม่รู้ว่าจะดูแลตัวเองอย่างไร แต่สิ่งที่พวกเขาประสบพบเจอ คือ สภาพครอบครัว สภาพบ้านที่ไม่เอื้ออำนวยให้ทำตามมาตรการรัฐ  Home Isolation จึง ไม่สามารถเกิดขึ้นได้   หรือเป็นทางเลือกที่ประชาชนไม่ได้เลือก

แนะจัดหาวัคซีน 15ล้านโดสต่อเดือนโควิดรอบนี้ ไทยถึงจะรอด
นพ.สุภัทร กล่าวต่อไปว่าอยากแนะนำให้ทางกทม.เพิ่มรพ.สนาม เพิ่ม Community Isolation เพราะถ้าทุกคนทำ Home Isolation  กักตัวที่บ้านก็จะติดเชื้อกันหมด และควรมีการเพิ่มจุดตรวจคัดกรองให้ทุกจุด ทุกเขต เมื่อพบผู้ติดเชื้อ ทุกคนต้องได้รับยาทันที

โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตรวจพบว่าติดโควิด-19 หรือมีการสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ควรให้ยาฟาวิพิราเวียร์ทันที ไม่ใช่รอให้ติดเชื้อก่อนแล้วมาให้ เวลานั้นอาจไม่ทันการแล้วพอเจอก็กลายเป็นเสียชีวิตไปแล้ว

 

"ตอนนี้วิธีเดียวที่จะทำให้คนไทย โดยเฉพาะคนกรุงรอด รัฐบาลควรจะจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้ได้เดือนละ 15 ล้านโดส ไม่ใช่ขณะนี้ที่ไม่รู้ว่าวัคซีนมีเท่าใด วัคซีนไปอยู่ที่ไหนหมด เดือนหนึ่งวัคซีนเข้าไม่ถึง 5 ล้านโดส ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่เกิน 2 เดือน จะพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 อีกมาก อาจมีคนตายนับหมื่นราย ดังนั้น ควรมีแผนการจัดหา จัดสรรวัคซีนที่ชัดเจนให้ประชาชนได้รับรู้  เพราะหน้าที่ของรัฐบาลในขณะนี้ คือการจัดหาวัคซีนให้ประชาชนและควรจะหาให้ได้" นพ.สุภัทร กล่าว

'ล็อกดาวน์' ไม่ได้ผล เกิดภูมิคุ้มกันหมู่จากการติดเชื้อไม่ใช่วัคซีน
ล็อกดาวน์ ห้ามทุกคนออกนอกบ้าน ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านอาหาร ให้ work from home 100% ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด และขอความร่วมมือจากประชาชนอย่างเต็มที่ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวอีกว่ามาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมานั่น


ไม่ว่าจะ ล็อกดาวน์ มาตรการ Home Isolation Community Isolation ตรวจคัดกรอง หรือออกพ.ร.ก.อะไรมาก็ตาม  อาจจะช่วยได้แต่เป็นเสมือนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่า เพราะโควิด-19 เป็นโรคระบาดการหยุดโรคระบาดต้องสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ นั่นคือ ทุกคนต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 การล็อกดาวน์ในวงกว้างตอนนี้เหมือนขี้ช้างจับตั๊กแตก ยอดผู้ป่วยไม่ลด แต่ความเสียหายกระจายเป็นกว้างมาก

"การล็อกดาวน์ ทำได้แต่ควรเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุกชุมชนลาดพร้าว พบผู้ติดเชื้อ 15-20% ก็ล็อกดาวน์เฉพาะในชุมชนนั้น แต่การล็อกดาวน์ไม่ใช่การจำกัดการเข้าออก แต่ขอให้ทุกคนตรวจโควิด-19 คนไหนที่ไม่ติดเชื้อให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ได้รับการดูแล และต้องมีการเยียวยา ชดเชย รายได้ให้แก่พวกเขา  ขณะเดียวกันเมื่อมีการเข้าออกชุมชนต้องมีสแกนชุมชน และจัดตั้งแยกกันตัวในชุมชน" นพ.สุภัทร กล่าว


แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ของไทยมีศักยภาพในการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนวันละ 5 แสนคน แต่ตอนนี้ไม่มีวัคซีนให้ฉีด อีก 2 เดือนหากคนไทย คนกรุงเทพฯ ไม่ได้ฉีดวัคซีนคาดว่าจะเกิด ภูมิคุ้มกันหมู่ ในชุมชนแออัดจากกทม. แต่เป็นภูมิคุ้มกันหมู่ที่มาจากการติดเชื้อจำนวนมากๆ
#3456
ตารางดาวน์และผ่อนรถบรรทุกตู้ 10 บานเดือนสิงหาคม
สถานการณ์ ณ ปัจจุบันงานโลจิสติกส์ยังพอไปใด้นะครับ เดือนนี้เรามาทำตารางดาวน์และผ่อนรถบรรทุกตู้ 10 บานกันนะครับ รถที่สามารถนำมาทำตู้ 10 บาน เราจะนำสามรุ่นนี้มาทำนะครับ นั้นก็คือ FTR240 รุ่น FRR190 และ FRR210  ส่วนความยาวมีให้เลือก 5.5 เมตร, 6.5 เมตร และ 7.5 เมตร เราไปดูตารางดาวน์และผ่อนเลยครับ https://bit.ly/3yDQLut  หรือสอบถาม 061-9369562
#3457


นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการจ่ายค่าสินไหมประกันภัยโควิด-19ในปีนี้ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง  โดยตั้งแต่ต้นปี ถึง สิ้นเดือน ก.ค.2564 บริษัทประกันวินาศภัยจ่ายเคลมไปแล้ว 4,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ประเมินว่า หากสถานการณ์โควิดรอบนี้ไม่คลี่คลาย มีผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นระดับ 1.7-1.8 หมื่นคนต่อวัน และผู้เสียชีวิตสูงเกิน 100 คนต่อวัน ต่อเนื่องไปอีกการจ่ายเคลมประกันโควิด-19 เดือนส.ค. คาดจะเพิ่มเป็น  7,500-8,000 ล้านบาท

รวมถึงหากสถานการณ์ยังยืดเยื้อนานกว่านั้นการจ่ายเคลมนี้อาจทะลุเกิน 1 หมื่นล้านบาทได้ เนื่องจากกรมธรรม์ประกันโควิด-19มีระยะเวลาคุ้มครองยาว 1 ปี จนถึงปี 2565


อย่างไรก็ตามแเม้ปีก่อนประกันโควิด-19 มีกำไรค่อนข้างดี แต่ปีนี้โควิด-19แพร่ระบาดรุนแรงขึ้น มียอดเคลมเพิ่มกว่าเดิมมาก เมื่อหักลบรวมกัน 2 ปีแล้วก็น่าจะขาดทุน เพราะสัดส่วนคนไทยที่ทำประกันโควิด-19เทียบกับผู้ติดเชื้อ คิดเป็น10% ถ้ามีผู้ติดเชื้อใหม่วันละ 1.7-1.8 หมื่นคน หรือเฉลี่ยที่ 5 แสนคนต่อเดือน ตามสมมติฐานจะมีคนทำประกันโควิด-19ที่ 5 หมื่นคน เฉลี่ยยอดเคลมคนละ 7 หมื่นบาท เท่ากับมียอดเคลมเพิ่มขึ้นเดือนละ 3,500 ล้านบาท 

 "ปีก่อนมียอดเคลมประกันโควิด-19อยู่ที่ร้อยกว่าล้านบาท แต่ยอดเคลมปีนี้มีโอกาสพุ่งขึ้น50-100 เท่าจากปีก่อน เห็นได้จากช่วงเดือนพ.ค.2564 มียอดเคลม 1,000 ล้านบาท เดือนมิ.ย. เพิ่มเป็น 2,000 ล้านบาท และเดือนก.ค.เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท สมาคมฯ หวังว่ารัฐบาลจะควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบให้คนไทย และทำให้ยอดการจ่ายเคลมโควิด-19ชะลอลงบ้าง"

นายอานนท์ กล่าวว่า แม้ภาพรวมธุรกิจประกันวินาศภัยอาจต้องเผชิญการขาดทุนจากรับประกันโควิด-19 แต่บริษัทยังพร้อมดูแลผู้เอากรมธรรม์ให้ได้รับความคุ้มครองตามที่ระบุไว้ รวมถึงได้ปรับเงื่อนไขความคุ้มครองช่วยเหลือผู้ติดเชื้อให้ได้ประโยชน์และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด 
#3458


สหภาพแรงงานและกลุ่มสิทธิแรงงาน 33 กลุ่มจากกัมพูชา ซึ่งทำการศึกษาวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลจากโรงงานผลิต 114 แห่งในกัมพูชา ได้เขียนจดหมายถึงแบรนด์เสื้อผ้าแฟชันชั้นนำระดับโลกทั้งหลายในสัปดาห์นี้ รวมถึง อาดิดาส เอชแอนด์เอ็ม ลีวายส์ ไนกี้ พูมา ทาร์เก็ต แก๊ป ซีแอนด์เอ และวีเอฟ คอร์ป ให้ดำเนินการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ พร้อมระบุว่า ในช่วงที่กัมพูชาล็อกดาวน์ประเทศในเดือนเม.ย.และพ.ค. อุตสาหกรรมสิ่งทอสูญเสียรายได้ 117 ล้านดอลลาร์

กลุ่มฯดังกล่าวประเมินว่าแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาซึ่งมีจำนวนกว่า 700,000 คนถูกผู้ว่าจ้างติดค้างค่าจ้างและเงินชดเชยจำนวนกว่า 393 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดตั้งแต่ปีที่แล้ว ที่กระทรวงแรงงานของกัมพูชาแนะนำให้โรงงานผลิตปิดโรงงานเพราะสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่โดยไม่ได้จ่ายเงินเพื่อชดเชยค่าเสียหายแก่แรงงาน รวมทั่้งไม่ได้แจ้งให้แรงงานทราบล่วงหน้า 

"คุน ธาโร"ที่ปรึกษาด้านสิทธิแรงงานจากศูนย์กลางเพื่อพันธมิตรแรงงานและสิทธิมนุษยชน(Center for Alliance of Labor and Human Rights) กล่าวว่า "เนื่องจากแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอไม่ได้รับค่าจ้างแรงงานที่ควรได้ บรรดาแบรนด์ดังทั้งหลายจึงตกเป็นที่พึ่งของแรงงานเหล่านี้ จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อขอความช่วยเหลือจากแบรนด์ดังที่ถือเป็นผู้ว่าจ้าง"

ในส่วนของกระทรวงแรงงานกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้

               
แบรนด์ดังเสื้อผ้าแฟชันชั้นนำของโลกจำนวนมากที่มีรายได้และผลกำไรเพิ่มขึ้นในปีนี้ บอกว่า พยายามที่จะจำกัดผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19ที่มีต่อแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

อาดิดาส เปิดเผยกับเว็บไซต์นิกเคอิ เอเชียว่า บริษัทมีพันธกิจในการจ่ายค่าแรงที่ยุติธรรมและโปร่งใสแก่แรงงานทุกคนในกัมพูชาพร้อมทั้งให้การช่วยเหลือบรรดาซัพพลายเออร์หลักๆให้ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารเจ้าหนี้เพื่อนำมาใช้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19   

"บรรดาโรงงานที่เป็นซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่ของเราในกัมพูชายังคงรักษาแรงงานที่โรงงานผลิตเอาไว้แต่ลดชั่วโมงการทำงานสืบเนื่องจากการล็อกดาวน์"โฆษกอาดิดาสกล่าว

ด้านพูมา ยืนยันว่า บริษัทพยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้วิธีการยกเลิกคำสั่งซื้อและพยายามไม่ลดออร์เดอร์ซื้อสินค้าจากโรงงานรับจ้างผลิตในกัมพูชาในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19

"เฉิง ลู"นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรม ให้ความเห็นว่าว่า บรรดาแบรนด์ต่างๆเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและการฉีดวัคซีนให้ประชาชนในสหรัฐและใรนยุโรปมีความคืบหน้าด้วยดี ถึงแม้ว่ายังคงมีปัจจัยเสี่ยงหลักๆหลายด้าน รวมถึง ความไม่แน่นอนและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น

"ปีนี้ทุกอย่างแพงขึ้นทั้งต้นทุนการขนส่งทางเรือและต้นทุนด้านโลจิสติกส์ วัตถุดิบด้านสิ่งทอไปจนถึงต้นทุนด้านแรงงาน ยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดในฤดูร้อนปี 2564 โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดความไม่แน่นอนแก่ตลาด" ลู กล่าว

ในเวียดนาม ซึ่งปีที่แล้วแซงหน้าบังกลาเทศในฐานะผู้ส่งออกสิ่งทอใหญ่สุดอันดับสองของโลกรองจากจีน ที่กำลังประสบปัญหายอดผู้ติดเชื้อโควิด-19เพิ่ม ก็ปิดโรงงานสิ่งทอและรองเท้าประมาณ 30-35% 

สำหรับกัมพูชา การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเหมือนสิ่งซ้ำเติมทางการค้าระลอกสอง หลังจากปีที่แล้ว กัมพูชาสูญเสียสถานภาพพิเศษทางการค้าจากยุโรปเพราะปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยยอดส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาไปยุโรปหดตัว 14% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564
#3459


"ธนกร" เผยประชาชนยังใช้สิทธิมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐต่อเนื่อง แม้บางพื้นที่ถูกล็อกดาวน์ แจงยอดใช้จ่ายคนละครึ่ง-ยิ่งใช้ยิ่งได้-บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทำเศรษฐกิจในประเทศหมุนเวียนกว่า 5.8 หมื่นล้าน คาดภายใน ต.ค.64 เชื่อมแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ใช้"คนละครึ่ง" ได้

วันนี้(8 ส.ค.) นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะประกาศล็อกดาวน์ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เพิ่มจาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด เนื่องจากอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการตรวจหาเชื้อโควิด- 29 เชิงรุกทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้ตัวเลขของผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ขอให้ประชาชนงดออกจากเคหสถาน หรือที่พำนักโดยไม่จำเป็น เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 แต่รัฐบาลก็มีมาตรการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาเร่งด่วนผู้ประกอบการนายจ้าง ลูกจ้าง ตลอดจนแรงงานกลุ่มอาชีพอิสระ และพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ 9 ประเภท 29 จังหวัดล็อกดาวน์ โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้โอนเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 ใน 10 จังหวัด (กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา) เข้าบัญชีไปแล้ว 2,434,182 คน เบิกจ่ายเป็นเงินรวมแล้ว 6,085.45 ล้านบาท แต่มีบางส่วนที่เกิดความขัดข้อง โอนเงินไม่ผ่าน เนื่องจากอาจจะมีข้อมูลผิดพลาด ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลหน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมได้จนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 หากข้อมูลได้รับแก้แก้ไขตรวจถูกต้องแล้ว จะดำเนินการโอนในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของนายจ้าง ม. 33 สำนักงานประกันสังคมอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลสถานะจำนวนลูกจ้าง และจะเริ่มทยอยโอนให้นายจ้าง 3,000 ต่อจำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564

นายธนกร กล่าวต่อว่า แม้จะมีข้อติดขัดเรื่องการออกมาใช้จ่ายของประชาชนบางพื้นที่บ้างในช่วงนี้ แต่จากการรายงานของกระทรวงการคลังพบว่า มาตรการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 เพิ่มกำลังซื้อในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ยังมีการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยยอดการใช้จ่ายของแต่ละโครงการ ผู้ใช้สิทธิสะสมรวม 37.66 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม รวม 58,495.4 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 23.22 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 52,466.8 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายสะสม 26,600.7 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 25,866.1 ล้านบาท 2.โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 63,093 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 977.5 ล้านบาท 3.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 13.45 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 4,760.2 ล้านบาท และ 4.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 931,228 คน ยอดใช้จ่ายสะสม 290.9 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวอีกว่า รัฐบาลมีความห่วงใยพี่น้องประชาชน และเข้าใจสถานการณ์ ตอนนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบบริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ให้สามารถเชื่อมกับโครงการ "คนละครึ่ง" สอดคล้องกับมาตรการป้องกันโควิด-19 โดยกระทรวงการคลังได้กำชับให้ธนาคารกรุงไทยเร่งดำเนินการปรับปรุงระบบการเชื่อมระบบโครงการ "คนละครึ่ง" กับระบบของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ เพื่อให้สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการ คาดว่าจะดำเนินการเชื่อมระบบเสร็จสิ้นและพร้อมใช้งานได้ในเดือนตุลาคม 2564 นี้ เพื่อรองรับการใช้จ่าย หลังกระทรวงการคลังโอนเงิน "คนละครึ่ง" รอบ 2 อีก 1,500 บาทเข้าแอพพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งประชาชนสามารถใช้จ่ายได้จนถึงสิ้นปี 2564
#3460


เปิดเทคนิคที่จะช่วยให้การ "ขายออนไลน์" สามารถขยายฐานลูกค้าไปยังต่างประเทศ ทำให้ขายสินค้าได้ทั่วโลก โดยที่ส่งของได้รวดเร็ว ราบรื่น และสะดวกสบาย

มีแม่ค้าออนไลน์หลายรายที่เริ่มมองหากลุ่มลูกค้าในประเทศอื่นๆ เพื่อขยายตลาดให้ร้านค้าออนไลน์ของตนเอง เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางหารายได้ให้เพิ่มพูนมากขึ้น แต่บางครั้งก็ยังกล้าๆ กลัวๆ เพราะมองว่าเป็นเรื่องยากลำบากและไกลตัว แต่รู้หรือไม่? ยุคนี้เป็นยุคทองของการ "ขายออนไลน์" ดังนั้นคุณจึงไม่ควรหยุดความฝันนั้นอีกต่อไป 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ได้รวบรวมข้อมูลที่ต้องรู้ในการเริ่มต้นค้าขายออนไลน์ในตลาดต่างประเทศ รวมถึงขั้นตอนการส่งของข้ามประเทศที่สะดวกสบายด้วยบริการ "Courier Post" มาฝากกัน ดังนี้

1. รู้จัก E-MARKETPLACE ในต่างประเทศ

ก่อนอื่น "แม่ค้าออนไลน์" ต้องรู้จักช่องทางการขายที่เรียกว่า E-Marketplace หรือเว็บไซต์ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ในต่างประเทศ โดยคุณสามารถสร้างร้านค้าและขายสินค้าผ่านเว็บเหล่านี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมี Dealer และไม่จำกัดขนาดธุรกิจ

แล้วจะขายในเว็บไซต์ไหนดี?

คำตอบคือ มีเว็บไซต์ขายออนไลน์ในต่างประเทศให้เลือกหลากหลาย เช่น eBay, Amazon, Best Buy, Alibaba, AliExpress, JD Worldwide, TMall, Taobao, WalMart, FlipKart, PayPay Mall ฯลฯ คุณสามารถลงทะเบียนและเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ในเว็บไซต์ที่คุณสนใจ ทั้งนี้แต่ละเว็บไซต์ก็จะคิดค่าบริการในราคาแตกต่างกันไป


2. เช็ค "สินค้าไทย" ที่โดนใจลูกค้าต่างชาติ

มีข้อมูลจาก "กระทรวงพาณิชย์" ที่เผยแพร่ในช่วงการจัดแคมเปญ DITP's Online Reseller Connect (24 พ.ค.64) ระบุว่า สินค้าที่อยู่ในความสนใจของยี่ปั๊วต่างประเทศ ได้แก่

สินค้าผลไม้สดและผลไม้แปรรูป
เครื่องดื่ม
ซอสปรุงรส
ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและความงาม
ผลิตภัณฑ์สปา
เครื่องประดับสำหรับเจ้าสาว
ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของตกแต่งบ้าน
นอกจากนี้ ก็ยังมีกลุ่มสินค้าไทยที่ขายดีตลอดกาลในตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ยาดม ยาหม่อง, ผ้าไหมไทย และผ้าทอมือไทย, กางเกงมวยไทย, ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เช่น น้ำมันมะพร้าว สครับมะพร้าว สบู่มะพร้าว, เครื่องหอมไทย อุปกรณ์สปา, ของประดับตกแต่งบ้าน เช่น รูปปั้นช้าง โมเดลรถตุ๊กตุ๊ก, กระเป๋าแฮนด์เมด เช่น กระเป๋าสาน หมวกสาน เป็นต้น

3. ใช้ "COURIER POST" ส่งของต่างประเทศได้เร็ว

อีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อต้องการขยายฐานลูกค้าไปทั่วโลก นั่นคือ "วิธีการส่งสินค้า" แม่ค้าต้องศึกษาให้ดีว่าจะส่งของกับขนส่งเจ้าไหน ถึงจะได้รับบริการดี รวดเร็ว ปลอดภัย ราบรื่น หนึ่งในระบบขนส่งที่น่าลองใช้บริการ คือ "คูเรียร์โพสต์" ของไปรษณีย์ไทย ที่มีบริการส่งของไปต่างประเทศเช่นกัน เป็นบริการจัดส่งสิ่งของด่วนระหว่างประเทศทางอากาศ ทั้งในรูปแบบ Document และ Package (Merchandise)

คิดราคาตามน้ำหนักที่ชั่งจริงเท่านั้น (Gross weight) ราคา Net Price ไม่มีบวกเพิ่ม
สำหรับการส่งเอกสาร (Document) น้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 2 กก.
สำหรับสิ่งของ (Merchandise) น้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 30 กก.
รองรับการส่งสินค้าประเภทส่งของเหลวและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแบตเตอรี่ได้
สิ่งของที่จะส่ง ต้องมี Package ที่ได้มาตรฐานและต้องมาบรรจุและหุ้มห่อต่อเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์
ผู้ส่งสามารถขอรับกล่อง/ซองฟรีของบริการ Courier Post ได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ 
4. มีบริการส่งของแบบ Door to Door

คูเรียร์โพสต์มีบริการ On Demand Delivery (ODD) นั่นคือ ผู้รับสามารถเลือกรูปแบบการนำจ่ายได้ (เวลา /สถานที่) โดยไม่เสียค่าบริการเพิ่มเติม และการนำจ่ายถึงผู้รับในปลายทางต่างประเทศแบบ Door to Door หมายถึง บริการดำเนินผ่านพิธีการศุลกากรแบบเบ็ดเสร็จ ณ ประเทศปลายทาง

โดยทีมงานของระบบขนส่งที่ปลายทาง จะดำเนินการผ่านพิธีการขาเข้า ผู้รับที่ปลายทางจะเป็นผู้ชำระค่าภาษี (ถ้ามี) และขนส่งจะนำสินค้าไปส่งยังสถานที่ปลายทางที่ได้กำหนดไว้ โดยจะนำจ่ายสินค้าถึงที่อยู่ผู้รับในต่างประเทศภายใน 2 - 4 วัน (ไม่นับวันที่รับฝากและไม่รวมระยะเวลาดำเนินพิธีการศุลกากร ณ ประเทศปลายทาง)

5. มีเงินประกันค่าเสียหายให้

คูเรียร์โพสต์มีอัตราชดใช้ค่าเสียหาย กล่าวคือจะมีวงเงินชดใช้กรณีสูญหาย/เสียหาย จากความผิดพลาดของผู้ขนส่ง โดยจะชดใช้ตามมูลค่าที่เกิดขึ้นจริง โดยชดใช้ไม่เกิน 5,000 บาท สำหรับเอกสาร (Document) และชดใช้ไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับสิ่งของ (Merchandise) อีกทั้ง ผู้ฝากส่งยังสามารถซื้อประกันคุ้มครองเพิ่มสูงสุดไม่เกิน 1,000 SDR (ปี 2564: 1 SRD = 43.2231 บาท)

------------------------------

อ้างอิง : 

ebaythailand

sell.amazon

corporate.jd

smmagonline

commercenewsagency

POST family